แนวข้อสอบนี้ ใช้เป็นแนวทางเท่านั้นนะครับ
1. ให้ร่างฟ้องแพ่ง ขับไล่ และใช้ค่าเสียหาย ตามหลักทั่วไปในหนังสือของอาจารย์มารุตที่ผมใช้สมัยเรียนเนติ ฯ และจำจากทนายพี่เลี้ยงที่ไปฝึกงาน
2. ร่างฟ้องคดีอาญา ก็เช่นเดียวกัน ผู้เสียหายเป็นใคร เมื่อวันที่ ... เหตุเกิดเมื่อ ..... จำเลยทั้งสองนี้ได้บังอาจร่วมกันทำอะไรก็ว่าไป ..... คำขอท้ายฟ้อง ให้ลงโทษ ในโจทย์เขาก็ให้มาด้วยอยู่แล้วว่า ตามโจทย์ก็เป็นเรื่องความผิดเกี่ยวกับเอกสาร ว่ามีมาตราใดบ้าง เป็นตัวการร่วมกันตาม ปอ. มาตรา 83 ถ้าเป็นความเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทก็ลงบทที่หนักสุดตาม มาตรา 90 แต่ตามโจทย์นั้นถ้าจำไม่ผิด จะเป็นกระกระทำหลายกรรม ลงโทษเรียงกระทงความผิดตาม ปอ. มาตรา 91
3. ให้เขียนคำร้องคัดค้านการตั้งผู้จัดการมรดกและขอตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกแทน ก็ตามหลักคือ อ้างว่าคดีนั้นอยู่ระหว่างทำอะไร นัดสืบพยานวันไหน เกิดเหตุขัดข้องอย่างไร และประสงค์จะให้ศาลสั่งอย่างไร
การใช้แบบฟอร์มเขาก็มีแบบฟอร์มคำฟ้องมาให้อยู่แล้ว ถ้าเขียนไม่พอก็ใช้แบบ 40 ก. แบบคำขอท้ายฟ้องก็มีมาให้ เลขคดีดำ ตดีแดง อะไรต่าง ๆ ตามโจทย์เขาก็มีมาให้อยู่แล้ว และใครจะเป็นโจทย์ฟ้องใคร ข้อเท็จจริงก็อยู่ในโจทย์ ไม่ทราบผมให้ข้อเท็จจริงพอหรือยังครับ ถ้าไม่พอก็ขอแค่นี้แล้วกันนะครับ เดี๋ยวจะโดนกล่าวหาว่าออกมาโวยวายอีก บัตรซบจริง ๆ ตกก็ตกครับ ก็แค่ออกมาระบายเท่านั้น คราวหน้าผมก็สอบอีกแหละครับ เนติ ฯ ผมยังทำมาได้ คิดว่าทนายก็น่าจะสอบได้ซักวัน ถ้ามีคำแนะนำดี ๆ ก็ยินดีรับฟัง ผมอาจจะมีกวน ๆ บ้าง แต่ไอ้ที่ออกมาบอกว่าผมโวยวายนี่ดูจะเกินไปหน่อยนะ
อืม ว่าจะถามอยู่เหมือนกันว่าน้องชายพี่ไปสอบเป็นอย่างไรบ้าง แต่ก็เอาเถอะน่ะ อย่าไปวิตกกังวลมากจนเกินเหตุครับ ส่วน่ข้อมูลของ คุณ X มาว่ากันเป็นข้อ ๆ เลยก็แล้วกันนะครับ โจทย์ข้อแรกให้ร่างฟ้องคดีแพ่ง ข้อหาขับไล่ และเรียกค่าเสียหาย ขึ้นต้นข้อ ๑ คุณเขียนเกี่ยวกับอะไรครับ ฐานะของโจทก์จำเลยหรือเปล่า กรรมสิทธิ์ของโจทก์เป็นอย่างไร จำเลยเข้ามามีนิติสัมพันธ์กับโจทก์อย่างไร อธิบายเรียงลำดับหรือเปล่า ถ้าเรียงลำดับ คำที่ใช้อ่านเข้าใจหรือวกวน อันนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของการให้คะแนน การใช้คำแทนตัวคู่ความ เช่น โจทก์ จำเลย เพราะเท่าที่ทราบมา บางครั้งมีการใช้ชื่อ แทนที่จะใช้คำว่า โจทก์ หรือ จำเลย ก็กลับไปใช้ชื่อ ตัวความ ตามที่โจทย์ ให้มา อย่างนี้ก็โดนหักคะแนนนะครับ ข้อ ๒. เกิดการโต้แย้งสิทธิต่อกันอย่างไร จำเลยทำอะไร แล้วโจทก์ทำอย่างไร ข้อ ๓ จากการกระทำของจำเลยทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายอย่างไร ค่าเสียหายคิดคำนวณอัตราค่าเสียหายจากอะไร มีอะไรยืนยัน ขอ มีการอ้างเอกสารแนบท้ายคำฟ้องครบถ้วนหรือไม่ อย่างไร สุดท้าย คำขอท้ายคำฟ้อง ขอไปกี่ข้อ ขอบังคับให้จำเลยปฏิบัติอย่างไร ให้ชดใช้ค่าเสียหายอย่างไร ขอให้ชำระดอกเบี้ยนับแต่วันไหน ขอให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมศาลและค่าทนายความแทนหรือไม่ ลงลายมือชื่อครบถ้วนหรือไม่ จุดสังเกตุ ตอนเขียนคำฟ้องจบ สุดท้าย คุณลงท้ายว่า ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด หรือไม่
ส่วนร่างคำฟ้องคดีอาญา ถามว่า ข้อ๑ ใครเป็นผู้เสียหาย จำเลยเป็นคใคร นิติบุคคล หรือว่า บุคคลธรรมดา ข้อ ๒ เมื่อวันที่เท่าไหร่ เดือนอะไร ปีอะไร เวลา กลางวัน หรือ กลางคืน (กลางคืนก่อนเที่ยง หรือ กลางวันก่อนเที่ยง) จำเลยได้บังอาจกระทำความผิดอาญา ตาม (กฎหมายอะไร) ทีนี้ก็ว่าไปตามพฤติการณ์ มีกี่กรรม ก็อธิบายไปเป็นข้อ ๆ จนจบข้อ ข้อ ๓ การกระทำของจำเลยเป็นความผิดอย่างไร กี่กรรม ต้องรับผิดอย่างไร เหตุเกิด ที่ ตำบลอะไร อำเภออะไร จังหวัดอะไร ก่อนฟ้องคดีได้ร้องทุกข์กล่าวโทษ หรือไม่ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษไว้กับพนักงานสอบสวน ก็ต้องอ้างไว้ สุดท้าย ต้องลงท้ายด้วยคำว่า ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
ส่วนคำร้อง ก็เช่นนกันครับ ขึ้นต้น"คดีนี้ ศาลนัดไต่สวนคำร้องในวันที่เท่าไหร่ เดือนอะไร เวลาเท่าไหร่ แล้วก็ค่อยขึ้น ข้อ ๒ ก็เริ่มบรรยายตัวผู้คัดค้านเป็นอย่างไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับทรัพย์มรดก แล้วก็มาต่อที่ข้อ ๓ ว่าตัวผู้ร้อง กับผู้คัดค้าน มีเหตุผลอย่างไรจึงต้องคัดค้าน และขอให้ศาลมีคำสั่งอย่างไร สรุปลงท้ายก็ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
ปล. ขอเรียนทุกท่านก่อนว่า สิ่งที่ผมสาธยายมาทั้งหมดนี้ไม่ใช่ว่าเป็นหลักในการใช้ตรวจข้อสอบนะครับ ข้อย้ำว่าที่ผมเขียนขึ้นมานี้เกิดจากประสบการณ์ตรงที่สั่งสมมา เพียงแค่อยากให้เป็นข้อคิดกับท่านที่ไม่เข้าใจในการปฏิบัติบางส่วน สิ่งสำคัญการตรวจสอบเวลาที่คุณกรอกลงไปในคำฟ้อง คำร้องก็สำคัญ ใช้ข้อความถูกต้องหรือไม่ เช่นลงเลขคดีดำ ถูกต้องหรือไม่ หัวคำร้องเขียนถูกหรือไม่ มีการลงชื่อกำกับที่ขีดฆ่าหรือไม่ หรือ ลงท้ายควรมิควรแล้วแต่จะโปรด หรือไม่ ช่องผมว่าเขาคงมีจุดหักคะแนนเยอะนะครับ
ที่คุณเขียนมาน่ะ ผมก็ไม่รู้จะวิเคราะห์อย่างไรนะครับว่าคุณเขียนได้หรือเขียนไม่ได้ เพราะความเห็นกับสิ่งที่เขียนลงไปมันไม่ใช่ว่าจะได้คะแนนเหมือนกันนะครับ เพราะอย่าลืมว่าคนตรวจก็เป็นคน ไม่ใช่คอมพิวเตอร์ สิ่งที่เขียนตอบไปนั้นเขาก็ต้องอ่านเข้าใจด้วยนะครับ เพราะฉะนั้นแล้วก็ลองพิจารณาดูก็แล้วกันครับ
จุดที่เขาหักคะแนน และวางสนุกไว้ คือ
คดีแพ่ง
จำนวนโจทก์ จำเลย ห้ามขาดและเกิน (บางที บางคนเขาหลุดพ้นความรับผิดก็ไฟฟ้องเขา) หักคะแนนมาก
หยิบแบบฟอร์มผิด กรอกข้อความผิด ลืมกรอก ในช่องต่าง ๆ เช่น ชื่อศาล สัญชาติ อายุ วันที่ หมายเลขคดีดำ วันที่ ฯลฯ
ไม่ได้ลงชื่อ ตามที่ต่าง ๆ ที่ต้องลง
ทุนทรัพย์หน้าฟ้อง ในฟ้อง และท้ายฟ้อง ต้องเท่ากัน และต้องครบ จุดนี้หักคะแนนมาก 10 คะแนนขึ้นไปแน่ๆ
อย่าลืม ถ้าจะให้จำเลยคืนเงินประกัน เงินรับล่วงหน้า ต้องบรรยายมาในฟ้องว่า จำเลยได้รับเงินนั้นเรียบร้อยแล้ว
หากไม่มีข้อความนี้ จะถูกหักคะแนนอย่างมาก
ปรากฏตามสำเนาหนังสือทวงถามและใบตอบรับของบริษัทไปรษณีย์ไทย
(ตกคำว่า ใบตอบรับ ไม่ได้นะ บริษัทไปรษณีย์ไทย ทันสมัยหน่อย)
ดอกเบี้ยคิดให้ถูก นับแต่วันไหน ตามโจทย์บอก (อย่าลืม โจทย์ กับ โจทก์ เขียนให้ถูก)
คดีอาญา
ภูมิลำเนาของจำเลย หาให้เจอ บางครั้งซ่อนไว้ในแผนที่ บางครั้งจำเลยถูกคุมขัง ภูมิลำเนาอยู่ที่เรือนจำ
คำขอท้ายฟ้องอาญา ผิดกฎหมาย มาตราอะไร ต้องกล่าวไว้ในฟ้องทั้งหมด
ส่วนใหญ่ชอบลืมมาตรา 83,91 บางครั้งนึกได้ตอนใกล้หมดเวลา เอาไปเติมไว้ในคำขอท้ายฟ้อง
แต่ในเนื้อฟ้องไม่มี
ในช่อง ข้อหาหรือฐานความผิด กรอกให้ถูก อย่าฟ้องผิดศาล
และหากขาดมาตราใดไปจะถูกหักคะแนน เป็นจำนวนมากทีเดียว
ในแผ่นสุดท้ายของโจทย์จะมีประมวลกฎหมายอาญามาตราที่เกี่ยวข้องมาให้
ถ้าเป็นข้อสอบพวกตั๋วปี บางมาตราก็ไม่ให้มาต้องรู้เองเพราะถือว่าฝึกงานมานานน่าจะรู้
ส่วนพวกหนังสือทวงถาม คำร้อง คำขอ คำแถลงต่าง ๆ ไปหัดเขียนมาให้คล่องมือ
จุดหักคะแนนมาก ๆ คือ แบบฟอร์ม หนังสือทวงถามใช้กระดาษขาว ไม่ใช่ 40ก
คำบอกกล่าว คำแถลง คำขอ ใช้ แบบคำร้อง แล้วมา //// เติมคำไป ห้ามผิด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น