วันอังคารที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2553

วิชา ตั๋วเงิน

๑ตั๋วเงิน แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทคือ ตั๋วแลกเงิน,ตั๋วสัญญาใช้เงิน,เช็ค (898)
ตั๋วเงินทั้ง 3 ประเภทแบ่งเป็น 2 ชนิดคือ
1. ชนิดตั๋วระบุชื่อ (มีในตั๋วเงินทั้ง 3 ประเภท)
2. ชนิดตั๋วผู้ถือ (มีในตั๋วแลกเงินและเช็คเท่านั้น)
ในการทำความเข้าใจวิชาตั๋วเงินนี้ ต้องทำความเข้าใจตามลำดับเพื่อง่ายต่อการจดจำ โดยแบ่งหัวข้อได้ดังนี้
1. ตั๋วเงินมีลักษณะพิเศษอย่างไร
2. ลูกหนี้ในตั๋วเงิน (ม.900)
3. เจ้าหนี้ในตั๋วเงิน (ม.904,905)
4. การโอนตั๋วเงิน (ม.920,917,918,919,922)
5. การห้ามโอนด้วยวิธีลักษณะตั๋วเงิน
6. การอาวัล
7. เช็ค
8. การแก้ไขตั๋วเงิน
9. ลายมือชื่อปลอม
10. อายุความ
ลักษณะพิเศษของตั๋วเงินสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 หัวข้อคือ
1. ข้อความที่จะเขียนลงในตั๋วเงินและมีผลใช้บังคับได้นั้นต้องเป็นข้อความที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะตั๋วเงิน
บัญญัติไว้ให้เขียนลงไปได้เท่านั้น ซึ่งหากไปเขียนข้อความอื่นลงไปแล้ว จะมีผลคือเท่ากับไม่มีการเขียนข้อความใด ๆ ลงไปนั่นเอง ( โดยไม่
ทำให้ตั๋วเงินนั้นเสียไปแต่อย่างใด ตามมาตรา 899
2. ผู้ที่รับโอนตั๋วเงินมาโดยสุจริต มีสิทธิดีกว่าผู้โอน ตามมาตรา 905 วรรค 2,3 มาตรา 916 , มาตรา 312 , มาตรา 313
3. การลงลายมือชื่อตั๋วเงินนั้น ต้องเป็นการลงลายมือชื่ออย่างแท้จริงเท่านั้น จึงจะถือเป็นการลงลายมือชื่อ ซึ่งต้องรับผิดตามมาตรา
900 โดยจะใช้วิธี ประทับตรา หรือ พิมพ์ลายนิ้วมือ หรือ แกงได อย่างกฎหมายในลักษณะอื่นไม่ได้ ตามมาตรา 900 วรรค 2 ประกอบ มาตรา
9 มาตรา 1008
อธิบาย 1. ม.899 ข้อความที่เขียนลงในตั๋วเงิน จะต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะตั๋วเงินเท่านั้น
“ข้อความอันใดซึ่งมิได้บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายนี้ ถ้าเขียนลงในตั๋วเงิน ท่านว่าข้อความอันนั้นหาเป็นผลอย่างหนึ่งอย่างใดแก่ตั๋วเงินนั้น
ไม่”
เหตุผล เนื่องจากตั๋วเงินใช้ในการประกอบธุรกิจการค้าต้องมีความสะดวกในการโอนตั๋วเปลี่ยนมือง่าย และต้องการความเชื่อถือเป็น
สำคัญ กฎหมายจึงบัญญัติหลักเกณฑ์ในการเขียนข้อความให้มีผลผูกพันได้เฉพาะที่กฎหมายบัญญัติไว้ให้เขียนได้เท่านั้น มิฉะนั้นแล้วถ้าให้มี
การเขียนสิ่งใดๆ ลงไปก็ได้แล้ว ก็จะเกิดการเขียนเงื่อนไขต่าง ๆ มากมาย ใครจะรับโอนแต่ละครั้งก็ต้องตรวจดูเงื่อนไขอย่างละเอียด ซึ่งก็จะ
ไม่ตรงกับความมุ่งหมายที่ต้องการให้ตั๋วเงินโอนกันได้ง่าย สะดวก และมีความน่าเชื่อถือ
แตกต่างกับกฎหมายลักษณะเอกเทศสัญญาหรือสัญญาอื่นๆที่คู่สัญญาสามารถตกลงกันอย่างใดๆก็ได้ ตาม ม.151 ถึงแม้จะตกลงให้
แตกต่างจากบทบัญญัติของกฎหมายก็ได้ถ้าไม่ใช่บทบัญญัติอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยแล้วการตกลงนั้นไม่เป็นโมฆะ
คณะกรรมการนักศึกษาเนติบัณฑิต สมัยที่ 58
วิชา ตั๋วเงิน

ฉะนั้น ในเรื่องตั๋วเงินถ้าจะเขียนอะไรลงไปต้องคำนึงถึงว่า ป.พ.พ.ลักษณะตั๋วเงิน อนุญาตให้เขียนได้หรือไม่ ซึ่งถ้ากฎหมายไม่
อนุญาตให้เขียนลง แต่ฝ่าฝืนไปเขียนลงก็จะมีผลเท่ากับข้อความนั้นใช้บังคับไม่ได้ หรือเท่ากับไม่มีการเขียนอะไรเลย จะไม่ทำให้ตั๋วเงินนั้น
เสียไปแต่อย่างใด
ข้อยกเว้น ต้องไม่ใช่ข้อความที่กฎหมายลักษณะตั๋วเงินบัญญัติไว้ว่า ถ้าเขียนลงไปในตั๋วเงินแล้วจะกระทบกับความสมบูรณ์ของตั๋วเงิน
เช่น ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือเช็ค ผู้สั่งจ่ายหรือผู้ออกตั๋วจะเขียนเงื่อนไขลงในตั๋วเงินไม่ได้ ถ้าเขียนลงไปตั๋วเงินจะไม่สมบูรณ์เป็นตั๋ว
Ex. นาย ก. ไปเขียนว่า ถ้านาย ข. ส อบได้เป็นเนติฯแล้วจึงให้จ่ายเงินตามตั๋วอย่างนี้ ม.909 (2),983 (2),988 (2) ทำให้ไม่
สมบูรณ์เป็นตั๋วเงินใช้บังคับอย่างตั๋วเงินไม่ได้เลย
สิ่งที่เขียนได้ และสิ่งที่เขียนไม่ได้ มีดังนี้
1. การคิดอัตราดอกเบี้ย
ม.911 ตั๋วแลกเงิน อนุญาตให้คิดดอกเบี้ยได้ “ผู้สั่งจ่ายจะเขียนข้อความกำหนดไว้ว่า จำนวนเงินอันจะพึงใช้นั้น ให้คิดดอกเบี้ยด้วย
ก็ได้” เป็นการให้สิทธิผู้สั่งจ่ายที่จะระบุดอกเบี้ย เขียนลงในตั๋วแลกเงินได้
ม.985 ตั๋วสัญญาใช้เงินอนุญาตให้คิดดอกเบี้ยได้ “บทบัญญัติทั้งหลายในหมวด 2 ว่าด้วยตั๋วแลกเงินดังกล่าว ท่านให้ยกมาบังคับใช้ใน
เรื่องตั๋วสัญญาใช้เงิน...ม.911”
ม.989 เช็ค ไม่อนุญาตให้คิดดอกเบี้ย “บทบัญญัติทั้งหลายในหมวด 2 ว่าด้วยตั๋วแลกเงินดังจะกล่าวต่อไปนี้ ท่านให้ยกมาบังคับ
ในเรื่องเช็ค...(ไม่มีม.911)” ดังนั้นในเรื่องเช็คจึงไม่อนุญาตให้นำเรื่องดอกเบี้ยมาระบุไว้ในเช็คได้ ซึ่งถ้าฝ่าฝืนไปเขียนระบุจำนวนดอกเบี้ยลง
ในเช็คก็จะเป็นไปตาม ม.899 คือ ไม่มีผลบังคับใดๆในสิ่งที่เขียนไป ซึ่งธนาคารผู้จ่ายเงินก็จะไม่ปฏิบัติตามที่เขียนคือเท่ากับไม่มีการเขียน
ข้อความใดๆเลยนั่นเอง แต่ไม่ทำให้เช็คเสียไป
เหตุผล เนื่องจากเช็คนั้นเป็นเรื่องที่ต้องจ่ายเงินเมื่อได้เห็น หรือนำไปขึ้นเงินเมื่อไรก็จ่ายเมื่อนั้นตามที่ระบุไว้ จึงไม่สามารถกำหนด
ดอกเบี้ยได้
2. การขีดคร่อมตั๋วเงิน
จะมีการขีดคร่อมกันได้เฉพาะในเช็คเท่านั้น ม.944 ดังนั้นตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินจะไม่มีการขีดคร่อม ซึ่งถ้าฝ่าฝืนไปขีด
คร่อมแล้วก็จะเป็นไปตาม ม.899 คือ “ข้อความอันนั้นหาเป็นผลอย่างหนึ่งอย่างใดในตั๋วเงินนั้นไม่” เท่ากับไม่มีการขีดคร่อมหรือไม่ได้ทำ
อะไรในตั๋วเงินเลย
การขีดคร่อมตั๋วแลกเงินไม่ได้บัญญัติไว้ใน ป.พ.พ.ลักษณะตั๋วเงิน เพราะฉะนั้นการขีดคร่อมดังกล่าวจึงหามีผลอย่างหนึ่งอย่างใดใน
ตั๋วเงิน ตามม.899
3. ตั๋วสัญญาใช้เงิน
ตั๋วสัญญาใช้เงินจะมีได้เฉพาะ”ตั๋วระบุชื่อผู้รับเงินเท่านั้น” ตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดผู้ถือไม่มี หากไปเขียน คำว่าหรือผู้ถือลงไปก็จะเข้า
กรณีมาตรา 899 คือ ข้อความ ..หรือผู้ถือ.. ก็จะไม่มีผลใด ๆ นั่นเอง ( ตามม.983(5) )
4. การโอนตั๋วเงิน
ม.917ว.2 ใช้กับตั๋วเงินทั้ง 3 ประเภท “เมื่อผู้สั่งจ่ายเขียนลงในด้านหน้าแห่งตั๋วแลกเงินว่า เปลี่ยนมือไม่ได้ ดังนี้ก็ดี หรือเขียนคำอื่น
อันได้ความเป็นทำนองเดียวกันนั้นก็ดี ท่านว่าตั๋วเงินนั้นย่อมโอนให้กันได้โดยรูปการแลด้วยผลอย่างการโอนสามัญ”
เมื่อต้องการโอนโดยจำกัดไม่ให้มีการโอนต่อไป ก็ทำได้โดยการเขียนลงในตั๋วเงินด้านหน้าตั๋วเท่านั้น ดังนั้นถ้าฝ่าฝืนไปเขียนลง
ด้านหลัง ดังนี้ ตั๋วเงินนี้ก็โอนให้กันได้อย่างปกติ เพราะข้อความนั้นเท่ากับไม่มีผลบังคับห้ามโอนตาม ม.899
การตีความของศาลฎีกา ถ้อยคำ”คำอื่นอันได้ความเป็นทำนองเช่นเดียวกันนั้น”
ฎ. 4975/2533 เขียนด้านหน้าด้วยคำว่า “เฉพาะ”ลงด้านหน้าตั๋วเงิน ถือไม่ได้ว่าเป็นคำอื่นอันได้ความเป็นทำนอง
เช่นเดียวกันนั้น ดังนั้นจึงเท่ากับเป็นการเขียนในสิ่งที่กฎหมายไม่อนุญาตมีผลเท่ากับม.899 ไม่มีผลบังคับอย่างใดในตั๋วเงิน
ฎ. 3509/2542 ผู้สั่งจ่ายออกเช็คโดยไม่ลงวันที่ แล้วใช้ปากกาสีดำขีดเส้นไว้ในช่องวันที่ ศาลฎีกาตีความว่า เส้นสีดำเป็น
เสมือนข้อความอย่างหนึ่ง เมื่อไม่มีบทกฎหมายให้กระทำเช่นนั้นได้จึงเป็นไปตาม ม.899

สรุปมาตรา 899 ผลของการที่เขียนข้อความแตกต่างกับ ปพพ.ลักษณะตั๋วเงินบัญญัติไว้จะมีผลเท่ากับเพียงว่า “ข้อความนั้นไม่มีผล
อย่างหนึ่งอย่างใดในตั๋วเงิน แต่ตั๋วเงินนั้นยังสมบูรณ์ไม่เสียไป”
อธิบาย 2 ผู้รับโอนตั๋วเงินโดยสุจริตมีสิทธิดีกว่าผู้โอน เป็นลักษณะพิเศษของตั๋วเงินที่แตกต่างจากกฎหมายอื่น ในประเด็นที่ว่า “ถ้าหาก
ผู้รับโอนได้รับโอนตั๋วเงินมาโดยสุจริต ผู้รับโอนก็จะมีสิทธิดีกว่าผู้โอน”
เหตุที่กฎหมายบัญญัติให้ผู้รับโอนมีสิทธิดีกว่าผู้โอน เพราะตั๋วเงินเป็นตราสารที่เปลี่ยนมือได้และเปลี่ยนมือได้โดยง่าย อาจเป็นเพียง
การสลักหลังหรือส่งมอบ ดังนั้น หากไม่คุ้มครองแบบนี้ก็คงไม่มีผู้ใดประสงค์ชำระหนี้ด้วยตั๋วเงิน
บทบัญญัติกฎหมายที่คุ้มครอง “ผู้รับโอนตั๋วเงินโดยสุจริตมีสิทธิดีกว่าผู้รับโอน” คือ ม. 905ว.2,3 ม.916,312,313
สิทธิของผู้รับโอนตั๋วเงินมาโดยสุจริตกฎหมายคุ้มครองแยกพิจารณา 2 กรณี
1. กรณีบทบัญญัติม.905ว.2,3 ผู้รับโอนตั๋วเงินมาโดยสุจริตหาจำต้องสละตั๋วเงินนั้นไม่
2. บทบัญญัติ ม.916 มีสิทธิเรียกเงินจากลูกหนี้ในตั๋วเงิน แม้ว่าผู้โอนจะไม่มีสิทธิในตั๋วเงิน
ม.905 ว.2 “ถ้าบุคคลผู้หนึ่งผู้ใดต้องปราศจากตั๋วเงินไปจากการครอบครอง ท่านว่าผู้ทรงซึ่งแสดงให้ปรากฎสิทธิของตนในตั๋วตาม
วิธีการ ดังกล่าวมาในวรรคก่อนนั้น หาต้องสละตั๋วเงินไม่ เว้นแต่จะได้มาโดยทุจริตหรือได้มาด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
ตัวอย่าง .นายหนึ่งออกตั๋วสั่งนายสองให้ใช้เงินนายสาม นายสามโอนให้นายสี่ นายสี่โอนให้นายห้า นายห้าเป็นผู้มีตั๋วเงินใน
ครอบครองและสามารถแสดงให้ปรากฎสิทธิด้วยการสลักหลังไม่ขาดสายตาม ม.904,905 ถึงแม้ว่านายสามจะโอนให้นายสี่เพราะถูกข่มขู่ ถูก
ฉ้อฉลหรือวิธีอื่นใดที่ทำให้การโอนไม่สมบูรณ์ก็ตาม ซึ่งโดยปกตินายสามก็จะสามารถเรียกตั๋วเงินคืนจากนายสี่ได้ แต่เมื่อนายสี่โอนให้นาย
ห้าไปแล้ว นายสามจึงไม่สามารถเรียกจากนายห้าได้ ตามม.902ว.2 เว้นแต่นายห้าจะรู้ว่านายสามโอนให้นายสี่มาโดยวิธีการไม่สมบูรณ์ แต่
นายห้าก็รับโอนมาจากนายสี่ อันเป็นการรับโอนโดยสุจริต หรือรับโอนมาด้วยความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง นายห้าจึงจะต้องคืนให้
นายสามตาม ม.905ว.2
ม.905 ว.3 “อนึ่งข้อความในวรรคก่อนนี้ ให้ใช้บังคับตลอดถึงผู้ทรงตั๋วเงินสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือด้วย” หมายความว่า ตาม ว.2 เป็นการ
บังคับเรื่องตั๋วระบุชื่อ ว.3 จึงให้นำไปใช้กับตั๋วผู้ถือด้วย
ตัวอย่าง หนึ่งสั่งจ่ายเช็คให้สอง สองทำหาย นายสามเก็บได้ไปโอนใช้หนี้ให้นายสี่ ดังนี้ ถ้านายสองมาทวงกับนายสี่ให้คืนตั๋ว
ไม่สามารถเรียกคืนได้ ฎ.480/14,6005/39
กล่าวโดยสรุป มาตรา 905วรรค .2 และวรรค.3 หลักเกณฑ์ -ถ้าผู้รับโอนตั๋วเงินมาโดยสุจริตแล้ว ไม่ต้องคืนตั๋วเงินตาม
บทบัญญัติ “หาจำต้องสละตั๋วเงินไม่”
ข้อยกเว้น - ต้องคืนตั๋วเงินเมื่อ
- รับโอนมาโดยทุจริตหรือ
- ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง
- กรณีตาม ม.1008 คือได้ตั๋วเงินมาโดยการสลักหลังปลอม “จะยึดหน่วงตั๋วเงินนั้นไว้ไม่ได้”
ม.916 เป็นเรื่องตั๋วแลกเงิน
- เช็ค ม.989 ให้นำ ม.916 ไปใช้ในเรื่องเช็ค
- ตั๋วสัญญาใช้เงิน ม. 989 ให้นำ ม.916 ไปใช้ในตั๋วสัญญาใช้เงิน
ม.312 และม.313 ก็บัญญัติไว้ในทำนองเดียวกันกับม. 916 “หนี้อันพึงต้องชำระตามเขาสั่ง” คือ หนี้ที่ทางฝ่ายลูกหนี้สัญญาว่าจะ
ชำระให้ทางฝ่ายเจ้าหนี้หรือผู้ที่เจ้าหนี้สั่งให้จ่ายให้ โดยอาศัยการแสดงสิทธิตามตราสาร หรืออีกนัยหนึ่งคือหนี้ตามตั๋วเงินนั้นเอง
ม.312,313,916 สรุป ลูกหนี้มีข้อต่อสู้ยกขึ้นใช้ยันผู้โอนได้อย่างไร จะยกขึ้นใช้ยันต่อผู้รับโอนโดยสุจริตไม่ได้
Ex. หนึ่งใช้ปืนขู่สองให้ออกเช็คให้หนึ่ง ต่อมาสองโอนเช็คให้ สาม ต่อมาธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ข้อต่อสู้หนึ่งและสองจะ
ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้สามไม่ได้
ฎ.1545/24 แม้จำเลยจะจ่ายเช็คค่าสลากกินรวบซึ่งเป็นมูลหนี้ที่ไม่ชอบ แต่จำเลยก็ไม่สามารถยกข้อต่อสู้ระหว่างจำเลยกับผู้โอน มา
เป็นข้อต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับโอนโดยสุจริตไม่ได้

หลัก ถูกฟ้องจะยกข้อต่อสู้ที่สามารถใช้ยันกันระหว่างผู้ถูกฟ้องคนอื่นขึ้นต่อสู้กับโจทก็ผู้ทรงไม่ได้
ข้อยกเว้น ผู้ถูกฟ้องยกข้อต่อสู้ได้ในกรณีนี้
1. ผู้ทรงหรือโจทก์คบคิดกันฉ้อฉลกับผู้โอน รู้อยู่แล้วว่าเป็นการโอนโดยไม่ชอบยังรับโอน ฎ.1863/33,371/34 ความคบคิดกันฉ้อ
ฉลจะต้องเกิดขณะผู้ทรงรับโอนเช็คมา ฏ.467/32,4279/36 ไม่ได้เกิดภายหลังการรับโอน(ไม่ใช่การคบคิดกันฉ้อฉลภายหลังฟ้งซึ่งเรียกว่าเงิน
ตามเช็คแล้ว) ฎ.4279/36
2. ข้อต่อสู้ระหว่างผู้ถูกฟ้องกับผู้ทรงซึ่งเป็นโจทก็ฟ้องเอง (ถ้ามีข้อต่อสู้ระหว่างกันอย่างไร สามารถยกขึ้นฟ้องได้
Ex. โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2ร่วมกันกู้ยืมเงินโจทก์ และจำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็ค จำเลยที่ 2 สลักหลัง โอนให้โจทก็ ถ้าปรากฏ
ข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 ไม่ได้กู้เงินโจทก์เลยดังนี้ จำเลยที่ 2 ก็สามารถยกข้อต่อสู้โจทก็ได้ เพราะเป็นข้อต่อสู้ระหว่างผู้ถูกฟ้องกับโจทก์ซึ่ง
เป็นผู้รับสลักหลัง ฎ.716/04
ฎ.755/26 เป็นข้อต่อสู้โดยตรงระหว่างผู้ถูกฟ้องกับโจทก์ผู้ทรง จึงสามารถยกขึ้นต่อสู้ได้ ฎีกานี้ผู้ถูกฟ้องสู้ว่ามูลหนี้ตามเช็ค สอง
แสนบาท ความจริงกู้กันเพียง หนึ่งแสนบาท สามารถยกขึ้นสู้ได้
1. กรณีสิทธิผู้ทรงที่เป็นโจทก์ฟ้องเองบกพร่อง
ฏ.2932/19 หนึ่งสั่งจ่ายเช็คให้สอง สองนำเช็คไปสลักหลังโดยชำระค่าซื้อเฮโรอีนให้กับนายสาม เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน
หนึ่งยกข้อต่อสู้ว่านายสามรับโอนเช็คนั้นไม่สมบูรณ์ ซึ่งสามารถต่อสู้ได้ เพราะไม่ใช่ความสัมพันธ์ระหว่างนายหนึ่งกับนายสอง และก็
ยอมรับว่าสั่งจ่ายเช็คจริง และสั่งจ่ายให้สองจริง แต่สู้ว่าหนี้ของผู้ทรงบกพร่อง
2. ถ้าหากเป็นข้อต่อสู้ที่ปรากฏในตั๋วเงินนั้นเอง ไม่ใช่ข้อต่อสู้ในระหว่างความเกี่ยวพันระหว่างผู้ถูกฟ้องด้วยกัน เช่น ตั๋วเงินไม่
สมบูรณ์ ขาดรายการในตั๋วเงิน อย่างนี้สามารถยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ได้เสมอ
Ex. นาย ก. ถูกฟ้องให้ต้องรับผิดตามตั๋วแลกเงิน ก. ต่อสู้ว่าตั๋วที่นำมาฟ้องไม่ปรากฏคำบอกชื่อว่าเป็นตั๋วแลกเงิน จึงไม่สมบูรณ์
เป็นตั๋วแลกเงินตามกฎหมาย อย่างนี้เป็นข้อต่อสู้ตามม.312 ผู้ถูกฟ้องสามารถยกเป็นข้อต่อสู้ได้
อีกกรณีหนึ่งที่ผู้ถูกฟ้องสามารถยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ได้ และมิใช่เป็นเรื่องตามม.916 คือ
กรณีเรื่องอำนาจการเป็นคู่สัญญานาตั๋วเงิน กับเรื่องความสามารถคู่สัญญาในตั๋วเงินตามม.902 “ถ้าตั๋วเงินลงลายมือชื่อของบุคคล
หลายคน มีทั้งบุคคลที่ไม่อาจเป็นคู่สัญญาแห่งตั๋วเงินนั้นได้เลย หรือเป็นได้แต่ไม่เต็มผลไซร้ ท่านว่าการนี้ย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงความรับ
ผิดของบุคคลอื่นๆนอกนั้นซึ่งคงต้องรับผิดตามตั๋วเงิน
ตัวอย่าง ก. สั่งจ่ายเช็คให้ ข.(ผู้เยาว์) และ ข.สลักหลังให้ ค. ถ้าเช็คถูกปฏิเสธการจ่ายเงิน ข. ยกข้อต่อสู้เรื่องผู้เยาว์ของตนได้ แต่
ก. จะยกเรื่องผู้เยาว์ของ ข. ต่อสู้ ค.ไม่ได้ เพราะเป็นสิทธิเฉพาะตัวของ ข. ตามม.902
****จุดที่น่าสนใจ ถ้าเป็นข้อต่อสู้ที่เป็นเรื่องโจทก์ไม่ใช่ผู้ทรง หรือสิทธิของโจทก์บกพร่องสามารถต่อสู้ได้
ม.916 ใช้ทั้งตั๋วที่ระบุชื่อและผู้ถือเป็นหลักเกณฑ์เดียวกัน
ฎ.6582/39 จำเลยไม่ได้ต่อสู้ว่าโจทก็ไม่ได้เป็นผู้ทรงโดยชอบ โดยต่อสู้ว่าจำเลยเป็นผู้สั่งจ่ายให้นายเสรี และมูลระหว่างจำเลยและ
นายเสรีก็ระงับไปแล้ว แต่นายเสรีไม่ได้คืนเช็คให้จำเลยแต่กลับไปโอนให้โจทก์และจำเลยก็ไม่ได้สู้ว่านายเสรีกับโจทก์คบคิดกันฉ้อฉลแต่
อย่างใด สู้เพียงว่าหนี้ระหว่างตนกับนายเสรีระงับไปแล้ว จึงเป็นการยกข้อต่อสู้เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างผู้ถูกฟ้องด้วยกันขึ้นต่อสู้อันเป็น
เรื่องต้องห้าม ม.916
ลูกหนี้ในตั๋วเงินมาตรา 900
โดยหลัก ผู้จะต้องรับผิดในตั๋วเงินคือ ผู้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงิน “บุคคลผู้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินย่อมจะต้องรับผิดตาม
เนื้อความในตั๋วเงินนั้น”
ม.908 ตั๋วแลกเงิน ม.982 ตั๋วสัญญาใช้เงิน ม.987 เช็ค กฎหมายจะบัญญัติข้อความที่เหมือนกันอยู่คำหนึ่งว่า “หนังสือตราสาร”
ดังนั้น จึงปรับตาม ม.9 “เมื่อมีกิจการอันใดซึ่งกฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือบุคคลผู้จะต้องทำหนังสือไม่จำเป็นต้องเขียนเองแต่หนังสือนั้น
ต้องลงลายมือชื่อของบุคคลนั้น”

จึงได้หลักว่า ข้อความหรือรายการในตั๋วเงินนั้น ตัวผู้สั่งจ่ายหรือผู้ออกตั๋วไม่จำเป็นต้องเขียนเอง มอบหมายให้ผู้อื่นเขียนหรือพิมพ์
แทนก็ได้ แต่ต้องลงลายมือชื่อด้วยตนเอง และม.900 ถือเอาผู้ลงลายมือชื่อเป็นลูกหนี้ ไม่ใช่คนเขียนข้อความ ฎ. 5645/44,2512/39 ,1973/29
รายการในเช็คและจำนวนเงิน ผู้สั่งจ่ายหาจำต้องเขียนเองไม่ หากให้บุคคลอื่นเขียนหรือพิมพ์ให้ก็ได้หากข้อความตรง ตามเจตนาหรือความ
ประสงค์ของผู้สั่งจ่ายแล้วในการออกเช็คก็ถือเป็นสมบูรณ์แล้ว
แต่การลงลายมือชื่อไว้เฉย ๆ หากมีผู้อื่นนำไปกรอกข้อความโดยมิได้รับความยินยอมของเจ้าของลายมือ ผู้ลงลายมือชื่อก็ไม่ต้องรับ
ผิด ***ฎ.1541/14 จำเลยเพียงแต่ลงชื่อในเช็ค ไม่ได้กรอกข้อความใดๆมอบให้โจทก์ไว้เพื่อประกันหนี้ โจทก์นำเช็คไปกรอกข้อความ
โดยจำเลยมิได้มอบหมายหรือยินยอมให้กระทำ เช็คพิพาทย่อมไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย เพราะขาดรายการที่ต้องมีในเช็คดังนั้นธนาคารไม่
จ่ายเงิน ผู้ลงลายมือชื่อคือจำเลยก็ไม่ต้องรับผิดในเนื้อความตราสารนั้น ม.900
จึงได้หลักว่า ในการลงรายการหรือกรอกข้อความในเช็คโดยบุคคลอื่นนั้นต้องได้รับความยินยอมจาก ผู้ลงลายมือชื่อจึงจะสมบูรณ์
มาตรา 900 “บุคคลผู้ลงลายมือชื่อของตน…”บุคคลอาจเป็นบุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคลก็ได้ ซึ่งถ้าเป็นนิติบุคคลก็ต้องลงโดย
ผู้แทนตาม ม.70 และในการลงชื่อนี้อาจลงโดย เขียนชื่อจริง ชื่อเล่น หรือชื่อร้านก็ได้ ถ้าหากมีเจตนาใช้ชื่อนั้นแทนตน
ฎ.2417/36 จำเลยลงชื่อด้านหลังเช็คว่า “แสงรุ่งเรือง” เป็นชื่อร้านค้าที่ได้จดทะเบียนพาณิชย์ไว้ แม้ไม่ได้เป็นนิติบุคคล ก็ถือได้ว่า
ได้ลงลายมือชื่อของตนตาม ม.900 จึงต้องรับผิด
ในบทบัญญัติกฎหมายไม่มีการมอบอำนาจให้ลงลายมือชื่อแทนกันได้ เพราะไม่มีกฎหมายให้อำนาจ(ฎ.1020/17,1526/45)ลงลายมือ
ชื่อแทนกันไม่ได้ แต่ในเรื่องตั๋วเงินสามารถมอบอำนาจให้ลงลายมือชื่อแทนกันได้ ตามมาตรา 1008 “เมื่อใดลายมือชื่อในตั๋วเงิน เป็นลายมือ
ชื่อลงไว้ โดยที่บุคคลซึ่งอ้างเอาเป็นเจ้าของลายมือชื่อนั้น มิได้มอบอำนาจให้ลงก็ดี”เท่ากับว่ามาตรา 1008 แห่งลักษณะตั๋วเงินนั้น อนุญาต
ให้มีการมอบให้อำนาจลงลายมือชื่อแทนกันได้
Ex. นาย ก. มอบอำนาจให้นาย ข. ลงชื่อแทน( นาย ข เขียนชื่อของนาย ก ลงในตั๋ว ) ดังนี้ เท่ากับว่า นาย ก. เป็นผู้ลงลายมือชื่อ
ด้วยตนเอง ลูกหนี้ในตั๋วเงิน ตั๋วเงินเป็นตราสารโอนกันได้ การเข้ามาผูกพันเป็นคู่สัญญาในตั๋วเงินจึงมีได้ไม่จำกัดจำนวน ซึ่งเป็นลูกหนี้ด้วย
การลงลายมือชื่อตาม ม.900
มาตรา 900 ว.2 ต้องลงลายมือชื่อจริงๆเท่านั้น จะลงเครื่องหมายอย่างหนึ่งอย่างใด เช่น แกงได หรือลายพิมพ์นิ้วมือไม่ได้ แม้จะมี
พยานลงลายมือชื่อรับรองก็ไม่ทำให้ตั๋วนั้นสมบูรณ์ขึ้นมาได้ เพราะเรื่องตั๋วเงินต้องการให้บุคคลซึ่งรู้หนังสือเท่านั้นเป็นผู้ลงลายมือชื่อและใช้
ตั๋วเงินนั้นได้ เพราะส่วนมากใช้ในวงการธุรกิจการค้า
มาตรา900 ว.2 จึงเป็นข้อยกเว้นของมาตรา 9 ที่บัญญัติให้พิมพ์ลายนิ้วมือหรือแกงได โดยมีพยานรับรองได้(เรื่องการใช้ตราประทับ
แทนการลงลายมือชื่อ ม.9 ให้ทำได้ แต่ ม.900ว.2 ทำไม่ได้
บุคคลผู้จะเข้ามาเป็นลูกหนี้ในตั๋วเงินนั้น สามารถเข้ามาได้โดยการลงลายมือชื่อในตั๋วเงินมาตรา 900 ส่วนลงลายมือชื่อแล้วจะรับ
ผิดในฐานะใดก็ต้องดูที่ว่า ลงชื่อในฐานะใดก็ต้องรับผิดในฐานะนั้น ซึ่งแยกฐานะของลูกหนี้ในตั๋วเงินได้ดังนี้
1. ผู้สั่งจ่าย หรือ ผู้ออกตั๋ว เป็นลูกหนี้ลำดับแรกที่ทำให้ตั๋วเงินนั้นเกิดขึ้นมา ตามมาตรา 900 ,914
2. ผู้สลักหลังตั๋วเงิน ( มีเฉพาะตั๋วชนิดระบุชื่อ ) ตามมาตรา 900 , 914
3. ผู้รับอาวัล ตามมาตรา 900 , 940
4. ผู้รับรอง ( เฉพาะตั๋วแลกเงิน ) ตามมาตรา 900 , 931
5. ผู้ที่สมัครใจเข้ารับผิด ตามมาตรา 900 ( ฎ.4872/2533 ป. )
**ฎ.4872/33,3788/24 . จำเลยที่ 1 สั่งจ่ายเช็คเพื่อชำระหนี้ให้แก่ ก.(ระบุชื่อ) ในเช็คมีจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อด้านหลังเช็ค
ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินผู้ทรงเช็คจึงฟ้องให้ทั้งสองรับผิด จำเลยที่ 2 ต่อสู้ว่าไม่ต้องรับผิดเพราะขณะที่ตนลงชื่อตนไม่เคยเป็นผู้ทรง
เนื่องจากตนลงชื่อพร้อมกับ จำเลยที่ 1 ไม่เป็นการสลักหลังลอยตามม.919ว.2
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 2 ไม่ใช่ผู้รับอาวัล เพราะเช็คชนิดนี้เป็นเช็คระบุชื่อผู้รับเงิน การจะเป็นผู้รับอาวัลตาม ม.921 จะต้องเป็น
การสลักหลังลงในเช็คที่สั่งจ่ายเงินแก่ผู้ถือ จึงจะถือว่าเป็นผู้รับอาวัล และไม่ใช่ผู้สลักหลังลอยตามมาตรา 919ว.2 แต่กรณีเช่นนี้ การที่จำเลย

ที่ 2 ไปลงลายมือชื่อด้านหลังเช็คโดยที่จำเลยที่ 2 ไม่เคยเป็นผู้ทรงเช็คมาก่อน ถือว่าจำเลยที่ 2 สมัครใจเข้ารับผิดต่อโจทก์ในอันที่จะเข้ารับผิด
ตามเนื้อความในเช็ค โดยการลงลายมือชื่อตามมาตรา 900
ข้อสังเกต สมัครใจรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ลักษณะผู้ออกเช็คร่วมกัน ถ้าเปลี่ยนข้อเท็จจริงว่าเช็คฉบับนี้จำเลยที่ 2 เคยเป็นผู้ทรง
จำเลยที่ 2 จะต้องเป็นผู้รับผิดในฐานะเป็นผู้สลักหลังลอยตาม ม.919ว.2
ผู้ที่ปลอมลายมือชื่อผู้อื่นจะต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินหรือไม่
ผู้ปลอมลายมือชื่อผู้อื่นต้องรับผิด เพราะผู้ปลอมก็คือผู้ที่ลงลายมือชื่อนั้นเองตามมาตรา 900 แม้เจ้าของบัญชีจะเป็นคนอื่น เพราะการ
จะต้องรับผิดตามม.900 นั้นดูที่ผู้ลงลายมือชื่อ
ฎ.1853/11 ออกเช็คโดยใช้แบบพิมพ์เช็คของผู้อื่น หากผู้ทรงนำไปขึ้นเงินไม่ได้ตัวผู้สั่งจ่าย ผู้สลักหลัง หรือผู้อาวัลย่อมต้องร่วมกัน
รับผิดกับผู้ทรง
ฎ.854/83 โจทก์ฟ้องจำเลยโดยระบุชื่อว่านายทวีศักดิ์ แต่จากกันตรวจสอบบัญชีพบว่า เช็คที่ออกนี้เป็นของบัญชีที่ชื่อว่านายกูเจี๊ยก
ข้อเท็จจริงปรากฏว่านายทวีศักดิ์และนายกูเจี๊ยก เป็นบุคคลคนเดียวกัน ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า จำเลยออกเช็คผู้ถือ แม้จะใช้บัญชีชื่อว่านายเจี๊ยก
แต่เมื่อได้ความว่าเป็นผู้ที่ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายก็ต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้น
เห็นได้ว่า แม้จะลงชื่อจริง ชื่อเล่น ชื่อฉายา ชื่อร้านค้า ก็ต้องรับผิดทั้งนั้น ถ้าปรากฏว่าเป็นผู้ลงลายมือชื่อตามม.900
**ถ้ามีการลงลายมือชื่อภายหลังจากการที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแล้ว จะต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้นหรือไม่
ฎ.313/21 ฎ.5766/37 กรณีเช็คผู้ถือ เช็คเมื่อเป็นเช็คแล้วถึงแม้ว่าธนาคารจะปฏิเสธการจ่ายเงินแล้ว ก็ยังคงเป็นเช็คอยู่ เช็คนั้นไม่ได้
เสียไป เพราะฉะนั้นเมื่อมีการไปลงลายมือชื่อในเช็คหลังจากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแล้วก็ต้องรับผิดฐานเป็นผู้รับอาวัล เพราะเช็คที่ลงชื่อ
เป็นเช็คผู้ถือ
หลัก ผู้ที่จะต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงิน คือ ผู้ที่ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินเท่านั้น ผู้ที่ไม่ได้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินก็ไม่
ต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงิน
ข้อยกเว้น ผู้ที่ลงลายมือชื่อลงในเช็คแล้ว ไม่ต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วมีอยู่ 3 ประการดังต่อไปนี้
1. ม.901 “ถ้าบุคคลใดลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินและมิได้เขียนแถลงว่า กระทำการแทนบุคคลอีกคนหนึ่งไซร้ ท่านว่าบุคคลนั้น
ย่อมเป็นผู้รับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้น”
ดังนั้น ถ้าบุคคลใดลงลายมือชื่อของตนในฐานะเป็นตัวแทนบุคคลอื่นแล้ว ก็ให้เขียนแถลงลงไปในตั๋วเงินเลยทีเดียว จะมาอ้าง
ภายหลังว่าทำแทนไม่ได้ ต้องรับผิดอย่างเดียวถ้าไม่เขียนแถลงไว้ตั้งแต่แรก(กฎหมายปิดปาก)
ดังนั้น เมื่อทำถูกต้องตามม.901 แล้ว ผู้ใดลงลายมือชื่อในตั๋วเงิน แต่ได้ระบุแถลงว่าทำการแทนบุคคลอื่นแล้ว ผู้ลงลายมือชื่อก็ไม่
ต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงิน
2 .ม.902 “ถ้าตั๋วเงินลงลายมือชื่อบุคคลหลายคนมีทั้งบุคคลที่ไม่อาจเป็นคู่สัญญาแห่งตั๋วเงินนั้นได้เลยหรือเป็นได้แต่ไม่เต็มผลไซร้
ท่านว่าการนี้ย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงความรับผิดของบุคคลอื่นๆ นอกนั้นซึ่งคงต้องรับผิดตามตั๋วเงิน”
ดังนั้นถ้าผู้ไร้ความสามารถลงลายมือชื่อหรือผู้เยาว์ที่ผู้แทนโดยชอบธรรมไม่ได้ให้ความยินยอมไปลงลายมือชื่อแล้ว ย่อมไม่ต้องรับ
ผิด แต่ถ้ามีลายมือชื่อผู้อื่นที่ลงลายมือไว้ ต่อจากผู้เยาว์นั้น ผู้นั้นก็ต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินต่อไป
3. ม.70 ผู้แทนของนิติบุคคล ลงลายมือชื่อในฐานะผู้แทน ดังนั้นเท่ากับว่านิติบุคคลเป็นผู้ลงลายมือชื่อ ผู้แทนไม่ต้องรับผิดเป็นการ
ส่วนตัว
กรณีที่ไม่ต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินในกรณีอื่น ๆ มีดังนี้
1. กรณีนิติบุคคล ซึ่งการทำการใดแทนนิติบุคคลนั้น ก็จะเป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการตั้งนิติบุคคลซึ่งระบุไว้ในหนังสือบริคณ
สนธิและระบุว่าให้ใครทำแทนได้ภายในเงื่อนไขอย่างใด ดังนั้นหากมีการลงชื่อจ่ายเงินในตั๋วเงินชนิดใดก็ตาม ถ้าทำไม่ถูกต้องตามระเบียบ
ตามที่หนังสือบริคณห์สนธิระบุไว้แล้ว นิติบุคคลก็จะไม่เข้ามาเป็นคู่สัญญา ซึ่งหมายความว่าไม่ต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้นเลย

2. ผู้บกพร่องในเรื่องความสามารถ ผู้เยาว์ ผู้ไร้ความสามารถลงชื่อในตั๋วเงิน ต่อมามีการบอกล้างโมฆียะกรรม ผู้ลงลายมือชื่อก็ไม่
ต้องรับผิด เพราะบุคคลเหล่านี้บกพร่องในเรื่องความสามารถ ม.902 ซึ่งเป็นเรื่องเฉพาะตัวของคู่สัญญาในตั๋วเงิน
3. กรรมการบริษัทเป็นผู้แทนของบริษัทลงลายมือชื่อแล้วไม่ต้องรับผิดเป็นการส่วนตัว
- ในทางแพ่งไม่ต้องรับผิด
- ในทางอาญาอาจจะต้องรับผิดในฐานตัวการร่วม
กรณีบุคคลที่ไม่ได้ลงลายมือชื่อด้วยตนเอง แต่ก็มีผลเท่ากับลงลายมือชื่อด้วยตนเองซึ่งต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้นมีดังนี้
1. - คือกรณีที่เจ้าของลายมือชื่อ มอบอำนาจให้คนอื่นลงลายมือชื่อ ของเจ้าของลายมือชื่อตามม.1008
- ถ้ามอบอำนาจให้คนเป็นตัวแทนเป็นเรื่องของมาตรา 901
2 .- เป็นเรื่องของเจ้าของลายมือชื่อถูกตัดบท ม.1008 คือ เจ้าของลายมือชื่อลงโดยปราศจากอำนาจ เช่น เจ้าของลายมือชื่อรู้เห็น
เป็นใจ ให้คนอื่นปลอมลายมือชื่อตนเองอาจจะให้ผู้อื่นเอาลายมือชื่อที่ตนลงไว้ในกระดาษแผ่นอื่นเอาไปทาบเขียนลายมือชื่อตน เพื่อจะโกง
ธนาคาร ดังนี้เจ้าของลายมือชื่อเป็นผู้ต้องตัดบทไม่ให้ยกเรื่องลายมือชื่อปลอมหรือลายมือชื่อที่ปราศจากอำนาจขึ้นต่อสู้เพื่อพ้นผิด
3 .-เป็นเรื่องมีบุคคลอื่นลงลายมือชื่อ ของเจ้าของลายมือชื่อโดยปราศจากอำนาจ แล้วต่อมาเจ้าของลายมือชื่อให้สัตยาบัน บุคคลที่
ไม่ได้ลงลายมือชื่อ อาจถูกฟ้องให้รับผิดได้แต่ต้องฟ้องในเรื่องตัวแทน (ฐานะเป็นตัวการ)
****ฎ.2109/43 จำเลยไปเปิดบัญชีกระแสรายวันและขอให้เช็คโดยให้ลายมือชื่อ และตกลงว่า ให้นาย ข.สั่งจ่ายให้ด้วย โดยที่จำเลย
ยินยอมรับ ผิดตามที่นาย ข.ทำไป อย่างนี้ถ้านาย ข.สั่งจ่ายเช็ค ตัวจำเลยก็ไม่ต้องรับผิดเพราะไม่ได้ลงลายมือชื่อตามมาตรา 900 แต่คดีนี้
โจทก์มาฟ้องจำเลยในฐานะตัวการ ให้รับผิดที่ตั๋วเงินที่นาย ข.สั่งจ่ายในฐานะตัวแทนจำเลยตาม ม.917,810 (ฎ.2109/43)
เจ้าหนี้ในตั๋วเงิน แบ่งได้เป็น 3 ประเภท
1 . ผู้ทรงตาม ม.904 มี หลักเกณฑ์
1. มีตั๋วในครอบครอง
2. ต้องมีมูลหนี้โดยชอบ
2. ผู้ทรงตามมาตรา . 905 (ชนิดระบุชื่อ) มีหลักเกณฑ์ดังนี้
1. มีตั๋วไว้ในครอบครอง
2. มีมูลหนี้โดยชอบ
3. เป็นผู้ทรงในฐานะผู้รับสลักหลัง(ไม่ใช้กับตั๋วผู้ถือ)
4. ต้องพิสูจน์ด้วยว่าได้รับตั๋วมาด้วยการสลักหลังไม่ขาดสายตามม.905
3. ลูกหนี้ในตั๋วที่ได้ใช้เงินให้ผู้ทรง ม.967ว.3 “สิทธิเช่นเดียวกันนี้ย่อมมีแก่บุคคลทุกคนซึ่งได้ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินและเข้าถือเอา
ตั๋วเงินนั้น ในการที่จะใช้บังคับเอาแก่ผู้ที่มีความผูกพันอยู่ก่อนตน” เป็นการไล่เบี้ยเอาแก่ผู้มีลายมือชื่อก่อนตนหรือเหนือตนขึ้นไป
อธิบายม.904 “มีตั๋วเงินไว้ในครอบครอง”
1. บุคคลใดก็ตามที่ได้เช็คผู้ถือมาโดยสุจริตแล้ว แม้ผู้ทรงคนก่อนตนจะได้มาโดยมิชอบก็ตามก็ยังเป็นผู้ทรงโดยชอบ
Ex. ก. ทำเช็คตกหายไป ข. เก็บได้จึงนำไปส่งมอบ เพื่อชำระหนี้ให้ ค. ปรากฏว่า ค. ไม่ทราบว่าเป็นเช็คที่เก็บได้ถือว่า ค. เป็นผู้ทรง
โดยชอบด้วยกฎหมายตาม ม.904,905ว.3
2. คำว่าครอบครอง ต้องตาม ม.1367 ต้องเป็นการครอบครองโดยเจตนจะยึดถือเพื่อตนด้วย ในทางตรงกันข้าม ม.1368 “บุคคล
อาจได้มาซึ่งการครอบครองโดยบุคคลอื่นยึดถือไว้ให้” ดังนั้น บุคคลที่ผู้อื่นยึดถือไว้ให้จึงเป็นผู้ทรงโดยชอบ
สรุป ใครเป็นผู้ครอบครองตั๋วเงิน เราถือตามความเป็นจริง
ตราบใดที่ยังไม่ได้ยึดถือตั๋วเงินเลย ยังถือไม่ได้ว่าเป็นผู้ทรง

ฎ.5422/41 โจทก์ไปรับซ่อมเครื่องถ่ายเอกสารจากบริษัท ส.โจทก์มอบหมายให้ลูกจ้างไปรับเงินค่าซ่อมเครื่องถ่ายเอกสาร เมื่อไป
ถึงจำเลยจึงให้ลูกจ้างของโจทก์ลงชื่อไว้ว่ารับเช็คแล้ว พอลงชื่อเสร็จจำเลยกลับไม่มอบเช็คพิพาท ให้กับลูกจ้างของโจทก์โดยอ้างว่าจะติดต่อ
กับโจทก์เอง ต่อมาโจทก์จึงฟ้องว่า จำเลยลักเช็คโจทก์
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า แม้เช็คดังกล่าวเป็นเช็คที่บริษัท ส. ออกให้เพื่อชำระค่าซ่อมเครื่องถ่ายเอกสารให้แก่โจทก์ก็ตาม แต่จำเลยยังไม่ส่ง
มอบเช็คให้โจทก์ อีกทั้งลูกจ้างของโจทก์ยังไม่ได้เข้ายึดถือครอบครองเช็คพิพาทไว้ โจทก์จึงยังไม่ได้เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบตามม.904
เช็คยังอยู่ในครอบครองของบริษัท ส. การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่นหรือที่ผู้อื่นเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยไปโดยทุจริต
จึงไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์
สรุป โจทก์ยังไม่เป็นผู้ทรงนั่นเอง
การฝากเช็คให้ผู้อื่นเรียกเก็บเงินผ่านบัญชี ยังถือว่าผู้ฝากยังคงเป็นผู้ทรงอยู่ เพียงแต่ฝากให้เรียกเก็บเงินแทนเท่านั้น
ฎ.1084/42,349/43 จำเลยจ่ายเช็คให้โจทก์ โจทก์จึงฝากมารดาให้นำเข้าบัญชีของมารดาโจทก์ เพื่อเรียกเก็บเงิน ธนาคารปฏิเสธการ
จ่ายเงิน โจทก์จึงฟ้อง จำเลยต่อสู้ว่าโจทก์ไม่ใช่ผู้ทรง
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า แม้โจทก์จะนำเข้าบัญชีของมารดาโจทก์เพื่อเรียกเก็บเงินก็ตาม ก็เป็นแต่เพียงนำเช็คเข้าเรียกเก็บโดย
อาศัยบัญชีของมารดาเท่านั้น เมื่อโจทก์ไม่ได้มอบหรือโอนสิทธิในเช็คพิพาทให้มารดาโจทก์ โจทก์ก็ยังเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทอยู่ในขณะที่
ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน และเป็นผู้เสียหายมีอำนาจฟ้องได้
หมายเหตุ ในทางตรงกันข้ามถ้ามารดาโจทก์มาฟ้องถือว่าไม่ใช่ผู้ทรง
บุคคลใดมีชื่อในตั๋วก็ตาม แต่ถ้าเป็นการยึดถือเช็คพิพาทแทนบุคคลอื่นผู้มีชื่อในเช็คก็ไม่ใช่ผู้ทรง
ฎ.7854/42,15/37 จำเลยออกเช็คระบุชื่อ ช. สาเหตุที่จำเลยออกเช็คสั่งจ่ายเพราะจำเลยทำละเมิดโจทก์ และจ่ายค่าเสียหายโจทก์โดย
ออกเช็ค แต่โจทก์เป็นชาวต่างชาติไม่มีบัญชีในไทย จึงออกเช็คระบุชื่อ ช. ซึ่งเป็นญาติชาวไทย ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ฟ้อง จำเลย
ต่อสู้ว่า โจทก์ไม่ใช่ผู้ทรงไม่มีอำนาจฟ้อง
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ช. ยึดถือเช็คพิพาทแทนโจทก์ถึงแม้ ช.จะยึดถือไว้แทน ช. ก็ไม่ใช่ผู้ทรง เพราะฉะนั้นเมื่อโจทก์เป็นผู้มีเช็คไว้ใน
ครอบครองโดยโจทก์เป็นผู้มีสิทธิรับเงินตามเช็ค ถือว่าโจทก์เป็นผู้ทรงมีอำนาจฟ้อง
ฎ.2232/33 จำเลยสั่งจ่ายเช็คระบุชื่อ ว. เป็นผู้รับเงินโดยไม่ได้ขีดฆ่าคำว่า หรือผู้ถือออก โดยจำเลยเข้าใจผิดคิดว่า ว.เป็นเจ้าของ
กิจการเพราะเคยเห็นแต่ ว.เป็นผู้ติดต่อค้าขาย
ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า จำเลยออกเช็คให้ ก็เจตนจะให้โจทก์นั่นเอง จำเลยหาได้สั่งจ่ายให้ ว. ในฐานะส่วนตัวไม่ โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็ค
พิพาทโดยชอบด้วยกฎหมายมีอำนาจฟ้อง
อธิบาย ม.905 “ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา 1008” หมายความว่า ม.1008 บัญญัติไว้อย่างไรก็ใช้ตามนั้น บังคับตามนั้น
ต่อ เมื่อไม่เข้ากรณีม.1008 แล้วจึงจะมาบังคับตาม ม.905ว.1
ม.1008 บัญญัติว่า “เมื่อใดลายมือชื่อในตั๋วเงินเป็นลายมือชื่อปลอมก็ดี เป็นลายมือชื่อลงไว้โดยที่บุคคลซึ่งปราศจากอำนาจ” ดังนั้น
ถ้าเป็นลายมือชื่อปลอมหรือลงโดยปราศจากอำนาจก็ต้องบังคับใช้ตามม.1008 แต่ถ้าไม่ใช่ลายมือปลอมหรือเป็นการลงลายมือชื่อโดยผู้มี
อำนาจจึงมาใช้ม.905 ได้
หลัก ม.905ว.1 ลายมือชื่อที่ลงในตั๋วเงินต้องเป็นลายมือชื่อที่แท้จริง และเป็นการลงลายมือชื่อที่มีอำนาจเท่านั้น
ถ้อยคำตามตัวบทที่ว่า “… บุคคลผู้ได้ตั๋วเงินไว้ในครอบครองถ้าแสดงให้ปรากฏสิทธิด้วยสลักหลังไม่ขาดสาย................ท่านให้
ถือว่าเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย... ” หมายความว่า ผู้ได้ตั๋วมาต้องพิสูจน์ว่าตนได้รับตั๋วที่มีการสลักหลังของคนก่อนๆ จนมาถึงตนนั้น
ต่อเนื่องไม่ขาดสาย ตั้งแต่ผู้รับเงินที่มีผู้สลักหลังติดต่อกันมาเป็นลำดับจนถึงผู้ที่โอนตั๋วให้แก่ตนไม่มีการขาดตอนเลย
ตัวอย่างที่ 1 นายกบ สั่งจ่ายเช็คโดยระบุชื่อนายบอม มอบให้แก่นายบอมเพื่อชำระหนี้ค่าสินค้า ต่อมานายบอมสลักหลัง
เช็คแล้วส่งมอบให้นางสาวกิ๊กเพื่อชำระหนี้เงินกู้ นางสาวกิ๊กสลักหลังและส่งมอบเช็คฉบับดังกล่าวให้นายเอกเพื่อชำระค่าเสื้อผ้า ดังนี้นาย
เอกเป็นผู้ทรงเช็คฉบับนี้โดยชอบด้วยกฎหมายเพราะมีเช็คไว้ในครอบครอง ซึ่งได้มาเพราะมีมูลหนี้ต่อกันจริง และเป็นผู้รับสลักหลัง ทั้งยัง

พิสูจน์ได้ว่าเช็คฉบับนี้โอนมายังตนโดยไม่ขาดสาย เพราะมีลายมือชื่อต่อกันมาเป็นทอด ๆ ตั้งแต่นายกบผู้สั่งจ่าย นายบอมผู้สลักหลังคนแรก
นางสาวกิ๊กผู้สลักหลังและส่งมอบให้ตน
ถ้อยคำตามตัวบทที่ว่า “… แม้ถึงว่าการสลักหลังรายที่สุดจะเป็นสลักหลังลอยก็ตาม ท่านให้ถือว่าเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วย
กฎหมาย.... ” หมายความว่า ผู้ลงลายมือชื่อคนสุดท้ายในตั๋วระบุชื่อแม้จะลงชื่อโดยสลักหลังลอย ผู้รับการสลักหลังก็ถือเป็นผู้ทรงโดยชอบ
ตัวอย่างที่ 2 หากข้อเท็จจริงเป็นไปตามตัวอย่างที่ 1 นายเอกซึ่งรับการสลักหลังลอยมาจากนางสาวกิ๊ก ถือเป็นผู้ทรงโดยชอบ
ถ้อยคำตามตัวบทที่ว่า “.... เมื่อใดรายการสลักหลังลอย มีสลักหลังรายอื่นตามหลังไปอีกท่านให้ถือว่า บุคคลผู้ที่ลงลายมือ
ชื่อในการสลักหลังรายทีสุดนั้น เป็นผู้ได้ไปซึ่งตั๋วเงินด้วยการสลักหลังลอย...”
ตั๋วเงินถ้ามีการสลักหลังลอย จะเกิดผลตาม 920 ว.2 คือ ผู้รับสลักหลังจะเกิดสิทธิ์ 3 ประการ ดังนี้ 1. ทำให้ตั๋วเป็นตั๋ว
สลักหลังเฉพาะต่อไป 2. สลักหลังลอยแล้วโอนต่อไป 3. ส่งมอบต่อไป(โดยไม่ลงลายมือชื่อ) ดังนั้นจึงทำให้เกิดการส่งมอบตั๋วโดยไม่มี
การลงลายมือชื่อได้ บุคคลผู้สลักหลังรายที่สุดก็คือ บุคคลที่ลงชื่อสลักหลังเป็นคนแรกหลังจากตั๋วเงินได้มีการส่งมอบกันมาโดยไม่มีการลง
ลายมือชื่อ
ตัวอย่างที่ 3 หากข้อเท็จจริงเป็นไปตามตัวอย่างที่ 1 นายเอกได้รับสลักหลังเช็คมาจากนางสาวกิ๊กแล้ว ก็โดนเช็คต่อให้นายโต้ง
เพื่อชำระหนี้โดยนายเอกไม่ลงลายมือชื่อใด ๆ ( มาตรา 920 วรรค 2 ( 3 ) ) นายโต้งก็โอนเช็คต่อไปให้นายขวัญโดยไม่ลงลายมือชื่อเช่นกัน
ต่อมานายขวัญลงลายมือชื่อสลักหลังโอนเช็คให้นายอ่ำเพื่อชำระหนี้
ตามตัวอย่างบุคคลผู้ลงลายมือชื่อในการสลักหลังลายที่สุดคือ ผู้ที่ลงชื่อเป็นคนแรกต่อจากผู้สลักหลังลอย นั่นก็คือ นายขวัญ ซึ่งลง
ลายมือชื่อเป็นคนแรกต่อจากการที่นางสาวกิ๊กได้สลักหลังลอยส่งมอบเช็คให้นายเอก กฎหมายให้ถือว่า นายขวัญได้รับเช็คไปจากนางสาว
กิ๊กโดยตรง ที่กฎหมายเขียนลักษณะนี้ก็เพราะ ให้ถือเสมือนว่าเช็ครายนี้มีการสลักหลังกันมาไม่ขาดตอน (เพราะกรณีนี้ นายเอก กับนายโต้ง
ไม่ได้ลงลายมือชื่อ เมื่อนายขวัญได้เช็คมาจึงโอนให้ใครก็ได้ สรุปว่า นายอ่ำเป็นผู้ทรงโดยชอบโดยพิสูจน์ได้ว่ารับเช็คมาโดยได้รับสลักหลัง
ไม่ขาดสายจาก นายกบ---นายบอม---นางสาวกิ๊ก---นายขวัญ----และโอนมายังตน
ถ้อยคำตัวบทที่ว่า “...อนึ่งคำสลักหลังเมื่อขีดฆ่าเสียแล้ว ท่านให้ถือเสมือนว่าไม่ได้มีเลย...” หมายความว่า กฎหมายให้อำนาจขีดทิ้ง
ได้ ไม่เป็นการปลอมตั๋วเงิน เพราะกฎหมายให้อำนาจไว้
ดอกเบี้ยในตั๋วเงิน
ป.พ.พ.มาตรา 911 “ผู้สั่งจ่ายจะเขียนกำหนดลงไว้ว่าจำนวนเงินอันจะพึงใช้นั้นให้คิดดอกเบี้ยด้วยก็ได้ และในกรณีเช่นนั้น ถ้ามิได้
กล่าวลงไว้เป็นอย่างอื่น ท่านว่าดอกเบี้ยย่อมคิดแต่วันที่ลงในตั๋วเงิน”
ม.985 “ให้นำบทบัญญัติ ม.911 มาใช้ด้วย” (ตั๋วสัญญาใช้เงิน) เพราะฉะนั้น ตั๋วแลกเงินและตั๋วสัญญาใช้เงิน จึงสามารถที่จะเขียน
ข้อความเรื่องดอกเบี้ยลงในตั๋วด้วยก็ได้ ม.988
เช็ค กฎหมายไม่ได้บัญญัติให้นำเรื่อง ม.911 ไปใช้ จึงไม่สามารถเขียนเรื่องดอกเบี้ยลงในเช็คได้ ซึ่งถ้าเขียนลงไป ผลก็จะเป็นไป
ตาม ม.899 คือ จะไม่มีผลใด ๆ เลยเหมือนกับไม่มีข้อความนั้นอยู่
เหตุที่กฎหมายบัญญัติให้เรื่องดอกเบี้ยแตกต่างกันนั้น ในเพราะ ใน ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน ม.913(1) ,(2), (3) มีกำหนดเวลาใช้
เงินห่างกันกับเวลาออกตั๋วเป็นช่วงเวลาที่นาน ส่วนเรื่อง เช็ค เป็นเรื่องสั่งให้ธนาคารใช้เงินเมื่อทวงถาม จึงมีระยะเวลาสั้น ไม่จำต้องเขียน
ดอกเบี้ย
Ex. ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน เมื่อ 1 มิ.ย. 46 ให้ใช้เงินเมื่อวันที่ 1 ธ.ค.46 ดังนั้นมีระยะเวลานาน จึงให้เขียนดอกเบี้ยได้
ม.911 ในเรื่องการเขียนระบุดอกเบี้ยนั้น ถ้าจะเขียนก็ต้องเขียนลงในตั๋วแลกเงิน หรือ ตั๋วสัญญาใช้เงินเท่านั้น จะเขียนลงในที่อื่น
หรือเอกสารแผ่นอื่นไม่ได้ แม้จะมีพยานมาสืบก็ตามก็ไม่สามารถอ้างได้ ในทางเดียวกัน การตกลงด้วยวาจาว่าจะให้ดอกเบี้ยนั้น จึงไม่มีผล
เพราะกฎหมายบัญญัติว่าให้เขียนลงในตั๋วเงิน
๑๐
ฏ.335/2509 ข้อกำหนดให้คิดดอกเบี้ยตามที่โจทก์นำสืบมิได้ระบุในตั๋วแลกเงิน ฉะนั้นแม้โจทก์จะมีพยานบุคคลสืบได้ความว่า
จำเลยยอมเสียดอกเบี้ยให้โจทก์ร้อยละ 15 ต่อปี หามีผลบังคับให้จำเลยต้องเสียดอกเบี้ยตามที่โจทก์นำสืบไม่ เพราะฉะนั้นจะไปเรียกดอกเบี้ย
ตั้งแต่วันออกตั๋วถึงวันกำหนดใช้เงินไม่ได้
สรุป การที่จะบังคับเรื่องดอกเบี้ยในตั๋วแลกเงิน หรือ ตั๋วสัญญาใช้เงินได้ ต้องเขียนระบุไว้ในตั๋วเงินเท่านั้น
ในกรณี ผู้สั่งจ่ายตั๋วแลกเงินก็ดี ผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินก็ดี เขียนข้อกำหนดดอกเบี้ยลงในตั๋วเงินนั้น นอกจากจะมีผลผูกพัน ผู้สั่ง
จ่ายหรือผู้ออกตั๋วแล้ว ให้มีผลผูกพันถึงคู่สัญญาอื่น ๆ ในตั๋วเงินด้วยทุกคน ถ้าต่อมามีการสลักหลังต่อไป
หลัก ที่ต้องผูกพันเพราะผู้สั่งจ่ายหรือผู้ออกตั๋วเป็นผู้ให้กำเนิดตั๋วขึ้นมา เพราะฉะนั้นใครก็ตามที่เข้ามาผูกพันเมื่อเห็นข้อความใน
ตั๋วแล้ว ถือว่าสมัครใจเข้ามาผูกพันจึงต้องรับผิดในตั๋ว
ข้อยกเว้น ในตั๋วแลกเงิน ม.915 ผู้สั่งจ่ายตั๋วแลกเงิน หรือ ผู้สลักหลังคนใด ๆ ก็ดี จะจดข้อความลงไว้ในตั๋ว (1) ลบล้างหรือจำกัด
ความรับผิด ดังนั้น ผู้ใดเขียนยกเว้นความรับผิดไว้ คนนั้นก็ไม่ต้องรับผิด
ระยะเวลาในการคิดดอกเบี้ย เริ่มนับเมื่อใด
- ถ้าระบุอัตราดอกเบี้ยไว้ ตาม ม.911 แต่ไม่ได้ระบุให้ชัดเจนว่าจะให้เริ่มนับเมื่อใดนั้น ให้คิดตั้งแต่วันที่ลงในตั๋ว (วันออกตั๋ว)
- แต่ถ้าระบุลงในตั๋วว่า อัตราดอกเบี้ย จำนวน .... ให้คิดตั้งแต่วันที่ .... (ซึ่งไม่ใช่วันที่ออกตั๋ว) อย่างนี้ใช้บังคับได้
*** อัตราดอกเบี้ยระบุให้คิดตั้งแต่เมื่อใดให้เป็นไปตามนั้น
คำถาม เมื่อมีการผิดนัดใช้เงินตามตั๋วแล้ว อัตราดอกเบี้ยที่ระบุไว้จะลดลงหรือไม่
ตอบ ไม่ลดลง ให้ถือไปตามนั้นจนกว่าจะชำระเงินเสร็จสิ้น
ฏ.943/2539, 193/2536 -- ตั๋วสัญญาใช้เงินระบุว่าผู้ออกตั๋วได้ออกตั๋วเมื่อวันที่ 17 มิ.ย. 2528 สัญญาว่าจะจ่ายเงิน 10 ล้านบาทพร้อม
ดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปี ในวันที่ 17 มิ.ย. 2529 โจทก์จึงมีสิทธิคิดอกเบี้ยได้ตั้งแต่ 17 มิ.ย. 2528 ซึ่งเป็นวันออกตั๋วสัญญาใช้เงิน เมื่อระบุอัตรา
ดอกเบี้ยไว้แต่ไม่ได้ระบุว่าให้คิดดอกเบี้ยตั้งแต่เมื่อใด ตาม ม.911 บัญญัติไว้ให้คิดตั้งแต่วันออกตั๋ว
ฏ. 64/2537, 5007/2536 -- เมื่อได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้โดยนิติกรรม ตั๋วสัญญาใช้เงิน และครอบกำหนดใช้เงิน จำเลยเป็นฝ่าย
ผิดนัด โจทก์ผู้ทราบจึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวจากต้นเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินต่อไปจนกว่าจะชำระเสร็จ ตาม ม.224 ว.1
กรณีผู้สั่งจ่ายตั๋วแลกเงินหรือผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินไม่ได้ระบุดอกเบี้ยลงในตั๋ว
ถาม มีการออกตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือ สั่งจ่ายตั๋วแลกเงิน เมื่อตั๋วถึงกำหนด มีการนำตั๋วไป เรียกเก็บเงินโดยในตั๋วไม่ได้กำหนดระบุ
ดอกเบี้ยเอาไว้ กรณีอย่างนี้ต้องมีการใช้ดอกเบี้ยด้วยหรือไม่ ตอบ ไม่ต้องใช้ดอกเบี้ย
ม.911 กฎหมายให้สิทธิเขียนระบุดอกเบี้ยแล้ว เมื่อไม่เขียนลงไป ผู้ทรงก็จะเรียกดอกเบี้ยไม่ได้ แต่ผู้ทรงจะคิดอกเบี้ยได้ ก็ต่อเมื่อ
กรณีมีการผิดนัดไม่ใช้เงินตามตั๋ว ซึ่งดอกเบี้ยผิดนัด **ไม่ใช่ร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามมาตรา 224 เพราะเรื่องตั๋วเงิน ม.968(2) “ผู้ทรงเรียกร้อง
เอาเงินใช้จากบุคคลซึ่งตนใช้สิทธิไล่เบี้ยนั้นก็ได้ คือ (2) ดอกเบี้ย ***อัตราร้อยละ 5 ต่อปี นับแต่วันถึงกำหนด”
ฏ.312/2531 --- ตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งมิได้ระบุเรื่องดอกเบี้ยไว้ เมื่อถึงกำหนดชำระ ผู้ทรงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละ 5 ต่อ
ปี นับแต่วันที่ตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนด จากบรรดาผู้สลักหลังผู้สั่งจ่ายและบุคคลอื่น ๆ ผู้ต้องรับผิดในตั๋วเงินนั้น ผู้ทรงจึงมีสิทธิเรียกเอา
ดอกเบี้ยได้ ในอัตราเพียงร้อยละ 5 ต่อปี จากผู้รับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงิน ซึ่งต้องร่วมกันรับผิดกับบุคคลดังกล่าว
กฎหมายใช้คำ 2 คำดังนี้
1. ลูกหนี้ชั้นต้น หมายความถึง บุคคลผู้จะต้องรับผิดต่อผู้ทรงเป็นลำดับแรก คือ ผู้ที่ลงลายมือชื่อในตั๋วเงินและจ่ายเงินตามตั๋ว
2. ลูกหนี้ที่ถูกไล่เบี้ย เป็นเรื่องผู้สั่งจ่ายเช็คหรือผู้สั่งจ่ายตั๋วแลกเงินหรือผู้สลักหลังก็ดี บุคคลเหล่านี้ไม่ได้มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินตามตั๋ว
การจะฟ้องบุคคลเหล่านี้ จึงต้องทำตามขั้นตอนก่อน ให้อยู่ในเงื่อนไขว่า ผู้ถูกสั่งให้จ่ายเงินไม่จ่ายเงิน หรือทวงถามเงินเมื่อเช็คถูกปฏิเสธ
ก่อน (ผู้จ่ายคือธนาคาร)
ในเรื่อง ตั๋วสัญญาใช้เงิน ลูกหนี้ชั้นต้น คือ ผู้ออกตั๋ว เพราะเป็นผู้จ่ายเงินเอง
อย่างไรก็ตาม ทั้ง 2 จำพวกนี้ก็ต้องร่วมกันรับผิดในตั๋วเงินอยู่ดีนั้นเอง และการรับผิดในดอกเบี้ยก็ต้องรับผิดเหมือนกันเท่ากันหมด
ทุกคน
๑๑
ดอกเบี้ยในเรื่องเช็ค
ผู้ทรงจะสามารถเรียกดอกเบี้ยได้ ก็ต่อเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค เพราะหนี้ตามเช็ค ถือเป็นหนี้เงิน ตาม ม.224 และหนี้
เงินตามเช็คจะถือว่า ลูกหนี้ผิดนัดก็ต่อเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเท่านั้น
หลัก ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเมื่อใด เริ่มคิดดอกเบี้ยได้ตั้งแต่ ตอนนั้นเป็นต้นไป โดยเรียกได้ในอัตรา 7.5 ต่อปี ตาม ม.224
โดยเรียกได้จากลูกหนี้ทุกคนในเช็ค ซึ่งต้องร่วมกันรับผิด ฏ.4686/2536, 41 – 42 /2539
ดอกเบี้ยตามสัญญาขายลดเช็ค
อัตราดอกเบี้ยให้เป็นไปตามสัญญา สัญญาตกลงไว้ว่าอย่างไรก็ให้เป็นไปตามนั้น เพราะ เขาไม่ได้ฟ้องตามตั๋วเงิน เขาฟ้องตาม
สัญญาใช้เงิน
กรณีมีคู่สัญญาหลายคน ฏ.3567/2525 --- จำเลยที่ 1 ขายลดเช็คทำสัญญาจะใช้ดอกเบี้ยถ้าถูกปฏิเสธการจ่ายเงิน ร้อยละ 15 ต่อปี
ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นผู้สั่งจ่ายเช็คไม่ได้เป็นคู่สัญญา ดังนั้น ต้องแยก ดอกเบี้ยสำหรับจำเลยที่ 1 เรียกได้ ร้อยละ 15 ต่อปี จำเลยที่ 2 ร้อยละ 7.5
ต่อปี
วันถึงกำหนดใช้เงิน
ตั๋วแลกเงิน และ ตั๋วสัญญาใช้เงิน ม.913 , 985 , 983(3) จะถึงกำหนดได้หลายกรณี
ม.913 (1) --- วันใดวันหนึ่งที่กำหนดไว้ เมื่อลูกหนี้ในตั๋วไม่ใช้เงินก็จะตกเป็นผู้ผิดนัดโดยมิพักต้องเตือน
ม.913 (2) --- เมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้ นับแต่วันที่ลงในตั๋วนั้น หรือ นับจากวันออกตั๋วไปจนครบระยะเวลาที่กำหนดในวัน
ออกตั๋ว เช่น 3 เดือนนับแต่วันออกตั๋ว หรือ 30 วัน นับแต่วันออกตั๋ว
ฏ.557/2532 -- (ตั๋วสัญญาใช้เงินระบุว่า 56 วันจะใช้เงิน) ตั๋วตามที่กำหนดไว้ใน ป.พ.พ. ม.913(2) เมื่อครบกำหนดแล้วให้ตกเป็นผู้
ผิดนัดโดยมิพักต้องเตือนเลย เพราะถือว่ากำหนดวันที่แน่นอนตามวันแห่งปฏิทิน
ม.913 (3) --- เมื่อทวงถาม หรือเมื่อได้เห็น หรือ ถึงกำหนดใช้เงินเมื่อได้เห็น ผู้ทรงตั๋วต้องยื่นตั๋วให้กับผู้จ่ายหรือผู้ออกตั๋วภายใน
กำหนด 6 เดือน นับแต่วันที่ลงในตั๋วนั้น
Ex. ตั๋วลงวันที่ 1 มิ.ย.46 เขียนในตั๋วว่า ใช้เงินเมื่อได้เห็น ตั๋วแลกเงินฉบับนี้ โปรดจ่ายให้แก่นาย ก. ดังนั้น นาย ก. จึงต้องนำตั๋ว
ไปยื่นภายใน 6 เดือน (ม.944,928) นับแต่วันออกตั๋ว
ข้อสังเกต 1. ตั้งแต่วันออกตั๋วจนครบกำหนด 6 เดือน นับแต่วันออกตั๋ว ยื่นวันไหน ถึงกำหนดใช้เงินวันนั้น
2. ตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือ ตั๋วแลกเงินจะยื่นวันไหนก็ได้ นับแต่วันออกตั๋วหรือวันสั่ง แต่ต้องไม่เกิน 6 เดือน นับแต่วัน
ออกตั๋ว
ในกรณีเช็ค วันถึงกำหนดใช้เงินตามเช็ค คือ เมื่อทวงถาม หมายความว่า ทวงถามเมื่อไร ก็ต้องใช้เงินเมื่อนั้นและจะเริ่มทวงถาม
ได้เมื่อตั้งแต่วันที่ลงในเช็คนั้นเป็นต้นไป
วันถึงกำหนดใช้เงินตามตั๋วแลกเงิน หรือ ตั๋วสัญญาใช้เงิน ตาม ม.913
1. เมื่อทวงถาม ประเภทนี้จะไม่อยู่ในบังคับ ม.944 ที่ผู้ทรงจะต้องยื่นภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่ลงในตั๋ว โดยถือเอาวันที่ผู้ทรง
ทวงถามเป็นวันถึงกำหนดใช้เงินและกฎหมายก็ไมได้บังคับว่าจะต้องทวงถามในระยะเวลาใด
2. เมื่อได้เห็น คือ ตั้งแต่วันที่ออกตั๋วเป็นต้นไป (คือ วันที่ที่ลงในตั๋วนั่นเอง) แต่จะยื่นให้ใช้เงินภายหลัง 6 เดือนนับแต่วันออกตั๋ว
ไม่ได้ สรุปก็คือ เอาตั๋วไปให้เห็นวันไหนก็ถึงกำหนดใช้เงินวันนั้น แต่ต้องยื่นภายใน 6 เดือนเท่านั้น
ฏ.1062/2540(ป) --- จำเลยออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่โจทก์ลงวันที่ 19 ธ.ค.2529 สัญญาว่าจะใช้เงิน 1286 ล้านบาทเศษ โดยมีวัน
ถึงกำหนดใช้เงินเมื่อทวงถาม (วันถึงกำหนดใช้เงินจึงเป็นไปตาม ม.913(3)) ปรากฎว่าเมื่อปี พ.ศ. 2533 โจทก์มีหนังสือทวงถามไปถึงจำเลย
เมื่อวันที่ 7 ก.ย.2533 (คือวันที่ลงในหนังสือทวงถาม) จำเลยได้รับหนังสือ เมื่อ 12 ก.ย. 2533 แล้วจำเลยไม่ชำระ โจทก์จึงนำคดีมาฟ้อง เมื่อ
14 ก.ย. 2536 (กำหนดฟ้องดดีภายใน 3 ปี นับแต่วันถึงกำหนดใช้เงิน)
ปัญหามีว่าจะถือว่าตั๋วสัญญาใช้เงินถึงกำหนดทวงถามวันไหน ข้อเท็จจริงมีว่า ในหนังสือทวงถามระบุว่า “ขอให้ท่านใช้เงิน
ภายใน 7 วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือทวงถามฉบับนี้” (ปัญหามีว่าจะต้อง บวกอีก 7 วันนับแต่วันที่จำเลยได้รับหนังสือทวงถามหรือไม่
เพราะถ้าบวกอีก 7 วัน เข้าไปก็จะครบกำหนด 3 ปี ในวันที่ 19 ก.ย.2536 อายุความก็จะไม่ขาด)
๑๒
ศาลฏีกาวินิจฉัยว่า ตาม ป.พ.พ. ม. 169 (ใช้บังคับในขณะนั้น) กำหนดอายุความเริ่มนับตั้งแต่วันที่อาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้
เป็นต้นไป เมื่อตั๋วสัญญาใช้เงินกำหนดไว้ชัดเจนว่า ผู้ออกตั๋วสัญญาจะใช้เงินเมื่อทวงถาม ดังนั้น วันถึงกำหนดใช้เงินของตั๋วสัญญาใช้เงิน
พิพาท จึงหมายถึง วันที่โจทก์ผู้ทรงตั๋วสัญญาใช้เงินทวงถามให้ผู้ออกตั๋วใช้เงิน ตาม ม.913(3) หาใช้ถึงกำหนดใช้เงินในวันออกตั๋วไม่ ต้อง
นับวันที่ครบกำหนดทวงถามเป็นวันที่ครบกำหนด และกำหนดใช้เงินตามหนังสือทวงถามของโจทก์กำหนดให้จำเลยใช้เงินภายใน 7 วันนับ
แต่ได้รับหนังสือดังกล่าว (อย่างนี้ก็ต้องตีความว่าโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหน้าในตั๋วนั้น จะเรียกให้ชำระเงินก่อนถึงกำหนด 7 วันนั้นไม่ได้ แต่ฝ่าย
จำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้สามารถจะชำระก่อนครบกำหนดนี้ได้ ดังนั้น หากพ้นกำหนด 7 วันดังกล่าวนี้ แล้วจึงจะถือว่าจำเลยผิดนัด ซึ่งโจทก์อาจ
บังคับให้จำเลยใช้เงินตามตั๋วพิพาทนี้ได้ นับแต่วันครบกำหนด 7 วัน ตามหนังสือทวงถามเป็นต้นไป) ดังนั้น จึงต้อง บวก 7 วันเข้าไปด้วย
อายุความจึงเริ่มนับ วันที่ 20 ก.ย. 2533 เป็นต้นไป ดังนั้นเมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องเมื่อวันที่ 14 ก.ย. 36 จึงไม่พ้นกำหนด 3 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาด
อายุความ (ตาม ม.1001)
ม.913 (4) --- เมื่อสิ้นระยะเวลาอันกำหนดไว้นับแต่ได้เห็น เป็นการนับตั้งแต่ผู้สั่งจ่ายได้เห็นตั๋ว หรือรับรองตั๋วนั้น นับไปจนครบ
กำหนดระยะเวลาที่กำหนดไว้
Ex. นาย ก. ออกตั๋วแลกเงินสั่งใช้เงินให้ ค. ภายใน 180 วัน นับแต่ได้เห็น (วันถึงกำหนดใช้เงินกรณีนี้จะนับตั้งแต่ผู้จ่ายเงินได้เห็น
หรือรับรองตั๋ว คือ เอาตั๋วไปให้ผู้จ่ายเห็นเสียก่อนแล้วนับไปอีก 180 วัน)
ปัญหามีว่า ผู้ทรงจะต้องเอาตั๋วไปให้ผู้จ่ายเงินเห็นภายในระยะเวลาใด กฎหมายกำหนดไว้ใน ม.928, 913 (ภายใน 6 เดือนผู้ทรง
จะต้องเอาตั๋วไปให้ผู้จ่ายเห็น เมื่อผู้จ่ายเห็นแล้วก็เริ่มนับระยะเวลา 180 วัน จนครบ)
สรุป ถ้ามีการอื่นตั๋วให้รับรองในวันใด และผู้จ่ายรับรองวันนั้นก็จะเป็นวันเริ่มเห็นตั๋ว
Ex. ตามตัวอย่าง ค. นำตั๋วไปให้ ข. เห็น วันที่ 1 ธ.ค. 45 ก็จะเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 45 ไปจนครบ 180 วัน เมื่อครบ 180 วัน ก็จะ
เป็นวันถึงกำหนดใช้เงินตั้งแต่วันครบ 180 วันนั้นเป็นต้นไป
การโอนตั๋ว
ตั๋วแลกเงิน – ตั๋วสัญญาใช้เงิน - เช็ค เป็นตราสารที่สามารถโอนกันได้ เป็นทอด ๆ บุคคลที่เข้ามาเป็นคู่สัญญา จึงมีได้ไม่จำกัด
จำนวนโดยการลงลายมือชื่อ
ตั๋วเงิน สามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด
1. ชนิดระบุชื่อ มีได้ทั้ง 3 ชนิดคือ ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน และ เช็ค
2. ชนิดผู้ถือ มีได้ 2 ชนิดคือ ตั๋วแลกเงิน และ เช็ค
วิธีการโอน ตั๋วเงินชนิดระบุชื่อ ตาม ม.917 เป็นการโอนตั๋วแลกเงินชนิดระบุชื่อ แต่นำไปใช้ในเรื่องตั๋วสัญญาใช้เงินและเช็คด้วย
โดยผล ม. 985 และ 989
ม.917 วรรคแรก อันตั๋วเงินทุกประเภท (3 ประเภท) “ถึงแม้ว่าจะมิใช่สั่งจ่ายให้แก่บุคคลเพื่อเขาสั่งก็ตาม” หมายความว่า
ถึงแม้ว่าผู้สั่งจ่ายหรือผู้ออกตั๋ว จะสั่งจ่ายโดยระบุชื่อผู้รับเงิน ไม่มีข้อความ “หรือตามเขาสั่ง” ตั๋วเงินฉบับนั้นก็สามารถจะโอนต่อไปได้
ด้วยการสลักหลังและส่งมอบ
การโอนตั๋วชนิดระบุชื่อจึงอยู่ภายใต้ ม.917 คือ “ย่อมโอนให้กันได้ด้วย สลักหลังและส่งมอบ”
วิธีสลักหลัง ม.919 ว.1 ซึ่งแบ่งวิธีสลักหลังออกเป็น 2 วิธี
1. สลักหลังเฉพาะ คือ สลักหลังโดยระบุชื่อผู้รับโอนหรือผู้รับประโยชน์ไว้แล้วลงลายมือชื่อผู้โอน
2. สลักหลังลอย คือ การลงชื่อผู้โอนไว้โดยไม่ได้ระบุชื่อผู้รับโอนหรือผู้รับประโยชน์
การสลักหลังเฉพาะ จะสลักหลังไว้ที่ใดกฎหมายไม่ได้ระบุไว้ แต่ทางปฏิบัติจะนิยมสลักหลังไว้ที่ด้านหลังตั๋ว เนื่องจากมีอักษร
ข้อความกำกับอยู่แล้วว่าโอนให้คนนี้ แม้จะเขียนไว้ด้านไหนก็ไม่ทำให้หรือแปลความไปเป็นอย่างอื่น
๑๓
การสลักหลังลอย สรุปได้ดังนี้
1. การสลักหลังลอยจะมีเฉพาะในตั๋วระบุชื่อผู้รับเงินเท่านั้น
2. การสลักหลัง หมายความถึง การที่ผู้สลักหลังลงลายมือชื่อด้านหลัง ตั๋วเงิน “เน้น” ---> ต้องกระทำด้าน “หลัง” เท่านั้น และ
ต้องไม่ระบุชื่อผู้รับประโยชน์หรือผู้รับโอนตั๋ว
3. ส่งมอบตั๋วให้แก่ผู้รับโอน
ถาม ไปลงลายมือชื่อที่ด้านหน้าของตั๋วเงินผลจะเป็นเช่นไร ตอบ จะเป็นการอาวัล (ม.939 วรรคสาม)
ม.920 การสลักหลังย่อมโอนไปซึ่งสิทธิอันเกิดแต่ตั๋วแลกเงิน
(1) หมายความว่า ผู้รับโอนตั๋วด้วยการสลักหลังลอยมา อาจจะต้องการโอนตั๋ว เช่น ต้องการโอนตั๋วที่ นาย ก. สลักหลังลอยมาให้
ตน ให้กับนาย ข. ก็อาจจะเขียนด้านหลังว่าโอนให้แก่ ข. เหนือลายมือชื่อ นาย ก. ก็ได้ ซึ่งจะมีผลว่า นาย ก. โอนตั๋วแบบเฉพาะให้ ข. ก็มีผล
ใช้บังคับได้
(2) เช่น ถ้า ค. ซึ่งรับโอนแบบสลักหลังมาจาก ก. ต้องการโอนต่อให้ ข. ก็อาจโอนแบบเฉพาะ หรือ แบบสลักหลังลอยให้ ข.ก็ได้
ทั้งสองแบบ
***(3) สามารถโอน แบบส่งมอบเฉย ๆ เหมือนตั๋วผู้ถือได้ โดยผู้โอนแบบนี้ไม่ต้องรับผิดหากมีการผิดสัญญาขึ้นมา เพราะไม่ได้
ลงลายมือชื่อ ตาม ม.900
แต่ข้อสังเกต แม้จะโดนโดยส่งมอบเฉย ๆ ก็ตาม ตั๋วเงินนั้นก็ยังคงสภาพเป็นตั๋วชนิดระบุชื่ออยู่เช่นเดิม
ม.922 เป็นหลักของการสลักหลัง ห้ามสลักหลังโดยมีเงื่อนไขในการโอนตั๋วเงิน ซึ่งถ้าเขียนเงื่อนไข ก็ให้ถือเสมือนไม่มีการเขียน
ข้อความใด ๆ ลงไปในตั๋วเงินนั้นเลย
Ex. เขียนลงไปในตั๋วว่า ให้เป็นผลว่าจะโอนต่อเมื่อนาย ก. สอบเนติฯได้ ผลก็คือ เท่ากับไม่ได้เขียนข้อความใด ๆ ลงไปเลย ซึ่ง ก.
ก็กลายเป็นผู้ทรงตั๋วโดยสมบูรณ์ แม้จะยังสอบเนติฯ ไม่ได้ก็ตาม
ข้อระวัง อย่าจำสับสนกับชั้นในการออกตั๋วเงิน ซึ่งจะไปวางเงื่อนไขไม่ได้ เพราะจะทำให้ตราสารนั้นไม่สมบูรณ์เป็นตั๋วเงิน
Ex. ไประบุว่าจ่ายเงินเมื่อ นาย ก. สอบเนติฯ ได้ อย่างนี้ตราสารไม่สมบูรณ์เป็นตั๋วเงิน แต่ถ้าไปวางเงื่อนไขเกี่ยวกับความรับผิด
สามารถทำได้ (ม.915)
Ex. นาย ก. ออกตั๋วให้ ข. และเขียนระบุเงื่อนไขว่า แต่ทั้งนี้ ข้าพเจ้าขอรับผิดตามตั๋ว เพียงกึ่งหนึ่ง (สามารถทำได้)
ม.922 วรรคท้าย สลักหลังโอนแต่บางส่วนเป็นโมฆะ
การโอนตั๋วชนิดผู้ถือ (ม.918,921) นำไปใช้เรื่องเช็ค ม.989 มี 2 กรณี
1. ตั๋วผู้ถือล้วน ๆ (ไม่ได้ระบุชื่อใครลงในตั๋ว)
2. ตั๋วระบุชื่อผู้รับเงินและมีข้อความหรือผู้ถืออยู่ด้วย ซึ่ง ศาลฏีกา แปลความว่า ผู้สั่งจ่ายไม่ได้ประสงค์จะให้ใช้เงินให้แต่เฉพาะผู้ที่
ระบุชื่อไว้เท่านั้น หากแต่ยังส่งให้ใช้เงินแก่ผู้ถือด้วย
ข้อที่จำสับสน บ่อย ๆ
เช็คขีดคร่อม ซึ่งการขีดคร่อมจะมีได้เฉพาะในเช็คเท่านั้น ถ้าไปขีดคร่อมในตั๋วแลกเงินหรือตั๋วสัญญาใช้เงินก็จะไม่มีผลตาม ม.899
หลัก การขีดคร่อมนั้น มีแต่เพียงว่า ธนาคารผู้ใช้เงินจะใช้เงินตามเช็คให้แก่ผู้ทรางที่มาขึ้นเงินโดยตรงไม่ได้ แต่ธนาคารจะเงินได้
โดยผ่านธนาคารด้วยกัน เพราะฉะนั้น ถ้าหากเช็คที่มีการขีดคร่อมก็ย่อมโอนกันได้ตามปกติ
ซึ่งถ้าเป็นเช็คระบุชื่อ แล้วมีการขีดคร่อม --> โอนโดยการสลักหลังแล้วส่งมอบ
ถ้าเป็นเช็คชนิดผู้ถือ แล้วมีการขีดคร่อม --> โอนโดยการส่งมอบ
ฏ.2485/2523, 1015/2532 , 4336/2534
- เช็คพิพาทเป็นเช็คที่สั่งจ่ายแก่บริษัท ธ. ผู้ถือ แม้จะมีการขีดคร่อม แต่มิได้ระบุห้ามโอนจึงมีการโอนได้โดนส่งมอบ
- เช็คพิพาทเป็นเช็คขีดคร่อมโดยทั่วไปสั่งจ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 3 โดยมิได้มีการระบุว่าห้ามเปลี่ยนมือ จำเลยที่ 3 ย่อมโอนโดยสลัก
หลังและส่งมอบต่อได้
๑๔
เช็คผู้ถือ ถึงแม้ธนาคารได้ปฏิเสธ การจ่ายเงินแล้วก็สามารถโอนกันได้ ดังนั้น แม้ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินในเช็คผู้ถือแล้ว เมื่อ
ไปลงลายมือชื่อโอนต่อก็ต้องรับผิด (ในฐานะผู้อาวัล) ฏ.2062/2537,1043/2534,5435/2533
ม.990 ผู้ทรงจะต้องยื่นเช็คให้ธนาคารใช้เงินภายในกำหนด (1,3 เดือน) ถ้าไม่ยื่นจะสิ้นสิทธิที่จะไล่เบี้ย...
คำว่า “ผู้สลักหลัง” หมายถึง เช็คระบุชื่อ
การโอนตั๋วที่มีข้อกำหนดว่าเปลี่ยนมือไม่ได้ ตามบทบัญญัติที่เกี่ยวข้อง มี 3 มาตรา
1. ม.917 วรรค 2 เป็นเรื่องผู้สั่งจ่ายหรือผู้ออกตั๋ว เขียนคำว่า “เปลี่ยนมือไม่ได้ ซึ่งเป็นการคุ้มครองผู้สั่งจ่ายหรือผู้ออกตั๋ว
2. ม.923 ผู้สลักหลัง “ห้ามสลักหลัง” ลงในตั๋ว ซึ่งเป็นการคุ้มครอง ผู้สลักหลัง
3. ม.995(3) เช็คขีดคร่อมที่ผู้ทรงจะเติมคำว่า “ห้ามเปลี่ยนมือ” ลงในเช็คขีดคร่อม ซึ่งเป็นการคุ้มครองผู้ทรง
1. ม. 917 วรรคสอง ซึ่งเป็นบทบัญญัติในเรื่องตั๋วแลกเงิน แต่นำไปใช้กับเรื่องตั๋วสัญญาใช้เงินและเช็คด้วย โดยผ่านมาตรา
985,989
โดยหลัก ตาม ม.917 วรรคแรก ตั๋วเงินทั้ง 3 ประเภท (ตั๋วแลกเงิน,ตั๋วสัญญาใช้เงิน,เช็ค) เป็นตราสารที่สามารถโอนเปลี่ยนมือได้
และสามารถโอนให้กันได้ด้วยสลักหลังและส่งมอบ
แต่เมื่อผู้สั่งจ่ายหรือผู้ออกตั๋วไม่ต้องการให้ตั๋วเงินโอนกันได้ในวิธีการอย่างตั๋วเงินจะต้องการทำอย่างไร
ตอบ เป็นเรื่องของมาตรา 917 วรรค 2
ข้อสังเกต 1. ตั๋วที่จะเขียนคำว่า “เปลี่ยนมือไม่ได้” ต้องเป็นตั๋วชนิดระบุชื่อ หมายความว่า ถ้าผู้สั่งจ่ายหรือผู้ออกตั๋วไม่ต้องการให้
มีการโอนหรือเปลี่ยนมือกันไมได้ต่อไปแล้วจะต้องเขียนลงในตั๋วด้วยข้อความว่า “เปลี่ยนมือไม่ได้” แต่ต้องอยู่ภายในเงื่อนไขว่าตั๋วที่จะห้าม
เปลี่ยนมือได้นี้ ต้องเป็นตั๋วชนิดระบุชื่อเท่านั้น จะเป็นตั๋วผู้ถือไม่ได้ เนื่องจากตั๋วผู้ถือมีการโอนด้วยการส่งมอบเพียงอย่างเดียวก็สมบูรณ์แล้ว
ตาม ม.918 ดังนั้น แม้ไปเขียนห้ามเปลี่ยนมือเอาไว้ก็ไม่มีประโยชน์ เพราะถ้ามีการเปลี่ยนมือหรือส่งมอบก็ไม่อาจรู้ได้ต่างกับตั๋วชนิดระบุชื่อ
ซึ่งต้องมีการสลักหลังแล้วส่งมอบ อันเห็นเป็นหลักฐานได้ว่ามีการเปลี่ยนมือกัน
ตั๋วผู้ถือ แบ่งได้เป็น 2 ประเภทดังนี้
1. ตัวผู้ถือล้วน ๆ คือ ตั๋วที่มีข้อความว่า “ให้ใช้เงินแก่ผู้ถือ” หรือ “ผู้ถือ “ หรือ “จ่ายสดแก่ผู้ถือ” สรุป คือ ไม่ได้ระบุชื่อใครลง
ในตั๋วนั่นเอง ตั๋วแบบนี้ ผู้สั่งจ่าย หรือผู้ออกตั๋วจะไปเขียนข้อความว่า “เปลี่ยนมือไม่ได้” ลงไปในตั๋วไม่ได้ เพราะว่า ตั๋วผู้ถือนั้น ส่งมอบ
โดยไม่ต้องเขียนอะไรลงไปเลยก็ได้อยู่แล้ว จะมีประโยชน์อะไรที่ไปห้ามเปลี่ยนมือ แม้จะห้ามไว้ แต่มีการฝ่าฝืนโดยส่งมอบเปลี่ยนมือกัน
เป็นร้อยเป็นพันคน ธนาคารก็ไม่อาจรู้ได้ ดังนั้น ตั๋วผู้ถือชนิดนี้ จึง ห้ามเปลี่ยนมือไม่ได้
2. ตั๋วที่ระบุชื่อผู้รับเงิน และไม่มีขีดฆ่าคำว่า “หรือผู้ถือ” คือ ตั๋วที่ระบุชื่อผู้รับเงินลงไปแล้วไม่ได้ขีดฆ่าคำว่า “หรือผู้ถือ” ออก
(เนื่องจากในแบบฟอร์มของตั๋วจะเขียนเอาไว้) ถ้าผู้สั่งจ่ายหรือผู้ออกตั๋วไปเขียนคำว่า “เปลี่ยนมือไม่ได้” หรือ A/C PAYEE ONLY” ถือว่า
ตั๋วฉบับเป็นตั๋วที่ห้ามโอน ตาม ม.917 วรรค 2 ด้วยเช่นกัน
ดังนั้น ถ้าตั๋วผู้ถือที่ระบุชื่อผู้รับเงิน แ ละไม่ได้ขีดฆ่า คำว่า “หรือผู้ถืออก” เมื่อผู้สั่งจ่ายหรือออกตั๋วไปเชียน คำว่า “เปลี่ยนมือ
ไม่ได้” เพิ่มลงไป ตั๋วนี้ก็จะกลายเป็นว่าไม่ใช่ตั๋วผู้ถืออีกต่อไป ตามฏีกา 2055/2536
ทางปฏิบัติ แม้ไม่ได้เขียนคำว่า ห้ามเปลี่ยนมือลงไป ถ้าเป็นตั๋วที่ระบุชื่อผู้รับเงินและไม่ได้ขีดคำว่า หรือ ผู้ถือออกแล้วทางธนาคาร
ก็จะไม่ค่อยจ่ายเงินให้ผู้ถือที่ไม่ใช่ผู้ที่ระบุชื่อไว้ในตั๋วนั้นเพราะเป็นการเสี่ยง
สรุปแล้ว ถ้าเป็นตั๋วที่ระบุชื่อผู้รับเงิน และไม่ได้ขีดฆ่าคำว่า หรือผู้ถือออก ถ้าหากว่าผู้สั่งจ่ายหรือผู้ออกตั๋วไปเขียนคำว่า “ให้
จ่ายเงินแก่ผู้รับเงิน” หรือ “เปลี่ยนมือไม่ได้” หรือ “A/C PAYEE ONLY” ลงไปในตั๋วแล้ว ตั๋วนี้ก็จะไม่ใช่ตั๋วผู้ถืออีกต่อไป แต่จะเป็นตั๋ว
ห้ามเปลี่ยนมือ ตาม ม.917 วรรคสอง
หลักของมาตรา 917 วรรคสอง ประกอบด้วย
1. ต้องเขียนลงในด้านหน้าแห่งตั๋วเงินเท่านั้น
2. ต้องมีข้อความว่า “เปลี่ยนมือไม่ได้” หรือเป็นข้อความอื่นที่มีความหมายทำนองเดียวกันนี้
ในทางปฏิบัติข้อความที่มักใช้ก็คือ “A/C PAYEE ONLY” ซึ่งแปลเป็นภาษาไทยได้ว่า “เฉพาะบัญชีผู้รับเงินเท่านั้น”
Ex. คำอื่นที่ทำนองเดียวกันกับคำว่า “เปลี่ยนมือไม่ได้”
๑๕
ฏ.4975/2533 (ออกสอบแล้ว) เขียนคำว่า “เฉพาะ” ลงในด้านหน้า ศาลฏีกา แปลว่า คำว่า เฉพาะยังถือไม่ได้ว่าเป็นถ้อยคำทำนอง
เดียวกันกับคำว่า “เปลี่ยนมือไม่ได้” ฉะบั้น เช็คฉบับนี้จึงสามารถโอนเปลี่ยนมือได้ ตาม ม.917 วรรคแรก และคำว่าเฉพาะจึงเป็นข้อความที่
ไม่ถือว่ามีข้อความใด ๆ ในตั๋ว ตาม ม.899
หากมีการฝ่าฝืน ม.917 วรรคสอง ผลจะเป็นประการใด ม.917 วรรคสอง บัญญัติคุ้มครองผู้สั่งจ่าย หากฝ่าฝืนโดยมีการโอนโดย
สลักหลัง ผลก็คือจะกลายเป็นการโอนที่ไม่ชอบสิทธิต่าง ๆ ในตั๋วก็ไม่โอนไป จึงทำให้ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน ในทางอาญาก็จะ
ไม่ใช่ผู้เสียหายไม่สามารถนำเช็คมาฟ้องผู้สั่งจ่ายได้
ปัญหาต่อไปก็คือ ผู้ทรงจะฟ้องใครได้บ้าง ซึ่งยังไม่มีฏีกาตรง ๆ ว่า จะฟ้องผู้สั่งจ่ายได้หรือไม่ แต่มีฏีกา
ฏ.2742/2525 ให้ผู้สลักหลังแต่ผู้เดียวรับผิดต่อผู้ทรง
ฏ.3329/2531 เมื่อโอนโดยฝ่าฝืน ม.917 วรรคสอง ผู้ทรงจึงไม่ใช่ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องผู้สั่ง
จ่ายได้
กรณีผู้สั่งจ่าย หรือออกตั๋วเขียนข้อความว่า “ห้ามเปลี่ยนมือ” ผู้รับโอนที่มีชื่อระบุอยู่นั้นจะไปโอนต่อไม่ได้ ถ้าฝ่าฝืนผู้รับโอนนั้นก็
จะไม่ใช่ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย ไม่มีสิทธิที่จะไปฟ้องผู้สั่งจ่ายหรือผู้ออกตั๋วซึ่งระบุข้อความว่า “เปลี่ยนมือไม่ได้” ไม่ได้
ม.917 “ท่านว่าตั๋วเงินนั้นย่อมจะโอนให้กันได้ แต่โดยรูปการและด้วยผลอย่างการโอนสามัญ” ตั๋วที่ผู้สั่งจ่าย หรือผู้ออกตั๋วระบุ
ข้อความว่า “เปลี่ยนมือไม่ได้” ยังสามารถโอนกันได้ แต่ต้องโอนด้วยวิธีการโอนสิทธิเรียกร้องตาม ม.306 คือ โอนเหมือนกับโอนหนี้
ธรรมดาจะไปโอนเหมือนกับการส่งมอบไม่ได้
หลักเกณฑ์
1. การโอนระหว่างผู้โอน (ผู้มีชื่อเป็นผู้รับเงินในตั๋ว) กับผู้รับโอนต้องทำเป็นหนังสือ คือ ทำบันทึกเป็นหนังสือ
2. จะต้องบอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้ในตั๋วเงิน หรือให้ลูกหนี้ทำความยินยอมแห่งการยินยอมแห่งการโอนเป็นหนังสือ (ลูกหนี้
คือ ผู้สั่งจ่ายหรือผู้ออกตั๋ว)
** ถ้าขาดข้อใดข้อหนึ่งจะไม่ถือเป็นการโอน
ฏ.3292/2536 เป็นตั๋วอย่างการโอนโดยชอบ
ฏ.5127/2531,ฏ.2419/2533 การโอนระหว่างผู้โอนกับผู้รับโอนไม่ได้ทำเป็นหนังสือจึงไม่สมบูรณ์
ข้อเท็จจริง ครั้งแรกเป็นการโอนโดยไม่ชอบ ซึ่งไม่ได้มีหนังสือบอกกล่าวการโอนไปยังลูกหนี้ ต่อมาภายหลังถึงแม้จะทำเป็น
หนังสือบอกกล่าวไปยังลูกหนี้ก็ตาม แต่การโอนนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะไม่ทำตามข้อ 1 คือ การโอนระหว่างผู้โอนกับผู้รับโอนไม่ทำ
เป็นหนังสือ
ฏ.1162/2533 การโอนระหว่างผู้โอนกับผู้รับโอนทำเป็นหนังสือ แต่ไม่ได้บอกกล่าวไปยังลูกหนี้ ผู้รับโอนจึงไม่มีสิทธิใด ๆ ในตั๋ว
(ขาดองค์ประกอบข้อ 2 จึงเป็นการโอนไม่ชอบ)
2. ม.923 ผู้สลักหลัง “การสลักหลังนั้นต้องให้เป็นข้อความอันปราศจากเงื่อนไข ถ้าและวางเงื่อนไขบังคับลงไว้อย่างใด ท่านให้
ถือเสมือนว่าข้อเงื่อนไขนั้นมิได้เขียนลงไว้เลย” นำไปใช้เรื่องตั๋วสัญญาใช้เงิน (ม.985) และเช็คด้วย (ม.989) เป็นกรณีผู้สลักหลังระบุ
ข้อความว่าห้ามสลักหลังลงไว้ในตั๋ว ซึ่งสามารถใช้ข้อความ เหมือนกับผู้สั่งจ่ายหรือผู้ออกตั๋วใช้
Ex. จะเขียนด้านหน้าหรือด้านหลังก็ได้ (ไม่เหมือนผู้สั่งจ่าย) แต่กรณีผู้สลักหลังเขียนห้ามโอนจะไม่มีผลให้การโอนตั๋วนั้น ห้าม
โอนต่อไป
การที่ผู้สลักหลังเขียนในตั๋วว่าห้ามโอนมีผลเพียงถ้าฝ่าฝืนไปโอนแล้วเขาจะไม่รับผิด แต่ไม่ใช่ว่าตั๋วฉบับนี้จะโอนต่อไม่ได้เลย
หมายความว่า ยังคงสามารถโอนโดยสลักหลังโอนต่อไปได้ ไม่มีผลเป็นการห้ามโอนนั่นเอง
แต่ผู้ที่เขียนห้ามโอนนั้น ไม่ต้องรับผิดในการโอนครั้งต่อไป คือ เขาจำกัดว่าเขาจะรับผิดต่อผู้รับโอนต่อจากเขาคนเดียวเท่านั้น ถ้า
บุคคลที่รับโอนต่อจากเขาฝ่าฝืนโดยไปโอนต่อไปอีก ผู้รับโอนก็จะมาฟ้องเขาไม่ได้
ม.923 เป็นบทบัญญัติที่ให้สิทธิผู้สลักหลังจำกัดสิทธิของตนได้ และเงื่อนไขอีกประการหนึ่งของ ม.923 คือ จะใช้กับตั๋วระบุชื่อ
เท่านั้น ซึ่งถ้าเป็นตั๋วผู้ถือแล้ว ผู้ที่ลงชื่อในด้านหลังตั๋วหรือลงชื่อด้านหน้าตั๋วนี้เป็นเพียงผู้อาวัลเท่านั้น จะไม่มีอำนาจไปห้ามไม่ให้โอนใด ๆ
เลย แม้เขียนลงไปก็จะไม่มีผลใดๆ
๑๖
3. ม.995 (3) ผู้ทรง เป็นบทบัญญัติที่คุ้มครองผู้ทรงให้สามารถห้ามมิให้เปลี่ยนมือในเช็คที่ตนเองครอบครองอยู่ได้ (อาจกลัวว่า
เช็คจะหายไปหรือมีคนมาขโมยไปจึงเขียนเอาไว้ก่อนเลยว่าห้ามโอน)
โดยจะสามารถทำได้ก็แต่เช็คฉบับนั้น เป็นเช็คขีดคร่อม ดังนั้น ต้องดูก่อนว่าเช็คขีดคร่อม คืออะไร
เช็คขีดคร่อม คือ เช็คที่ขีดเป็นบรรทัดคู่ขนานกันไว้บนตัวเช็ค โดยให้มีความหมายว่า ให้ธนาคารจ่ายเงินเข้าบัญชีของผู้ทรงเท่านั้น
จะจ่ายเป็นเงินสดให้ไม่ได้ และเช็คขีดคร่อมนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. เช็คขีดคร่อมทั่วไป คือ การทีด้านหน้าของเช็คขีดเส้นขนาดไว้ 2 เส้น
2. เช็คขีดคร่อมเฉพาะ คือ มีเส้นขนานคู่กันขีดไว้ด้านหน้าเหมือนขีดคร่อมทั่วไป แต่ในระหว่างเส้น ตรงกลาง มีข้อความว่า “เป็น
ชื่อธนาคาร”
เช็คขีดคร่อมนี้จะไม่มีผลต่อการโอนว่าสามารถโอนได้ หรือไม่ คือ แม้เป็นเช็คขีดคร่อมก็สามารถโอนกันได้ตามปกติ แล้วแต่
ประเภทเช็ค ถ้าเป็นเช็คผู้ถือก็โอนโดยการส่งมอบ ถ้าเป็นเช็คระบุชื่อก็โอนโดยการสลักหลังแล้วส่งมอบ การขีดคร่อม มีผลเฉพาะในเรื่อง
การจ่ายเงินของธนาคาร เมื่อนำไปขึ้นเงินเท่านั้น โดยธนาคารจะจ่ายเงินเข้าบัญชี แล้วธนาคารจะไปเรียกเก็บเงินกับธนาคารตามเช็คอีกที
หนึ่ง สรุปว่า จะจ่ายเงินสดให้ผู้ทรงในขณะไปขึ้นเงินไม่ได้
หลัก ตั๋วเงินจะโอนไม่ได้เลย ก็จะมีกรณีเดียวเท่านั้น คือ ผู้สั่งจ่ายเขียนลงไปด้านหน้าตั๋วชนิดระบุชื่อ หรือ ชนิดระบุชื่อแต่ไม่ได้ขีด
ฆ่าคำว่า หรือผู้ถือออก ว่า “เปลี่ยนมือไม่ได้” หรือ “ A/C PAYEE ONLY”
ม.995 (3) เป็นเพียงผู้ทรงเขียนคำว่า “ห้ามเปลี่ยนมือ” ลงในเช็คขีดคร่อม ก็สามารถโอนกันได้ แต่มีผลเพียงเป็นไปตาม มาตรา
999 “บุคคลใดได้เช็คขีดคร่อมของเขามาซึ่งมีคำว่า “ห้ามเปลี่ยนมือ” ท่านว่าบุคคลนั้นไม่มีสิทธิในเช็คนั้น ยิ่งไปกว่าและไม่สามารถใช้สิทธิ
ในเช็คนั้นต่อไปได้ดีกว่าสิทธิของบุคคลอันตนได้เช็คของเขามา”
สรุป
1. ผู้ออกตั๋วเงิน ม.917วรรคสอง ตั๋วห้ามโอนเด็ดขาด เว้นแต่ โอนตามมาตรา 306 โอนสิทธิเรียกร้อง
2. ผู้สลักหลัง ม.923 ไม่ห้ามโอนแต่เป็นข้อจำกัดสิทธิของผู้สลักหลัง
3. ผู้ทรง ม.995(3) ประกอบ ม.999 ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน
การอาวัล
การอาวัล คือ การประกันความรับผิดขอบลูกหนี้ตามตั๋วเงินนั้น การอาวัลจะมีหรือไม่มีก็ได้ โดยการอาวัลจะมีขึ้นก็ด้วยเครดิตของ
ลูกหนี้ไม่ดี ไม่ได้รับความเชื่อถือ จึงต้องการให้บุคคลอื่นเข้ามารับผิดด้วย
เพื่อความเข้าใจ จึงเปรียบเทียบกับการค้ำประกันได้ดังนี้
ฏ.422/2521 ผู้ทรงผ่อนเวลาให้ผู้สั่งจ่ายในตั๋วเงินไม่เป็นเหตุให้ผู้รับอาวัลพ้นผิดไปได้แต่อย่างใด
สรุป การอาวัลจึงไม่ใช่ผู้ค้ำประกันจะนำเรื่องคำประกันมาใช้บังคับกับการอาวัลไม่ได้ (ฏ.1853/2511)
การอาวัล
ม.967 ในเรื่องตั๋วเงิน ผู้อาวัลต้องร่วมกันรับผิดต่อผู้ทรง
โดยผู้ทรงจะเรียกเอากับลูกหนี้ในตั๋วเรียงตัว หรือร่วมกันได้
โดยมิพักต้องเรียงตามลำดับ
เห็นได้ชัดว่าผู้อาวัลถือเป็นลูกหนี้ฐานะชั้นเดียวกับลูกหนี้
ในตั๋วจะไปเกี่ยงให้ผู้อื่นรับผิดก่อนตนไม่ได้
การค้ำประกัน
เป็นเรื่องที่ยอมผูกพันตนเข้ารับิดในกรณีลูกหนี้ชั้นต้นไม่
ชำระหนี้นั้น ผู้ค้ำประกับถือเป็นลูกหนี้ชั้นสอง สามารถเกี่ยง
ให้บังคับเอากับลูกหนี้ก่อนได้ตามเงื่อนไข ม.688,689,690
๑๗
บุคคลที่จะเข้ามารับอาวัล
วิธีการอาวัลนั้น มี 2 แบบ
จัดลำดับฐานะในการลงชื่อ
บุคคลภายนอก เข้ามาเป็นผู้รับอาวัล
ได้ ม.938 ว.2
คู่สัญญาในตั๋วนั้นเอง ม.939 ว.3 และม.938 ว.2 เป็นผู้รับอาวัลอีก
ฐานะหนึ่งก็ได้ เพียงแต่มีเงื่อนไขสำหรับผู้สั่งจ่ายกับผู้จ่าย
ผู้สั่งจ่ายลงชื่อด้านหน้าโดยไม่กรอกข้อความอื่น ม.939
ว.3 ก็ยังเป็นผู้จ่ายอยู่เช่นเดิม จึงเป็นผู้อาวัลไม่ได้
ผู้จ่ายตาย ม.931 ถ้าลงชื่อด้านหน้าจะกลายเป็นผู้รับรอง ตาม ม.931 หาก
ต้องการอาวัลต้องเขียนข้อความเพิ่มว่า “ใช้ได้เป็นอาวัล” ตาม ม.939 ว.
2
การรับอาวัลตามรูปแบบของกฎหมาย ตาม ม.939 ว.1และ 2
1.ต้องเขียนข้อความลงในตั๋วเงิน หรือในใบประจำต่อ (ถ้า
ไปเขียนที่อื่นจะไม่เป็นการอาวัล)
2. ข้อความที่เขียน คือ “ใช้ได้เป็นอาวัล” หรือ สำนวนอื่นที่
มีความหมายทำนองเดียวกันนี้
3. สามารถเขียนได้ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
4. ลงลายมือชื่อผู้รับอาวัล
เมื่อครบ 4 ขั้นตอน ถือ เป็นการอาวัลที่สมบูรณ์
กรณีที่ให้ถือเป็นการรับอาวัล เป็นกรณีที่ไม่มีข้อความ “ใช้ได้
เป็นอาวัล” หรือ ถ้อยคำทำนองนี้ แต่กฏหมายให้ถือว่าเป็นอาวัล
แบ่งเป็น 3 ประการ
1. การลงลายมือชื่อที่ด้านหน้าตั๋ว ม.939 ว.3 (บังคับทั้งตั๋วผู้ถือ
และตั๋วระบุชื่อ) มีข้อยกเว้น 2 คน คือ ผู้จ่าย กับผู้สั่งจ่าย เพราะ
ผลของ ม.931
2. เฉพาะตั๋วผู้ถือ หากลงชื่อด้านหลังจะเป็นการอาวัลผู้สั่งจ่าย
ตาม ม.921
ฏ.3519/2542 ตั๋วผู้ถือจะไม่สามารถสลักหลังโอนกันได้อย่างตั๋ว
ระบุชื่อ โดยผู้ใดไปลงชื่อด้านหลังเช็คผู้ถือจะกลายเป็นผู้อาวัล
ตั๋วผู้ถือ ตั๋วระบุชื่อ
ลงชื่อด้านหน้าโดยไม่กรอก
ข้อความใด เป็นผู้อาวัล
ม.939 ว.3
ลงชื่อด้านหลังโดยไม่กรอก
ข้อความใด เป็นผู้อาวัล ม.921
ลงชื่อด้านหน้าโดยไม่กรอก
ข้อความใด เป็นผู้อาวัล
ม.939 ว.3
ลงชื่อด้านหลังโดยไม่กรอก
ข้อความใด ฏ.3788/2524
กรณีกฎหมายบังคับให้ลงชื่อและเขียนข้อความ
- ด้านหน้าเท่านั้น ม.917 ว.2 “เปลี่ยนมือ
ไม่ได้”
- ด้านหลังเท่านั้น ม.919 ว.2 สลักหลังลอย
หากเคยเป็นผู้ทรงมาก่อนก็เป็น
การสลักหลังลอย ม.919 ว.2
หากไม่เคยเป็นผู้ทรงมาก่อน แต่ลงชื่อพร้อม
กับผู้สั่งจ่ายก็ต้องรับผิดฐานผู้สมัครใจเป็น
ลูกหนี้ ม.900 ฏ.3788/2524,4872/2533 (ป)
๑๘
บุคคลที่ถูกรับอาวัลนั้น ม.939 ว.4 ต้องระบุว่ารับอาวัลผู้ใดให้ชัดเจน ซึ่งหากมิได้ระบุไว้ ถือว่ารับอาวัลผู้สั่งจ่าย และ ม.938 วรรคแรก อาวัล
กำหนดจำนวนเงินทั้งหมดหรือบางส่วนก็ได้
ผลของการรับอาวัล ม.940 และม.967 ผู้รับอาวัลย่อมต้องเป็นอย่างเดียวกันกับบุคคลซึ่งตนประกัน (ต่างกับเรื่องค้ำประกัน ซึ่งผู้ค้ำ
เป็นลูกหนี้ชั้นสอง ผู้อาวัลเป็นลูกหนี้ชั้นเดียวกับลูกหนี้) แต่อย่างไรก็ตาม ผู้อาวัลกับผู้ถูกรับอาวัลไม่ใช่ลูกหนี้ร่วมกัน เพียงแต่ต้องรับผิดต่อผู้
ทรงร่วมกันเท่านั้นเอง และแม้ถึงว่าความรับผิดใช้เงินอันผ้รับอาวัลได้ประกันอยู่นั้นจะตกเป็นใช้ไม่ได้ด้วยเหตุใด ๆ นอกจากเพราะกระทำ
ผิดแบบระเบียบท่านว่าข้อที่สัญญารับอาวัลนั้นก็คงสมบูรณ์
สิทธิไล่เบี้ยของผู้อาวัล เมื่อได้ใช้เงินตามตั๋วไปแล้ว
1. ไล่เบี้ยเอาแก่ผู้ซึ่งตนได้ประกันไว้
2. ไล่เบี้ยเอาจากลูกหนี้ของผู้ซึ่งตนประกัน (ในเรื่องตั๋วเงินคนลงชื่อก่อนจะต้องรับผิดต่อคนลงชื่อหลัง)
กรณีอาวัลถ้ามีผู้อาวัลหลายคนจะไล่เบี้ยผู้อาวัลด้วยกัน ถ้าเป็นเรื่องค้ำประกันร่วมกันจ่ายเงินแล้วไล่เบี้ยต่อกันได้ แต่เรื่องอาวัล
แยกดังนี้
ผู้รับอาวัลหลายคนเข้าอาวัลลูกหนี้ต่างคนกัน ดังนั้น ผู้รับอาวัลผู้สลักหลัง จึงเข้าไล่เบี้ยผู้รับผู้สั่งจ่ายได้ (ตามลำดับลงชื่อก่อนหลัง)
กรณีเข้าอาวัลบุคคลเดียวกัน
Ex. หนึ่งและสองเข้ารับอาวัลผู้สั่งจ่าย คือ A คนเดียวกัน ต่อมาหนึ่งใช้เงินไปแก่ผู้ทรง ม.967 จะต้องไล่เบี้ยเอาแก่บุคคลผู้มีความผูกพันต่อ
ตน คือลงลายมือชื่อก่อนตนหรือเหนือตนขึ้นไป
ดังนั้น ผู้รับอาวัลที่อยู่ในลำดับเดียวกันจึงไม่สามารถไล่เบี้ยกันได้
ฏ.1839/2538 ผู้รับอาวัลถูกศาลพิพากษาให้ร่วมกันรับผิดใช้เงินแก่ผู้ทรง เมื่อคนหนึ่งใช้เงินไปแล้วจึงมาไล่เบี้ยเอาแก่อีกคนหนึ่งได้
เพราะเป็นลูกหนี้ร่วมตามคำพิพากษาเรื่องเดิม (ไม่ใช่รับผิดร่วมกันเพราะอาวัลร่วมกัน)
เช็ค
มาตราที่เกี่ยวข้อง ม.987-1000
ข้อแตกต่างจากตราสารประเภทอื่นคือ
1. ผู้จ่ายเงิน ต้องเป็นธนาคารเท่านั้น
2. ผู้สั่งจ่ายนอกจากจะต้องรับผิดตามเนื้อความในเช็ค 900, 914, 989 แล้วผู้สั่งจ่ายยังอาจต้องรับผิดทางอาญาซึ่งอายุความนับจากวันที่
ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินซึ่งถือว่าเป็นวันที่ความผิดเกิด เช็คเป็นความผิดต่อส่วนตัวจึงต้องฟ้องหรือร้องทุกข์ภายใน 3 เดือน
3. จะมีวันถึงกำหนดใช้เงินประการเดียวคือ วันทวงถามสังเกตุจากแบบฟอร์มว่ามีเฉพาะวันออกเช็คจะไม่มีวันถึงกำหนดจ่ายเงิน คือวันที่เช็ค
ถึงกำหนดคือ วันที่ลงในเช็คนั้นเอง (หรือวันที่ทางถามนั่นเอง) เช็คจะลงวันที่ล่วงหน้าได้เพื่อให้ไปทวงถามเมื่อถึงกำหนดวันที่ลงในเช็ค
กำหนดอายุความ 1 ปีก็จะเริ่มนับจากวันที่ที่ลงในเช็ค แต่เรื่องดอกเบี้ยเรียกได้7.5 ต่อปี ตาม ม.224, 7 โดยนับแต่วันที่ธนาคารปฏิเสธการ
จ่ายเงินไม่ใช่วันที่ฟ้องในเช็ค เพราะหนี้ตามเช็คเป็นหนี้เงินจึงเรียกได้7.5 ต่อปี ตาม ม.224
4. เรื่องการขีดคร่อมเช็ค ขีดคร่อมคือการขีดเส้นขนานไว้ด้านหน้าเช็ค และมีผลพิเศษจากเช็คธรรมดาทั่วไปเพียงประการเดียว คือธนาคาร
ผู้จ่ายเงินตามเช็คจะใช้เงินตามเช็คให้แก่ผู้ทรงโดยตรงไม่ได้ ต้องใช้เงินให้แก่ธนาคารด้วยกัน 994 และเช็คขีดคร่อมโอนกันได้ตามปกติ
เช็คจะโอนกันไม่ได้อยู่กรณีเดียว 917 ว.2
: ประเภทต่างๆ ของเช็ค
1. เช็คระบุชื่อผู้รับเงินและขีดฆ่าคำว่า"หรือผู้ถือ"ออก โอนด้วยการสลักหลังและส่งมอบ
2. เช็คผู้ถือ คือไม่ระบุชื่อผู้รับเงินและระบุคำว่า หรือผู้ถืออยู่ ม. 918 โอนได้ด้วยการส่งมอบเฉยๆก็สมบูรณ์ ถ้าเผลอไปลงชื่อด้วยจะ
กลายเป็นผู้รับอาวัล
- เช็คระบุชื่อผู้รับเงินและไม่ขีดฆ่าคำว่า"หรือผู้ถือ" ออก ซึ่งชนิดนี้ศาลฏีกาวินิจฉัยว่า ผู้สั่งจ่ายไม่เฉพาะเจาะจงจ่ายเงินให้ผู้ที่ระบุชื่อไว้
เท่านั้นยังเจตนาให้จ่ายเงินแก่ผู้ถือด้วย ฏ. 3509/42 ถือเป็นเช็คผู้ถือ
3. แคชเชียร์เช็คจะออกในรูปของระบุชื่อผู้รับเงินโดยจะไม่มีชนิดผู้ถือ ศาลฏีกาว่า แปลว่า เพียงแต่มีชื่อหรือยี่ห้อผู้รับเงินก็สมบูรณ์แล้ว
๑๙
ไม่จำเป็นต้องมีคำว่าหรือผู้ถือข้อแตกต่างกับเช็คชนิดอื่นคือ ผู้จ่ายและผู้สั่งจ่ายนั้นจะเป็นธนาคารด้วยกัน ฎ. 4531/33 , 772/26 , 2201/42 ,260/37
แคชเชียร์เช็คถือเป็นเช็คประเภทหนึ่งตาม ป.พ.พ. 937
4. เช็คขีดคร่อม ม. 994 มีเส้นขนานตีคู่กันขีดคร่อมไว้ และจะมีข้อความว่าและบริษัทหรือไม่ก็ตาม ถือเป็น “เช็คขีดคร่อมทั่วไป” แต่ถ้า
ระหว่างเส้นที่คู่ขนานนั้น มีระบุชื่อธนาคารไว้ก็เรียกว่า “เช็คขีดคร่อมเฉพาะ” เช็คขีดคร่อมนี้จะมีคุณสมบัติเพียงอย่างเดียวว่าธนาคารจะ
จ่ายเงินให้แก่ผู้นำเช็คไปเบิกเงินโดยตรงไม่ได้ต้องเอาเข้าบัญชี (เพื่อป้องกันผู้ได้เช็คโดยมิชอบนำไปเบิกเงินโดยง่าย ต้องนำเข้าบัญชีเพื่อ
ตรวจสอบได้ว่าเข้าบัญชีใคร)
อย่าไปสับสนว่า เช็คขีดคร่อมโอนได้หรือไม่เพราะถ้าขีดคร่อมแล้วก็ยังโอนได้เสมอ แต่จะโอนไม่ได้นั้นมีอยู่กรณีเดียวตาม ม. 917 ผู้ที่จะสั่งจ่ายระบุ
ลงด้านหน้าว่า " เปลี่ยนมือไม่ได้ " หรือคำอื่นในทำนองเดียวกันซึ่งจะโอนแก่กันก็ยังมีทางแก้คือ โอนตาม ม. 306 คือโอนสิทธิเรียกร้องเท่านั้น
ม. 990 กำหนดหน้าที่ผู้ทรงเช็ค
ม. 990 “ผู้ทรงเช็คต้องยื่นเช็คแก่ธนาคารก่อน.....”
ม. 914 " บุคคลผู้สั่งจ่ายหรือสลักหลังเช็ค ย่อมเป็นอันสัญญาว่า เมื่อตั๋วนั้นได้ นำยื่นโดยชอบแล้วจะมีผู้.... ประกอบมาตรา 989
ม. 959 " ไล่เบี้ยได้เมื่อตั๋วเงินถึงกำหนดในกรณีไม่ใช้เงิน
โดยหลัก ต้องยื่นเรียกเงินก่อนจะจะฟ้องได้
ฏ. 610/20เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า โจทก์มิได้นำเช็คไปยื่นต่อธนาคารเพื่อให้ใช้เงินและธนาคารก็ยังไม่ได้ปฏิเสธการใช้เงิน
ดังนั้นโจทก์จะนำมาฟ้องให้ใช้เงินเสียทีเดียวไม่ได้ ฏ. 610/20
ข้อยกเว้น 1. กรณีผู้สั่งจ่ายถึงแก่ความตายไม่ต้องนำไปยื่นต่อธนาคารก่อนก็ฟ้องได้ ม. 992(2) ,959 เป็นข้อยกเว้นของ ม. 990
- อาจทวงถามแก่ทายาท โดยไม่ต้องยื่นหรือเรียกเก็บเงินจากธนาคารตาม ม.990 ก่อน เนื่องจากหน้าที่ของธนาคารเป็นอัน
สิ้นสุดไม่ต้องจ่ายเงินตามเช็คเมื่อผู้สั่งจ่ายถึงแก่กรรมตาม (ฏ. 1003/24,3973/26 ,4027/27)
2. กรณีนำเช็คไปยื่นก่อนกำหนด ปรากฎว่าธนาคารแจ้งว่า "บัญชีปิดแล้ว" (กรณีออกเช็คหลายฉบับห่างกันเป็นระยะเวลา
แต่เมื่อนำฉบับแรกไปยื่นแล้ว บัญชีปิดอย่างนี้นำทั้งฉบับอื่นยื่นแล้วธนาคารปฏิเสธและฉบับที่ยังไม่ได้ยื่นไปฟ้องได้เลยตาม
ม. 959 ข (2), 989 ฏ. 755/26, 1865/17
ถ้าเป็นเช็คในเมืองเดียวกันต้องนำเช็คไปยื่นให้ใช้เงินภายใน 1 เดือน นับแต่วันออกเช็ค
: สถานที่ออกเช็ค กับ สถานที่ตั้งของธนาคารที่สั่งให้ใช้เงินอยู่คนละจังหวัดกันหรือไม่
- ถ้าเป็นสถานที่เดียวกันต้องยื่นภายใน 1 เดือน
- ถ้าเป็นคนละที่กันต้องยื่นภายในกำหนด 3 เดือน
ผลของการฝ่าฝืนไม่ยื่นตาม มาตรา 990 คือ
1. ผู้ทรงสิ้นสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ผู้สลักหลังทั้งปวง ดังนั้นจึงเห็นได้ว่า ม.990 ใช้กับเช็คชนิดระบุชื่อเท่านั้น ฏ. 1007/42
2. ทั้งเสียสิทธิอันมีต่อผู้สั่งจ่ายด้วยเพียงเท่าที่จะเกิดความเสียหายอย่างหนึ่งอย่างใดแก่ผู้สั่งจ่ายเพราะการที่ละเลยเสียไม่ยื่นเช่นนั้น
ฏ. 3597/34 เช็คให้ใช้เงินเมืองเดียวกัน เมื่อยื่นเกิน 1 เดือน โจทก์จึงสิ้นสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ผู้สลักหลังโดยไม่ต้องคำนึงถึง
ความเสียหายหรือไม่ของผู้สลักหลัง(เช็คระบุชื่อเท่านั้น)
* แต่ถ้าเป็นผู้สั่งจ่ายนั้น ต้องคำนึงด้วยว่าถ้าไม่ยื่นภายในกำหนดแล้วผู้สั่งจ่ายจะเสียหายเพียงใดก็พ้นความรับผิดไปแต่นั้น แต่ถ้าไม่เสียหาย
เลยถ้าผู้ทรงยื่นช้า ผู้สั่งจ่ายก็ไม่พ้นความรับผิด คือต้องรับผิดเช่นเดิม
Ex . ผู้สั่งจ่ายจะรับผิดก็มีกรณี เขามีเงินอยู่ในบัญชีต่อมาผู้ทรงไม่ยื่นเรียกเงินต่อธนาคารภายในเวลาที่กำหนดแล้วต่อมาธนาคารเกิดล้มละลาย
ผู้สั่งจ่ายจึงพ้นความรับผิดในจำนวนตามตั๋ว ทางปฎิบํติตัวผู้สั่งจ่ายจะไม่ได้รับความเสียหาย จึงไม่พ้นความรับผิด ฏ. 1162/15, 3242/30 ผู้สั่ง
จ่ายจะหลุดพ้นต่อเมื่อสูญเสียเงินที่มีอยู่ในธนาคาร (ทำให้ไม่ได้ใช้เงินให้เสร็จเพราะผู้ทรงยื่นช้า) ฎ. 1007/42 * เป็นฏีกาที่ง่ายแต่เป็น หลัก
กฏหมายดีให้ดูดีๆ
* ม. 991(2) เช็คนั้นยื่นเพื่อให้ใช้เงิน เมื่อพ้นเวลาหกเดือนนับแต่วันออกเช็คหมายความว่า กฎหมายให้สิทธิแก่ธนาคารว่า เพื่อพ้นหกเดือนไป
แล้ว แม้ผู้สั่งจ่ายจะมีเงินในธนาคารก็ตาม ธนาคารก็มีสิทธิไม่ต้องจ่ายเงินให้แก่ผู้ทรงได้
แต่ ม. 990 เป็นเรื่องสิทธิระหว่างผู้สั่งจ่ายกับผู้ทรงว่า ถ้าผู้ทรงไม่ยื่นเช็คภายใน 1 เดือน กรณีเมืองเดียวกัน หรือ 3 เดือนกรณีต่างเมืองกันนั้น
๒๐
ผู้ทรงจะสิ้นสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ผู้ผู้สลักหลังหรือผู้สั่งจ่ายแล้วแต่กรณี
ถาม : เช็คที่ผู้ทรงยื่นเกิน 6 เดือน แล้วธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ผู้ทรงจะไปยื่นฟ้องไล่เบี้ยผู้สั่งจ่ายได้หรือไม่
ตอบ : ม.990 ผู้สั่งจ่ายจะหลุดพ้นก็ต่อเมื่อผู้สั่งจ่ายได้รับความเสียหาย แต่ถ้าไม่ได้รับความเสียหายก็จะไม่หลุดพ้น ตามนัย ฏีกาที่ 169/28,
715/21, 640/96, 2514/26 อาจารย์เน้นจุดนี้ ให้ดูดีๆ คือ ม. 990 กับ 991(2)
- ม.990 ผู้ทรงยื่นเมื่อพ้นเวลาจะฟ้องผู้สั่งจ่ายได้หรือไม่
- ม.991(2) กฎหมายให้สิทธิธนาคารไม่จ่ายเงินได้ถ้าเกิน 6 เดือน
เมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินไม่ต้องยื่นคำบอกกล่าวทวงถามอีก ผู้ทรงมีสิทธิฟ้าองได้เลย ตามฏีกา169/28. 1750/18
* กรณีไม่ได้เรียกเก็บเงิน เพราะรู้ว่าผู้สั่งจ่ายไม่มีเงินในบัญชีจะสามารถนำมาฟ้องได้เลยหรือไม่
ม. 959 (ข) ไล่เบี้ยได้ถึงแม้ยังไม่ถึงกำหนด
(2) ถ้าผู้จ่ายได้งดเว้นการใช้หนี้ ฏ. 755/26, 1865/07, 3971/26
ในกรณีที่ฟ้องเรียกเงินตามเช็คแม้จะเรียกก่อนถึงกำหนดตามที่ระบุไว้ในเช็ค หากบัญชีผู้สั่งจ่ายปิดไปก่อนที่ธนาคารเรียกเก็บเงินแล้ว
ก็แสดงว่าผู้สั่งจ่ายไม่มีเงินในบัญชี กรณีนี้ไม่จำเป็นต้องเรียกเก็บเงินให้ธนาคารปฏิเสธก่อนก็สามารถนำมาฟ้องได้โดยอ้าง ม.959 ข. (2)
ประกอบ ม. 898 ถือว่าธนาคารงดเว้นการใช้หนี้แล้วฟ้องได้เลยทันที
มาตรา 1007 การแก้ไขข้อความในตั๋วเงิน
วรรคแรก "ถ้าข้อความในตั๋วเงินใด......." คำว่า "ข้อความ" หมายถึงสิ่งที่กฎหมายให้ต้องระบุลงในตั๋วเงินนั่นเอง
เนื่องจาก ม. 909, 983, 988 บัญญัติถึงรายละเอียดที่ต้องระบุไว้ในตั๋วเงิน
นอกจากนี้คำว่า "ข้อความ" ยังหมายความถึงข้อความที่กฎหมายอนุญาตให้ระบุลงไว้ในตั๋วเงิน
เช่น - ระบุดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ยในตั๋วแลกเงินและสัญญาใช้เงิน ตาม ม. 981 และ 985
- คำสั่งห้ามเปลี่ยนมือตาม ม. 917 ว.2
- คำสลักหลังตาม ม.919
- คำรับอาวัลตาม ม. 939
- การขีดคร่อมเช็คตาม ม. 994, 995 , 996 ซึ่งถ้ากฎหมายไม่อนุญาตให้เขียนลงไปก็จะเขียนไม่ได้หรือเขียนลงไปก็จะไม่มีผล
บังคับใดๆตาม ม. 899
สรุป ถ้าแก้ไขข้อความ 2 ประเภทนี้เท่านั้นกฎหมายจึงจะเรียกว่า เป็นการแก้ไขข้อความในตั๋วเงิน คือ
1. ข้อความที่เป็นรายการที่กฎหมายบังคับให้มีในตั๋ว ตามมาตรา 909, 983, 988
2. ข้อความที่กฎหมายอนุญาตให้เขียนลงในตั๋วเงินได้
คำว่า "ในคำรับรองตั๋วเงินรายใด.." หมายความว่า คำรับรองตั๋วแลกเงินนั่นเอง ตาม ม. 927-937
หลัก - การรับรองตั๋วนั้นจะมีเฉพาะในตั๋วแลกเงินเท่านั้นซึ่งมีบัญญัติในมาตรา 927-937
- ส่วนตั๋วสัญญาใช้เงินและเช็คนั้นจะไม่มีบทบัญญัติให้นำตั๋วไปยื่นให้รับรองก่อน
ดังนั้นเมื่อพูดถึงเรื่องการรับรองตั๋วให้เข้าใจว่าเป็นเรื่องตั๋วแลกเงินเท่านั้น
การรับรองตั๋วเงิน หมายถึง การที่ผู้จ่ายเงินรับรองว่าจะใช้เงินให้ผู้ทรงเมื่อตั๋วถึงกำหนด ซึ่งปกติแล้วเมื่อผู้จ่ายเงินทำการรับรองตั๋วตามมาตรา
931 แล้วจึงจะตกเป็นลูกหนี้ในตั๋ว เพราะในตอนผู้สั่งจ่ายสั่งจ่ายในตอนแรก ผู้จ่ายยังไม่เป็นลูกหนี้นั่นเอง จนกว่าจะรับรองตั๋วโดยลงลายมือ
ชื่อตามมาตรา 900 เพราะฉะนั้น การแก้ไขตั๋วแลกเงิน จึงเป็นการแก้ไขคำรับรองตามมาตรา 931 นั่นเอง
อีกกรณีหนึ่งคำว่า การแก้ไขคำรับรอง ก็คือการที่ธนาคารรับรองเช็คตาม มาตรา 993 แต่ไม่มีบทบัญญัติว่าก่อนที่ผู้ทรง
จะไปเรียกเก็บเงินต้องไปรับรองก่อน ซึ่งทางปฏิบัติธนาคารก็จะไม่รับรองเช็คให้อยู่แล้ว ส่วนมากจะออกแคชเชียร์เช็คให้
การที่จะแก้ไขข้อความในตั๋วเงิน ต้องเป็นการแก้ไขภายหลังที่ตราสารนั้นได้เป็นตั๋วเงินแล้ว
Ex . ก. สั่งจ่ายเงิน แต่เขียนผิดพลาดจึงขูดลบข้อความ อย่างนี้สามารถทำได้เพราะตราสารนั้นยังไม่สมบูรณ์เป็นตั๋วเงิน
ต้องทำก่อนที่ตราสารนั้นสมบูรณ์เป็นตั๋วเงินจึงจะไม่ผิดตาม มาตรา 1007
๒๑
หลักเกณฑ์มาตรา 1007
สรุปหลักที่ 1. ต้องกระทำภายหลังที่ตราสารนั้นได้เป็นตั๋วเงินแล้ว
"มีผู้แก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญ" อาจเป็นการ ลบ ตัดทอน แก้ไขข้อความ หรือกระทำด้วยประการใดๆ ก็ได้ที่ทำให้ข้อความนั้น
เปลี่ยนแปลงไป
ทางปฏิบัติอาจเติมข้อความ หรือลบข้อความ หลักเกณฑ์สำคัญของการแก้ไข ซึ่งหากผู้มีอำนาจแก้ไขความอย่างนี้ไม่ถือว่ามีการแก้ไข ในทาง
กลับกัน ถ้าหากเป็นผู้มีอำนาจแก้ไขก็ไม่อยู่ในอำนาจบังคับมาตรา 1007 นี่เอง
Ex. ม.934 “ถ้าผู้จ่ายเขียนคำรับรองลงในตั๋วแลกเงินแล้ว แต่หากกลับขีดฆ่าเสียก่อนตั๋วเงินนั้นหลุดพ้นไปจากมือตนไซร้ท่านให้ถือเป็นอันว่า
ได้บอกปัดไม่รับรอง” ตาม ม.934 หมายความว่า ถ้าผู้ทรงยื่นตั๋วให้ผู้จ่ายรับรองได้เขียนคำรับรองลงไปตราบใดที่ยังไม่ส่งกลับคืนให้ผู้ทรงผู้
รับรองอาจเปลี่ยนใจขีดฆ่าคำรับรองได้ เพราะ ทำในฐานะที่มีอำนาจอยู่ ตาม ม. 934
เรื่องการลงวันที่ตาม ม.910 ว.5, 985 คือผู้ออกตั๋วออกตั๋วโยไม่ลงวันที่ ภายหลังผู้ทรงโดยชอบไปลงวันที่เองอย่างนี้ไม่เป็นการแก้ไข เพราะ
กระทำโดยมีอำนาจ ตาม ม.910ว.5 ประกอบ 985
ม.905 วรรคแรกตอนท้าย “อนึ่งคำสลักหลังเมื่อขีดฆ่าเสียแล้ว ท่านให้ถือเสมือนว่ามิได้มีเลย”
Ex. ก.ต้องการส่งมอบเช็คให้ ข. จ่ายค่าสินค้าจึงสลักหลังในเช็คระบุชื่อว่าโอน ให้ ข. แต่ยังไม่ทันที่จะส่งมอบเกิดเปลี่ยนใจจะจ่ายเงินสดแทน
จึงขีดฆ่าที่เขียนไป อย่างนี้ไม่เป็นการแก้ไขข้อความ เพราะกระทำโดยมีอำนาจตาม 905 ว.แรก
สรุปหลักที่ 2 การแก้ไขข้อความต้องเป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจตามที่กฎหมายกำหนดไว้
แก้ไขเปลี่ยนแปลงจะต้องเป็น “ในข้อสำคัญ”
หมายความว่า การแก้ไขนี้จะต้องถึงขนาดทำให้ สิทธิ หน้าที่ความรับผิดตามตั๋วเงินเปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะทำให้เกิดผลดี หรือผลเสียต่อ
คู่สัญญาในตั๋วเงินก็ตาม ก็ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขทั้งนั้น
มาตรา 1007 ว.3 กฎหมายยกตัวอย่างเอาไว้ว่า แก้ไขอะไรบ้างที่ถือเป็นข้อสำคัญ
เช่น - แก้ไขวันที่ลงในตั๋วเงินทำให้เร็วขึ้นหรือช้าลง จะเป็นผลดีหรือผลเสียแก่ผู้สั่งจ่ายก็ตาม ก็ถือว่าเป็นการกระทบสิทธิและหน้าความ
รับผิดแล้ว
- แก้ไขจำนวนเงิน
- แก้ไขกำหนดเวลาใช้เงินเห็นได้ว่าทำให้ผู้มีหน้าที่ใช้เงินต้องใช้เงินเร็วขึ้นหรือช้าลง หรือผู้ทรงได้รับเงินช้าหรือเร็วขึ้น
- แก้ไขสถานที่ใช้เงิน หรือเติมสถานที่ใช้เงินซึ่งผู้รับรองมิได้ยินยอมด้วย
สรุปหลักที่ 3 ที่จะถือเป็นการแก้ไขตามมาตรา 1007 นั้น ต้องเป็นข้อความที่สำคัญ
ซึ่งมาตรา 1007 ว.3นี้เป็นแต่เพียงตัวอย่างที่ถือเป็นการแก้ไขในข้อสำคัญเท่านั้น ยังมีในมาตราอื่นอีก เช่น
- ม.996 “การแก้ไขในเรื่องขีดคร่อมเช็ค
ถ้าหากมีการไปลบรอยขีดคร่อมออกถือเป็นการแกไขในข้อสำคัญ เพราะมีผลให้ธนาคารจ่ายเงินสดให้แก่ผู้ถือได้
- แก้ไขในเรื่องดอกเบี้ย ซึ่งมีผลทำให้ความรับผิดมากขึ้น
ส่วนการแก้ไขที่ไม่ใช่ข้อความสำคัญ ก็คือ เป็นไปในทางตรงกันข้ามกับการแก้ไขในข้อความสำคัญ คือไม่ทำให้สิทธิ หน้าที่ ความ
รับผิดของคู่สัญญาในตั๋วเงินเปลี่ยนแปลงไป
Ex. เขียนในตั๋วว่า “รับรองแลว” ซึ่งตก “ - ” ไป จึงเติมไม้โทเข้าไป ซึ่งไม่มีผลใดๆให้เปลี่ยนแปลงสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดแม้ไม่เติมก็เป็น
การรับรองอยู่ดี
ฎ.1845/2524 เช็คสั่งจ่ายเงินแก่ ช. หรือผู้ถือ รอยใช้หมึกป้ายรบชื่อ ช. ออกเห็นอยู่ประจักษ์ชัด ซึ่งไม่ใช่ข้อสำคัญ เพราะแม้แก้ไข
แล้ว ก็เป็นเช็คผู้ถืออยู่อย่างเดิมนั้นเอง
ม.12 ในกรณีที่ปริมาณในจำนวนเงินแสดงไว้ทั้งตัวอักษรและตัวเลขถ้าตัวอักษรและตัวเลขไม่ตรงกันและไม่อาจจะทราบเจตนาอันแท้จริง
ได้ให้ถือเอาปริมาณที่เป็นตัวอักษรเป็นประมาณ
ฎ.266/2539 แก้ไขตัวเลขให้ตรงตามตัวอักษรไม่เป็นการแก้ไขในข้อสำคัญ
ผลของการแก้ไข
๒๒
ถ้าการแก้ไขไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สัญญาแล้วก็เป็นอันเสียไป จะฟ้องผู้ลงลายมือชื่อในตั๋วไม่ได้ ในทางตรงกันข้ามหาก
ได้รับความยินยอมจากคู่สัญญาแล้ว ตั๋วเงินนั้นเป็นอันใช้ได้
ม.1007 “....ท่านว่าตั๋วเงินนั้นเป็นอันเสียไป...” หมายความว่าถ้าข้อความสำคัญถูกแก้ไขโดยผู้ไม่มีอำนาจ และไม่ได้รับความยินยอมจาก
คู่สัญญาทุกคน ตั๋วเงินนั้นเสียไป จะไปฟ้องให้ผู้ลงลายมือชื่อ หรือลูกหนี้ในตั๋วรับผิดไม่ได้(ในทางแพ่ง)ในทางอาญาก็ฟ้องไม่ได้ตาม ฎ.343/2506
ศาลฎีกาตัดสินว่าเช็คที่โจทก์นำมาฟ้องมีการแก้ไขจำนวนเงินจาก 3,000 บาท เป็น 33,000 บาทและการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเงินในเช็คนี้
ข้อเท็จจริงน่าเชื่อว่าผู้ทรงทำขึ้นเอง ดังนั้นเช็คที่นำมาฟ้องย่อมเป็นเช็คที่เสียตาม ม.1007 จำเลยหาต้องรับผิดตามที่โจทก์ฟ้องไม่
คดีล้มละลายฎ.1441/2540 เช็คพิพาทมีการแก้ไขวันที่สั่งจ่าย เป็นการแก้ไขในเป็นการแก้ในส่วนข้อสาระสำคัญ เช็คดังกล่าวเป็นอันเสียไป
โจทก์ไม่อาจเรียกให้จำเลยใช้เงินตามเช็คได้ จำเลยมิได้เป็นหนี้โจทก์ โจทก์จะฟ้องให้จำเลยล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย ม.9 ไม่ได้
ตั๋วเงินที่มีการแก้ไขข้อความที่เป็นอันเสียไปแต่ยังใช้ได้กับ บุคคลดังนี้
1.คู่สัญญาที่แก้ไขเปลี่ยนแปลง หรือได้ยินยอมด้วย
2.ผู้สลักหลังในภายหลังที่มีการแก้ไขแล้ว แม้จะไม่ได้ยินยอมด้วยในการแก้ไขก็ตามก็ต้องผูกพันในการแก้ไขด้วย
ม.1007 ว.2 “แต่หากตั๋วเงินใดได้มีผู้แก้ไขเปลี่ยนแปลงในข้อสำคัญ แต่ความเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ประจักษ์ และตั๋วเงินนั้นตกอยู่ในมือผู้ทรง
โดยชอบด้วยกฎหมายไซร้ ท่านว่าผู้ทรงนั้น จะเอาประโยชน์จากตั๋วนั้นก็ได้ เสมือนดังว่ามิได้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเลย และจะบังคับการ
ใช้เงินตามเนื้อความแห่งตั๋วนั้นก็ได้”
หมายถึงว่าแม้จะมีการแก้ไขในข้อสาระสำคัญเป็นเหตุให้ตั๋วเงินนั้นเสียไปก็ตาม แต่การเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ประจักษ์
“ไม่ประจักษ์” คือทำได้แนบเนียนคู่สัญญายังคงต้องรับผิดตามเดิมอยู่ตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้น
โดยสรุป ถ้ามีการแก้ไขให้ดูว่าเป็นการแก้ไขประจักษ์หรือไม่ ถ้าเห็นประจักษ์ คือ เห็นรอยลบชัดเจน แบบนี้คู่ความไม่ต้องรับผิด แต่ถ้าการ
แก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ประจักษ์คู่สัญญาที่ไม่ได้ยินยอมด้วยในการแก้ไขนั้นยังคงต้องรับผิดตามเนื้อความเดิมของตั๋วอยู่
Ex. ก.ออกเช็ค 90,000 บาท แล้วมีการแก้ไขจำนวนเงินในเช็คเป็น 50,000 บาท เมื่อมีคนนำเช็คมาขึ้นเงินธนาคารจ่ายเงินไป 50,000 บาท
แล้ว ธนาคารจะหักเงินจากบัญชีนาย ก. ได้หรือไม่
ฎ.270/2496 ธนาคารจะเรียกได้เฉพาะจำนวนเงินในแผ่นเช็คเท่านั้นโดยอนุโลมถือได้ว่าต่อผู้เคยค้า (ลูกค้าของธนาคาร) เป็นเสมือนผู้ทรงต่อ
ผู้ต้องรับผิดตามตั๋วเงินนั้น
หมายความว่า แม้มีการแก้ไขข้อความในเช็คสิทธิของผู้ทรงก็สามารถเรียกให้ลูกหนี้ในเช็ครับผิดได้ ตามเนื้อความเดิมโดยมาตรา1007
ดังนั้นศาลฎีกาก็เลยแปลงความว่า ให้นำมาตรา 1007 มาใช้โดยอนุโลมกับธนาคาร คือให้ธนาคารถือเป็นผู้ทรงที่จะเรียกให้ลูกหนี้ในตั๋วรับ
ผิดตามเนื้อความเดิมในเช็คนั้นเอง
สรุปได้ว่า ถ้ามีการแก้ไขจำนวนเงินจากเดิม 10,000 บาท เป็น 50,000 บาท ธนาคารจ่ายได้เงินไปแล้ว 50,000 บาท สิทธิของธนาคารที่มีต่อ
ลูกค้าของธนาคาร เปรียบเหมือนธนาคารเป็นผู้ทรงเช็ค ตาม ม.1007 ดังนั้นธนาคารสามารถหักเงินจากบัญชีเจ้าของเช็ค หรือผู้สั่งจ่ายได้ ตาม
เนื้อความเดิมเท่านั้น คือ 10,000 บาท
ข้อสังเกต มาตรา 1007 “ผู้ทรงมีสิทธิจะบังคับการใช้เงินตามเนื้อความเดิมแห่งตั๋วนั้นก็ได้ ถ้าการแก้ไขไม่ประจักษ์”
อนุโลมไปใช้กับธนาคาร ส่วนเงินที่ธนาคารจ่ายเกินไปนั้น ธนาคารต้องไปฟ้องเรียกคืนมาจากผู้ที่นำมาขึ้นเงิน ในฐานะลาภไม่ควรได้
โดยหลักของมาตรา 1007 เป็นเรื่องของคู่สัญญาในตั๋วเงิน คือ ผู้สั่งจ่ายกับผู้ทรง หรือผู้สลักหลังไม่ได้เกี่ยวข้องกับธนาคารเลย เพราะธนาคาร
มีความผูกพันอยู่กับผู้สั่งจ่ายอยู่แล้วตามสัญญาหนึ่งต่างหาก (อาจเป็นสัญญาฝากทรัพย์ หรือเบิกเงินเกินบัญชี)
ฎ.1254/2497 ถ้ากรณีผู้สั่งจ่ายออกเช็คสั่งจ่ายเงิน 50,000 บาท แต่มีผู้ไปแก้ไขข้อความในสาระสำคัญ คือแก้จำนวนเงินเป็น 40,000 บาท ดังนี้
ถ้าธนาคารจ่ายไป 40,000 บาท ก็ม่าถือการปฏิบัตินอกเหนือคำสั่งของผู้สั่งจ่ายทั้งไม่ทำให้ผู้สั่งจ่ายเสียหายแต่อย่างใด ธนาคารจึงหักเงินจาก
บัญชีผู้สั่งจ่ายได้ 40,000 บาท ตามที่จ่ายไปจริง
กรณีที่มีการแก้ไขการขีดคร่อมเช็ค ม.996 ประกอบ 997ว.3
ม.996 “การขีดคร่อมเช็คตามที่อนุญาตไว้ในมาตราก่อนนั้น ท่านว่าเป็นส่วนสำคัญอันหนึ่งของเช็ค ใครจะลบล้างย่อมไม่เป็นการชอบด้วย
กฎหมาย” ดังนั้น เมื่อไม่มีใครแก้ไขหรือลบการขีดคร่อมออกผลจึงเป็นไปตาม ม. 1007 นั้นเอง
ในกรณีที่เกี่ยวกับธนาคารจะมี ม.997 ว.3 “แต่หากเช็คใดเขานำยื่นเพื่อให้ใช้เงิน และเมื่อยื่นไม่ปรากฏว่าเป็นเช็คขีดคร่อมก็ดี หรือไม่มีการ
๒๓
ขีดคร่อมอันได้ลบล้างหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมเป็นประการอื่นนอกจากที่อนุญาตไว้โดยกฎหมายก็ดี เช็คเช่นนี้ธนาคารใดใช้เงินโดย
สุจริต และปราศจากการประมาทเลินเล่อ ท่านว่าธนาคารนั้นไม่ต้องรับผิดหรือต้องมีหน้าที่รับใช้เงินอย่างใดๆ”
หมายความว่า – ปกติเช็คขีดคร่อมทั่วไป ธนาคารจะต้องใช้เงินโดยผ่านธนาคารด้วยกัน จะจ่ายเป็นเงินสดไม่ได้
- ส่วนเช็คขีดคร่อมเฉพาะธนาคารจะต้องใช้เงินโดยผ่านธนาคารด้วยกัน เฉพาะที่ระบุไว้ว่าเป็นธนาคารไหน หรือสาขาไหนเท่านั้น
ปรากฏว่าการขีดคร่อมถูกลบไปอย่างแนบเนียน ธนาคารตรวจดูแล้วเชื่อว่าไม่ใช่เช็คขีดคร่อม จึงจ่ายเงินสดไป อย่างนี้ ม.997 ว.3 คุ้มครองธนาคาร
ลายชื่อในตั๋วเงินปลอมหรือลงโดยปราศจากอำนาจ มาตรา 1008
มีบทกฎหมายที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย ม.1006, 1008, 1009, 949
มาตรา 1008 “ภายใต้บังคับแห่งบทบัญญัติทั้งหลายในประมวลกฎหมายนี้”
หมายความว่า ถ้ามีการลงลายมือชื่อปลอม หรือลงโยปราศจากในตั๋วเงิน ก็ให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งมาตรานั้นๆเสียก่อน
ต่อเมื่อไม่มีบทบัญญัติในเรื่องนั้นๆไว้เฉพาะแล้วจึงมาใช้มาตรา 1008 เบื้องต้นจึงต้องดูว่ามีบทบัญญัติในมาตราใดที่กล่าวเรื่องลายมือชื่อ
ปลอมไว้เฉพาะหรือเปล่า
มาตรา 1008 นี้เป็นบทบัญญัติไว้ว่าลายมือชื่อปลอมหรือลายมือชื่อที่ปราศจากอำนาจนี้เป็นอันใช้บังคับไม่ได้เลย ในการอ้างอิง
แสวงสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง ท่านว่าทำไม่ได้เป็นอันขาดแต่มี ม.949 และ 1009 บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
ม.949 “ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา 1009 บุคคลผู้ใช้เงินในเวลาถึงกำหนดย่อมเป็นอันหลุดพ้นจากการรับผิด เว้นแต่ตนจะได้ทำการ
ฉ้อฉล หรือมีความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง อนึ่งบุคคลซึ่งกล่าวนี้จำต้องพิสูจน์ให้เห็นจริงว่าได้มีการสลักหลังติดต่อกันเรียบร้อย ไม่
ขาดสาย แต่ไม่จำต้องพิสูจน์ลายมือชื่อของผู้สลักหลัง”
ใช้กับตั๋วแลกเงินและตั๋วสัญญาใช้เงินตาม 985 หมายความว่า ผู้จ่ายที่รับรองตั๋วแลกเงินแล้วกับผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินที่ให้ใช้เงิน
ตามตั๋วสัญญาใช้ในนั้นไปโดยที่ตั๋วนั้นมีการสลักหลังติดต่อกันเรียบร้อยไม่ขาดสาย ถึงแม้ว่าลายมือชื่อสลักหลังจะปลอม ผู้จ่ายหรือผู้ออกตั๋ว
สัญญาใช้ในนั้นก็ไม่ต้องรับผิด คือ ม.1008 บอกว่าถ้าลายมือชื่อปลอม หรือลงโดยปราศจากอำนาจ ใครจะอ้างเพื่อให้ตนหลุดพ้นไม่ได้ แต่
ม.949 บอกว่าอ้างได้ ดังนั้นเมื่อกรณีต้องด้วย 949 ก็ปรับด้วย 949 เสียก่อน อีกมาตราคือ 1009 กฎหมายจะคุ้มครองธนาคารที่จ่ายเงินตามเช็ค
หรือตั๋วแลกเงิน ที่มีวันถึงกำหนดใช้เงินเพื่อทวงถาม ว่าธนาคารซึ่งจ่ายเงินตามเช็คไปตามทางค้าปกติโดยสุจริต และปราศจากประมาทเลินเล่อ
ถึงแม้ว่าธนาคารจะจ่ายเงินตามเช็คซึ่งมีผู้สลักหลังปลอมก็ตาม ก็ถือว่าธนาคารใช้เงินไปโดยถูกระเบียบ ฉะนั้น ม.949 กับ 1009 จึงเป็นข้อ
ยกเว้นของมาตรา 1008 นั่นเอง คือแม้ว่าธนาคารจะจ่ายเงินที่มีลายมือชื่อสลักหลังปลอมก็ตามก็สามารถหักเงินจากเจ้าของบัญชีได้
ม.1008 มีข้อความต่อไปว่า
“เมื่อใดลายมือชื่อในตั๋วเงินเป็นลายมือชื่อปลอมก็ดี เป็นลายมือชื่อที่ลงไว้โดยบุคคลที่อ้างเอาเป็นเจ้าของลายมือชื่อนั้นมิได้มอบอำนาจให้ลงก็ดี
ท่านว่าลายมือชื่อปลอม หรือลงโดยปราศจากอำนาจเช่นนั้นเป็นอันใช้ไม่ได้เลย...”
: แยกความหมายออกเป็นดังต่อไปนี้
ลายมือชื่อปลอม หมายความว่าบุคคลหนึ่งคนใดได้กระทำการใดๆให้ปรากฎลายมือชื่อผู้อื่นลงไปในตั๋วเงิน โดยตั้งใจให้เข้าใจว่าเป็นลายมือชื่อ
ของผู้อื่นที่ลงไว้อย่างแท้จริง ฎ.215/2510 ปลอมโดยใช้วิธีทาบลายมือชื่อผู้อื่นลงไป แต่ถ้าเป็นกรณีเจ้าของที่แท้จริงตั้งใจจะโกงธนาคารโดยเอามา
ทาบทำแกล้งปลอมอย่างนี้ไม่ถือว่าเป็นลายมือชื่อปลอม เพราะเป็นเจ้าของที่แท้จริงทำเอง ธนาคารสามารถหักเงินในบัญชีได้
ลายมือชื่อที่ลงโดยปราศจากอำนาจ หมายความถึงการที่บุคคลใดก็ตามไปเขียนชื่อผู้อื่น หรือกระทำโดยวิธีใดก็ตามให้ปรากฎลายมือชื่อ ผู้อื่น
อยู่ในตั๋วเงินโดย ตั้งใจกระทำการแทนการแทนเจ้าของชื่อที่แท้จริง (อยู่ที่เจตนา) เช่น เสมียนเขียนชื่อ หรือลงลายมือชื่อของนายจ้างลงในเช็คใน
ตอนที่นายจ้างไม่อยู่โดยตั้งใจกระทำการแทน(ไม่ต้องรอนายจ้างกลับมา)
หมายเหตุ จุดต่างของลายมือชื่อปลอมกับลงลายมือชื่อโดยปราศจากอำนาจก็คือตั้งใจกระทำการแทนโดยเขาไม่ได้มอบอำนาจ
ผลของสองอย่างนี้จะอยู่ตรงที่ว่า
- ลงลายมือชื่อปลอมจะมีการให้สัตยาบันไม่ได้
- แต่ถ้าเป็นการลงลายมือชื่อโยปราศจากอำนาจสามารถให้สัตยาบันได้
๒๔
ม.1006 “การที่ลายมือชื่ออันหนึ่งในตั๋วเงิน เป็นลายมือชื่อปลอมย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงความสมบูรณ์แห่งลายมือชื่ออื่นๆในตั๋วเงินนั้น”
แยกพิจารณาได้ว่า
- ถ้าเป็นลายมือชื่อปลอมก็เป็นอันใช้ไม่ได้ตามมาตรา 1008
- ถ้าลายมือชื่ออันไหนเป็นของจริงก็ใช้ได้เฉพาะอันนั้นตาม 1006 คืออันไหนเขียนลายมือชื่อแท้จริงก็ยังคงสมบูรณ์อยู่ แต่ไม่ได้
หมายความว่าเป็นลายมือชื่อที่สมบูรณ์แล้วจะต้องรับผิดเสมอไปยังต้องดูต่อไปเป็นกรณี เป็นข้อเท็จจริงแต่ละเรื่องไปซึ่งบางคนอาจ
ไม่ต้องรับผิด
Ex. ฎ.918/2522, 2168/2536, 2089/2531
- ยึดหน่วงตั๋วเงินไว้ไม่ได้
- จะอ้างอิงเพื่อให้ตั๋วเงินนั้นหลุดพ้นนั้นไม่ได้
Ex. ธนาคารผู้จ่ายเงิน ได้จ่ายเงินให้กับตั๋วเงินที่มีลายมือชื่อปลอมเป็นผู้สั่งจ่าย เมื่อลายมือชื่อปลอมธนาคารจึงไม่มีสิทธิหักเงินในบัญชี
เจ้าของบัญชี และธนาคารจะมาอ้างว่าตนได้จ่ายเงินไปแล้วจึงต้องหลุดพ้นความรับผิดไม่ได้ตาม มาตรา 1008
ตรงกันข้ามถ้าธนาคารจ่ายเงินให้แก่เช็คที่มีลายมือชื่อผู้สลักหลังปลอม อย่างนี้เข้าข้อยกเว้นตาม มาตรา 1009 บัญญัติว่าธนาคารใช้
เงินไปอย่างถูกระเบียบ จะบังคับการใช้เงินเอาแก่คู่สัญญาแห่งตั๋วเงินคนหนึ่งคนใดไม่ได้อย่างเด็ดขาด หมายความว่า ผู้ที่ได้เช็คที่มี
ลายมือชื่อปลอมหรือลงลายมือชื่อโดยปราศจากอำนาจ จะไปบังคับเอากับคู่สัญญาที่ลงชื่อก่อนที่จะมีลายมือชื่อปลอมนี้ไม่ได้ แต่อาจ
เรียกให้คู่สัญญารับผิดต่อตนได้
Ex. เช็คฉบับหนึ่งมี นายแดง เป็นผู้สั่งจ่าย มีผู้สลักหลัง 3 คน คือ นายหนึ่ง นายสอง นายสาม สมมุติว่า ลายมือชื่อนายสอง เป็นลายมือชื่อ
ปลอม
ถามว่า : ถ้าธนาคารไม่จ่ายเงินตามเช็คฉบับนี้ผู้ทรงจะฟ้องใครให้ใช้เงินตามเช็คได้บ้าง
ตอบ : เมื่อลายมือชื่อนายสองเป็นลายมือชื่อปลอมจึงจะไปเรียกให้นายสองใช้เงินไม่ได้เลยเพราะนายสองไม่ได้ลงลายมือชื่อในเช็คนั้น
(ม.900) ฟ้องนายแดงกับนายหนึ่งไม่ได้ ถึงแม้นายแดงกับนายหนึ่งจะได้ลง
ลายมือชื่อลงในเช็คและลายมือชื่อนายแดงและนายหนึ่งจะสมบูรณ์ก็ตาม แต่จะไปฟ้องไม่ได้เพราะเป็นการแสวงสิทธิโดยอาศัยลายมือ
ชื่อปลอมนั้นไม่ได้
ผู้ทรงจึงฟ้องได้ 2คน คือผู้ปลอมลายมือชื่อและผู้ลงลายมือชื่อหลังการปลอม คือ นายสาม เพราะนายสามเป็นบุคคลผู้ต้องถูกตัดบท
มิให้ยกลายมือชื่อปลอมขึ้นเป็นข้อต่อสู้
หลักจำง่ายๆ ผู้ที่ได้เช็คมาซึ่งมีลายมือชื่อปลอมอยู่ จะไปไล่เบี้ยได้จากบุคคลที่ลงลายมือชื่อหลังจากลายมือชื่อปลอมนั้นได้ แต่คนที่ลง
ลายมือชื่อก่อนที่จะมีการปลอมนั้นจะไปไล่เบี้ยเอากับเขาไม่ได้ เป็นการแสวงสิทธิโดยอาศัยลายมือชื่อปลอมอย่างนี้ไม่ได้
กรณีที่ธนาคารจ่ายเงินในเช็คที่มีลายมือชื่อปลอม
ปกติธนาคารประกอบธุรกิจเพื่อหวังผลเอาบำเหน็จค่าฝากประกอบเป็นอาชีพ หรือการที่เอาเงินจากผู้ฝากไปแสวงหาประโยชน์จึง
ได้มีคำวินิจฉัยของศาลฎีกาวางแนวว่า ธนาคารมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะใช้ความระมัดระวัง ความชำนาญพิเศษ ดูลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายว่า
เหมือนกับที่ให้ไว้กับธนาคารหรือไม่ เพราะทำเป็นปกติอาชีพ ถ้าเป็นลายมือชื่อที่ไม่เหมือนที่ให้ไว้ก็ชอบที่จะปฏิเสธไม่จ่ายเงินได้
ดังนั้นเมื่อธนาคารได้จ่ายเงินให้กับเช็คที่มีลายมือชื่อปลอมจึงหักเงินในบัญชีผู้สั่งจ่ายไม่ได้ เพราะเป็นความประมาทของธนาคารด้วย จะ
อ้างให้ตนหลุดพ้นไม่ได้ตาม 1008 ฎ.6280/2538, 2511/2538, 3776/2537 บางเรื่องศาลฎีกาตัดสินว่าธนาคารทำละเมิดสัญญาฝากทรัพย์
ด้วยก็มี ฎ.4161/2532, 6280/2538 มีข้อเท็จจริงบางเรื่อง ถือว่าธนาคารประมาทเลินเล่อแต่ลูกค้าก็มีส่วนประมาทเลินเล่อด้วย เช่น ไม่
ปฏิบัติตามระเบียบในการใช้เช็ค คือไม่เก็บไว้ในที่ปลอดภัย ไม่แจ้งธนาคารเมื่อเช็คหาย ศาลตัดสินให้ธนาคารรับผิดเพียงกึ่งหนึ่ง จาก
ค่าเสียหายทั้งหมด
ถาม : เอาเช็คผู้ถือไปขึ้นเงิน เจ้าหน้าที่ธนาคารให้ลงชื่อด้านหลังจะเป็นการอาวัลหรือไม่?
ตอบ : ไม่เป็นเพราะ
1. ไม่มีเจตนาผูกนิติสัมพันธ์
2. มาตรา945 นำไปใช้กับเช็ค “การใช้เงินจะมีได้เมื่อได้เวนตั๋วแลกเงิน ผู้ใช้เงินจะให้ผู้ทรงลงชื่อรับเงินก็ได้”
๒๕
เช็คชนิดผู้ถือ
1. ถึงแม้ว่าธนาคารจะปฏิเสธการจ่ายเงินแล้วก็ตามเช็คก็ยังมีสภาพเป็นเช็คอยู่ ซึ่งสามารถโอนเปลี่ยนมือกันต่อไปได้อีกจึงยังคงเป็นเช็คที่ใช้
บังคับได้ตามกฎหมายอยู่ หมายความว่า ผู้รับโอนมาโดยสุจริตภายหลังที่ธนาคารได้ปฏิเสธการจ่ายเงินแล้ว ในทางแพ่งผู้รับโอนซึ่งเป็นผู้
ทรงสามารถนำไปฟ้องร้องให้รับผิดได้ตามปกติ ฎ.4383/2545, 5435/2533, 2062/2537 ในทางแพ่งตัวผู้ทรงอาจจะเป็นผู้ทรงในภายหลังที่
ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแล้วก็ได้
2. ในด้านลูกหนี้ซึ่งเป็นผู้รับอาวัลในเมื่อเช็ที่ได้ถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแล้วคนที่ลงชื่อในด้านหลังเช็คก็ยังคงเป็นผู้รับอาวัลผู้สั่งจ่าย
ตาม ม. 921 ประกอบ 98 ตามนัย ฎ.5766/2537, 312/2521
3. เช็คที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินแล้วจะแก้วันที่ในเช็คได้อยู่อีกหรือไม่ ม.1007 สามารถทำได้ถ้าเป็นการแก้ไขที่ได้รับความยินยอม เช่น
เมื่อเช็คปฏิเสธการจ่ายจึงนำเช็คไปทวงถามกับผู้สั่งจ่าย เมื่อผู้สั่งจ่ายเห็นจึงบอกว่าเงินยังไม่เข้าบัญชีเลย ขอแก้ไขวันที่ไปก่อนได้ไหม ทั้ง
สองฝ่ายจึงตกลงยินยอมแก้ไขวันที่ ก็สามารถทำได้ เช็คไม่เสีย และเมื่อผู้สั่งจ่ายแก้ไขวันที่ใหม่ ก็ต้องถือวันที่ตามที่แก้ไขนั้นอายุความจึง
ต้องนับตั้งแต่วันที่แก้ไขใหม่ ยังคงใช้ได้ต่อคู่สัญญาซึ่งแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้น
สรุป กรณีที่ผู้สั่งจ่ายแก้ไขวันที่ในเช็ค กำหนดฟ้องผู้สั่งจ่ายซึ่งมีอายุความ 1 ปี ตาม ม.1002 จึงต้องนับจากวันที่แก้ไขใหม่ไม่ใช่วันเดิม
ฎ.1043/2534
อายุความในตั๋วเงิน
มาตราที่เกี่ยวข้อง มาตรา 1001, 1002, 1003
ม.1001 เป็นกำหนดอายุความฟ้องผู้รับรองตั๋วแลกเงินและฟ้องผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน ท่านห้ามมิให้ฟ้องเกิน 3 ปี นับตั้งแต่วันถึงกำหนด
ในตั๋วนั้นๆให้ใช้เงิน
“ผู้รับรอง” คือใคร
ปกติคู่สัญญาในตั๋วแลกเงินจะมี 3 ฝ่าย
1. ผู้สั่งจ่าย
2. ผู้จ่าย ม.931 การรับรอง ทำโดยลงลายมือชื่อของผู้จ่ายตามม.900 ดังนั้น เมื่อผู้จ่ายลงชื่อรับรองแล้วก็เรียกใหม่ว่า เป็นผู้รับรอง
(เปลี่ยนฐานะนั้นเอง)
3. ผู้รับเงิน
ซึ่งในฐานะผู้จ่ายกับผู้รับรองจะแตกต่างกันตรงที่
1. ฐานะผู้จ่าย หากถึงกำหนดจ่ายเงินแล้ว นำตั๋วมาแลกเงินแล้วไม่มีการจ่ายไปฟ้องผู้จ่ายไม่ได้เพราะผู้จ่ายไม่ได้ลงลายมือชื่อไว้ตาม ม.900
2. ฐานะผู้รับรอง หากถึงกำหนดจ่ายเงินถ้านำตั๋วมาแลกเงินแล้วไม่มีการจ่ายเงิน อย่างนี้ฟ้องผู้รับรองได้ เพราะได้มีการลงลายมือชื่อของผู้
รับรองในตั๋วแล้วตาม ม.900
ม.937 ผู้จ่ายเงินได้รับรองตั๋วเงินแล้วย่อมต้องรับผิดในอันจะจ่ายเงินเท่าจำนวนที่รับรอง ตามเนื้อความแห่งคำรับรอง
- ตั๋วสัญญาใช้เงินจะมีคู่สัญญา 2 ฝ่าย
1. ผู้ออกตั๋ว ผู้ออกตั๋วเป็นผู้จ่ายเงินตามตั๋ว ม.986 “ผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินย่อมต้องผูกพันเป็นอย่างเดียวกันกับผู้รับรองตั๋วแลกเงิน”
2. ผู้รับเงิน
ม.1001 อายุความ 3 ปี นับแต่วันที่ตั๋วถึงกำหนดใช้เงินตาม ม.913 ซึ่งมีวันถึงกำหนดได้หลายกรณี
ม.1002 เป็นกำหนดอายุความที่ผู้ทรงฟ้อง
1. ผู้สั่งจ่ายตั๋วแลกเงิน
2. ผู้สั่งจ่ายเช็ค
3. ฟ้องผู้สลักหลังตั๋วทั้ง 3 ประเภท
มีกำหนดอายุความ 1 ปี นับแต่วันที่ได้ลงในวันคัดค้านซึ่งได้ทำขึ้นถูกต้องภายในเวลาอันถูกต้องตามกำหนด หรือนับแต่วันตั๋วเงิน
ถึงกำหนดในกรณีที่มีข้อกำหนดไว้ว่า “ไม่จำต้องมีคำคัดค้าน”
แยกกรณีได้ดังนี้
๒๖
1. ฟ้องผู้สั่งจ่ายตั๋วแลกเงินหรือผู้สลักหลัง เมื่อผู้ทรงนำตั๋วไปยื่นให้ผู้จ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินแล้ว ผู้จ่ายไม่จ่ายเงิน ก่อนที่จะนำคดีมา
ฟ้อง กฎหมายกำหนดให้ผู้ทรงมีหน้าที่ตาม 960 ผู้ทรงต้องทำการคัดค้านการไม่ใช่เงินในวันที่ได้รับการปฏิเสธหรือวันที่ลงในตั๋ว
เลยหรือนับไปอีกภายใน 3 วัน แต่ทำวันไหนกำหนดอายุความ 1 ปี ต้องเริ่มนับตั้งแต่วันนั้น ถ้าตั๋วแลกเงินเขียนลงในตั๋วว่าไม่จำต้อง
ทำคำคัดค้าน แบบนี้อายุความก็ให้เริ่มนับตั้งแต่วันถึงกำหนดชำระในตั๋วเลย
2. ฟ้องผู้สั่งจ่ายเช็ค หรือผู้สลักหลังเช็ค อายุความ 1 ปีให้นับจากวันที่ลงในเช็ค เนื่องจากไม่ต้องมีการบอกกล่าว หรือทำคำคัดค้านก่อน
ฟ้องเหมือนอย่างกรณีตั๋วแลกเงิน
ม.1003 เป็นเรื่องของลูกหนี้ในตั๋วเงินฟ้องไล่เบี้ยกันเอง
“ในคดีที่ผู้สลักหลังทั้งหลาย ฟ้องไล่เบี้ยกันเอง และไล่เบี้ยเอาแก่ผู้สั่งจ่ายแห่งตั๋วเงิน ท่านห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นเวลา 6 เดือนนับแต่วันที่ผู้
สลักหลังเข้าถือเอาตั๋วเงิน และใช้เงินนับแต่วันที่ผู้สลักหลังนั้นเองถูกฟ้อง”
ในเรื่องตั๋วเงินนั้น บุคคลทุกคนที่ลงลายมือชื่อจะต้องร่วมกันรับผิดต่อผู้ทรง ตาม ม.967 ผู้ทรงมีสิทธิฟ้อง
- ทั้งหมด
- ฟ้องเฉพาะบางคน
หรือฟ้องบางคนไปแล้วไม่ได้เงินก็ไปฟ้องลูกหนี้คนอื่นได้ตาม ม.967ว.3 “สิทธิเช่นเดียวกันนี้ย่อมมีแก่บุคคลทุกคนซึ่งได้ลงลายมือชื่อ
ในตั๋วเงิน และเข้าถือเอาตั๋วเงินนั้น ในการที่จะใช้บังคับเอาแก่ผู้ที่มีความผูกพันอยู่แล้วก่อนตน”
หมายความว่า เมื่อลูกหนี้คนใดใช้เงินไปแล้วและเข้าถือเอาตั๋วก็สามารถไล่เบี้ยต่อไปได้ แต่มีข้อจำกัดอยู่ว่า สามารถไล่เบี้ยได้เฉพาะ
บุคคลที่ลงลายมือชื่อก่อนตนขึ้นไปเท่านั้น
Ex. นายหนึ่ง – นายสอง – นายสาม ลงชื่อสลักหลังในตั๋ว เมื่อนายสามใช้เงินและเข้ายึดถือตั๋ว แล้วฟ้องไล่เบี้ยเอากับนายสอง นายหนึ่ง
และผู้สั่งจ่ายได้ ตามแต่จะเลือกฟ้องใคร หรือฟ้องทุกคนก็ได้
อายุความ 6 เดือนนับจากเมื่อใดแยกออกเป็นสองกรณี
1.กรณีสมัครใจใช้เงินเอง ผู้เป็นลูกหนี้ในตั๋วใช้เงินและเข้าถือเอาตั๋วเงิน(ไม่ใช่ถูกฟ้อง) ให้เริ่มนับเมื่อผู้สลักหลังเข้าถือเอาตั๋วนั้น
2.กรณีไม่สมัครใจใช้เงินแต่แรก ถูกฟ้องแล้วเข้าใช้เงินให้เริ่มนับเมื่อผู้สลักหลังถูกฟ้อง คือ เริ่มนับวันฟ้องคดีนั่นเอง
ฎ.628/2510, 6339-6340/2539 จำเลยสั่งจ่ายเช็คชนิดระบุชื่อผู้รับเงินให้โจทก์โดยลงวันที่ล่วงหน้า ต่อมาผู้ทรงคนแรกร้อนเงินก็เลยเอาเช็ค
ไปขายลดเช็คแก่ธนาคาร และโจทก์ก็สลักหลังลงในเช็คตอนขายไปด้วย ต่อมาถึงกำหนดจ่ายเงินธนาคารผู้รับซื้อเช็คเอาเช็คไปขึ้นเงิน
ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่าย ธนาคารที่รับซื้อลดเช็ค จึงติดต่อโจทก์ผู้ขายให้นำเงินมาชำระ โจทก์จึงนำเงินตามเช็คพร้อมดอกเบี้ยไป
ชำระและรับเช็คคืน (เป็นกรณีสมัครใจ) โจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยเมื่อพ้น 6 เดือน นับแต่วันที่โจทก์เข้าถือเอาเช็คจากธนาคารที่รับซื้อเช็ค
ศาลชั้นต้นยกฟ้อง
โจทก์ฎีกาเป็นประเด็นว่า ธนาคารเป็นเสมือนตัวแทนตนไปเรียกเก็บเงินเพราะฉะนั้นจึงเป็นเรื่องที่ตนในฐานะผู้ทรงฟ้องผู้สั่ง
จ่ายในอายุ ความ 1 ปี ตาม ม.1002 (ข้อกฎหมาย) ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า การโอนเช็คระบุชื่อสามารถโอนให้แก่กันได้ตาม 917 สามารถโอนให้แก่
กันได้ ด้วยการสลักหลังและส่งมอบ คดีนี้โจทก์สลักหลังและส่งมอบให้แก่ธนาคารผู้ซื้อ ม.920 อันการสลักหลังย่อมโอนไปทั้งสิทธิและ
หน้าที่ นั้น ดังนั้นธนาคาร นำเช็คไปเรียกเก็บเงินจากธนาคารตามเช็คจึงเป็นการกระทำในฐานะผู้ทรง ไม่ใช่เรียกในฐานะเป็นตัวแทนโจทก์
เมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน และโจทก์ได้ชำระเงินตามเช็คให้แก่ธนาคารผู้รับซื้อลดเช็คและรับเช็คกลับคืนโดยไม่ได้สลักหลังโอน
กลับตคืนจึงเห็นได้ชัดว่า ตัวโจทก์อยู่ในฐานะผู้สลักหลังเช็ค ซึ่งได้ใช้เงินให้แก่ผู้ทรง และเข้าถือเอาเช็คฉบับนั้น โจทก์นำคดีมาฟ้องจึงเป็น
เรื่อง ผู้สลักหลังฟ้องไล่เบี้ยผู้สั่งจ่ายเช็ค ซึ่งมีอายุความ 6 เดือนตาม ม. 1003
ถ้าข้อเท็จจริงเปลี่ยนเป็นว่า เช็คที่ขายลดนั้นเป็นเช็คผู้ถือ แม้ข้อเท็จจริงอย่างอื่นจะเหมือนกันก็ตาม การวินิจฉัยคดีก็จะตรงกันข้าม
ทันที เพราะเช็คผู้ถือนั้นผู้สลักหลังจะมีฐานะเป็นเพียงผู้รับอาวัล ซึ่งจะเป็นเรื่องผู้รับอาวัลฟ้องไล่เบี้ยเอาจากผู้ที่ตนประกันอาวัล ซึ่งไม่มี
กำหนดอายุความไว้แต่อย่างใด ต้องใช้อายุความ 10 ปี( ฎ.2807/2536, 5547/2537)
2521/2540 วินิจฉัยไว้ชัดว่ามีอายุความ 10 ปี เนื่องจากไม่มีกฎหมายอายุความบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไป(ตั้งรูปคดีว่าเป็น
ผู้รับอาวัล) ฏ.4383/2545 ในอายุความ 1 ปี เพราะตั้งรูปคดีว่าเป็นผู้ทรง
๒๗
แคชเชียร์เช็ค
ธนาคารจะเป็นผู้ออกแคชเชียร์เช็คซึ่งออกในรูประบุชื่อผู้รับเงิน ม.991 (3) ถ้าธนาคารออกไปแล้วผู้รับก็ไปแจ้งธนาคาร ผู้เป็นเจ้าหนี้
ที่เป็นผู้ทรงแคชเชียร์เช็คอยู่นำไปขึ้นเงิน และถูกปฏิเสธการใช้เงินจะไปฟ้องธนาคาร ธนาคารจะปฏิเสธตามมาตรา 991 (3) ได้หรือไม่ว่า
ได้รับการบอกหรือการแจ้งว่าแคชเชียร์เช็คหายก็เลยไม่จ่ายเงิน ฎ.2201/2542, 772/2526
ข้อเท็จจริง
1. โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 2ไปซื้อแคชเชียร์เช็คจากจำเลยที่ 1(ธนาคาร) ซึ่งจำเลยที่ 1 เป็นผู้สั่งจ่าย จำเลยที่ 2 สลักหลังโอนให้แก่โจทก์
2. โจทก์นำไปขึ้นเงิน จำเลยที่ 1 ปฏิเสธการจ่ายเงินโดยอ้างว่าผู้ซื้อมีใบแจ้งมาขออายัด และธนาคารก็คืนเงินให้จำเลยที่ 2 ผู้มาซื้อ
แคชเชียร์เช็คไป
3. โจทก์นำคดีมาฟ้องธนาคารซึ่งข้อเท็จจริงปรากฏว่า ความจริงแล้วแคชเชียร์เช็คไม่ได้หาย
- ธนาคารจะปฏิเสธการจ่ายเงินตาม ม.991(3)ได้หรือไม่?
- หรืออ้างได้หรือไม่ว่ามีคำบอกห้ามการใช้เงิน
ศาลทั้ง 2 เรื่อง วินิจฉัยว่า ธนาคารจะอ้างไม่ได้ เพราะ ม.991(3) กับ ม.992 เป็นบทบัญญัติ เกี่ยวกับลูกค้าของธนาคารเป็นผู้สั่งจ่าย ซึ่งจะ
ต่างกับแคชเชียร์เช็ค เพราะ จะเป็นธนาคารเป็นผู้สั่งจ่าย หาใช่ผู้เคยค้ากับธนาคารเป็นผู้สั่งจ่ายไม่ ดังนั้นธนาคารจึงจะอ้าง 991 และ 992 มา
ปฏิเสธไม่ได้ จึงต้องรับผิดตาม ม.900
ลิขสิทธิ์คณะกรรมการนักศึกษาเนติฯ สมัย 58
๒๘

วันอังคารที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2553

Barcelona Traction

Barcelona Traction, Light and Power Company, Limited (Belgium v. Spain); Preliminary Objections


Judgment of 24 July 1964

Proceedings in the case concerning the Barcelona Traction, Light and Power Company, Limited (Belgium v. Spain) were instituted by an Application of 19 June 1962 in which the Belgian Government sought reparation for damage claimed to have been caused to Belgian nationals, shareholders in the Canadian Barcelona Traction Company, by the conduct of various organs of the Spanish State. The Spanish Government raised four Preliminary Objections.

The Court rejected the first Preliminary Objection by 12 votes to 4, and the second by 10 votes to 6. It joined the third Objection to the merits by 9 votes to 7 and the fourth by 10 votes to 6.

President Sir Percy Spender and Judges Spiropoulos, Koretsky and Jessup appended Declarations to the Judgment.

Vice-President Wellington Koo and Judges Tanaka and Bustamante y Rivero appended Separate Opinions.

Judge Morelli and Judge ad hoc Armand-Ugon appended Dissenting Opinions.

* * *

First Preliminary Objection

In its Judgment, the Court recalled that Belgium had on 23 September 1958filed with the Court an earlier Application against Spain in respect of the same facts, and Spain had then raised three Preliminary Objections. On 23 March 1961 the Applicant, availing itself of the right conferred upon it by Article 69, paragraph 2, of the Rules of Court, had informed the Court that it was not going on with the proceedings; notification having been received from the Respondent that it had no objection, the Court had removed the case from its List (10 April 1961). In its first Preliminary Objection, the Respondent contended that this discontinuance precluded the Applicant from bringing the present proceedings and advanced five arguments in support of its contention.

The Court accepted the first argument, to the effect that discontinuance is a purely procedural act the real significance of which must be sought in the attendant circumstances.

On the other hand, the Court was unable to accept the second argument namely that a discontinuance must always be taken as signifying a renunciation of any further right of action unless the right to start new proceedings is expressly reserved. As the Applicant's notice of discontinuance contained no motivation and was very clearly confined to the proceedings instituted by the first Application, the Court considered that the onus of establishing that the discontinuance meant something more than a decision to terminate those proceedings was placed upon the Respondent.

The Respondent, as its third argument, asserted that there had been an understanding between the Parties; it recalled that the representatives of the private Belgian interests concerned had made an approach with a view to opening negotiations and that the representatives of the Spanish interests had laid down as a prior condition the final withdrawal of the claim. According to the Respondent what was meant by this was that the discontinuance would put an end to any further right of action, but the Applicant denied that anything more was intended than the termination of the then current proceedings. The Court was unable to find at the governmental level any evidence of any such understanding as was alleged by the Respondent; it seemed that the problem had been deliberately avoided lest the foundation of the interchanges be shattered. Nor had the Respondent, on whomlay the onus of making its position clear, expressed any condition when it indicated that it did not object to the discontinuance.

The Respondent Government then advanced a fourth argument, having the character of a plea of estoppel, to the effect that, independently of the existence of any understanding, the Applicant had by its conduct misled the Respondent about the import of the discontinuance, but for which the Respondent would not have agreed to it, and would not thereby have suffered prejudice. The Court did not consider that the alleged misleading Belgian misrepresentations had been established and could not see what the Respondent stood to lose by agreeing to negotiate on the basis of a simple discontinuance; if it had not agreed to the discontinuance, the previous proceedings would simply have continued, whereas negotiations offered a possibility of finally settling the dispute. Moreover, if the negotiations were not successful and the case started again, it would still be possible once more to put forward the previous Preliminary Objections. Certainly the Applicant had framed its second Application with a foreknowledge of the probable nature of the Respondent's reply and taking it into account but, if the original proceedings had continued, the Applicant could likewise always have modified its submissions.

The final argument was of a different order. The Respondent alleged that the present proceedings were contrary to the spirit of the Hispano-Belgian Treaty of Conciliation, Judicial Settlement and Arbitration of 19 July 1927 which, according to the Applicant, conferred competence on the Court. The preliminary stages provided for by the Treaty having already been gone through in connection with the original proceedings, the Treaty could not be invoked a second time to seise the Court of the same complaints. The Court considered that the Treaty processes could not be regarded as exhausted so long as the right to bring new proceedings otherwise existed and until the case had been prosecuted to judgment.

For these reasons, the Court rejected the first Preliminary Objection.

Second Preliminary Objection

To found the jurisdiction of the Court the Applicant relied on the combined effect of Article 17 (4) of the 1927 Treaty between Belgium and Spain, according to which if the other methods of settlement provided for in that Treaty failed either party could bring any dispute of a legal nature before the Permanent Court of International Justice, and Article 37 of the Statute of the International Court of Justice, which reads as follows:

"Whenever a treaty or convention in force provides for reference of a matter . . . to the Permanent Court of International Justice, the matter shall, as between the parties to the present Statute, be referred to the International Court of Justice."

As the principal aspect of its objection, the Respondent maintained that although the 1927 Treaty might still be in force, Article 17 (4) had lapsed in April 1946 on the dissolution of the Permanent Court to which that article referred. No substitution of the present for the former Court had been effected in that article before the dissolution, Spain not being then a party to the Statute; in consequence, the 1927 Treaty had ceased to contain any valid jurisdictional clause when Spain was admitted to the United Nations and became ipso facto a party to the Statute (December 1955). In other words Article 37 applied only between States which had become parties to the Statute previous to the dissolution of the Permanent Court, and that dissolution had brought about the extinction of jurisdictional clauses providing for recourse to the Permanent Court unless they had previously been transformed by the operation of Article 37 into clauses providing for recourse to the present Court.

The Court found that this line of reasoning had first been advanced by the Respondent after the decision given by the Court on 26 May 1959 in the case concerning the Aerial Incident of 27 July 1955(Israel v. Bulgaria). But that case had been concerned with a unilateral declaration in acceptance of the compulsory jurisdiction of the Permanent Court and not with a treaty. It thus had reference not to Article 37 but to Article 36, paragraph 5, of the Statute.

As regards Article 37, the Court recalled that in 1945 its drafters had intended to preserve as many jurisdictional clauses as possible from becoming inoperative by reason of the prospective dissolution of the Permanent Court. It was thus difficult to suppose that they would willingly have contemplated that the nullification of the jurisdictional clauses whose continuation it was desired to preserve would be brought about by the very event the effects of which Article 37 was intended to parry.

Only three conditions were actually stated in Article 37. They were that there should be a treaty in force; that it should contain a provision for the reference of a matter to the Permanent Court; and that the dispute should be between States parties to the Statute. In the present case the conclusion must be that the 1927 Treaty being in force and containing a provision for reference to the Permanent Court, and the parties to the dispute being parties to the Statute, the matter was one to be referred to the International Court of Justice, which was the competent forum.

It was objected that this view led to a situation in which the jurisdictional clause concerned was inoperative and then after a gap of years became operative again, and it was asked whether in those circumstances any true consent could have been given by the Respondent to the Court's jurisdiction. The Court observed that the notion of rights and obligations that are in abeyance but not extinguished was common; States becoming parties to the Statute after the dissolution of the Permanent Court must be taken to have known that one of the results of their admission would be the reactivation by reason of Article 37 of certain jurisdictional clauses. The contrary position maintained by the Respondent would create discrimination between States according as to whether they became parties to the Statute before or after the dissolution of the Permanent Court.

As regards Article 17 (4) more particularly, the Court considered that it was an integral part of the 1927 Treaty. It would be difficult to assert that the basic obligation to submit to compulsory adjudication provided for in the Treaty was exclusively dependent on the existence of a particular forum. If it happened that the forum went out of existence, the obligation became inoperative but remained substantively in existence and could be rendered operative once more if a new tribunal was supplied by the automatic operation of some other instrument. Article 37 of the Statute had precisely that effect. Accordingly, "International Court of Justice" must now be read for "Permanent Court of International Justice".

As a subsidiary plea, the Respondent contended that if Article 37 of the Statute operated to reactivate Article 17 (4) of the Treaty in December 1955, what came into existence at that date was a new obligation between the Parties; and that just as the original applied only to disputes arising after the Treaty date, so the new obligation could apply only to disputes arising after December 1955. The dispute was accordingly not covered since it had arisen previous to December 1955. In the opinion of the Court, when the obligation to submit to compulsory adjudication was revived as to its operation, it could only function in accordance with the Treaty providing for it and it continued to relate to any disputes arising after the Treaty date.

For these reasons the Court rejected the second Preliminary Objection both in its principal and in its subsidiary aspects.

Third and Fourth Preliminary Objections

The Respondent's third and fourth Preliminary Objections involved the question of whether the claim was admissible. The Applicant had submitted alternative pleas that these objections, unless rejected by the Court, should be joined to the merits.

By its third Preliminary Objection the Respondent denied the legal capacity of the Applicant to protect the Belgian interests on behalf of which it had submitted its claim. The acts complained of had taken place not in relation to any Belgian natural or juristic person but in relation to the Barcelona Traction Company, a juristic entity registered in Canada, the Belgian interests concerned being in the nature of shareholding interests in that company. The Respondent contended that international law does not recognize, in respect of injury caused by a State to the foreign company, any diplomatic protection of shareholders exercised by a State other than the national State of the company. The Applicant contested this view.

The Court found that the question of the jusstandi of a government to protect the interests of shareholders raised an antecedent question of what was the juridical situation in respect of shareholding interests, as recognized by international law. The Applicant thus necessarily invoked rights which, so it contended, were conferred on it in respect of its nationals by the rules of international law concerning the treatment of foreigners. Hence a finding by the Court that it had no jusstandi would be tantamount to a finding that those rights did not exist and that the claim was not well-founded in substance.

The third Objection had certain aspects which were of a preliminary character, but involved a number of closely interwoven strands of mixed law, fact and status to a degree such that the Court could not pronounce upon it at the present stage in full confidence that it was in possession of all the elements that might have a bearing on its decisions. The proceedings on the merits would thus place the Court in a better position to adjudicate with a full knowledge of the facts.

The foregoing considerations applied a fortiori to the fourth Preliminary Objection, wherein the Respondent alleged failure to exhaust local remedies. This allegation was in fact inextricably interwoven with the issues of denial of justice which constituted the major part of the merits of the case.

Accordingly, the Court joined the third and fourth Preliminary Objections to the merits.

Reference I.C.J. Reports 1964, p. 9, 12