กฎหมายคุ้มครองแรงงาน
พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
กฎหมายคุ้มครองแรงงาน เป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย สัญญาหรือข้อตกลงระหว่างนายจ้างและลูกจ้างข้อใดที่เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายคุ้มครองแรงงาน หรือเป็นการแตกต่างกับบทบัญญัติดังกล่าว ย่อมเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150, 151
คำนิยามที่สำคัญ มาตรา 5
“นายจ้าง”
ฎีกาที่ 4659/2536 พันตำรวจเอกนำชัยซึ่งเป็นสามีนางผ่องศรีกรรมการบริษัทอู่ซ่อมรถยนต์แห่งหนึ่งได้บอกเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเป็นช่างเคาะ ลูกจ้างดังกล่าวเป็นโจทก์ฟ้องต่อศาลแรงงานเรียกค่าชดเชย ฝ่ายจำเลยต่อสู้ว่าจำเลยเป็นนิติบุคคลผู้มีสิทธิจะเลิกจ้างโจทก์ได้อันมีผลผูกพันนิติบุคคล จะต้องเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคล ดังที่ระบุไว้ในหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทเท่านั้น ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า พันตำรวจเอกนำชัยพูดกับโจทก์เกี่ยวกับทำงานได้ แจ้งให้โจทก์ปรับปรุงการทำงานได้ แสดงว่าพันตำรวจนำชัยต้องได้รับอำนาจจากกรรมการของจำเลย ดังนั้นพันตำรวจเอกนำชัยจึงเป็นผู้ได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลซึ่งเป็นนายจ้างโจทก์ด้วย จำเลยซึ่งเป็นบริษัทจึงต้องรับผิดจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์
“ลูกจ้าง” หมายถึงลูกจ้างทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นลูกจ้างทดลองงาน ลูกจ้างชั่วคราว ลูกจ้างประจำ ลูกจ้างที่กำหนดเวลาจ้างไว้แน่นอน ลูกจ้างที่ทำงานไม่เต็มเวลา ลูกจ้างสัญญาจ้างพิเศษ และรวมถึงลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับงานบ้านด้วย
ฎีกาที่ 4644/2540 จำเลยจ้างโจทก์ร้องเพลงประจำร้านอาหาร เงินเดือน 6,500 บาท ในการทำงานโจทก์ต้องมาร้องเพลงวันละประมาณ 1 ชั่วโมงระหว่างเวลาประมาณ 22-23 น. และจะต้องตอกบัตรลงเวลาทำงาน หากวันใดโจทก์ไม่มาร้องเพลงตามกำหนดเวลาต้องหาบุคคลอื่นมาร้องแทน โดยโจทก์ต้องจ่ายเงินให้แก่นักร้องที่มาร้องเพลงแทน หากโจทก์หานักร้องมาแทนไม่ได้ จำเลยจะตัดค่าตอบแทนในส่วนนี้ลงตามส่วน เมื่อปรากฏตามสัญญาว่าโจทก์ตกลงรับจะทำงานร้องเพลงให้แก่จำเลยวันละประมาณ 1 ชั่วโมง แสดงให้เห็นว่าสัญญาจ้างดังกล่าวมุ่งถึงผลสำเร็จของงานคือการร้องเพลงวันละประมาณ 1 ชั่งโมงเป็นสำคัญ โดยโจทก์จะร้องเพลงเองหรือจัดให้บุคคลอื่นมาร้องเพลงแทนก็ได้ โจทก์ต้องจ่ายเงินให้นักร้องเองและไม่ปรากฏว่าในการทำงานนั้นโจทก์ต้องทำตามคำสั่งหรืออยู่ในความควบคุมของจำเลย อีกทั้งในการทำงานของโจทก์ก็ไม่มีการลาหยุดพักผ่อนประจำปี ไม่มีการลาป่วยหรือลาหยุดในกรณีอื่นเช่นเดียวกับสัญญาจ้างแรงงานทั่วไป แม้โจทก์ต้องตอกบัตรลงเวลาทำงานก็ตาม แต่ก็เพื่อแสดงว่าโจทก์มาทำงานครบวันละประมาณ 1 ชั่งโมงเท่านั้น เช่นนี้สัญญาจ้างระหว่างโจทก์และจำเลยจึงไม่ใช่สัญญาจ้างแรงงาน หากแต่มีลักษณะเป็นสัญญาจ้างทำของ
ฎีกาที่ 1980/2540 โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยซึ่งเป็นสำนักพิมพ์มีหน้าที่ส่งหนังสือพิมพ์ ได้เงินเดือนๆ ละ 5,700 บาท โจทก์ยังมีงานพิเศษในตอนบ่ายโดยเป็นผู้เบิกสิ่งพิมพ์จากจำเลย จำเลยลงรายการเบิกหนังสือพร้อมทั้งราคาหนังสือที่เบิกไว้โดยคิดค่าสิ่งพิมพ์จากโจทก์ราคา 70% ของราคาปกติ (แสดงว่าโจทก์ได้ 30%) จากนั้นโจทก์มีหน้าที่เก็บค่าสิ่งพิมพ์และนำเงินไปหักค่าลดยอดหนี้ค่าสิ่งพิมพ์กับจำเลย ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า การไปรับสิ่งพิมพ์ในช่วงบ่ายนี้ โจทก์จะไปรับก็ได้ ไม่รับก็ได้ จึงเป็นงานพิเศษที่โจทก์และจำเลยมีความผูกพันต่อกันนอกจากหน้าที่การงานตามปกติที่โจทก์ทำให้จำเลย ถือไม่ได้ว่าโจทก์และจำเลยมีความผูกพันต่อกันในฐานะนายจ้างและลูกจ้างในงานดังกล่าว (คงเป็นนายจ้างและลูกจ้างกันเฉพาะงานส่งพิมพ์เท่านั้น)
การเลิกสัญญาจ้าง มาตรา 17
ฎีกาที่ 4625-4701/2542 เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2541 ซึ่งเป็นวันถึงกำหนดจ่ายสินจ้าง นายจ้างมีหนังสือบอกกล่าวเลิกจ้างลูกจ้าง แต่ลูกจ้างทราบการบอกกล่าวในวันที่ 1 กรกฎาคม 2541 ดังนี้ต้องถือว่านายจ้างบอกกล่าวเลิกจ้างลูกจ้างในวันที่ลูกจ้างได้ทราบการบอกกล่าวเลิกจ้างคือวันที่ 1 กรกฎาคม 2541 และเป็นผลให้เลิกสัญญาจ้างกัน เมื่อถึงกำหนดจ่ายสินจ้างคราวถัดไปข้างหน้าในวันที่ 30 สิงหาคม 2541
ฎีกาที่ 7047/2542 บทบัญญัติมาตรา ๑๗ วรรคสอง ได้กำหนดหลักการเรื่องการบอกกล่าวล่วงหน้าเพื่อเลิกสัญญาจ้างขึ้นใหม่เป็นพิเศษยิ่งกว่าประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๕๘๒ โดยกำหนดว่าในกรณีที่สัญญาจ้างไม่มีกำหนดระยะเวลา นายจ้างหรือลูกจ้างอาจบอกเลิกสัญญาจ้างโดยบอกกล่าวล่วงหน้าเป็นหนังสือให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบเมื่อถึงหรือก่อนจะถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวหนึ่งคราวใดเพื่อให้เป็นผลเลิกสัญญากันเมื่อถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างคราวถัดไปข้างหน้าก็ได้ อันเป็นการแสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่า การบอกกล่าวล่วงหน้าเพื่อเลิกสัญญาจ้างอาจทำเป็นหนังสือหรืออาจบอกกล่าวล่วงหน้าด้วยวาจาก็ได้ แต่การบอกกล่าวล่วงหน้าที่ได้ทำเป็นหนังสือได้ถูกจำกัดโดยมาตรา ๑๗ วรรคท้ายว่าไม่ให้ใช้บังคับแก่การเลิกจ้างตามมาตรา ๑๑๙ และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๕๘๓ กล่าวคือ ถ้ามีเหตุเลิกจ้างตามบทบัญญัติทั้งสองมาตราดังกล่าว นายจ้างมีสิทธิบอกเลิกสัญญาด้วยวาจาได้ทันที โดยไม่ต้องบอกกล่าวเลิกสัญญาจ้างล่วงหน้าเป็นหนังสือ แต่ทั้งนี้ต้องอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ว่า ถ้านายจ้างประสงค์จะยกเหตุตามมาตรา ๑๑๙ ขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้นั้น คงมีความหมายเพียงว่า ในกรณีนายจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาจ้างโดยทำเป็นหนังสือ หากนายจ้างประสงค์จะยกเหตุตามมาตรา ๑๑๙ ขึ้นอ้างเพื่อไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย นายจ้างจะต้องระบุเหตุดังกล่าวนั้นไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างด้วย มิฉะนั้นนายจ้างก็ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง มาตรา ๑๗ วรรคสาม จึงหาได้บังคับเด็ดขาดห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างด้วยวาจาไม่ ( คำพิพากษากาที่ ๙๕/๒๕๔๓ ก็วินิจฉัยไว้ทำนองเดียวกัน )
การทำงานล่วงเวลา มาตรา 24
หลัก ห้ามมิให้นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา เว้นแต่จะได้นับความยินยอมจากลูกจ้างก่อน แต่ในงานที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือความปลอดภัยของลูกจ้าง นายจ้างจะให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาไม่ได้เลย
ในเรื่องการทำงานล่วงเวลามีข้อยกเว้นกำหนดไว้ตามวรรคสองของมาตรา 24 ว่า ในกรณีที่ลักษณะหรือสภาพของงานต้องทำติดต่อกันไป ถ้าหยุดจะเสียหายแก่งานหรือเป็นงานฉุกเฉิน นายจ้างอาจให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาได้เท่าที่จำเป็น
ฎีกาที่ 2985-2986/2543 ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 24 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า งานที่มีลักษณะหรือสภาพของงานต้องทำติดต่อกันไป ถ้าหยุดจะเสียหายแก่งานนั้น หมายถึงงานที่ลูกจ้างทำอยู่ในเวลาทำงานปกติมีลักษณะหรือสภาพของงานต้องทำต่อเนื่องกันไปจนกว่างานจะเสร็จ หากหยุดก่อนงานที่ทำนั้นเสร็จ งานที่ทำนั้นจะเสียหาย ส่วนงานฉุกเฉินนั้นหมายถึงงานที่เกิดขึ้นทันทีโดยไม่อาจคาดหมายได้ล่วงหน้า และงานนั้นต้องทำให้เสร็จทันที มิฉะนั้นงานที่เกิดขึ้นนั้นจะเสียหาย (หลักกฎหมาย) งานขึ้นรูปปลาสวรรค์ที่ลูกจ้างทั้งสองทำให้แก่นายจ้างนั้น เป็นการนำเนื้อปลามาทำเป็นรูปปลาชื้นเล็กๆ ซึ่งเป็นงานที่ทำเสร็จเป็นชิ้นๆ เมื่อทำงานตามที่รับมอบหมายในเวลาทำงานปกติเสร็จสิ้นแล้ว แม้ไม่ทำงานล่วงเวลาต่อไป ก็มาทำให้งานที่ทำไว้เดิมต้องเสียหายแต่อย่างใด จึงมิใช่งานที่มีลักษณะหรือสภาพของงานต้องทำติดต่อกันไป ถ้าหยุดจะเสียหายแกงานที่เกิดขึ้นทันทีโดยไม่อาจคาดหมายได้ล่วงหน้า จึงไม่ใช่งานฉุกเฉินตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 24 วรรคสอง เมื่องานขึ้นรูปปลาสวรรค์มิใช่งานที่นายจ้างจะให้ลูกจ้างทั้งสองทำงานล่วงเวลาโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างทั้งสองก่อนได้ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 24 วรรคสอง การที่ลูกจ้างทั้งสองไม่ยอมทำงานดังกล่าวล่วงเวลาตามที่นายจ้างสั่งให้ทำ ย่อมไม่มีความผิดที่นายจ้างจะออกหนังสือตักเตือนได้
การพักงาน มาตรา 116, 117
นายจ้างจะสั่งพักงานลูกจ้างได้ต่อเมื่อ
1.ลูกจ้างนั้นได้ถูกกล่าวหาว่าจะทำความผิดวินัยในการทำงาน
2. นายจ้างประสงค์จะทำหารสอบสวนลูกจ้างและพักงานลูกจ้างนั้น
3. มีข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระบุว่านายจ้างมีอำนาจสั่งพักงานลูกจ้างได้
4. นายจ้างได้มีคำสั่งพักงานเป็นหนังสือระบุความผิดและกำหนดระยะเวลาพักงานซึ่งต้องไม่เกิน 7 วัน และ
5. นายจ้างได้แจ้งให้ลูกจ้างทราบก่อนการพักงานนั้นแล้ว
ในระหว่างพักงานนายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างนั้นไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของค่าจ้างในวันทำงาน
ถ้าการสอบสวนเสร็จสิ้นลงแล้วไม่ปรากฏว่าลูกจ้างมีความผิด นายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างในระหว่างพักงาน 7 วันนั้น (โดยหักเงินค่าจ้างส่วนที่จ่ายไปแล้วออกได้) พร้อมทั้งจ่ายดอกเบี้ยร้อยละ 15 ต่อปีด้วย
ฎีกาที่ 4721/2541 โจทก์ขอลาออกโดยแจ้งล่วงหน้าตามระเบียบแล้ว จำเลยไม่อนุญาตให้โจทก์ลาออก แต่กลับสั่งพักงานโจทก์ โจทก์จึงยังไม่พ้นจากการเป็นลูกจ้างของจำเลย และโจทก์ยังมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของจำเลยอยู่ไม่ว่าในระหว่างที่จำเลยพักงานโจทก์จำเลยจะได้จ่ายงานให้โจทก์หรือไม่ จำเลยก็ยังมีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์อยู่ จำเลยจะอ้างว่าโจทก์ไม่ได้ทำงานให้จำเลย จำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าตอบแทนการทำงานให้โจทก์หาได้ไม่ เพราะโจทก์ไม่ไก้ขอพักงานเอง
ฎีกาที่ 9330/2542 เมื่อลูกจ้างยอมรับว่าได้กระทำความผิดจริง นายจ้างก็มีอำนาจลงโทษลูกจ้างด้วยการพักงานได้ ดังนั้น การพักงานดังกล่าวจึงเป็นการพักงานเนื่องจากการลงโทษทางวินัยแก่ลูกจ้างเพราะลูกจ้างกระทำความผิด มิใช่กรณีที่นายจ้างสั่งพักงานระหว่างทำการสอบสวนลูกจ้างซึ่งถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดตามมาตรา ๑๑๖ และ ๑๑๗ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ ซึ่งลูกจ้างมีสิทธิได้รับเงินหรือค่าจ้างตามบทมาตราดังกล่าว
ค่าชดเชย มาตรา 118
ฎีกาที่ 1900/2542 ลูกจ้างมีสิทธิเลิกสัญญาจ้างได้ด้วยการลาออกจากงาน และหลังลูกจ้างแสดงเจตนาลาออกจากงานแก่นายจ้างแล้ว ลูกจ้างหามีสิทธิถอนเจตนานั้นได้ไม่ ทั้งนี้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 386 วรรคสอง เมื่อลูกจ้างยื่นหนังสือขอลาออกจากงานต่อนายจ้างเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2540 โดยระบุให้การลาออกมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2540 เช่นนี้ถือว่าการแสดงเจตนาลาออกมีผลตามกฎหมายนับแต่วันที่ลูกจ้างได้ยื่นหนังสือลาออก แม้ต่อมาลูกจ้างได้ยื่นหนังสือต่อนายจ้างขอยกเลิกหนังสือลาออกดังกล่าว ก็หาเป็นผลเป็นการยกเลิกหนังสือลาออกนั้นไม่ เมื่อนายจ้าง
อนุมัติหนังสือลาออกจากงานของลูกจ้าง การลาออกจึงมีผลนับแต่วันที่ลูกจ้างประสงค์ การที่ลูกจ้างต้องออกจากงานเพราะเหตุดังกล่าวจึงมิใช่เป็นเพราะถูกนายจ้างเลิกจ้าง นายจ้างไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้าง
ฎีกาที่5180/2542 สัญญาที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนซึ่งจะเข้าข้อยกเว้นที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๑๘ วรรคสาม จะต้องเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดสัญญาเอาไว้แน่นอนไม่มีการเปลี่ยนแปลงและจะต้องเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้นด้วย ประกอบกับกฎหมายเรื่องค่าชดเชยเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนจะดูเจตนาของคู่สัญญาประกอบด้วยไม่ได้ เมื่อสัญญากำหนดให้ลูกจ้างและนายจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างเมื่อใดก็ได้ โดยบอกกล่าวให้อีกฝ่ายทราบล่วงหน้า ๒ เดือน สัญญาดังกล่าวจึงไม่มีลักษณะเป็นสัญญาจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน ทั้งนายจ้างเลิกจ้างโจทก์ก่อนครบกำหนดสัญญา จึงไม่เข้าข้อยกเว้นที่จะไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายดังกล่าว
ฎีกา 6767–6769/2542 สัญญาจ้างที่ระบุว่า “สัญญาฉบับนี้มีระยะเวลา ๒๔ เดือน จากวันเริ่มจ้างจริง แต่อาจจะมีการทำข้อตกลงกันใหม่ก่อนที่สัญญาจะสิ้นสุดโดยเป็นที่ยอมรับทั้ง ๒ ฝ่าย” เป็นข้อตกลงการจ้างที่มีเงื่อนไขที่นายจ้างกับลูกจ้างจะตกลงกันต่อไปได้ ถือได้ว่าเป็นการจ้างที่มิได้กำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอน
ฎีกาที่6966–6971/2542 ตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกำหนดกรณีเลิกจ้างเมื่อเกษียณอายุว่า บริษัทจะเลิกจ้างเมื่อลูกจ้างครบเกษียณอายุ ๖๐ ปี ในกรณีการเลิกจ้างตามปกติถ้าผลประโยชน์ที่ลูกจ้างได้รับตามโครงการเกษียณอายุน้อยกว่าค่าชดเชยการเลิกจ้างตามกฎหมายแรงงานบริษัทจะจ่ายเงินส่วนที่ขาดอยู่นั้นให้ จำนวนเงินที่ลูกจ้างได้รับจากโครงการเกษียณอายุให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการจ่ายค่าชดเชยด้วย ดังนั้นเงินผลประโยชน์ตามโครงการเกษียณอายุก่อนเวลาปกติที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างไปตามระเบียบและข้อบังคับของโครงการเกษียณอายุจึงมีค่าชดเชยรวมอยู่ด้วย
ข้อยกเว้นที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย มาตรา 119
มาตรา ๑๑๙(๑)
ฎีกาที่ 5605/2542 เมื่อกฎหมายคุ้มครองแรงงานมิได้ให้ความหมายคำว่า “ทุจริต” ไว้และมิได้ใช้คำว่า “โดยทุจริต” ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑ (๑) จึงต้องใช้ความหมายคำว่า “ทุจริต” ตามพจนานุกรมคือ ความประพฤติชั่ว โกง ไม่ซื่อตรง การที่ลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างวันละ ๑๙๐ บาท ละทิ้งงานไปเป็นเวลา ๑ ชั่วโมง แม้ว่านายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างในระยะเวลาที่ลูกจ้างละทิ้งงานแต่ก็เกิดโทษแก่นายจ้างน้อย ยังไม่พอถือว่าลูกจ้างมีความประพฤติชั่ว โกง ไม่ซื่อตรง อันเป็นการทุจริตต่อหน้าที่
มาตรา ๑๑๙(๔)
ฎีกาที่ 2171/2542 เมื่อลูกจ้างกระทำผิดวินัยเกี่ยวกับการทำงาน นายจ้างย่อมมีอำนาจออกหนังสือตักเตือนและมีอำนาจนำหนังสือตักเตือนไปประกาศให้ลูกจ้างผู้กระทำผิดวินัยและลูกจ้างอื่นทราบได้ การที่ลูกจ้างผู้กระทำผิดวินัยไปฉีกทำลายประกาศหนังสือตักเตือนของนายจ้างโดยพลการ ทำให้ทรัพย์สินคือหนังสือตักเตือนของนายจ้างต้องสูญหายและขาดประโยชน์และอาจทำให้ลูกจ้างอื่นเอาอย่าง ทำให้นายจ้างไม่สามารถปกครองบังคับบัญชาลูกจ้างได้ การกระทำของลูกจ้างดังกล่าวจึงเป็นการกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘
มาตรา ๑๐
คำพิพากษาฎีกาที่ ๖๒/๒๕๔๓ หลักเกณฑ์ว่าด้วยการค้ำประกันการทำงานของลูกจ้างเป็นเงื่อนไขการจ้างหรือการทำงานที่ทำเป็นหนังสือจึงเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ มาตรา ๑๐ และ ๑๑ มีผลผูกพันให้นายจ้างและลูกจ้างต้องปฏิบัติตาม เมื่อข้อตกลงนี้มีผลผูกพันนายจ้างและเป็นประโยชน์โดยตรงต่อผู้ค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันย่อมมีสิทธิยกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าวขึ้นอ้างเพื่อต่อสู้นายจ้างให้ปฏิบัติตามได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๖๙๔
มาตรา ๒๘
คำพิพากษาฎีกาที่ ๕๕/๒๕๔๓ สัญญาจ้างกำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างเป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ และไม่มีข้อตกลงในเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนไว้ อัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงินไทยจึงต้องคิดตามอัตราแลกเปลี่ยนของทางราชการในวันที่ถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ข้อ ๒๗ วรรคสอง ซึ่งอัตราแลกเปลี่ยนในวันที่ถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ข้อ ๒๗ วรรคสอง ซึ่งอัตราแลกเปลี่ยนในวันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๔๐ กำหนดให้ ๑ ดอลลาร์สหรัฐเท่ากับ ๓๘.๔๐ บาท สัญญาจ้างในส่วนที่เกี่ยวกับการจ่ายค่าจ้างดังกล่าวเป็นสภาพการจ้างตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ มาตรา ๕ การที่นายจ้างประกาศกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนขึ้นใหม่ในอัตรา ๑ ดอลลาร์สหรัฐเท่ากับ ๒๖ บาท จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง เมื่อไม่ปรากฏว่าลูกจ้างได้ให้ความยินยอมแล้ว ประกาศของนายจ้างที่กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินขึ้นใหม่ จึงไม่มีผลใช้บังคับ นายจ้างไม่มีสิทธิเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างเดิมที่ทำไว้กับลูกจ้าง
มาตรา ๕๒
คำพิพากษาฎีกาที่ ๘๘๘๐–๘๘๘๖/๒๕๔๒ พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๑๔ มาตรา ๗๕ วรรคหนึ่ง มีเจตนารมณ์คุ้มครองนายจ้างที่ต้องประสบวิกฤตการณ์ในการดำเนินกิจการซึ่งมิใช่เหตุสุดวิสัย ส่งผลกระทบกระเทือนแก่กิจการของนายจ้างอย่างรุนแรงจนถึงขั้นมีความจำเป็นต้องหยุดกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราว อันเป็นการให้สิทธิแก่นายจ้างที่จะไม่ให้ลูกจ้างทั้งหมดหรือบางส่วนทำงานเป็นการชั่วคราว อันเป็นการให้สิทธิแก่นายจ้างที่จะไม่ให้ลูกจ้างทั้งหมดหรือบางส่วนทำงานเป็นการชั่วคราวโดยไม่เลือกปฏิบัติว่าลูกจ้างที่จะให้หยุดทำงานชั่วคราวนั้นเป็นกรรมการลูกจ้างหรือไม่ ซึ่งมีเจตนารมณ์แตกต่างชัดเจนจากบทบัญญัติมาตรา ๕๒ แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ ซึ่งมีเจตนารมณ์ให้ความคุ้มครองแก่ลูกจ้างที่เป็นกรรมการลูกจ้างโดยเฉพาะให้พ้นจากการเลือกปฏิบัติหรือกลั่นแกล้งจากนายจ้างด้วยการเลิกจ้าง ลดค่าจ้าง ลงโทษขัดขวางการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการลูกจ้าง หรือกระทำการใดที่อาจเป็นผลให้กรรมการลูกจ้างไม่สามารถทนทำงานอยู่ต่อไปได้ อันเป็นสถานการณ์ปกติของนายจ้างไม่ใช่กรณีที่นายจ้างประสบวิกฤตการณ์จนจำเป็นต้องหยุดกิจการบางส่วนชั่วคราวโดยสาเหตุที่มิใช่เหตุสุดวิสัยและขอจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างเพียงร้อยละห้าสิบของค่าจ้างในวันทำงานที่ลูกจ้างได้รับ จึงเป็นการใช้สิทธิตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๗๕ วรรคหนึ่ง ซึ่งไม่ต้องด้วยมาตรา ๕๒ แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. ๒๕๑๘ ที่จะต้องขออนุญาตต่อศาลแรงงานก่อน
มาตรา ๑๒๓
คำพิพากษาฎีกาที่ ๗๐๔๒–๗๐๔๖/๒๕๔๒ นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้องในระหว่างที่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับโดยลูกจ้างดังกล่าวมิได้กระทำความผิดตามมาตรา ๑๒๓ ( ๑ ) ถึง ( ๕ ) ทั้งขณะเลิกจ้างผลประกอบการของนายจ้างก็ยังมีกำไร ข้อที่อ้างว่าภาวะเศรษฐกิจมีผลกระทบกระเทือนต่อสถานะของนายจ้างจนต้องขาดทุนและต้องปิดกิจการในอนาคตก็เป็นเพียงการคาดคะเนเท่านั้น จะกระทบกระเทือนนายจ้างถึงขนาดต้องดำเนินการดังกล่าวหรือไม่ยังไม่แน่นอน ขณะนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างจึงยังไม่มีเหตุที่นายจ้างจะเลิกจ้างโดยชอบด้วยกฎหมาย การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างจึงเป็นการกระทำอันไม่เป็นธรรม
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน
และวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒
มาตรา ๒๖
คำพิพากษาฎีกาที่ ๕๓๒๖–๕๓๒๗/๒๕๔๒ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๒๖ บัญญัติเรื่องการขยายระยะเวลาไว้เป็นการเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๓ มาอนุโลมใช้ได้ มาตรา ๒๖ แห่งบทกฎหมายดังกล่าวบัญญัติว่า ระยะเวลาตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือตามที่ศาลแรงงานได้กำหนด ศาลแรงงานมีอำนาจย่นหรือขยายได้ตามความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม แสดงว่าการขยายระยะเวลาอุทธรณ์ย่อมกระทำได้เมื่อมีความจำเป็นและเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
มาตรา ๓๙
คำพิพากษาฎีกาที่ ๕๓๔๕/๒๕๔๒ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ ได้บัญญัติให้ศาลแรงงานมีอำนาจดำเนินกระบวนพิจารณาทั้งปวง รวมทั้งการกำหนดประเด็นข้อพิพาทเพื่อใช้เป็นแนวทางในการดำเนินกระบวนพิจารณา และให้มีอำนาจระบุให้คู่ความฝ่ายใดนำพยานเข้าสืบก่อนหลังได้ด้วย หากศาลแรงงานพิจารณาวินิจฉัยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายตามข้อต่อสู้ของคู่ความครบถ้วนแล้ว ต้องถือว่าศาลแรงงานได้ดำเนินกระบวนพิจารณาชอบด้วยกฎหมาย คู่ความไม่มีสิทธิคัดค้านว่าศาลแรงงานกำหนดประเด็นข้อพิพาทหรือระบุให้คู่ความฝ่ายใดสืบพยานก่อนหลังไม่ถูกต้องเช่นที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๘๓ วรรคท้าย
มาตรา ๔๕
คำพิพากษาฎีกาที่ ๘๘๑๔–๘๘๑๗/๒๕๔๒ ศาลแรงงานมีอำนาจเรียกพยานมาสืบได้เอง หรือกำหนดให้คู่ความนำพยานมาสืบโดยจะให้ยื่นบัญชีระบุพยานหรือไม่ก็ได้ การที่ศาลแรงงานกลางรับฟังเอกสารที่โจทก์อ้างส่งเป็นพยานโดยที่โจทก์ไม่ได้ระบุเอกสารดังกล่าวไว้ในบัญชีระบุพยานจึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาฎีกาที่ ๔๗/๒๕๔๓ พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๔๕ และมาตรา ๔๖ ได้กำหนดวิธีซักถามพยานและวิธีบันทึกคำพยานในการพิจารณาคดีแรงงานไว้เป็นการเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๘๙ มาใช้บังคับได้ ดังนั้น การที่ศาลแรงงานกลางรับฟังพยานหลักฐานของโจทก์ซึ่งนำมาสืบในภายหลังโดยโจทก์มิได้ซักถามพยานจำเลยเกี่ยวกับเรื่องที่โจทก์จะนำสืบในภายหลังเพื่อให้พยานจำเลยได้อธิบายถึงข้อความเหล่านั้นก่อน จึงไม่เป็นการรับฟังพยานหลักฐานที่ขัดต่อกฎหมายแต่อย่างใด
คำพิพากษาฎีกาที่ ๓๒๘/๒๕๔๓ การที่ลูกจ้างร่างคำสั่งไม่ให้พนักงานทดลองงานผ่านการทดลองงานให้รองประธานกรรมการของบริษัทลงนาม อันเป็นผลให้พนักงานผู้นั้นพ้นจากการเป็นพนักงานของนายจ้างโดยไม่ได้ปรึกษากรรมการผู้จัดการของนายจ้าง จะเป็นการขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของกรรมการผู้จัดการ แต่ลูกจ้างได้ปฏิบัติตามคำสั่งของรองประธานกรรมการบริษัทซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของลูกจ้างในสายงาน จึงมิใช่เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งในกรณีร้ายแรง และการฝ่าฝืนคำสั่งเช่นนี้นายจ้างอาจลงโทษได้ แต่ยังไม่ถึงขนาดที่นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างลูกจ้าง การที่นายจ้างมีคำสั่งเลิกจ้าง จึงเป็นการเลิกจ้างที่ยังไม่มีเหตุสมควรจะเลิกจ้าง เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
คำพิพากษาฎีกาที่ ๗๔๙๒/๒๕๔๒ การเลิกจ้างในกรณีเช่นใดจะเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๔๙ นั้น ศาลแรงงานสามารถวินิจฉัยได้โดยคำนึงถึงเหตุอันควรในการเลิกจ้าง ประกอบกับระเบียบข้อบังคับการทำงานซึ่งถือได้ว่าเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง เมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าลูกจ้างไม่ได้กระทำผิดระเบียบข้อบังคับหรือคำสั่งของนายจ้างเป็นกรณีร้ายแรง ทั้งข้อบังคับของนายจ้างก็กำหนดให้การลงโทษไล่ออกกระทำได้ในกรณีที่พนักงานกระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง เมื่อการกระทำของลูกจ้างไม่เป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง นายจ้างลงโทษไล่ลูกจ้างออกจากงานจึงไม่ชอบด้วยระเบียบข้อบังคับของนายจ้างดังกล่าว จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
มาตรา ๕๒
คำพิพากษาฎีกาที่ ๗๑๗๔–๗๑๘๕/๒๕๔๒ ลูกจ้างได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเดือนละ ๑๒,๑๕๐ บาท แต่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้นายจ้างจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างเป็นจำนวน ๗๒,๙๐๐ บาท ซึ่งเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ทั้งไม่ปรากฏเหตุที่ศาลแรงงานเห็นสมควรเพื่อความเป็นธรรมแก่คู่ความ จึงไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. ๒๕๒๒ มาตรา ๕๒ ดังนั้น เมื่อลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยเพียงจำนวน ๓๖,๔๕๐ บาท แม้นายจ้างอุทธรณ์ยอมรับว่าลูกจ้างมีสิทธิได้รับค่าชดเชยจำนวน ๔๐,๕๐๐ บาทก็ตาม แต่เมื่อลูกจ้างมีสิทธิได้ค่าชดเชยตามกฎหมายเพียงจำนวนดังกล่าว
%%%%%%%%%%%%%%%%%
เนื้อหาในนี้ผมรวบรวมมาอีกทีนะครับเพื่อเป็นการแบ่งปันความรู้กัน ผุ้ใดอยากรู้เรื่องกฎหมายเรื่องใด comment ไว้ครับ
วันพฤหัสบดีที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2553
แนวข้อสอบตั๋วทนาย
แนวข้อสอบนี้ ใช้เป็นแนวทางเท่านั้นนะครับ
1. ให้ร่างฟ้องแพ่ง ขับไล่ และใช้ค่าเสียหาย ตามหลักทั่วไปในหนังสือของอาจารย์มารุตที่ผมใช้สมัยเรียนเนติ ฯ และจำจากทนายพี่เลี้ยงที่ไปฝึกงาน
2. ร่างฟ้องคดีอาญา ก็เช่นเดียวกัน ผู้เสียหายเป็นใคร เมื่อวันที่ ... เหตุเกิดเมื่อ ..... จำเลยทั้งสองนี้ได้บังอาจร่วมกันทำอะไรก็ว่าไป ..... คำขอท้ายฟ้อง ให้ลงโทษ ในโจทย์เขาก็ให้มาด้วยอยู่แล้วว่า ตามโจทย์ก็เป็นเรื่องความผิดเกี่ยวกับเอกสาร ว่ามีมาตราใดบ้าง เป็นตัวการร่วมกันตาม ปอ. มาตรา 83 ถ้าเป็นความเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทก็ลงบทที่หนักสุดตาม มาตรา 90 แต่ตามโจทย์นั้นถ้าจำไม่ผิด จะเป็นกระกระทำหลายกรรม ลงโทษเรียงกระทงความผิดตาม ปอ. มาตรา 91
3. ให้เขียนคำร้องคัดค้านการตั้งผู้จัดการมรดกและขอตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกแทน ก็ตามหลักคือ อ้างว่าคดีนั้นอยู่ระหว่างทำอะไร นัดสืบพยานวันไหน เกิดเหตุขัดข้องอย่างไร และประสงค์จะให้ศาลสั่งอย่างไร
การใช้แบบฟอร์มเขาก็มีแบบฟอร์มคำฟ้องมาให้อยู่แล้ว ถ้าเขียนไม่พอก็ใช้แบบ 40 ก. แบบคำขอท้ายฟ้องก็มีมาให้ เลขคดีดำ ตดีแดง อะไรต่าง ๆ ตามโจทย์เขาก็มีมาให้อยู่แล้ว และใครจะเป็นโจทย์ฟ้องใคร ข้อเท็จจริงก็อยู่ในโจทย์ ไม่ทราบผมให้ข้อเท็จจริงพอหรือยังครับ ถ้าไม่พอก็ขอแค่นี้แล้วกันนะครับ เดี๋ยวจะโดนกล่าวหาว่าออกมาโวยวายอีก บัตรซบจริง ๆ ตกก็ตกครับ ก็แค่ออกมาระบายเท่านั้น คราวหน้าผมก็สอบอีกแหละครับ เนติ ฯ ผมยังทำมาได้ คิดว่าทนายก็น่าจะสอบได้ซักวัน ถ้ามีคำแนะนำดี ๆ ก็ยินดีรับฟัง ผมอาจจะมีกวน ๆ บ้าง แต่ไอ้ที่ออกมาบอกว่าผมโวยวายนี่ดูจะเกินไปหน่อยนะ
อืม ว่าจะถามอยู่เหมือนกันว่าน้องชายพี่ไปสอบเป็นอย่างไรบ้าง แต่ก็เอาเถอะน่ะ อย่าไปวิตกกังวลมากจนเกินเหตุครับ ส่วน่ข้อมูลของ คุณ X มาว่ากันเป็นข้อ ๆ เลยก็แล้วกันนะครับ โจทย์ข้อแรกให้ร่างฟ้องคดีแพ่ง ข้อหาขับไล่ และเรียกค่าเสียหาย ขึ้นต้นข้อ ๑ คุณเขียนเกี่ยวกับอะไรครับ ฐานะของโจทก์จำเลยหรือเปล่า กรรมสิทธิ์ของโจทก์เป็นอย่างไร จำเลยเข้ามามีนิติสัมพันธ์กับโจทก์อย่างไร อธิบายเรียงลำดับหรือเปล่า ถ้าเรียงลำดับ คำที่ใช้อ่านเข้าใจหรือวกวน อันนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของการให้คะแนน การใช้คำแทนตัวคู่ความ เช่น โจทก์ จำเลย เพราะเท่าที่ทราบมา บางครั้งมีการใช้ชื่อ แทนที่จะใช้คำว่า โจทก์ หรือ จำเลย ก็กลับไปใช้ชื่อ ตัวความ ตามที่โจทย์ ให้มา อย่างนี้ก็โดนหักคะแนนนะครับ ข้อ ๒. เกิดการโต้แย้งสิทธิต่อกันอย่างไร จำเลยทำอะไร แล้วโจทก์ทำอย่างไร ข้อ ๓ จากการกระทำของจำเลยทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายอย่างไร ค่าเสียหายคิดคำนวณอัตราค่าเสียหายจากอะไร มีอะไรยืนยัน ขอ มีการอ้างเอกสารแนบท้ายคำฟ้องครบถ้วนหรือไม่ อย่างไร สุดท้าย คำขอท้ายคำฟ้อง ขอไปกี่ข้อ ขอบังคับให้จำเลยปฏิบัติอย่างไร ให้ชดใช้ค่าเสียหายอย่างไร ขอให้ชำระดอกเบี้ยนับแต่วันไหน ขอให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมศาลและค่าทนายความแทนหรือไม่ ลงลายมือชื่อครบถ้วนหรือไม่ จุดสังเกตุ ตอนเขียนคำฟ้องจบ สุดท้าย คุณลงท้ายว่า ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด หรือไม่
ส่วนร่างคำฟ้องคดีอาญา ถามว่า ข้อ๑ ใครเป็นผู้เสียหาย จำเลยเป็นคใคร นิติบุคคล หรือว่า บุคคลธรรมดา ข้อ ๒ เมื่อวันที่เท่าไหร่ เดือนอะไร ปีอะไร เวลา กลางวัน หรือ กลางคืน (กลางคืนก่อนเที่ยง หรือ กลางวันก่อนเที่ยง) จำเลยได้บังอาจกระทำความผิดอาญา ตาม (กฎหมายอะไร) ทีนี้ก็ว่าไปตามพฤติการณ์ มีกี่กรรม ก็อธิบายไปเป็นข้อ ๆ จนจบข้อ ข้อ ๓ การกระทำของจำเลยเป็นความผิดอย่างไร กี่กรรม ต้องรับผิดอย่างไร เหตุเกิด ที่ ตำบลอะไร อำเภออะไร จังหวัดอะไร ก่อนฟ้องคดีได้ร้องทุกข์กล่าวโทษ หรือไม่ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษไว้กับพนักงานสอบสวน ก็ต้องอ้างไว้ สุดท้าย ต้องลงท้ายด้วยคำว่า ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
ส่วนคำร้อง ก็เช่นนกันครับ ขึ้นต้น"คดีนี้ ศาลนัดไต่สวนคำร้องในวันที่เท่าไหร่ เดือนอะไร เวลาเท่าไหร่ แล้วก็ค่อยขึ้น ข้อ ๒ ก็เริ่มบรรยายตัวผู้คัดค้านเป็นอย่างไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับทรัพย์มรดก แล้วก็มาต่อที่ข้อ ๓ ว่าตัวผู้ร้อง กับผู้คัดค้าน มีเหตุผลอย่างไรจึงต้องคัดค้าน และขอให้ศาลมีคำสั่งอย่างไร สรุปลงท้ายก็ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
ปล. ขอเรียนทุกท่านก่อนว่า สิ่งที่ผมสาธยายมาทั้งหมดนี้ไม่ใช่ว่าเป็นหลักในการใช้ตรวจข้อสอบนะครับ ข้อย้ำว่าที่ผมเขียนขึ้นมานี้เกิดจากประสบการณ์ตรงที่สั่งสมมา เพียงแค่อยากให้เป็นข้อคิดกับท่านที่ไม่เข้าใจในการปฏิบัติบางส่วน สิ่งสำคัญการตรวจสอบเวลาที่คุณกรอกลงไปในคำฟ้อง คำร้องก็สำคัญ ใช้ข้อความถูกต้องหรือไม่ เช่นลงเลขคดีดำ ถูกต้องหรือไม่ หัวคำร้องเขียนถูกหรือไม่ มีการลงชื่อกำกับที่ขีดฆ่าหรือไม่ หรือ ลงท้ายควรมิควรแล้วแต่จะโปรด หรือไม่ ช่องผมว่าเขาคงมีจุดหักคะแนนเยอะนะครับ
ที่คุณเขียนมาน่ะ ผมก็ไม่รู้จะวิเคราะห์อย่างไรนะครับว่าคุณเขียนได้หรือเขียนไม่ได้ เพราะความเห็นกับสิ่งที่เขียนลงไปมันไม่ใช่ว่าจะได้คะแนนเหมือนกันนะครับ เพราะอย่าลืมว่าคนตรวจก็เป็นคน ไม่ใช่คอมพิวเตอร์ สิ่งที่เขียนตอบไปนั้นเขาก็ต้องอ่านเข้าใจด้วยนะครับ เพราะฉะนั้นแล้วก็ลองพิจารณาดูก็แล้วกันครับ
จุดที่เขาหักคะแนน และวางสนุกไว้ คือ
คดีแพ่ง
จำนวนโจทก์ จำเลย ห้ามขาดและเกิน (บางที บางคนเขาหลุดพ้นความรับผิดก็ไฟฟ้องเขา) หักคะแนนมาก
หยิบแบบฟอร์มผิด กรอกข้อความผิด ลืมกรอก ในช่องต่าง ๆ เช่น ชื่อศาล สัญชาติ อายุ วันที่ หมายเลขคดีดำ วันที่ ฯลฯ
ไม่ได้ลงชื่อ ตามที่ต่าง ๆ ที่ต้องลง
ทุนทรัพย์หน้าฟ้อง ในฟ้อง และท้ายฟ้อง ต้องเท่ากัน และต้องครบ จุดนี้หักคะแนนมาก 10 คะแนนขึ้นไปแน่ๆ
อย่าลืม ถ้าจะให้จำเลยคืนเงินประกัน เงินรับล่วงหน้า ต้องบรรยายมาในฟ้องว่า จำเลยได้รับเงินนั้นเรียบร้อยแล้ว
หากไม่มีข้อความนี้ จะถูกหักคะแนนอย่างมาก
ปรากฏตามสำเนาหนังสือทวงถามและใบตอบรับของบริษัทไปรษณีย์ไทย
(ตกคำว่า ใบตอบรับ ไม่ได้นะ บริษัทไปรษณีย์ไทย ทันสมัยหน่อย)
ดอกเบี้ยคิดให้ถูก นับแต่วันไหน ตามโจทย์บอก (อย่าลืม โจทย์ กับ โจทก์ เขียนให้ถูก)
คดีอาญา
ภูมิลำเนาของจำเลย หาให้เจอ บางครั้งซ่อนไว้ในแผนที่ บางครั้งจำเลยถูกคุมขัง ภูมิลำเนาอยู่ที่เรือนจำ
คำขอท้ายฟ้องอาญา ผิดกฎหมาย มาตราอะไร ต้องกล่าวไว้ในฟ้องทั้งหมด
ส่วนใหญ่ชอบลืมมาตรา 83,91 บางครั้งนึกได้ตอนใกล้หมดเวลา เอาไปเติมไว้ในคำขอท้ายฟ้อง
แต่ในเนื้อฟ้องไม่มี
ในช่อง ข้อหาหรือฐานความผิด กรอกให้ถูก อย่าฟ้องผิดศาล
และหากขาดมาตราใดไปจะถูกหักคะแนน เป็นจำนวนมากทีเดียว
ในแผ่นสุดท้ายของโจทย์จะมีประมวลกฎหมายอาญามาตราที่เกี่ยวข้องมาให้
ถ้าเป็นข้อสอบพวกตั๋วปี บางมาตราก็ไม่ให้มาต้องรู้เองเพราะถือว่าฝึกงานมานานน่าจะรู้
ส่วนพวกหนังสือทวงถาม คำร้อง คำขอ คำแถลงต่าง ๆ ไปหัดเขียนมาให้คล่องมือ
จุดหักคะแนนมาก ๆ คือ แบบฟอร์ม หนังสือทวงถามใช้กระดาษขาว ไม่ใช่ 40ก
คำบอกกล่าว คำแถลง คำขอ ใช้ แบบคำร้อง แล้วมา //// เติมคำไป ห้ามผิด
1. ให้ร่างฟ้องแพ่ง ขับไล่ และใช้ค่าเสียหาย ตามหลักทั่วไปในหนังสือของอาจารย์มารุตที่ผมใช้สมัยเรียนเนติ ฯ และจำจากทนายพี่เลี้ยงที่ไปฝึกงาน
2. ร่างฟ้องคดีอาญา ก็เช่นเดียวกัน ผู้เสียหายเป็นใคร เมื่อวันที่ ... เหตุเกิดเมื่อ ..... จำเลยทั้งสองนี้ได้บังอาจร่วมกันทำอะไรก็ว่าไป ..... คำขอท้ายฟ้อง ให้ลงโทษ ในโจทย์เขาก็ให้มาด้วยอยู่แล้วว่า ตามโจทย์ก็เป็นเรื่องความผิดเกี่ยวกับเอกสาร ว่ามีมาตราใดบ้าง เป็นตัวการร่วมกันตาม ปอ. มาตรา 83 ถ้าเป็นความเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทก็ลงบทที่หนักสุดตาม มาตรา 90 แต่ตามโจทย์นั้นถ้าจำไม่ผิด จะเป็นกระกระทำหลายกรรม ลงโทษเรียงกระทงความผิดตาม ปอ. มาตรา 91
3. ให้เขียนคำร้องคัดค้านการตั้งผู้จัดการมรดกและขอตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกแทน ก็ตามหลักคือ อ้างว่าคดีนั้นอยู่ระหว่างทำอะไร นัดสืบพยานวันไหน เกิดเหตุขัดข้องอย่างไร และประสงค์จะให้ศาลสั่งอย่างไร
การใช้แบบฟอร์มเขาก็มีแบบฟอร์มคำฟ้องมาให้อยู่แล้ว ถ้าเขียนไม่พอก็ใช้แบบ 40 ก. แบบคำขอท้ายฟ้องก็มีมาให้ เลขคดีดำ ตดีแดง อะไรต่าง ๆ ตามโจทย์เขาก็มีมาให้อยู่แล้ว และใครจะเป็นโจทย์ฟ้องใคร ข้อเท็จจริงก็อยู่ในโจทย์ ไม่ทราบผมให้ข้อเท็จจริงพอหรือยังครับ ถ้าไม่พอก็ขอแค่นี้แล้วกันนะครับ เดี๋ยวจะโดนกล่าวหาว่าออกมาโวยวายอีก บัตรซบจริง ๆ ตกก็ตกครับ ก็แค่ออกมาระบายเท่านั้น คราวหน้าผมก็สอบอีกแหละครับ เนติ ฯ ผมยังทำมาได้ คิดว่าทนายก็น่าจะสอบได้ซักวัน ถ้ามีคำแนะนำดี ๆ ก็ยินดีรับฟัง ผมอาจจะมีกวน ๆ บ้าง แต่ไอ้ที่ออกมาบอกว่าผมโวยวายนี่ดูจะเกินไปหน่อยนะ
อืม ว่าจะถามอยู่เหมือนกันว่าน้องชายพี่ไปสอบเป็นอย่างไรบ้าง แต่ก็เอาเถอะน่ะ อย่าไปวิตกกังวลมากจนเกินเหตุครับ ส่วน่ข้อมูลของ คุณ X มาว่ากันเป็นข้อ ๆ เลยก็แล้วกันนะครับ โจทย์ข้อแรกให้ร่างฟ้องคดีแพ่ง ข้อหาขับไล่ และเรียกค่าเสียหาย ขึ้นต้นข้อ ๑ คุณเขียนเกี่ยวกับอะไรครับ ฐานะของโจทก์จำเลยหรือเปล่า กรรมสิทธิ์ของโจทก์เป็นอย่างไร จำเลยเข้ามามีนิติสัมพันธ์กับโจทก์อย่างไร อธิบายเรียงลำดับหรือเปล่า ถ้าเรียงลำดับ คำที่ใช้อ่านเข้าใจหรือวกวน อันนี้ก็เป็นส่วนหนึ่งของการให้คะแนน การใช้คำแทนตัวคู่ความ เช่น โจทก์ จำเลย เพราะเท่าที่ทราบมา บางครั้งมีการใช้ชื่อ แทนที่จะใช้คำว่า โจทก์ หรือ จำเลย ก็กลับไปใช้ชื่อ ตัวความ ตามที่โจทย์ ให้มา อย่างนี้ก็โดนหักคะแนนนะครับ ข้อ ๒. เกิดการโต้แย้งสิทธิต่อกันอย่างไร จำเลยทำอะไร แล้วโจทก์ทำอย่างไร ข้อ ๓ จากการกระทำของจำเลยทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายอย่างไร ค่าเสียหายคิดคำนวณอัตราค่าเสียหายจากอะไร มีอะไรยืนยัน ขอ มีการอ้างเอกสารแนบท้ายคำฟ้องครบถ้วนหรือไม่ อย่างไร สุดท้าย คำขอท้ายคำฟ้อง ขอไปกี่ข้อ ขอบังคับให้จำเลยปฏิบัติอย่างไร ให้ชดใช้ค่าเสียหายอย่างไร ขอให้ชำระดอกเบี้ยนับแต่วันไหน ขอให้จำเลยใช้ค่าฤชาธรรมเนียมศาลและค่าทนายความแทนหรือไม่ ลงลายมือชื่อครบถ้วนหรือไม่ จุดสังเกตุ ตอนเขียนคำฟ้องจบ สุดท้าย คุณลงท้ายว่า ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด หรือไม่
ส่วนร่างคำฟ้องคดีอาญา ถามว่า ข้อ๑ ใครเป็นผู้เสียหาย จำเลยเป็นคใคร นิติบุคคล หรือว่า บุคคลธรรมดา ข้อ ๒ เมื่อวันที่เท่าไหร่ เดือนอะไร ปีอะไร เวลา กลางวัน หรือ กลางคืน (กลางคืนก่อนเที่ยง หรือ กลางวันก่อนเที่ยง) จำเลยได้บังอาจกระทำความผิดอาญา ตาม (กฎหมายอะไร) ทีนี้ก็ว่าไปตามพฤติการณ์ มีกี่กรรม ก็อธิบายไปเป็นข้อ ๆ จนจบข้อ ข้อ ๓ การกระทำของจำเลยเป็นความผิดอย่างไร กี่กรรม ต้องรับผิดอย่างไร เหตุเกิด ที่ ตำบลอะไร อำเภออะไร จังหวัดอะไร ก่อนฟ้องคดีได้ร้องทุกข์กล่าวโทษ หรือไม่ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษไว้กับพนักงานสอบสวน ก็ต้องอ้างไว้ สุดท้าย ต้องลงท้ายด้วยคำว่า ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
ส่วนคำร้อง ก็เช่นนกันครับ ขึ้นต้น"คดีนี้ ศาลนัดไต่สวนคำร้องในวันที่เท่าไหร่ เดือนอะไร เวลาเท่าไหร่ แล้วก็ค่อยขึ้น ข้อ ๒ ก็เริ่มบรรยายตัวผู้คัดค้านเป็นอย่างไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับทรัพย์มรดก แล้วก็มาต่อที่ข้อ ๓ ว่าตัวผู้ร้อง กับผู้คัดค้าน มีเหตุผลอย่างไรจึงต้องคัดค้าน และขอให้ศาลมีคำสั่งอย่างไร สรุปลงท้ายก็ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด
ปล. ขอเรียนทุกท่านก่อนว่า สิ่งที่ผมสาธยายมาทั้งหมดนี้ไม่ใช่ว่าเป็นหลักในการใช้ตรวจข้อสอบนะครับ ข้อย้ำว่าที่ผมเขียนขึ้นมานี้เกิดจากประสบการณ์ตรงที่สั่งสมมา เพียงแค่อยากให้เป็นข้อคิดกับท่านที่ไม่เข้าใจในการปฏิบัติบางส่วน สิ่งสำคัญการตรวจสอบเวลาที่คุณกรอกลงไปในคำฟ้อง คำร้องก็สำคัญ ใช้ข้อความถูกต้องหรือไม่ เช่นลงเลขคดีดำ ถูกต้องหรือไม่ หัวคำร้องเขียนถูกหรือไม่ มีการลงชื่อกำกับที่ขีดฆ่าหรือไม่ หรือ ลงท้ายควรมิควรแล้วแต่จะโปรด หรือไม่ ช่องผมว่าเขาคงมีจุดหักคะแนนเยอะนะครับ
ที่คุณเขียนมาน่ะ ผมก็ไม่รู้จะวิเคราะห์อย่างไรนะครับว่าคุณเขียนได้หรือเขียนไม่ได้ เพราะความเห็นกับสิ่งที่เขียนลงไปมันไม่ใช่ว่าจะได้คะแนนเหมือนกันนะครับ เพราะอย่าลืมว่าคนตรวจก็เป็นคน ไม่ใช่คอมพิวเตอร์ สิ่งที่เขียนตอบไปนั้นเขาก็ต้องอ่านเข้าใจด้วยนะครับ เพราะฉะนั้นแล้วก็ลองพิจารณาดูก็แล้วกันครับ
จุดที่เขาหักคะแนน และวางสนุกไว้ คือ
คดีแพ่ง
จำนวนโจทก์ จำเลย ห้ามขาดและเกิน (บางที บางคนเขาหลุดพ้นความรับผิดก็ไฟฟ้องเขา) หักคะแนนมาก
หยิบแบบฟอร์มผิด กรอกข้อความผิด ลืมกรอก ในช่องต่าง ๆ เช่น ชื่อศาล สัญชาติ อายุ วันที่ หมายเลขคดีดำ วันที่ ฯลฯ
ไม่ได้ลงชื่อ ตามที่ต่าง ๆ ที่ต้องลง
ทุนทรัพย์หน้าฟ้อง ในฟ้อง และท้ายฟ้อง ต้องเท่ากัน และต้องครบ จุดนี้หักคะแนนมาก 10 คะแนนขึ้นไปแน่ๆ
อย่าลืม ถ้าจะให้จำเลยคืนเงินประกัน เงินรับล่วงหน้า ต้องบรรยายมาในฟ้องว่า จำเลยได้รับเงินนั้นเรียบร้อยแล้ว
หากไม่มีข้อความนี้ จะถูกหักคะแนนอย่างมาก
ปรากฏตามสำเนาหนังสือทวงถามและใบตอบรับของบริษัทไปรษณีย์ไทย
(ตกคำว่า ใบตอบรับ ไม่ได้นะ บริษัทไปรษณีย์ไทย ทันสมัยหน่อย)
ดอกเบี้ยคิดให้ถูก นับแต่วันไหน ตามโจทย์บอก (อย่าลืม โจทย์ กับ โจทก์ เขียนให้ถูก)
คดีอาญา
ภูมิลำเนาของจำเลย หาให้เจอ บางครั้งซ่อนไว้ในแผนที่ บางครั้งจำเลยถูกคุมขัง ภูมิลำเนาอยู่ที่เรือนจำ
คำขอท้ายฟ้องอาญา ผิดกฎหมาย มาตราอะไร ต้องกล่าวไว้ในฟ้องทั้งหมด
ส่วนใหญ่ชอบลืมมาตรา 83,91 บางครั้งนึกได้ตอนใกล้หมดเวลา เอาไปเติมไว้ในคำขอท้ายฟ้อง
แต่ในเนื้อฟ้องไม่มี
ในช่อง ข้อหาหรือฐานความผิด กรอกให้ถูก อย่าฟ้องผิดศาล
และหากขาดมาตราใดไปจะถูกหักคะแนน เป็นจำนวนมากทีเดียว
ในแผ่นสุดท้ายของโจทย์จะมีประมวลกฎหมายอาญามาตราที่เกี่ยวข้องมาให้
ถ้าเป็นข้อสอบพวกตั๋วปี บางมาตราก็ไม่ให้มาต้องรู้เองเพราะถือว่าฝึกงานมานานน่าจะรู้
ส่วนพวกหนังสือทวงถาม คำร้อง คำขอ คำแถลงต่าง ๆ ไปหัดเขียนมาให้คล่องมือ
จุดหักคะแนนมาก ๆ คือ แบบฟอร์ม หนังสือทวงถามใช้กระดาษขาว ไม่ใช่ 40ก
คำบอกกล่าว คำแถลง คำขอ ใช้ แบบคำร้อง แล้วมา //// เติมคำไป ห้ามผิด
สรุป วิชาครอบครัว
กฎหมายครอบครัวที่ศึกษาในชั้นเนติบัณฑิต ลักษณะข้อสอบจะเป็นปัญหาตุ๊กตาให้วินิจฉัยโดยคำถามกฎหมายครอบครัวจะผสมกับกฎหมายมรดกในข้อเดียวกัน หรือจะเป็นคำถามกฎหมายครอบครัวอย่างเดียว หรือกฎหมายมรดกแต่เพียงอย่างเดียวก็ได้
การหมั้น มีมาตราที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ (1435-1447) สาระสำคัญของการหมั้นมีดังต่อไปนี้
1. ชายและหญิงจะทำการหมั้นได้ต้องมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ ( ม. 1435 ) หากการหมั้นกระทำโดยฝ่าฝืน ม. 1435 ผลคือการหมั้นตกเป็นโมฆะ ( ม. 1435 ว. 2 )
2. ผู้เยาว์ทำการหมั้นจะต้องได้รับความยินยอมของบิดามารดาหรือผู้ปกครองด้วย ( ม. 1436 ) หากการหมั้นที่ผู้เยาว์ทำโดยปราศจากความยินยอมดังกล่าวการหมั้นนั้นตกเป็นโมฆียะ
ข้อสังเกต
1. ผู้เยาว์มีสิทธิที่จะบอกล้างการหมั้นนั้นได้ตาม ม. 175 (1 ) ถ้าได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรม เมื่อบอกล้างก็ถือว่าเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก
2. ผู้เยาว์อาจให้สัตยาบันในการหมั้นนั้นได้เมื่อตนบรรลุนิติภาวะแล้วตาม ม. 177
กรณีผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรสตาม ม. 20 โดยทำการสมรสก่อนอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ด้วยการขออนุญาตศาลให้ทำการสมรสตาม ม. 1448
หากต่อมาได้ขาดจากการสมรสและอายุยังไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ แม้ตนเองจะบรรลุนิติภาวะแล้วก็ตาม หากจะทำการหมั้นใหม่อีกครั้งก็อยู่ในเงื่อนไขของการหมั้นและจะต้องมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ด้วย หากฝ่าฝืนการหมั้นเป็นโมฆะ
ฎ. 3072 / 2547 (ญ.)
วินิจฉัยหลักกฎหมายเรื่อง โมฆะกรรม ( ม. 172 ) , ลาภมิควรได้ ชำระหนี้ตามอำเภอใจ(ม. 407 )
คืนเงิน ( ม. 412 ) , คืนทรัพย์ ( ม. 413 ) , หมั้น ( ม. 1435 )
ในขณะที่นาย อ. ทำการหมั้นกับนางสาว ข. นางสาว ข. อายุยังไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ การหมั้นดังกล่าวจึงฝ่าฝืน ม. 1435 ว. 1 ย่อมตกเป็นโมฆะตาม ม. 1435 ว. 2 และ ม. 172 ว. 2 ถ้าจะต้องคืนทรัพย์สินอันเกิดจากโมฆะกรรมให้นำบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้บังคับ เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นบิดานาย อ. ไม่ทราบว่านางสาว ข. อายุ 17 ปี ดังนั้นนางสาว ข. และบิดามารดาซึ่งเป็นจำเลย ต้องคืนของหมั้นและสินสอดให้แก่โจทก์ตาม ม. 412 และ ม. 413 โดยจะถือว่าโจทก์ชำระหนี้ตามอำเภอใจตาม ม. 407 หาได้ไม่ ดังนั้นบันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์-จำเลย ที่จำเลยยอมชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จึงมีมูลหนี้และใช้บังคับได้ หาขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่
แบบของการหมั้น
การหมั้นจะสมบูรณ์เมื่อฝ่ายชายได้ส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินอันเป็นของหมั้นให้แก่หญิง เพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงนั้น ( ม. 1437 ) สัญญาหมั้นเป็นสัญญาพิเศษผิดกับสัญญาธรรมดาฉะนั้นการหมั้นจะต้องมีของหมั้นมิฉะนั้นการหมั้นไม่สมบูรณ์
2
ฏ. 525 / 2509 การหมั้นจะเรียกว่าหมั้นก็ต่อเมื่อฝ่ายชายนำของหมั้นไปมอบให้ฝ่ายหญิงอันเป็นเรื่องที่เข้าใจกันตามธรรมดาและตามประเพณีเมื่อมีการหมั้นและฝ่ายใดผิดสัญญาหมั้นฝ่ายนั้นต้องรับผิดใช้ค่าทดแทน โดยที่กฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษเช่นนี้ เมื่อฝ่ายชายเพียงแต่ตกลงว่าจะสมรสโดยไม่มีการหมั้นจึงอยู่นอกขอบเขตที่กฎหมายรับรอง หากไม่ปฏิบัติตามที่ตกลงไว้จะเรียกค่าทดแทนหาได้ไม่
การที่ไม่มีประเพณีท้องถิ่นว่าจะต้องมีของหมั้นไม่ใช่เหตุอันจะพึงยกขึ้นลบล้างบทกฎหมายได้
ของหมั้น คือทรัพย์สินที่ฝ่ายชายได้ส่งมอบหรือโอนให้แก่ฝ่ายหญิงเพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงนั้น เมื่อหมั้นแล้วของหมั้นตกเป็นสิทธิแก่หญิงทันที
ลักษณะสำคัญของของหมั้นจะต้องเข้าหลักเกณฑ์ 4 ประการ คือ
1. ต้องเป็นทรัพย์สิน สิทธิเรียกร้อง ลิขสิทธิ์ ถือว่าเป็นทรัพย์สินที่นำมาเป็นของหมั้นได้
2. ต้องเป็นของที่ฝ่ายชายให้ไว้แก่หญิง
3. ต้องให้ไว้ในเวลาทำสัญญาและหญิงต้องได้รับไว้แล้ว
ต้องเป็นการให้ไว้เพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงนั้น และต้องให้ไว้ก่อนสมรส ถ้าให้เมื่อหลังสมรสแล้วทรัพย์นั้นไม่ใช่ของหมั้น
ฎ. 592 / 2540 โจทก์ตกลงแต่งงานกับจำเลยที่ 3 โดยวิธีผูกข้อมือ แสดงว่าโจทก์และจำเลยที่ 3 มิได้มีเจตนาจะทำการสมรสโดยจดทะเบียนสมรสตาม ป.พ.พ. ม. 1457 ฉะนั้นทรัพย์สินที่โจทก์มอบให้จำเลยทั้งสามจึงไม่ใช่ของหมั้น เพราะไม่ใช่ทรัพย์สินที่โจทก์มอบให้จำเลยทั้งสามเพื่อเป็นหลักฐานการหมั้นและประกันว่าจะสมรสกับจำเลยที่ 3 เพื่อตอบแทนการที่จำเลยที่ 3 ยอมสมรสตาม ป.พ.พ. ม. 1437 โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกคืน ส่วนการที่จำเลยที่ 3 ไม่ยอมให้โจทก์ร่วมหลับนอนนั้นเป็นสิทธิของจำเลยที่ 3 เพราะการสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 3 จะทำได้ต่อเมื่อจำเลยที่ 3 ยินยอมเป็นสามีภรรยากับโจทก์ตาม ป.พ.พ. ม.1458 การที่จำเลยที่ 3 ไม่ยินยอมหลับนอนกับโจทก์ ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์หรือผิดสัญญาหมั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าทดแทนหรือค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสามตาม ปพ.พ. ม. 1439 และ ม. 1440
การรับผิดตามสัญญาหมั้น เมื่อมีการหมั้นแล้ว ถ้าฝ่ายใดผิดสัญญาหมั้น อีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเรียกให้รับผิดใช้ค่าทดแทน ในกรณีที่ฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้นให้คืนของหมั้นแก่ฝ่ายชาย ( ม. 1439 ) อายุความ(ม.1447/2)
คู่สัญญาที่ต้องรับผิดตามสัญญาหมั้น มี 3 จำพวกคือ
1. ชายหญิงที่เป็นคู่หมั้น
2. บิดามารดาของชายหญิงคู่หมั้นซึ่งเป็นคู่สัญญาหมั้น
3. บุคคลผู้กระทำในฐานะเช่นบิดามารดาของชายหญิงคู่หมั้น
สินสอด เป็นทรัพย์สินที่ฝ่ายชายให้แก่บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือผู้ปกครองฝ่ายหญิง แล้วแต่กรณี เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส ( ม. 1437 ว. 3 )
ถ้าไม่มีการสมรสโดยมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิง หรือโดยพฤติการณ์ซึ่งหญิงต้องรับผิด ทำให้ชายไม่สมควรหรือไม่อาจสมรสกับหญิงนั้น ฝ่ายชายเรียกสินสอดคืนได้
ลักษณะสำคัญของสินสอดมีอยู่ 3 ประการ คือ
3
1. ต้องเป็นทรัพย์สิน ตัวทรัพย์สินที่เป็นสินสอดไม่จำเป็นต้องมอบให้ในขณะทำสัญญา จะตกลงให้นำมามอบภายหลังก็ได้
2. ต้องเป็นฝ่ายชายให้แก่บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือผู้ปกครองฝ่ายหญิง
3. ให้เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส
ข้อสังเกต
1. ทรัพย์ที่เป็นสินสอดนั้นเมื่อได้ส่งมอบไปแล้วย่อมตกเป็นสิทธิเด็ดขาดแก่ฝ่ายหญิงทันที โดยไม่ต้องรอให้มีการสมรสกันก่อนแต่อย่างใด
2. การตกลงจะให้สินสอดแก่กันนั้นจะต้องตกลงให้แก่กันก่อนสมรส แต่การส่งมอบจะมอบให้ก่อนสมรสหรือหลังสมรสก็ได้
3. ในการตกลงให้สินสอดนี้กฎหมายมิไดกำหนดแบบไว้ เพียงตกลงด้วยวาจาก็ใช้บังคับได้
4. สินสอดไม่ใช่สาระสำคัญของการหมั้นหรือการสมรส ชายหญิงจะทำการหมั้นหรือการสมรสกันโดยไม่ต้องมีสินสอดก็ได้
ข้อสังเกต หากได้มีการตกลงว่าจะให้สินสอดแก่กันแล้ว ฝ่ายชายไม่ยอมให้ บิดามารดาหรือผู้ปกครองฝ่ายหญิงฟ้องเรียกสินสอดได้
5. ชายมีสิทธิเรียกสินสอดคืนได้นั้น มี 2 กรณี คือ
• ถ้าไม่มีการสมรสโดยมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิง ( ม. 1442 )
ถ้าไม่มีการสมรสโดยมีพฤติการณ์ซึ่งฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบ ( ม. 1444 - 1445 )
ผลของการหมั้น
1. สิทธิเรียกค่าทดแทนจากคู่หมั้นอีกฝ่ายหนึ่ง ( ม. 1440 )
(1) ค่าทดแทนความเสียหายต่อกายหรือชื่อเสียงแห่งชายหรือหญิงนั้น
ฎ. 5777 / 2540 การที่โจทก์จำเลยได้อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาแล้วโจทก์ต้องเลิกร้างจากจำเลยด้วยเหตุที่จำเลยผิดสัญญาหมั้นนั้นย่อมเกิดความเสียหายแก่กายและชื่อเสียงของโจทก์ซึ่งเป็นหญิง ในการที่จะทำการสมรสใหม่ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากจำเลยได้ตาม ป.พ.พ. ม. 1439 และ ม. 1440 ( 1 ) เมื่อคำนึงถึงการที่โจทก์ ไม่เคยผ่านสมรสมาก่อน มีฐานะพอสมควร มีการศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวนเงินค่าทดแทนที่ศาลล่างกำหนดให้ 250,000 บาท นับว่าเหมาะสมแก่พฤติการณ์แล้ว
(2) ค่าทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่คู่หมั้น บิดา มารดา หรือบุคคลผู้กระทำการในฐานะบิดา มารดา ได้ใช้หรือต้องตกเป็นลูกหนี้ เนื่องในการเตรียมการสมรสโดยสุจริตและตามสมควร
(3) ค่าทดแทนความเสียหายที่คู่หมั้นได้จัดการทรัพย์สิน หรือการอื่นอันเกี่ยวแก่อาชีพ หรือทางทำมาหาได้ของตนไปโดยสมควร ด้วยคาดหมายว่าจะมีการสมรส
4
2. สิทธิเรียกค่าทดแทนจากชายอื่น ถ้าหากชายอื่นมาล่วงเกินหญิงคู่หมั้น
การที่ชายอื่นร่วมประเวณีกับหญิงคู่หมั้น โดยหญิงคู่หมั้นยินยอมมีหลักกฎหมายตาม ม. 1445 ดังต่อไปนี้
-- ชายอื่นร่วมประเวณีกับหญิงคู่หมั้น
-- ชายอื่นนั้นรู้หรือควรรู้ว่าหญิงได้หมั้นกับชายคู่หมั้นแล้ว และรู้ด้วยว่าชายคู่หมั้นเป็นใคร
-- ชายคู่หมั้นได้บอกเลิกสัญญาหมั้นแล้ว ( จะต้องบอกเลิกสัญญาหมั้นก่อนจึงจะเรียกค่าทดแทนได้)
การที่ชายอื่นข่มขืนหรือพยามข่มขืนกระทำชำเราหญิงคู่หมั้นมีหลักกฎหมายตาม ม. 1446
-- ชายอื่นจะต้องรู้ว่าหญิงมีคู่หมั้นแล้ว แต่ไม่จำเป็นต้องรู้ว่าชายคู่หมั้นเป็นใคร
-- ชายคู่หมั้นไม่จำเป็นต้องบอกเลิกสัญญาหมั้นก่อน ก็เรียกค่าทดแทนจากชายอื่นได้
ข้อสังเกต กรณีมีหญิงอื่นมาล่วงเกินชายคู่หมั้นทางประเวณี หญิงคู่หมั้นไม่มีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่น โดยจะนำ ม. 1445 และ ม. 1446 มาอนุโลมใช้บังคับไม่ได้ (กฎหมายใช้คำว่า “ ชายอื่น ”)
3. สิทธิเกี่ยวกับของหมั้น ทรัพย์สินของหมั้นนั้นย่อมตกเป็นสิทธิของหญิงในทันที แต่มีบางกรณีที่ฝ่ายหญิงต้องคืนของหมั้นให้แก่ฝ่ายชายก็ได้
กรณีที่ของหมั้นตกเป็นสิทธิแก่หญิงโดยไม่ต้องคืนให้แก่ฝ่ายชาย
1. เมื่อฝ่ายชายผิดสัญญาหมั้น ( ม. 1439 )
2. เมื่อชายหรือหญิงตายก่อนสมรส ( ม. 1441 )
3. เมื่อหญิงบอกเลิกสัญญาหมั้น เพราะมีเหตุสำคัญเกิดแก่ชาย ( ม. 1443 )
กรณีที่หญิงต้องคืนของหมั้นให้แก่ชาย มีดังนี้
1. เมื่อหญิงผิดสัญญาหมั้น ( ม. 1439)
2. เมื่อชายบอกเลิกสัญญาหมั้น เพราะมีเหตุสำคัญเกิดแก่หญิง ( ม. 1442 )
การหมั้นไม่เป็นเหตุที่จะร้องขอให้ศาลบังคับให้สมรสได้ ถ้ามีข้อตกลงเรื่องค่าปรับในกรณีผิดสัญญาหมั้น ข้อตกลงนั้นเป็นโมฆะ
การสิ้นสุดของการหมั้น
1. กรณีที่คู่หมั้นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตายก่อนสมรส
2. กรณีมีการบอกล้างสัญญาหมั้น
3. กรณีที่มีการสมรส
4. การสิ้นสุดโดยความยินยอมของทั้งชายและหญิง
5. กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งบอกเลิกสัญญาหมั้นเนื่องจากมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่คู่หมั้น
• ชายบอกเลิกสัญญาหมั้นโดยมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิงคู่หมั้น
หญิงบอกเลิกสัญญาหมั้นโดยมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่ชายคู่หมั้น
5
กรณีค่าทดแทนในการเลิกสัญญาหมั้น มีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
ค่าทดแทนความเสียหายเรื่องการหมั้น ต้องเป็นค่าเสียหายที่เกิดขึ้นแล้ว มิใช่ค่าขาดกำไรอันควรได้ และสิทธิเรียกค่าทดแทนเรื่องการหมั้นนี้นอกจากกรณีตาม ม. 1440 ( 2 ) ไม่อาจโอนกันได้และไม่ตกทอดไปถึงทายาท (ม. 1440 ( 2 ) เป็นสิทธิเฉพาะตัว เว้นแต่ สิทธินั้นจะได้รับสภาพกันไว้เป็นหนังสือหรือผู้เสียหายได้เริ่มฟ้องคดีตามสิทธินั้นแล้ว) อายุความในเรื่องการหมั้น
• กฎหมายกำหนดไว้ 6 เดือน เริ่มนับตั้งแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้อง ( ม. 1447/2 )
• กรณีที่เรียกสินสอดคืน กฎหมายมิได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องถืออายุความ 10 ปี
( ม.193/30 )
การสมรส คือการที่ชายและหญิงสมัครใจเข้ามาอยู่กินกันฉันสามีภริยากันชั่วชีวิต โดยจะไม่เกี่ยวข้องทางชู้สาวกับบุคคลอื่นใดอีก
เงื่อนไขการสมรส
1. การสมรสจะทำได้ในระหว่างชายกับหญิงเท่านั้น และจะทำการสมรสได้ก็ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ แต่ในกรณีมีเหตุอันสมควร ศาลอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนนั้นได้ ( ม. 1448 )
2. หากผู้เยาว์จะทำการสมรส ต้องได้รับความยินยอมจากบุคคลตาม ม. 1454 , 1455 เสียก่อน
3. ชายหรือหญิงต้องไม่เป็นคนวิกลจริต หรือเป็นบุคคลซึ่งศาลส่งให้เป็นคนไร้ความสามารถตาม ม. 1449 ถ้าฝ่าฝืนการสมรสตกเป็นโมฆะตาม ม. 1495
4. ชายหรือหญิงไม่ได้เป็นญาติสืบสายโลหิตต่อกันหรือเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาหรือร่วมแต่บิดาหรือมารดาตาม ม. 1450 ถ้าฝ่าฝืนการสมรสตกเป็นโมฆะตาม ม. 1495
5. ผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมจะสมรสกันมิได้ตาม ม. 1451 แต่กฎหมายมิได้บัญญัติให้การสมรสที่ฝ่าฝืนเงื่อนไขข้อนี้เป็นโมฆะหรือโมฆียะ เนื่องจากผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมไม่มีความสัมพันธ์ในทางสายโลหิตกันเลย และมี ม. 1598 / 32 การรับบุตรบุญธรรมเป็นอันยกเลิกเมื่อมีการฝ่าฝืน ม. 1451
6. ชายหรือหญิงมิได้เป็นคู่สมรสของบุคคลอื่นอยู่ตาม ม. 1452 การสมรสที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าวเป็นโมฆะตาม ม. 1495
7. หญิงหม้ายจะสมรสใหม่ได้ก็ต่อเมื่อขาดจากการสมรสเดิมแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน แต่มีข้อยกเว้นตาม ม. 1453
8. ชายและหญิงยินยอมสมรสกันตาม ม. 1458 โดยเปิดเผยต่อหน้านายทะเบียน และให้นายทะเบียนบันทึกความยินยอมนั้นไว้ด้วย แบบแห่งการสมรส การสมรสจะมีได้เฉพาะเมื่อได้จดทะเบียนสมรสแล้วเท่านั้นตาม ม. 1457 ข้อสังเกตที่น่าสนใจ
1. เมื่อชายและหญิงจดทะเบียนสมรสกันแล้ว ชายหญิงย่อมเป็นสามีภริยาตามกฎหมาย แม้จะได้เลิกร้างกันไป 20 ถึง 30 ปี ทรัพย์สมบัติแบ่งแยกกันไปเป็นสัดส่วน แต่ตราบใดที่ยังไม่ได้จดทะเบียนหย่า หญิงนั้นยังเป็นภริยาชายโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่
2. การที่สามีภริยาตกลงหย่าและแบ่งทรัพย์สินกัน โดยชอบด้วยกฎหมายแล้วแม้ภายหลังจะกลับมาอยู่กินกันใหม่แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันก็ไม่ถือว่าเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย
6
3. การที่ชายหญิงสมรสกันตามกฎหมายลักษณะผัวเมียก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2478 โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันนั้น การสมรสดังกล่าวเป็นอันสมบูรณ์ ในปัจจุบันนี้โดยไม่จำเป็นต้องมาจดทะเบียนสมรสกันใหม่อีก
ฎ. 2616 / 2543 แม้ใบทะเบียนการสมรสมิได้ประทับตรานายทะเบียนก็หาทำให้ทะเบียนการสมรสไม่สมบูรณ์หรือเป็นโมฆะเพราะ พ.ร.บ. การจดทะเบียนครอบครัวกำหนดเพียงให้นายทะเบียนลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ มิได้ว่าต้องประทับตราแต่อย่างใด ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา มี 2 ประเภท คือความสัมพันธ์ในทางส่วนตัวกับความสัมพันธ์ในทางทรัพย์สิน
ความสัมพันธ์ในทางส่วนตัว
1. การอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา
2. การช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกัน หากสามีภริยาไม่ช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามสมควร อีกฝ่ายหนึ่งย่อมฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูได้ตาม ม. 1598 / 38 หรือหากประสงค์จะหย่าขาดจากกันก็อาจฟ้องหย่าได้ตาม ม. 1518 (6) สิทธิที่จะได้ค่าอุปการะเลี้ยงดูนี้จะสละหรือโอนมิได้ และไม่อยู่ ในข่ายแห่งการบังคับคดีตาม ม. 1598 / 41
3. การแยกกันอยู่ต่างหากชั่วคราว
• สามีภริยาอาจทำข้อตกลงระหว่างกันเพื่อแยกกันอยู่ต่างหากเป็นการชั่วคราวได้ ข้อตกลงนี้ใช้บังคับได้ แต่สถานะความเป็นสามีภริยายังคงมีอยู่ยังไม่ถือว่าการสมรสสิ้นสุดลง ดังนั้นสามีหรือภริยาจะทำการสมรสใหม่ไม่ได้ ซึ่งผลของข้อตกลงนี้มีเพียงทำให้การแยกกันอยู่นี้แม้จะเป็นเวลานานเกิน 1 ปี ก็ไม่ถือว่าเป็นการจงใจทิ้งร้าง คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะมาอ้างเป็นเหตุฟ้องอย่าตาม ม. 1516 ( 4 ) ไม่ได้ แต่ถ้าหากการตกลงแยกกันอยู่นี้เป็นเพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขและสามีภริยาได้แยกกันอยู่แล้วเป็นเวลาเกิน 3 ปี สามีหรือภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิฟ้องหย่าได้ตาม ม. 1518 (4/2)
ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้แยกกันอยู่ต่างหากเป็นการชั่วคราวตาม ม. 1462
--การอยู่ร่วมกันจะเป็นอันตรายแก่กายอย่างมากของสามีหรือภริยา
--การอยู่ร่วมกันจะเป็นอันตรายแก่จิตใจอย่างมากของสามีหรือภริยา เช่น สามีชอบผู้ชายด้วยกันและนำเข้ามาอยู่ในบ้านด้วยเช่นนี้เป็นการทำร้ายจิตใจของภริยาอย่างมาก ภริยามีสิทธิร้องขอให้แยกกันอยู่ต่างหากเป็นการชั่วคราวได้
--การอยู่ร่วมกันจะเป็นการทำลายความผาสุขอย่างมากของสามีหรือภริยา ข้อสังเกต มีคำพิพากษาที่น่าสนใจที่วินิจฉัยว่า การที่จำเลยชอบดุด่า ชอบเสพสุรา เคยฟันโจทย์ 2 ครั้งที่แขนซ้ายและมือซ้าย เคยเอากาแฟร้อนสาดหน้าและต่อยโจทก์ และโจทก์ก็เคยฟันจำเลยถึงกระดูกนิ้วขาด พฤติการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นเป็นครั้งคราวจากการที่เป็นสามีภริยากันมารวม 2 ระยะ เป็นเวลาประมาณ 7- 8 ปี ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ถือว่าไม่มีลักษณะจะเป็นเหตุที่โจทก์พอจะให้ตนแยกกันอยู่ต่างหากจากจำเลย ดังที่บัญญัติไว้ใน ม. 1462 ( ฎ. 369 / 2509 )
7
การสิ้นสุดของการแยกกันอยู่
--สามีภริยาตกลงยกเลิกการแยกกันอยู่
--สามีภริยาอย่าขาดจากกัน
--สามีภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถึงแก่ความตาย
ความสัมพันธ์ในทางทรัพย์สิน ( ม. 1470 )
1. สินส่วนตัว ( ม. 1471 ) คือทรัพย์สินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยเฉพาะ
(1) ทรัพย์สินที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส ทรัพย์สินเช่นว่านี้จะต้องตกเป็นกรรมสิทธิ์ของคู่สมรสฝ่ายนั้นแล้ว แต่ถ้าทรัพย์สินนั้นยังไม่ตกเป็นกรรมสิทธ์เด็ดขาดของคู่สมรสฝ่ายใด แม้จะอยู่ในเงื่อนไขที่จะต้องได้กรรมสิทธิ์มาในภายหลัง ก็ไม่ถือว่าเป็นทรัพย์สินที่มีอยู่ก่อนสมรส เช่นโจทก์และจำเลยได้ร่วมกันดำเนินกิจการร้านเสริมสวยตั้งแต่ก่อนจดทะเบียนสมรสกัน กิจการร้านเสริมสวยจึงเป็นทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยมีอยู่แล้วก่อนสมรส จึงเป็นสินส่วนตัวของโจทก์และจำเลยตาม ม. 1471(1)
ตามแนว ฎ. 4650 / 2545
แต่ถ้า กรณีที่โจทก์มีที่ดินอยู่แล้วก่อนสมรสแม้ในระหว่างสมรสโจทก์สมัครเข้าเป็นสมาชิกนิคมสร้างตนเองและได้สิทธิในการขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์และได้ขอออก น.ส. 3 สำหรับที่ดินของโจทก์ เช่นนี้เป็นเพียงขั้นตอนที่โจทก์จะได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่ดินเท่านั้น ไม่กระทบถึงสิทธิของโจทก์ที่มีเหนือที่ดิน เมื่อที่ดินของโจทก์มีมาก่อนอยู่กินและจดทะเบียนสมรสกับจำเลย จึงมิใช่ทรัพย์สินที่โจทก์ได้มาระหว่างสมรส ไม่เป็นสินสมรสแต่เป็นสินส่วนตัวตาม ฎ. 7174 / 2539
(2) ทรัพย์สินที่เป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัว เครื่องแต่งกายหรือเครื่องประดับตามควรแก่ฐานะ หรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
(3) ทรัพย์ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดกหรือการให้โดยเสน่หา คือ ทรัพย์สินเหล่านี้ถือว่าเป็นสินส่วนตัวของสามีหรือภริยาผู้ที่ได้รับมาทั้งสิ้น ไม่ถือว่าเป็นสินสมรสทั้งๆที่ได้มาระหว่างสมรส เช่น กรณีได้ที่ดินพิพาทมาในระหว่างสมรสกับผู้ตาย แต่ปรากฏว่าเป็นกรณีได้รับการยกให้ที่ดินภายหลังใช้บรรพ 5 ใหม่ พ.ศ. 2519 แล้ว เมื่อไม่ปรากฏมีหนังสือยกให้โดยระบุให้เป็นสินสมรส ก็ต้องถือว่าเป็นการยกให้ที่ดินเป็นสินส่วนตัวของผู้ร้องตาม ม. 1471 (3) ตามแนว ฎ. 4982 / 2541
(4) ทรัพย์ที่เป็นของหมั้นเป็นสินส่วนตัวของภริยา
ข้อสังเกต
( 1 )ในกรณีที่สามีหรือภริยาได้รับรางวัลจากการกระทำสิ่งใดหรือจากการประกวดชิงรางวัล รางวัลที่ได้รับมานั้นเป็นสินส่วนตัว
( 2 ) ของแทนสินส่วนตัว ทรัพย์สินที่เป็นสินส่วนตัวนั้นถ้าได้มีการแลกเปลี่ยนเป็นทรัพย์สินอื่นก็ดี ซื้อขายทรัพย์สินอื่นมาด้วยสินส่วนตัวก็ดี หรือขายสินส่วนตัวได้เงินมาก็ดี ทรัพย์สินอื่นหรือเงินที่ได้มานั้นยังคงเป็นสินส่วนตัวอยู่ตามเดิม เพราะเป็นไปตามหลักในเรื่องช่วงทรัพย์ตาม ม. 226 ว. 2 หรือสินส่วนตัวที่ถูกทำลายไปทั้งหมดหรือบางส่วน แต่ได้ทรัพย์สินหรือเงินทดแทน ทรัพย์สินอื่นหรือเงินที่ได้มานั้นเป็นสินส่วนตัวเช่นเดียวกัน
8
(3) การจัดการสินส่วนตัวของคู่สมรสฝ่ายใดให้ฝ่ายนั้นเป็นผู้จัดการตาม ม. 1473
2. สินสมรส บัญญัติไว้ใน ม. 1474 มี 3 ชนิดดังนี้
( 1) ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส โดยไม่ต้องคำนึงว่าฝ่ายใดมีส่วนร่วมในการทำมาหาได้นั้นหรือไม่ นอกจากนี้การที่สามีภริยาแยกกันอยู่หรือทิ้งร้างกันโดยไม่ได้อย่าขาดจากกันโดยเด็ดขาด ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ในระหว่างนั้นก็ถือว่าเป็นสินสมรสด้วย
( 2 ) ทรัพย์สินที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาโดยพินัยกรรม หรือ โดยการให้เป็นหนังสือ ทรัพย์สินเช่นว่านี้เป็นสินส่วนตัวของฝ่ายนั้นตาม ม. 1471 (3) แต่หากเจ้ามรดกหรือผู้ให้ระบุไว้ในพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ ระบุว่าให้เป็นสินสมรสจึงจะเป็นสินสมรส
ฎ. 2062 / 2535 จำเลยได้ที่พิพาทมาโดยบิดายกให้ แม้เป็นการยกให้ระหว่างสมรส แต่เมื่อการยกให้มิได้ทำเป็นหนังสือระบุว่าให้เป็นสินสมรส ที่พิพาทจึงตกเป็นสินส่วนตัวตาม ม. 1471 (3) บทบัญญัติ ม. 1474 ว. 2 ที่ว่ากรณีเป็นที่สงสัยว่าทรัพย์สินอย่างหนึ่งเป็นสินสมรสหรือไม่ใช่ ให้สันนิษฐานว่าเป็นสินสมรสนั้นไม่ใช่ ในกรณีที่ข้อเท็จจริงในคดีนี้เห็นได้อย่างชัดแจ้งว่าที่พิพาทเป็นสินส่วนตัวโดยปราศจากข้อสงสัย
( 3 ) ทรัพย์สินที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว
การจัดการสินสมรส
หลัก สามีหรือภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอำนาจจัดการสินสมรสได้โดยลำพัง เว้นแต่ การจัดการที่สำคัญจึงจะต้องจัดการร่วมกันตาม ม. 1476 ( เมื่อการจัดการใดๆที่ทำให้เสียประโยชน์ หรือ เพิ่มภาระให้สินสมรส)
1. สามีภริยาเพียงคนเดียวมีอำนาจฟ้องหรือต่อสู้คดีเกี่ยวกับสินสมรสตาม ม. 1477
2. ถ้าสามีหรือภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ให้ความยินยอมในการจัดการสินสมรสที่สำคัญ อีกฝ่ายหนึ่งอาจขอให้ศาลสั่งอนุญาตแทนความยินยอมได้ตาม ม. 1478
3. ถ้าสามีหรือภริยาจัดการสินสมรสที่สำคัญไปโดยลำพัง คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งที่มิได้ยินยอมอาจขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมนั้นได้ตาม ม. 1480 แต่การเพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวอาจจะเป็นที่เสียหายแก่บุคคลภายนอกได้ ดังนั้น ม. 1480 จึงได้บัญญัติคุ้มครองบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนซึ่งการเพิกถอนนิติกรรมนั้นจะไปกระทบกระเทือนสิทธิบุคคลภายนอกไม่ได้ ซึ่ง ม. 1480 วรรคท้าย กำหนดให้คู่สมรสที่ไม่ได้ให้ความยินยอมในการทำนิติกรรมนั้นจะต้องฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมนั้นเสียภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่รู้ว่าได้มีการทำนิติกรรมหรืออย่างช้าภายใน 10 ปี นับแต่วันที่ได้ทำนิติกรรม
4. สามีหรือภริยาไม่มีอำนาจทำพินัยกรรมยกสินสมรสที่เกินกว่าส่วนของตนให้แก่บุคคลใดได้ตาม ม. 1481
5. สามีหรือภริยาโดยลำพังมีอำนาจจัดการบ้านเรือนหรือจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัวได้เสมอตาม ม. 1482
6. สามีหรือภริยาอาจขอให้ศาลสั่งห้ามคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งมิให้จัดการสินสมรสอันจะก่อให้เกิดความเสียหายถึงขนาดได้ตาม ม. 1483
7. ถ้ามีเหตุจำเป็น สามีหรือภริยาอาจขอให้ศาลสั่งอนุญาตให้ตนเป็นผู้จัดการสินสมรสแต่ผู้เดียวหรือขอให้แยกสินสมรสได้ตาม ม. 1484
หมายเหตุ สินสมรสระหว่างสามีภริยาที่ได้จดทะเบียนกัน ต้องถือว่าต่างมีสิทธิเป็นเจ้าของคนละครึ่ง
9
ความรับผิดในหนี้สินของสามีภริยา หนี้สินของสามีภริยาแบ่งออกได้เป็น 2 กรณี
1. หนี้ที่มีมาก่อนสมรส เป็นหนี้ที่ฝ่ายนั้นจะต้องรับผิดเป็นส่วนตัวแต่เพียงผู้เดียว แม้จะเป็นหนี้ที่สามีภริยาเป็นหนี้ระหว่างกันเองมาก่อนก็ตาม ก็ยังคงเป็นลูกหนี้กันอยู่
2. หนี้ที่ก่อขึ้นในระหว่างสมรส อาจจะเป็นหนี้ส่วนตัวของสามีหรือภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือเป็นหนี้ร่วมที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันก็ได้แล้วแต่กรณี ซึ่งโดยหลัก คู่สมรสฝ่ายใดเป็นผู้ก่อให้เกิดหนี้ หนี้ที่เกิดขึ้นก็เป็นหนี้ของฝ่ายนั้น เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นว่าเป็นลูกหนี้ร่วมตาม ม. 1490 เช่น หนี้ที่สามีหรือภริยาก่อขึ้นในระหว่างสมรส ซึ่ง ม. 1490 บัญญัติให้ถือเป็นหนี้ร่วมนั้นหมายถึงการเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายตามแนว ฎ. 1908 / 2450
หนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา หนี้ที่เกิดขึ้นระหว่างสมรส ม. 1490 กำหนดให้เป็นหนี้ร่วมระหว่างสามีภริยามีอยู่ 4 กรณี คือ
1. หนี้เกี่ยวแก่การจัดการบ้านเรือนและจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัว การอุปการะเลี้ยงดู ตลอดถึงการรักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัวและการศึกษาของบุตรตามอัตภาพ ม. 1490 (1)
2. หนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรส จะต้องเป็นหนี้ที่เกี่ยวกับตัวทรัพย์สินอันเป็นสินสมรสโดยตรง เช่น จำเลยกู้เงินโจทก์ไปไถ่จำนองที่ดินและบ้านอันเป็นสินสมรส หนี้รายนี้จึงเป็นหนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรสอันเป็นหนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันตาม ม. 1490 (2) ผู้ร้องซึ่งเป็นภริยาจำเลยไม่มีสิทธิร้องขอกันส่วนของตน ตามแนว
ฎ. 3141 / 2532
3. หนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานซึ่งสามีภริยาทำด้วยกัน ซึ่งการงานทุกอย่างที่สามีภริยาทำด้วยกันและเกิดเป็นหนี้ขึ้นเนื่องจากกิจการนั้นถือว่าเป็นหนี้ร่วมทั้งสิ้น ม. 1490 (3)
4. หนี้ที่สามีหรือภริยาก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียว แต่อีกฝ่ายหนึ่งได้ให้สัตยาบัน คู่สมรสจะให้สัตยาบันด้วยวาจาก็ได้ ข้อสังเกต การที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งลงลายมือชื่อในฐานะเป็นพยานในสัญญาที่คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งทำขึ้นก็ถือว่าเป็นการให้สัตยาบันในสัญญานั้นโดยปริยายแล้ว
การแยกสินสมรส ในระหว่างที่ยังเป็นสามีภริยากันนั้น อาจมีการแยกสินสมรสระหว่างสามีภริยาทั้งหมดออกจากกันโดยคำสั่งศาลหรือโดยผลของกฎหมาย อันมีผลทำให้สามีภริยาไม่มีสินสมรสอยู่อีกต่อไป คงมีแต่สินส่วนตัวเท่านั้นตาม ม. 1492 มี 3 กรณีดังต่อไปนี้
1. สามีหรือภริยาถูกศาลมีคำสั่งให้แยกสินสมรส เมื่อมีการจัดการสินสมรสเป็นที่เสียหายถึงขนาด หรือจะทำความเสียหายให้แก่สินสมรสตาม ม. 1484 ว. 2
2. สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาให้เป็นคนล้มละลายตาม ม. 1491
3. ศาลมีคำสั่งให้แยกสินสมรส ในกรณีที่สามีหรือภริยาเป็นคนไร้ความสามารถและมีการตั้งบิดา มารดา หรือบุคคลภายนอกเป็นผู้อนุบาลตาม ม. 1598 / 17 ว. 2 ผล เมื่อมีการแยกสินสมรสระหว่างสามีภริยาทั้งหมดออกจากกันใน 3 กรณีนี้แล้ว สินสมรสส่วนที่แยกออกตกเป็นสินส่วนตัวของสามีหรือภริยาแต่ละฝ่าย
10
ข้อสังเกต เมื่อมีการแยกสินสมรสระหว่างสามีภริยาทั้งหมดออกจากกันโดยคำสั่งศาลหรือโดยผลของกฎหมายทั้ง 3 กรณี เนื่องจากคู่สมรสทั้งสองฝ่ายต่างยังคงเป็นสามีภริยากันอยู่ คู่สมรสจึงอาจมีความประสงค์ที่จะให้มีการรวมสินสมรสกันใหม่ก็ได้ตาม ม. 1492 / 1 เฉพาะสินสมรสที่เกิดใหม่เท่านั้นจึงจะเป็นสินสมรส
การสมรสเป็นโมฆะ เหตุที่ทำให้การสมรสเป็นโมฆะมี 4 กรณี
1. การสมรสที่ชายหรือหญิงเป็นบุคคลวิกลจริตหรือเป็นบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ อันเป็นการฝ่าฝืนตาม ม. 1449 ผลเป็นโมฆะตาม ม. 1495
2. การสมรสที่ชายหรือหญิงเป็นญาติสืบสายโลหิตโดยตรงต่อกันหรือเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาหรือร่วมแต่บิดาหรือมารดา อันเป็นการฝ่าฝืน ม. 1450 ผลเป็นโมฆะตาม ม. 1495
3. การสมรสซ้อน อันเป็นการฝ่าฝืน ม. 1452 ผลเป็นโมฆะตาม ม. 1495
4. การสมรสที่ชายหญิงไม่ยอมเป็นสามีภริยากัน อันเป็นการฝ่าฝืน ม. 1458 ผลเป็นโมฆะตาม ม. 1495
ข้อสังเกตที่สำคัญ คำพิพากษาของศาลเท่านั้น ที่จะแสดงว่าการสมรสที่ฝ่าฝืน ม. 1449 , 1450 ,1458 เป็นโมฆะตาม ม. 1496 ส่วนเหตุที่จะแสดงว่าการสมรสซ้อนที่ฝ่าฝืนม.1452เป็น โมฆะได้ 2 กรณี คือ
1. บุคคลที่มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งได้กล่าวอ้างขึ้น หรือ
2. มีคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลแสดงว่าการสมรสเป็นโมฆะ
ผลของการสมรสที่เป็นโมฆะ
1. การสมรสที่เป็นโมฆะไม่ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาตาม ม. 1498
2. การสมรสที่เป็นโมฆะไม่ทำให้คู่สมรสที่สุจริตเสื่อมสิทธิที่ได้มาเพราะการสมรสและยังมีสิทธิเรียกค่าเลี้ยงชีพและค่าทดแทนอีกด้วยตาม ม. 1499 ในการสมรสที่เป็นโมฆะคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจจะทำการสมรสโดยสุจริต ไม่ทราบเหตุที่ทำให้การสมรสเป็นโมฆะได้ตาม ม. 1499 จึงให้ความคุ้มครองคู่สมรสไว้ 3 กรณี
• ชายหญิงผู้สมรสโดยสุจริตไม่เสื่อมสิทธิที่ได้มาเพราะการสมรสนั้น
• ชายหรือหญิงผู้สมรสโดยสุจริตมีสิทธิเรียกค่าทดแทนได้ เช่นตาม ฎ. 8882 / 2544
ชายหรือหญิงผู้สมรสโดยสุจริตมีสิทธิเรียกค่าเลี้ยงชีพได้
ฎ. 3134 / 2530 ขณะที่โจทก์จดทะเบียนสมรสกับจำเลยนั้นโจทก์ไม่ทราบว่าจำเลยได้จดทะเบียนสมรสกับหญิงอื่นอยู่แล้ว โจทก์จึงเป็นผู้สมรสโดยสุจริต เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาแสดงว่าการสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นโมฆะ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าทดแทนและค่าเลี้ยงชีพจากจำเลยได้ ที่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทดแทนเป็นเงิน 40,000 บาท และค่าเลี้ยงชีพเดือนละ 1,000 บาท เป็นการสมควรและเหมาะสมกับพฤติการณ์แห่งรูปคดีแล้ว
3. การสมรสที่เป็นโมฆะไม่กระทบถึงสิทธิของบุคคลภายนอก ผู้กระทำการโดยสุจริตตาม ม. 1500
4. การสมรสที่เป็นโมฆะไม่มีผลกระทบกระเทือนถึงการเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตาม ม. 1536, 1538, 1499 / 1
การสมรสเป็นโมฆียะ คือการสมรสที่ฝ่าฝืนเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้ เหตุที่ทำให้การสมรสเป็นโมฆียะ
1. การสมรสที่ชายและหญิงอายุยังไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ตาม ม. 1448, 1504
11
ข้อสังเกต กรณีที่ศาลมิได้สั่งให้เพิกถอนการสมรสที่เป็นโมฆียะเพราะเหตุคู่สมรสอายุยังไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ จนชายและหญิงมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ กฎหมายให้ถือว่าการสมรสสมบูรณ์มาตั้งแต่เวลาสมรส ที่ไม่อาจมีใครมาร้องขอให้ศาลเพิกถอนได้ และต้องเป็นกรณีว่าทั้งชายและหญิงจะต้องอายุครบ 17 ปีด้วยกันทั้งสองคนจึงจะเข้าข้อยกเว้นที่ให้ถือว่าการสมรสสมบูรณ์มาตั้งแต่เวลาสมรส
2. กรณีที่หญิงมีครรภ์ก่อนอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์แม้ชายจะมีอายุเท่าใดก็ตามก็ขอให้เพิกถอนไม่ได้
การสมรสโดยสำคัญผิดตัวคู่สมรสตาม ม. 1505 คือการเข้าใจผิดในตัวบุคคลอันเป็นผลให้มิได้ทำการสมรสกับบุคคลที่ตนประสงค์ แต่หากเป็นการสำคัญผิดในฐานะของบุคคลแล้ว เหตุที่สำคัญผิดในฐานะของบุคคลนี้ไม่ทำให้การสมรสต้องเสื่อมเสียไป
3. การสมรสโดยถูกกลฉ้อฉลตาม ม. 1506 กลฉ้อฉลตามความหมายนี้คือ การลวงให้เขาแสดงเจตนาสมรสแต่หากกลฉ้อฉลนั้นเกิดขึ้นโดยบุคคลภายนอกโดยคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งไม่รู้เห็นด้วยผลคือการสมรสที่ได้กระทำนั้นไม่เป็นโมฆียะ
การขอเพิกถอนการสมรสที่เป็นโมฆียะเพราะถูกกลฉ้อฉลนี้เฉพาะแต่คู่สมรสที่ถูกกลฉ้อฉลเท่านั้นจึงจะมีสิทธิขอให้เพิกถอนตาม ม. 1508
4. การสมรสโดยถูกข่มขู่ตาม ม. 1507
5. การสมรสของผู้เยาว์ที่ไม่ได้รับความยินยอมของบิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้ปกครอง ตาม ม. 1509, 1510
ผลของการเพิกถอนการสมรสที่เป็นโมฆียะ
1. การสมรสที่เป็นโมฆียะย่อมสิ้นสุดลงในวันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้เพิกถอนตาม ม. 1511 การสมรสที่เป็นโมฆียะจะสิ้นสุดลงในวันที่คำพิพากษาถึงที่สุดซึ่งก็คือในวันที่ศาลได้อ่านคำพิพากษา
ในระหว่างการสมรสยังไม่ถูกเพิกถอนคู่สมรสมีความสัมพันธ์กันฉันสามีภริยาทั้งในทางส่วนตัวและทางทรัพย์สินก่อให้เกิดสินส่วนตัวและสินสมรสขึ้น คู่สมรสฝ่ายหนึ่งมีสิทธิรับมรดกของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งได้ถ้าคู่สมรสฝ่ายหลังนี้ตายก่อนศาลพิพากษาให้เพิกถอนการสมรส
2. ต้องมีการแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาและกำหนดการปกครองบุตรเช่นเดียวกับการหย่าโดยคำพิพากษาตาม ม. 1512
3. มีการชดใช้ค่าเสียหายและค่าเลี้ยงชีพตาม ม. 1513 การหย่า หลักการเรื่องการหย่ามี 2 กรณี คือ
1. การหย่าโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่ายมีหลักดังนี้
• การหย่าโดยความยินยอมต้องทำเป็นหนังสือและมีพยานอย่างน้อย 2 คนตาม ม. 1514 ( การที่พยานอย่างน้อยสองคนจะต้องลงลายมือชื่อในหนังสือหย่า แต่กฎหมายไม่ได้กล่าวถึงคู่หย่าเองว่าจะต้องลงลายมือชื่อหรือไม่ กรณีนี้ต้องเป็นไปตาม ม. 9 ที่คู่หย่านั้นจะต้องลงลายมือชื่อในหนังสือหย่า มิฉะนั้นจะเป็นหนังสือหย่าไม่ได้
การหย่าโดยความยินยอมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนการหย่าตาม ม. 1515
2. การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล โดยอาศัยเหตุฟ้องหย่าตาม ม. 1516
12
ฎ.1412 / 2543 ให้หลักถึงเหตุฟ้องหย่าไว้ว่าเหตุฟ้องหย่าตาม ม. 1516 แยกได้เป็น 2 กรณี คือ
• เหตุฟ้องหย่าที่มิได้เกิดจากความยินยอมพร้อมใจกันของคู่กรณีทั้งสองฝ่ายจึงต้องกล่าวอ้างว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งกระทำการเข้าเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งตาม ม. 1516
เหตุฟ้องหย่าที่เกิดจากความสมัครใจของคู่กรณีทั้งสองฝ่ายตาม ม. 1516 (4/2 )
ข้อสังเกต 1. เหตุฟ้องหย่าอันเนื่องจากกรณีที่หนึ่งนั้นโจทก์ต้องพิสูจน์ให้ศาลเชื่อว่าจำเลยเป็นฝ่ายประพฤติตนไม่สมควร หรือการกระทำอันเข้าเงื่อนไขที่ ม. 1516 ได้ระบุไว้นอกจากอนุมาตรา ( 4/2 )
2. ส่วนเหตุฟ้องหย่าอันเกี่ยวจากกรณีที่สองก็ต้องเกิดจากความสมัครใจโดยแท้จริงของคู่กรณีทั้งสองฝ่าย มิใช่สมัครใจเพียงฝ่ายเดียว ดังนั้นหากพฤติการณ์แห่งคดีมิได้เป็นไปทั้งสองกรณีนี้ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องหย่าจำเลย แม้ว่าจะมิได้อยู่ร่วมกันหรือไม่มีเยื่อใยต่อกัน และไม่มีความหวังที่จะคืนดีกันอีกก็ตาม อายุความฟ้องหย่าพิจารณาได้ดังนี้
1. ในการฟ้องหย่าหรือการฟ้องเรียกค่าทดแทนจากชายชู้หรือหญิงอื่นที่มีความสัมพันธ์ทางชู้สาวกับสามีตาม ม. 1529 กำหนดอายุความไว้เพียง 1 ปี นับแต่วันที่คู่สมรสฝ่ายที่มีสิทธิฟ้องหย่าได้รู้หรือควรรู้ความจริง
2. ในการฟ้องหย่าในกรณีที่มีลักษณะต่อเนื่องกันไปหรือเป็นการถาวรตาม ม. 1516 (5) ไม่มีอายุความตราบใดที่เหตุนั้นๆยังมีอยู่ก็ฟ้องหย่าได้แต่ถ้าเหตุเหล่านี้สิ้นสุดลงแล้วจะยกขึ้นอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าไม่ได้
3. ในกรณีฟ้องหย่าเพราะผิดทัณฑ์บนที่ทำไว้เป็นหนังสือในเรื่องความประพฤติตาม ม. 1518 (8) ไม่มีลักษณะเป็นการต่อเนื่องแต่กฎหมายมิได้กำหนดอายุความไว้ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปีตาม ม. 193 / 30
ผลของการหย่า การแบ่งทรัพย์สินของสามีภริยา เมื่อหย่ากันแล้วให้แบ่งทรัพย์สินโดยให้ชายและหญิงมีส่วนเท่าๆกันตาม ม. 1533 และในกรณีที่มีหนี้ทั้งต้องรับผิดร่วมกันก็ให้แบ่งแยกความรับผิดนั้นออกเป็นส่วนเท่าๆกันตาม ม. 1535
บิดามารดากับบุตร
การเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย หลัก บุตรที่เกิดจากหญิงย่อมเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของมารดาเสมอ
ข้อยกเว้น
1. เด็กที่เกิดระหว่างสมรสตาม ม. 1536 ให้สันนิษฐานว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามี ข้อสันนิษฐานใช้บังคับกับกรณีเด็กเกิดแก่หญิงหม้ายภายใน 310 วัน หลังจากชายผู้เป็นสามีตาย หย่าหรือศาลพิพากษาให้เพิกถอนการสมรสกับหญิงด้วย
2. เด็กที่เกิดจากการสมรสเป็นโมฆะ กรณีการสมรสซ้อน
• หญิงทำการสมรสซ้อนตาม ม. 1452 ผลคือการสมรสครั้งที่สองเป็นโมฆะ หญิงคลอดบุตรออกมากฎหมายให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายซึ่งเป็นสามีคนที่สองตาม ม. 1538 (ในกรณีสามีคนที่สองอาจพิสูจน์โดยการฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรได้ตาม ม. 1539 ผล เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแสดงว่าเด็กไม่ใช่บุตรชอบด้วยกฎหมายของสามีคนที่สองแล้ว กฎหมายให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของสามีคนที่หนึ่งตาม ม. 1538 ว. 2 ตอนท้าย )
13
ชายสมรสซ้อน เป็นกรณีชายจดทะเบียนสมรสกับภริยาสองคนหรือกว่านั้นขึ้นไป ผลคือการสมรสครั้งที่สองเป็นโมฆะ บุตรที่เกิดจากภริยาคนที่สองและภริยาคนต่อๆไปก็ต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของสามีตาม ม. 1538 ว. แรก
3. กรณีเด็กเกิดจากการสมรสที่เป็นโมฆียะตาม ม. 1448 , 1505 , 1506 , 1507 ,1509 บุตรเกิดระหว่างสมรสซึ่งศาลพิพากษาให้เพิกถอนภายหลังให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตาม ม. 1560
4. กรณีเด็กเกิดจากหญิงหม้าย ซึ่งทำการสมรสใหม่ภายในเวลาไม่เกิน 310 วันนับแต่วันขาดจากการสมรสเดิมตาม ม. 1537 ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนตาม ม. 1453 กฎหมายให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเด็กที่เกิดแต่หญิงนั้น ให้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายสามีคนใหม่ แต่ห้ามมิให้นำข้อสันนิษฐานตาม ม. 1536 ว่าเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของสามีเดิมมาใช้บังคับ ทั้งนี้ เว้นแต่มีคำพิพากษาของศาลแสดงว่าเด็กมิใช่บุตรของชายผู้เป็นสามีคนใหม่
5. กรณีเด็กที่มิได้เกิดแต่บิดาที่จดทะเบียนสมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย
• เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้สมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้นตาม ม. 1546
• บิดามารดาสมรสกันภายหลัง หรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรตาม ม. 1547
ศาลพิพากษาว่าเป็นบุตรซึ่งจะมีผลเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายนับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุดตาม ม. 1557 (3) ( เด็กจะมีฐานะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายตั้งแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดโดยไม่ย้อนหลังไปถึงวันที่เด็กเกิดแต่อย่างใด )
ข้อสังเกต กรณีตาม ม. 1558 ว. 1 การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรของผู้ตายที่ได้ฟ้องภายในกำหนดอายุความมรดก หากว่าศาลได้พิพากษาว่าเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย เด็กนั้นมีสิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม
• กรณีบุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้ว บุตรบุญธรรมให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตาม ม. 1627
การรับบุตรบุญธรรม หลักเกณฑ์ในการรับบุตรบุญธรรมตาม ม. 1598 / 19
1. ผู้ที่จะรับบุตรบุญธรรมนั้นต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี
2. ผู้รับบุตรบุญธรรมต้องมีอายุแก่กว่าผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 15 ปี
3. ในการรับบุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะเป็นบุตรบุญธรรม จะทำได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมจากบิดาและมารดาของผู้เยาว์ก่อน ในกรณีที่ผู้เยาว์นั้นถูกทอดทิ้งและอยู่ในความดูแลของสถานสงเคราะห์เด็กให้ขอความยินยอมจากผู้มีอำนาจในสถานสงเคราะห์เด็กนั้นแทน
4. ในกรณีที่ผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมที่มีคู่สมรสแล้ว ในการรับหรือเป็นบุตรบุญธรรมต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสก่อน
5. ผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลหนึ่งอยู่ จะเป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นอีกในขณะเดียวกันไม่ได้ เว้นแต่จะเป็นบุตรบุญธรรมของคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรม
6. การรับบุตรบุญธรรมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนตามกฎหมาย
สิทธิและหน้าที่ของผู้ที่เป็นบุตรบุญธรรม
1. มีฐานะอย่างเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรมตาม ม. 1598 / 28
14
2. มีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูผู้รับบุตรบุญธรรม ทำนองเดียวกับบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายตาม ม. 1563
สิทธิและหน้าที่ของผู้รับบุตรบุญธรรม
1. มีสิทธิใช้อำนาจปกครองบุตรบุญธรรม
2. ผู้รับบุตรบุญธรรมไม่มีสิทธิรับมรดกของบุตรบุญธรรมในฐานะทายาทโดยธรรม อย่างไรก็ตาม ถ้าบุตรบุญธรรมตายก่อนโดยไม่มีคู่สมรสหรือผู้สืบสันดาน ผู้รับบุตรบุญธรรมมีสิทธิเรียกร้องทรัพย์สินที่ตนได้ให้แก่บุตรบุญธรรมคืนจากกองมรดก เพียงเท่าที่ยังคงเหลืออยู่หรือภายหลังจากชำระหนี้กองมรดกแล้วตาม ม. 1598 / 29 , 1598 / 30
3. ผู้รับบุตรบุญธรรมมีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรบุญธรรม
การเลิกรับบุตรบุญธรรม
1. โดยความตกลงตาม ม. 1598 / 31 แต่จะมีผลสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนตามกฎหมาย
2. การเลิกเมื่อมีการสมรสฝ่าฝืนตาม ม. 1598 / 32
3. การเลิกรับโดยคำสั่งศาลตาม ม. 1598 / 33 และมีผลตั้งแต่เวลาที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด แต่จะยกขึ้นอ้างบุคคลภายนอกได้ต่อเมื่อจดทะเบียนแล้ว
4. อายุความคดีฟ้องขอเลิกการรับบุตรบุญธรรม ต้องฟ้องภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ขอเลิกรับบุตรบุญธรรมรู้หรือควรได้รู้ หรือภายในกำหนด 10 ปี นับแต่เหตุนั้นเกิดขึ้น
…………………………………………………………..
หลวงวิจิตรวาทการ......กล่าวว่า.......
.....สิ่งสำคัญที่สุดในจริยวัตรของมนุษย์ คือต้องพยายามที่จะไม่ให้เวลาล่วงไปโดยไม่มีประโยชน์
เราต้องตีราคาคุณค่าของเวลาให้สูงมาก การเสียเวลาเท่ากันกับเสียทรัพย์ เสียโอกาส
เสียหนทางแห่งความก้าวหน้า และเป็นการสูญเสียที่เราไม่สามารถจะโทษผู้อื่นได้
นอกจากตัวของเราเอง.......
ลิขสิทธิ์ของคณะกรรมการนักศึกษาสมัยที่ 58
การหมั้น มีมาตราที่เกี่ยวข้องตั้งแต่ (1435-1447) สาระสำคัญของการหมั้นมีดังต่อไปนี้
1. ชายและหญิงจะทำการหมั้นได้ต้องมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ ( ม. 1435 ) หากการหมั้นกระทำโดยฝ่าฝืน ม. 1435 ผลคือการหมั้นตกเป็นโมฆะ ( ม. 1435 ว. 2 )
2. ผู้เยาว์ทำการหมั้นจะต้องได้รับความยินยอมของบิดามารดาหรือผู้ปกครองด้วย ( ม. 1436 ) หากการหมั้นที่ผู้เยาว์ทำโดยปราศจากความยินยอมดังกล่าวการหมั้นนั้นตกเป็นโมฆียะ
ข้อสังเกต
1. ผู้เยาว์มีสิทธิที่จะบอกล้างการหมั้นนั้นได้ตาม ม. 175 (1 ) ถ้าได้รับความยินยอมของผู้แทนโดยชอบธรรม เมื่อบอกล้างก็ถือว่าเป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก
2. ผู้เยาว์อาจให้สัตยาบันในการหมั้นนั้นได้เมื่อตนบรรลุนิติภาวะแล้วตาม ม. 177
กรณีผู้เยาว์บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรสตาม ม. 20 โดยทำการสมรสก่อนอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ด้วยการขออนุญาตศาลให้ทำการสมรสตาม ม. 1448
หากต่อมาได้ขาดจากการสมรสและอายุยังไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ แม้ตนเองจะบรรลุนิติภาวะแล้วก็ตาม หากจะทำการหมั้นใหม่อีกครั้งก็อยู่ในเงื่อนไขของการหมั้นและจะต้องมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ด้วย หากฝ่าฝืนการหมั้นเป็นโมฆะ
ฎ. 3072 / 2547 (ญ.)
วินิจฉัยหลักกฎหมายเรื่อง โมฆะกรรม ( ม. 172 ) , ลาภมิควรได้ ชำระหนี้ตามอำเภอใจ(ม. 407 )
คืนเงิน ( ม. 412 ) , คืนทรัพย์ ( ม. 413 ) , หมั้น ( ม. 1435 )
ในขณะที่นาย อ. ทำการหมั้นกับนางสาว ข. นางสาว ข. อายุยังไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ การหมั้นดังกล่าวจึงฝ่าฝืน ม. 1435 ว. 1 ย่อมตกเป็นโมฆะตาม ม. 1435 ว. 2 และ ม. 172 ว. 2 ถ้าจะต้องคืนทรัพย์สินอันเกิดจากโมฆะกรรมให้นำบทบัญญัติว่าด้วยลาภมิควรได้มาใช้บังคับ เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นบิดานาย อ. ไม่ทราบว่านางสาว ข. อายุ 17 ปี ดังนั้นนางสาว ข. และบิดามารดาซึ่งเป็นจำเลย ต้องคืนของหมั้นและสินสอดให้แก่โจทก์ตาม ม. 412 และ ม. 413 โดยจะถือว่าโจทก์ชำระหนี้ตามอำเภอใจตาม ม. 407 หาได้ไม่ ดังนั้นบันทึกข้อตกลงระหว่างโจทก์-จำเลย ที่จำเลยยอมชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ จึงมีมูลหนี้และใช้บังคับได้ หาขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนไม่
แบบของการหมั้น
การหมั้นจะสมบูรณ์เมื่อฝ่ายชายได้ส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินอันเป็นของหมั้นให้แก่หญิง เพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงนั้น ( ม. 1437 ) สัญญาหมั้นเป็นสัญญาพิเศษผิดกับสัญญาธรรมดาฉะนั้นการหมั้นจะต้องมีของหมั้นมิฉะนั้นการหมั้นไม่สมบูรณ์
2
ฏ. 525 / 2509 การหมั้นจะเรียกว่าหมั้นก็ต่อเมื่อฝ่ายชายนำของหมั้นไปมอบให้ฝ่ายหญิงอันเป็นเรื่องที่เข้าใจกันตามธรรมดาและตามประเพณีเมื่อมีการหมั้นและฝ่ายใดผิดสัญญาหมั้นฝ่ายนั้นต้องรับผิดใช้ค่าทดแทน โดยที่กฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษเช่นนี้ เมื่อฝ่ายชายเพียงแต่ตกลงว่าจะสมรสโดยไม่มีการหมั้นจึงอยู่นอกขอบเขตที่กฎหมายรับรอง หากไม่ปฏิบัติตามที่ตกลงไว้จะเรียกค่าทดแทนหาได้ไม่
การที่ไม่มีประเพณีท้องถิ่นว่าจะต้องมีของหมั้นไม่ใช่เหตุอันจะพึงยกขึ้นลบล้างบทกฎหมายได้
ของหมั้น คือทรัพย์สินที่ฝ่ายชายได้ส่งมอบหรือโอนให้แก่ฝ่ายหญิงเพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงนั้น เมื่อหมั้นแล้วของหมั้นตกเป็นสิทธิแก่หญิงทันที
ลักษณะสำคัญของของหมั้นจะต้องเข้าหลักเกณฑ์ 4 ประการ คือ
1. ต้องเป็นทรัพย์สิน สิทธิเรียกร้อง ลิขสิทธิ์ ถือว่าเป็นทรัพย์สินที่นำมาเป็นของหมั้นได้
2. ต้องเป็นของที่ฝ่ายชายให้ไว้แก่หญิง
3. ต้องให้ไว้ในเวลาทำสัญญาและหญิงต้องได้รับไว้แล้ว
ต้องเป็นการให้ไว้เพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงนั้น และต้องให้ไว้ก่อนสมรส ถ้าให้เมื่อหลังสมรสแล้วทรัพย์นั้นไม่ใช่ของหมั้น
ฎ. 592 / 2540 โจทก์ตกลงแต่งงานกับจำเลยที่ 3 โดยวิธีผูกข้อมือ แสดงว่าโจทก์และจำเลยที่ 3 มิได้มีเจตนาจะทำการสมรสโดยจดทะเบียนสมรสตาม ป.พ.พ. ม. 1457 ฉะนั้นทรัพย์สินที่โจทก์มอบให้จำเลยทั้งสามจึงไม่ใช่ของหมั้น เพราะไม่ใช่ทรัพย์สินที่โจทก์มอบให้จำเลยทั้งสามเพื่อเป็นหลักฐานการหมั้นและประกันว่าจะสมรสกับจำเลยที่ 3 เพื่อตอบแทนการที่จำเลยที่ 3 ยอมสมรสตาม ป.พ.พ. ม. 1437 โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกคืน ส่วนการที่จำเลยที่ 3 ไม่ยอมให้โจทก์ร่วมหลับนอนนั้นเป็นสิทธิของจำเลยที่ 3 เพราะการสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 3 จะทำได้ต่อเมื่อจำเลยที่ 3 ยินยอมเป็นสามีภรรยากับโจทก์ตาม ป.พ.พ. ม.1458 การที่จำเลยที่ 3 ไม่ยินยอมหลับนอนกับโจทก์ ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์หรือผิดสัญญาหมั้น โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าทดแทนหรือค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสามตาม ปพ.พ. ม. 1439 และ ม. 1440
การรับผิดตามสัญญาหมั้น เมื่อมีการหมั้นแล้ว ถ้าฝ่ายใดผิดสัญญาหมั้น อีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเรียกให้รับผิดใช้ค่าทดแทน ในกรณีที่ฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้นให้คืนของหมั้นแก่ฝ่ายชาย ( ม. 1439 ) อายุความ(ม.1447/2)
คู่สัญญาที่ต้องรับผิดตามสัญญาหมั้น มี 3 จำพวกคือ
1. ชายหญิงที่เป็นคู่หมั้น
2. บิดามารดาของชายหญิงคู่หมั้นซึ่งเป็นคู่สัญญาหมั้น
3. บุคคลผู้กระทำในฐานะเช่นบิดามารดาของชายหญิงคู่หมั้น
สินสอด เป็นทรัพย์สินที่ฝ่ายชายให้แก่บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือผู้ปกครองฝ่ายหญิง แล้วแต่กรณี เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส ( ม. 1437 ว. 3 )
ถ้าไม่มีการสมรสโดยมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิง หรือโดยพฤติการณ์ซึ่งหญิงต้องรับผิด ทำให้ชายไม่สมควรหรือไม่อาจสมรสกับหญิงนั้น ฝ่ายชายเรียกสินสอดคืนได้
ลักษณะสำคัญของสินสอดมีอยู่ 3 ประการ คือ
3
1. ต้องเป็นทรัพย์สิน ตัวทรัพย์สินที่เป็นสินสอดไม่จำเป็นต้องมอบให้ในขณะทำสัญญา จะตกลงให้นำมามอบภายหลังก็ได้
2. ต้องเป็นฝ่ายชายให้แก่บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือผู้ปกครองฝ่ายหญิง
3. ให้เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส
ข้อสังเกต
1. ทรัพย์ที่เป็นสินสอดนั้นเมื่อได้ส่งมอบไปแล้วย่อมตกเป็นสิทธิเด็ดขาดแก่ฝ่ายหญิงทันที โดยไม่ต้องรอให้มีการสมรสกันก่อนแต่อย่างใด
2. การตกลงจะให้สินสอดแก่กันนั้นจะต้องตกลงให้แก่กันก่อนสมรส แต่การส่งมอบจะมอบให้ก่อนสมรสหรือหลังสมรสก็ได้
3. ในการตกลงให้สินสอดนี้กฎหมายมิไดกำหนดแบบไว้ เพียงตกลงด้วยวาจาก็ใช้บังคับได้
4. สินสอดไม่ใช่สาระสำคัญของการหมั้นหรือการสมรส ชายหญิงจะทำการหมั้นหรือการสมรสกันโดยไม่ต้องมีสินสอดก็ได้
ข้อสังเกต หากได้มีการตกลงว่าจะให้สินสอดแก่กันแล้ว ฝ่ายชายไม่ยอมให้ บิดามารดาหรือผู้ปกครองฝ่ายหญิงฟ้องเรียกสินสอดได้
5. ชายมีสิทธิเรียกสินสอดคืนได้นั้น มี 2 กรณี คือ
• ถ้าไม่มีการสมรสโดยมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิง ( ม. 1442 )
ถ้าไม่มีการสมรสโดยมีพฤติการณ์ซึ่งฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบ ( ม. 1444 - 1445 )
ผลของการหมั้น
1. สิทธิเรียกค่าทดแทนจากคู่หมั้นอีกฝ่ายหนึ่ง ( ม. 1440 )
(1) ค่าทดแทนความเสียหายต่อกายหรือชื่อเสียงแห่งชายหรือหญิงนั้น
ฎ. 5777 / 2540 การที่โจทก์จำเลยได้อยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาแล้วโจทก์ต้องเลิกร้างจากจำเลยด้วยเหตุที่จำเลยผิดสัญญาหมั้นนั้นย่อมเกิดความเสียหายแก่กายและชื่อเสียงของโจทก์ซึ่งเป็นหญิง ในการที่จะทำการสมรสใหม่ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากจำเลยได้ตาม ป.พ.พ. ม. 1439 และ ม. 1440 ( 1 ) เมื่อคำนึงถึงการที่โจทก์ ไม่เคยผ่านสมรสมาก่อน มีฐานะพอสมควร มีการศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวนเงินค่าทดแทนที่ศาลล่างกำหนดให้ 250,000 บาท นับว่าเหมาะสมแก่พฤติการณ์แล้ว
(2) ค่าทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่คู่หมั้น บิดา มารดา หรือบุคคลผู้กระทำการในฐานะบิดา มารดา ได้ใช้หรือต้องตกเป็นลูกหนี้ เนื่องในการเตรียมการสมรสโดยสุจริตและตามสมควร
(3) ค่าทดแทนความเสียหายที่คู่หมั้นได้จัดการทรัพย์สิน หรือการอื่นอันเกี่ยวแก่อาชีพ หรือทางทำมาหาได้ของตนไปโดยสมควร ด้วยคาดหมายว่าจะมีการสมรส
4
2. สิทธิเรียกค่าทดแทนจากชายอื่น ถ้าหากชายอื่นมาล่วงเกินหญิงคู่หมั้น
การที่ชายอื่นร่วมประเวณีกับหญิงคู่หมั้น โดยหญิงคู่หมั้นยินยอมมีหลักกฎหมายตาม ม. 1445 ดังต่อไปนี้
-- ชายอื่นร่วมประเวณีกับหญิงคู่หมั้น
-- ชายอื่นนั้นรู้หรือควรรู้ว่าหญิงได้หมั้นกับชายคู่หมั้นแล้ว และรู้ด้วยว่าชายคู่หมั้นเป็นใคร
-- ชายคู่หมั้นได้บอกเลิกสัญญาหมั้นแล้ว ( จะต้องบอกเลิกสัญญาหมั้นก่อนจึงจะเรียกค่าทดแทนได้)
การที่ชายอื่นข่มขืนหรือพยามข่มขืนกระทำชำเราหญิงคู่หมั้นมีหลักกฎหมายตาม ม. 1446
-- ชายอื่นจะต้องรู้ว่าหญิงมีคู่หมั้นแล้ว แต่ไม่จำเป็นต้องรู้ว่าชายคู่หมั้นเป็นใคร
-- ชายคู่หมั้นไม่จำเป็นต้องบอกเลิกสัญญาหมั้นก่อน ก็เรียกค่าทดแทนจากชายอื่นได้
ข้อสังเกต กรณีมีหญิงอื่นมาล่วงเกินชายคู่หมั้นทางประเวณี หญิงคู่หมั้นไม่มีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่น โดยจะนำ ม. 1445 และ ม. 1446 มาอนุโลมใช้บังคับไม่ได้ (กฎหมายใช้คำว่า “ ชายอื่น ”)
3. สิทธิเกี่ยวกับของหมั้น ทรัพย์สินของหมั้นนั้นย่อมตกเป็นสิทธิของหญิงในทันที แต่มีบางกรณีที่ฝ่ายหญิงต้องคืนของหมั้นให้แก่ฝ่ายชายก็ได้
กรณีที่ของหมั้นตกเป็นสิทธิแก่หญิงโดยไม่ต้องคืนให้แก่ฝ่ายชาย
1. เมื่อฝ่ายชายผิดสัญญาหมั้น ( ม. 1439 )
2. เมื่อชายหรือหญิงตายก่อนสมรส ( ม. 1441 )
3. เมื่อหญิงบอกเลิกสัญญาหมั้น เพราะมีเหตุสำคัญเกิดแก่ชาย ( ม. 1443 )
กรณีที่หญิงต้องคืนของหมั้นให้แก่ชาย มีดังนี้
1. เมื่อหญิงผิดสัญญาหมั้น ( ม. 1439)
2. เมื่อชายบอกเลิกสัญญาหมั้น เพราะมีเหตุสำคัญเกิดแก่หญิง ( ม. 1442 )
การหมั้นไม่เป็นเหตุที่จะร้องขอให้ศาลบังคับให้สมรสได้ ถ้ามีข้อตกลงเรื่องค่าปรับในกรณีผิดสัญญาหมั้น ข้อตกลงนั้นเป็นโมฆะ
การสิ้นสุดของการหมั้น
1. กรณีที่คู่หมั้นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตายก่อนสมรส
2. กรณีมีการบอกล้างสัญญาหมั้น
3. กรณีที่มีการสมรส
4. การสิ้นสุดโดยความยินยอมของทั้งชายและหญิง
5. กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งบอกเลิกสัญญาหมั้นเนื่องจากมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่คู่หมั้น
• ชายบอกเลิกสัญญาหมั้นโดยมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิงคู่หมั้น
หญิงบอกเลิกสัญญาหมั้นโดยมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่ชายคู่หมั้น
5
กรณีค่าทดแทนในการเลิกสัญญาหมั้น มีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
ค่าทดแทนความเสียหายเรื่องการหมั้น ต้องเป็นค่าเสียหายที่เกิดขึ้นแล้ว มิใช่ค่าขาดกำไรอันควรได้ และสิทธิเรียกค่าทดแทนเรื่องการหมั้นนี้นอกจากกรณีตาม ม. 1440 ( 2 ) ไม่อาจโอนกันได้และไม่ตกทอดไปถึงทายาท (ม. 1440 ( 2 ) เป็นสิทธิเฉพาะตัว เว้นแต่ สิทธินั้นจะได้รับสภาพกันไว้เป็นหนังสือหรือผู้เสียหายได้เริ่มฟ้องคดีตามสิทธินั้นแล้ว) อายุความในเรื่องการหมั้น
• กฎหมายกำหนดไว้ 6 เดือน เริ่มนับตั้งแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้อง ( ม. 1447/2 )
• กรณีที่เรียกสินสอดคืน กฎหมายมิได้กำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงต้องถืออายุความ 10 ปี
( ม.193/30 )
การสมรส คือการที่ชายและหญิงสมัครใจเข้ามาอยู่กินกันฉันสามีภริยากันชั่วชีวิต โดยจะไม่เกี่ยวข้องทางชู้สาวกับบุคคลอื่นใดอีก
เงื่อนไขการสมรส
1. การสมรสจะทำได้ในระหว่างชายกับหญิงเท่านั้น และจะทำการสมรสได้ก็ต่อเมื่อชายและหญิงมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ แต่ในกรณีมีเหตุอันสมควร ศาลอนุญาตให้ทำการสมรสก่อนนั้นได้ ( ม. 1448 )
2. หากผู้เยาว์จะทำการสมรส ต้องได้รับความยินยอมจากบุคคลตาม ม. 1454 , 1455 เสียก่อน
3. ชายหรือหญิงต้องไม่เป็นคนวิกลจริต หรือเป็นบุคคลซึ่งศาลส่งให้เป็นคนไร้ความสามารถตาม ม. 1449 ถ้าฝ่าฝืนการสมรสตกเป็นโมฆะตาม ม. 1495
4. ชายหรือหญิงไม่ได้เป็นญาติสืบสายโลหิตต่อกันหรือเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาหรือร่วมแต่บิดาหรือมารดาตาม ม. 1450 ถ้าฝ่าฝืนการสมรสตกเป็นโมฆะตาม ม. 1495
5. ผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมจะสมรสกันมิได้ตาม ม. 1451 แต่กฎหมายมิได้บัญญัติให้การสมรสที่ฝ่าฝืนเงื่อนไขข้อนี้เป็นโมฆะหรือโมฆียะ เนื่องจากผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมไม่มีความสัมพันธ์ในทางสายโลหิตกันเลย และมี ม. 1598 / 32 การรับบุตรบุญธรรมเป็นอันยกเลิกเมื่อมีการฝ่าฝืน ม. 1451
6. ชายหรือหญิงมิได้เป็นคู่สมรสของบุคคลอื่นอยู่ตาม ม. 1452 การสมรสที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าวเป็นโมฆะตาม ม. 1495
7. หญิงหม้ายจะสมรสใหม่ได้ก็ต่อเมื่อขาดจากการสมรสเดิมแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน แต่มีข้อยกเว้นตาม ม. 1453
8. ชายและหญิงยินยอมสมรสกันตาม ม. 1458 โดยเปิดเผยต่อหน้านายทะเบียน และให้นายทะเบียนบันทึกความยินยอมนั้นไว้ด้วย แบบแห่งการสมรส การสมรสจะมีได้เฉพาะเมื่อได้จดทะเบียนสมรสแล้วเท่านั้นตาม ม. 1457 ข้อสังเกตที่น่าสนใจ
1. เมื่อชายและหญิงจดทะเบียนสมรสกันแล้ว ชายหญิงย่อมเป็นสามีภริยาตามกฎหมาย แม้จะได้เลิกร้างกันไป 20 ถึง 30 ปี ทรัพย์สมบัติแบ่งแยกกันไปเป็นสัดส่วน แต่ตราบใดที่ยังไม่ได้จดทะเบียนหย่า หญิงนั้นยังเป็นภริยาชายโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่
2. การที่สามีภริยาตกลงหย่าและแบ่งทรัพย์สินกัน โดยชอบด้วยกฎหมายแล้วแม้ภายหลังจะกลับมาอยู่กินกันใหม่แต่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันก็ไม่ถือว่าเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย
6
3. การที่ชายหญิงสมรสกันตามกฎหมายลักษณะผัวเมียก่อนวันที่ 1 ตุลาคม 2478 โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันนั้น การสมรสดังกล่าวเป็นอันสมบูรณ์ ในปัจจุบันนี้โดยไม่จำเป็นต้องมาจดทะเบียนสมรสกันใหม่อีก
ฎ. 2616 / 2543 แม้ใบทะเบียนการสมรสมิได้ประทับตรานายทะเบียนก็หาทำให้ทะเบียนการสมรสไม่สมบูรณ์หรือเป็นโมฆะเพราะ พ.ร.บ. การจดทะเบียนครอบครัวกำหนดเพียงให้นายทะเบียนลงลายมือชื่อไว้เป็นสำคัญ มิได้ว่าต้องประทับตราแต่อย่างใด ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา มี 2 ประเภท คือความสัมพันธ์ในทางส่วนตัวกับความสัมพันธ์ในทางทรัพย์สิน
ความสัมพันธ์ในทางส่วนตัว
1. การอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา
2. การช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกัน หากสามีภริยาไม่ช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามสมควร อีกฝ่ายหนึ่งย่อมฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูได้ตาม ม. 1598 / 38 หรือหากประสงค์จะหย่าขาดจากกันก็อาจฟ้องหย่าได้ตาม ม. 1518 (6) สิทธิที่จะได้ค่าอุปการะเลี้ยงดูนี้จะสละหรือโอนมิได้ และไม่อยู่ ในข่ายแห่งการบังคับคดีตาม ม. 1598 / 41
3. การแยกกันอยู่ต่างหากชั่วคราว
• สามีภริยาอาจทำข้อตกลงระหว่างกันเพื่อแยกกันอยู่ต่างหากเป็นการชั่วคราวได้ ข้อตกลงนี้ใช้บังคับได้ แต่สถานะความเป็นสามีภริยายังคงมีอยู่ยังไม่ถือว่าการสมรสสิ้นสุดลง ดังนั้นสามีหรือภริยาจะทำการสมรสใหม่ไม่ได้ ซึ่งผลของข้อตกลงนี้มีเพียงทำให้การแยกกันอยู่นี้แม้จะเป็นเวลานานเกิน 1 ปี ก็ไม่ถือว่าเป็นการจงใจทิ้งร้าง คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะมาอ้างเป็นเหตุฟ้องอย่าตาม ม. 1516 ( 4 ) ไม่ได้ แต่ถ้าหากการตกลงแยกกันอยู่นี้เป็นเพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขและสามีภริยาได้แยกกันอยู่แล้วเป็นเวลาเกิน 3 ปี สามีหรือภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิฟ้องหย่าได้ตาม ม. 1518 (4/2)
ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้แยกกันอยู่ต่างหากเป็นการชั่วคราวตาม ม. 1462
--การอยู่ร่วมกันจะเป็นอันตรายแก่กายอย่างมากของสามีหรือภริยา
--การอยู่ร่วมกันจะเป็นอันตรายแก่จิตใจอย่างมากของสามีหรือภริยา เช่น สามีชอบผู้ชายด้วยกันและนำเข้ามาอยู่ในบ้านด้วยเช่นนี้เป็นการทำร้ายจิตใจของภริยาอย่างมาก ภริยามีสิทธิร้องขอให้แยกกันอยู่ต่างหากเป็นการชั่วคราวได้
--การอยู่ร่วมกันจะเป็นการทำลายความผาสุขอย่างมากของสามีหรือภริยา ข้อสังเกต มีคำพิพากษาที่น่าสนใจที่วินิจฉัยว่า การที่จำเลยชอบดุด่า ชอบเสพสุรา เคยฟันโจทย์ 2 ครั้งที่แขนซ้ายและมือซ้าย เคยเอากาแฟร้อนสาดหน้าและต่อยโจทก์ และโจทก์ก็เคยฟันจำเลยถึงกระดูกนิ้วขาด พฤติการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นเป็นครั้งคราวจากการที่เป็นสามีภริยากันมารวม 2 ระยะ เป็นเวลาประมาณ 7- 8 ปี ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า ถือว่าไม่มีลักษณะจะเป็นเหตุที่โจทก์พอจะให้ตนแยกกันอยู่ต่างหากจากจำเลย ดังที่บัญญัติไว้ใน ม. 1462 ( ฎ. 369 / 2509 )
7
การสิ้นสุดของการแยกกันอยู่
--สามีภริยาตกลงยกเลิกการแยกกันอยู่
--สามีภริยาอย่าขาดจากกัน
--สามีภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถึงแก่ความตาย
ความสัมพันธ์ในทางทรัพย์สิน ( ม. 1470 )
1. สินส่วนตัว ( ม. 1471 ) คือทรัพย์สินที่เป็นกรรมสิทธิ์ของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งโดยเฉพาะ
(1) ทรัพย์สินที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส ทรัพย์สินเช่นว่านี้จะต้องตกเป็นกรรมสิทธิ์ของคู่สมรสฝ่ายนั้นแล้ว แต่ถ้าทรัพย์สินนั้นยังไม่ตกเป็นกรรมสิทธ์เด็ดขาดของคู่สมรสฝ่ายใด แม้จะอยู่ในเงื่อนไขที่จะต้องได้กรรมสิทธิ์มาในภายหลัง ก็ไม่ถือว่าเป็นทรัพย์สินที่มีอยู่ก่อนสมรส เช่นโจทก์และจำเลยได้ร่วมกันดำเนินกิจการร้านเสริมสวยตั้งแต่ก่อนจดทะเบียนสมรสกัน กิจการร้านเสริมสวยจึงเป็นทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยมีอยู่แล้วก่อนสมรส จึงเป็นสินส่วนตัวของโจทก์และจำเลยตาม ม. 1471(1)
ตามแนว ฎ. 4650 / 2545
แต่ถ้า กรณีที่โจทก์มีที่ดินอยู่แล้วก่อนสมรสแม้ในระหว่างสมรสโจทก์สมัครเข้าเป็นสมาชิกนิคมสร้างตนเองและได้สิทธิในการขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์และได้ขอออก น.ส. 3 สำหรับที่ดินของโจทก์ เช่นนี้เป็นเพียงขั้นตอนที่โจทก์จะได้รับหนังสือรับรองการทำประโยชน์สำหรับที่ดินเท่านั้น ไม่กระทบถึงสิทธิของโจทก์ที่มีเหนือที่ดิน เมื่อที่ดินของโจทก์มีมาก่อนอยู่กินและจดทะเบียนสมรสกับจำเลย จึงมิใช่ทรัพย์สินที่โจทก์ได้มาระหว่างสมรส ไม่เป็นสินสมรสแต่เป็นสินส่วนตัวตาม ฎ. 7174 / 2539
(2) ทรัพย์สินที่เป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัว เครื่องแต่งกายหรือเครื่องประดับตามควรแก่ฐานะ หรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
(3) ทรัพย์ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดกหรือการให้โดยเสน่หา คือ ทรัพย์สินเหล่านี้ถือว่าเป็นสินส่วนตัวของสามีหรือภริยาผู้ที่ได้รับมาทั้งสิ้น ไม่ถือว่าเป็นสินสมรสทั้งๆที่ได้มาระหว่างสมรส เช่น กรณีได้ที่ดินพิพาทมาในระหว่างสมรสกับผู้ตาย แต่ปรากฏว่าเป็นกรณีได้รับการยกให้ที่ดินภายหลังใช้บรรพ 5 ใหม่ พ.ศ. 2519 แล้ว เมื่อไม่ปรากฏมีหนังสือยกให้โดยระบุให้เป็นสินสมรส ก็ต้องถือว่าเป็นการยกให้ที่ดินเป็นสินส่วนตัวของผู้ร้องตาม ม. 1471 (3) ตามแนว ฎ. 4982 / 2541
(4) ทรัพย์ที่เป็นของหมั้นเป็นสินส่วนตัวของภริยา
ข้อสังเกต
( 1 )ในกรณีที่สามีหรือภริยาได้รับรางวัลจากการกระทำสิ่งใดหรือจากการประกวดชิงรางวัล รางวัลที่ได้รับมานั้นเป็นสินส่วนตัว
( 2 ) ของแทนสินส่วนตัว ทรัพย์สินที่เป็นสินส่วนตัวนั้นถ้าได้มีการแลกเปลี่ยนเป็นทรัพย์สินอื่นก็ดี ซื้อขายทรัพย์สินอื่นมาด้วยสินส่วนตัวก็ดี หรือขายสินส่วนตัวได้เงินมาก็ดี ทรัพย์สินอื่นหรือเงินที่ได้มานั้นยังคงเป็นสินส่วนตัวอยู่ตามเดิม เพราะเป็นไปตามหลักในเรื่องช่วงทรัพย์ตาม ม. 226 ว. 2 หรือสินส่วนตัวที่ถูกทำลายไปทั้งหมดหรือบางส่วน แต่ได้ทรัพย์สินหรือเงินทดแทน ทรัพย์สินอื่นหรือเงินที่ได้มานั้นเป็นสินส่วนตัวเช่นเดียวกัน
8
(3) การจัดการสินส่วนตัวของคู่สมรสฝ่ายใดให้ฝ่ายนั้นเป็นผู้จัดการตาม ม. 1473
2. สินสมรส บัญญัติไว้ใน ม. 1474 มี 3 ชนิดดังนี้
( 1) ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส โดยไม่ต้องคำนึงว่าฝ่ายใดมีส่วนร่วมในการทำมาหาได้นั้นหรือไม่ นอกจากนี้การที่สามีภริยาแยกกันอยู่หรือทิ้งร้างกันโดยไม่ได้อย่าขาดจากกันโดยเด็ดขาด ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ในระหว่างนั้นก็ถือว่าเป็นสินสมรสด้วย
( 2 ) ทรัพย์สินที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาโดยพินัยกรรม หรือ โดยการให้เป็นหนังสือ ทรัพย์สินเช่นว่านี้เป็นสินส่วนตัวของฝ่ายนั้นตาม ม. 1471 (3) แต่หากเจ้ามรดกหรือผู้ให้ระบุไว้ในพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ ระบุว่าให้เป็นสินสมรสจึงจะเป็นสินสมรส
ฎ. 2062 / 2535 จำเลยได้ที่พิพาทมาโดยบิดายกให้ แม้เป็นการยกให้ระหว่างสมรส แต่เมื่อการยกให้มิได้ทำเป็นหนังสือระบุว่าให้เป็นสินสมรส ที่พิพาทจึงตกเป็นสินส่วนตัวตาม ม. 1471 (3) บทบัญญัติ ม. 1474 ว. 2 ที่ว่ากรณีเป็นที่สงสัยว่าทรัพย์สินอย่างหนึ่งเป็นสินสมรสหรือไม่ใช่ ให้สันนิษฐานว่าเป็นสินสมรสนั้นไม่ใช่ ในกรณีที่ข้อเท็จจริงในคดีนี้เห็นได้อย่างชัดแจ้งว่าที่พิพาทเป็นสินส่วนตัวโดยปราศจากข้อสงสัย
( 3 ) ทรัพย์สินที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว
การจัดการสินสมรส
หลัก สามีหรือภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอำนาจจัดการสินสมรสได้โดยลำพัง เว้นแต่ การจัดการที่สำคัญจึงจะต้องจัดการร่วมกันตาม ม. 1476 ( เมื่อการจัดการใดๆที่ทำให้เสียประโยชน์ หรือ เพิ่มภาระให้สินสมรส)
1. สามีภริยาเพียงคนเดียวมีอำนาจฟ้องหรือต่อสู้คดีเกี่ยวกับสินสมรสตาม ม. 1477
2. ถ้าสามีหรือภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ให้ความยินยอมในการจัดการสินสมรสที่สำคัญ อีกฝ่ายหนึ่งอาจขอให้ศาลสั่งอนุญาตแทนความยินยอมได้ตาม ม. 1478
3. ถ้าสามีหรือภริยาจัดการสินสมรสที่สำคัญไปโดยลำพัง คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งที่มิได้ยินยอมอาจขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมนั้นได้ตาม ม. 1480 แต่การเพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวอาจจะเป็นที่เสียหายแก่บุคคลภายนอกได้ ดังนั้น ม. 1480 จึงได้บัญญัติคุ้มครองบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทนซึ่งการเพิกถอนนิติกรรมนั้นจะไปกระทบกระเทือนสิทธิบุคคลภายนอกไม่ได้ ซึ่ง ม. 1480 วรรคท้าย กำหนดให้คู่สมรสที่ไม่ได้ให้ความยินยอมในการทำนิติกรรมนั้นจะต้องฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมนั้นเสียภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่รู้ว่าได้มีการทำนิติกรรมหรืออย่างช้าภายใน 10 ปี นับแต่วันที่ได้ทำนิติกรรม
4. สามีหรือภริยาไม่มีอำนาจทำพินัยกรรมยกสินสมรสที่เกินกว่าส่วนของตนให้แก่บุคคลใดได้ตาม ม. 1481
5. สามีหรือภริยาโดยลำพังมีอำนาจจัดการบ้านเรือนหรือจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัวได้เสมอตาม ม. 1482
6. สามีหรือภริยาอาจขอให้ศาลสั่งห้ามคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งมิให้จัดการสินสมรสอันจะก่อให้เกิดความเสียหายถึงขนาดได้ตาม ม. 1483
7. ถ้ามีเหตุจำเป็น สามีหรือภริยาอาจขอให้ศาลสั่งอนุญาตให้ตนเป็นผู้จัดการสินสมรสแต่ผู้เดียวหรือขอให้แยกสินสมรสได้ตาม ม. 1484
หมายเหตุ สินสมรสระหว่างสามีภริยาที่ได้จดทะเบียนกัน ต้องถือว่าต่างมีสิทธิเป็นเจ้าของคนละครึ่ง
9
ความรับผิดในหนี้สินของสามีภริยา หนี้สินของสามีภริยาแบ่งออกได้เป็น 2 กรณี
1. หนี้ที่มีมาก่อนสมรส เป็นหนี้ที่ฝ่ายนั้นจะต้องรับผิดเป็นส่วนตัวแต่เพียงผู้เดียว แม้จะเป็นหนี้ที่สามีภริยาเป็นหนี้ระหว่างกันเองมาก่อนก็ตาม ก็ยังคงเป็นลูกหนี้กันอยู่
2. หนี้ที่ก่อขึ้นในระหว่างสมรส อาจจะเป็นหนี้ส่วนตัวของสามีหรือภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือเป็นหนี้ร่วมที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันก็ได้แล้วแต่กรณี ซึ่งโดยหลัก คู่สมรสฝ่ายใดเป็นผู้ก่อให้เกิดหนี้ หนี้ที่เกิดขึ้นก็เป็นหนี้ของฝ่ายนั้น เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นว่าเป็นลูกหนี้ร่วมตาม ม. 1490 เช่น หนี้ที่สามีหรือภริยาก่อขึ้นในระหว่างสมรส ซึ่ง ม. 1490 บัญญัติให้ถือเป็นหนี้ร่วมนั้นหมายถึงการเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายตามแนว ฎ. 1908 / 2450
หนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา หนี้ที่เกิดขึ้นระหว่างสมรส ม. 1490 กำหนดให้เป็นหนี้ร่วมระหว่างสามีภริยามีอยู่ 4 กรณี คือ
1. หนี้เกี่ยวแก่การจัดการบ้านเรือนและจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัว การอุปการะเลี้ยงดู ตลอดถึงการรักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัวและการศึกษาของบุตรตามอัตภาพ ม. 1490 (1)
2. หนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรส จะต้องเป็นหนี้ที่เกี่ยวกับตัวทรัพย์สินอันเป็นสินสมรสโดยตรง เช่น จำเลยกู้เงินโจทก์ไปไถ่จำนองที่ดินและบ้านอันเป็นสินสมรส หนี้รายนี้จึงเป็นหนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรสอันเป็นหนี้ที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันตาม ม. 1490 (2) ผู้ร้องซึ่งเป็นภริยาจำเลยไม่มีสิทธิร้องขอกันส่วนของตน ตามแนว
ฎ. 3141 / 2532
3. หนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานซึ่งสามีภริยาทำด้วยกัน ซึ่งการงานทุกอย่างที่สามีภริยาทำด้วยกันและเกิดเป็นหนี้ขึ้นเนื่องจากกิจการนั้นถือว่าเป็นหนี้ร่วมทั้งสิ้น ม. 1490 (3)
4. หนี้ที่สามีหรือภริยาก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียว แต่อีกฝ่ายหนึ่งได้ให้สัตยาบัน คู่สมรสจะให้สัตยาบันด้วยวาจาก็ได้ ข้อสังเกต การที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งลงลายมือชื่อในฐานะเป็นพยานในสัญญาที่คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งทำขึ้นก็ถือว่าเป็นการให้สัตยาบันในสัญญานั้นโดยปริยายแล้ว
การแยกสินสมรส ในระหว่างที่ยังเป็นสามีภริยากันนั้น อาจมีการแยกสินสมรสระหว่างสามีภริยาทั้งหมดออกจากกันโดยคำสั่งศาลหรือโดยผลของกฎหมาย อันมีผลทำให้สามีภริยาไม่มีสินสมรสอยู่อีกต่อไป คงมีแต่สินส่วนตัวเท่านั้นตาม ม. 1492 มี 3 กรณีดังต่อไปนี้
1. สามีหรือภริยาถูกศาลมีคำสั่งให้แยกสินสมรส เมื่อมีการจัดการสินสมรสเป็นที่เสียหายถึงขนาด หรือจะทำความเสียหายให้แก่สินสมรสตาม ม. 1484 ว. 2
2. สามีหรือภริยาต้องคำพิพากษาให้เป็นคนล้มละลายตาม ม. 1491
3. ศาลมีคำสั่งให้แยกสินสมรส ในกรณีที่สามีหรือภริยาเป็นคนไร้ความสามารถและมีการตั้งบิดา มารดา หรือบุคคลภายนอกเป็นผู้อนุบาลตาม ม. 1598 / 17 ว. 2 ผล เมื่อมีการแยกสินสมรสระหว่างสามีภริยาทั้งหมดออกจากกันใน 3 กรณีนี้แล้ว สินสมรสส่วนที่แยกออกตกเป็นสินส่วนตัวของสามีหรือภริยาแต่ละฝ่าย
10
ข้อสังเกต เมื่อมีการแยกสินสมรสระหว่างสามีภริยาทั้งหมดออกจากกันโดยคำสั่งศาลหรือโดยผลของกฎหมายทั้ง 3 กรณี เนื่องจากคู่สมรสทั้งสองฝ่ายต่างยังคงเป็นสามีภริยากันอยู่ คู่สมรสจึงอาจมีความประสงค์ที่จะให้มีการรวมสินสมรสกันใหม่ก็ได้ตาม ม. 1492 / 1 เฉพาะสินสมรสที่เกิดใหม่เท่านั้นจึงจะเป็นสินสมรส
การสมรสเป็นโมฆะ เหตุที่ทำให้การสมรสเป็นโมฆะมี 4 กรณี
1. การสมรสที่ชายหรือหญิงเป็นบุคคลวิกลจริตหรือเป็นบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ อันเป็นการฝ่าฝืนตาม ม. 1449 ผลเป็นโมฆะตาม ม. 1495
2. การสมรสที่ชายหรือหญิงเป็นญาติสืบสายโลหิตโดยตรงต่อกันหรือเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาหรือร่วมแต่บิดาหรือมารดา อันเป็นการฝ่าฝืน ม. 1450 ผลเป็นโมฆะตาม ม. 1495
3. การสมรสซ้อน อันเป็นการฝ่าฝืน ม. 1452 ผลเป็นโมฆะตาม ม. 1495
4. การสมรสที่ชายหญิงไม่ยอมเป็นสามีภริยากัน อันเป็นการฝ่าฝืน ม. 1458 ผลเป็นโมฆะตาม ม. 1495
ข้อสังเกตที่สำคัญ คำพิพากษาของศาลเท่านั้น ที่จะแสดงว่าการสมรสที่ฝ่าฝืน ม. 1449 , 1450 ,1458 เป็นโมฆะตาม ม. 1496 ส่วนเหตุที่จะแสดงว่าการสมรสซ้อนที่ฝ่าฝืนม.1452เป็น โมฆะได้ 2 กรณี คือ
1. บุคคลที่มีส่วนได้เสียคนใดคนหนึ่งได้กล่าวอ้างขึ้น หรือ
2. มีคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลแสดงว่าการสมรสเป็นโมฆะ
ผลของการสมรสที่เป็นโมฆะ
1. การสมรสที่เป็นโมฆะไม่ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาตาม ม. 1498
2. การสมรสที่เป็นโมฆะไม่ทำให้คู่สมรสที่สุจริตเสื่อมสิทธิที่ได้มาเพราะการสมรสและยังมีสิทธิเรียกค่าเลี้ยงชีพและค่าทดแทนอีกด้วยตาม ม. 1499 ในการสมรสที่เป็นโมฆะคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจจะทำการสมรสโดยสุจริต ไม่ทราบเหตุที่ทำให้การสมรสเป็นโมฆะได้ตาม ม. 1499 จึงให้ความคุ้มครองคู่สมรสไว้ 3 กรณี
• ชายหญิงผู้สมรสโดยสุจริตไม่เสื่อมสิทธิที่ได้มาเพราะการสมรสนั้น
• ชายหรือหญิงผู้สมรสโดยสุจริตมีสิทธิเรียกค่าทดแทนได้ เช่นตาม ฎ. 8882 / 2544
ชายหรือหญิงผู้สมรสโดยสุจริตมีสิทธิเรียกค่าเลี้ยงชีพได้
ฎ. 3134 / 2530 ขณะที่โจทก์จดทะเบียนสมรสกับจำเลยนั้นโจทก์ไม่ทราบว่าจำเลยได้จดทะเบียนสมรสกับหญิงอื่นอยู่แล้ว โจทก์จึงเป็นผู้สมรสโดยสุจริต เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้ศาลมีคำพิพากษาแสดงว่าการสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นโมฆะ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าทดแทนและค่าเลี้ยงชีพจากจำเลยได้ ที่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทดแทนเป็นเงิน 40,000 บาท และค่าเลี้ยงชีพเดือนละ 1,000 บาท เป็นการสมควรและเหมาะสมกับพฤติการณ์แห่งรูปคดีแล้ว
3. การสมรสที่เป็นโมฆะไม่กระทบถึงสิทธิของบุคคลภายนอก ผู้กระทำการโดยสุจริตตาม ม. 1500
4. การสมรสที่เป็นโมฆะไม่มีผลกระทบกระเทือนถึงการเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตาม ม. 1536, 1538, 1499 / 1
การสมรสเป็นโมฆียะ คือการสมรสที่ฝ่าฝืนเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดไว้ เหตุที่ทำให้การสมรสเป็นโมฆียะ
1. การสมรสที่ชายและหญิงอายุยังไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ตาม ม. 1448, 1504
11
ข้อสังเกต กรณีที่ศาลมิได้สั่งให้เพิกถอนการสมรสที่เป็นโมฆียะเพราะเหตุคู่สมรสอายุยังไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ จนชายและหญิงมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ กฎหมายให้ถือว่าการสมรสสมบูรณ์มาตั้งแต่เวลาสมรส ที่ไม่อาจมีใครมาร้องขอให้ศาลเพิกถอนได้ และต้องเป็นกรณีว่าทั้งชายและหญิงจะต้องอายุครบ 17 ปีด้วยกันทั้งสองคนจึงจะเข้าข้อยกเว้นที่ให้ถือว่าการสมรสสมบูรณ์มาตั้งแต่เวลาสมรส
2. กรณีที่หญิงมีครรภ์ก่อนอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์แม้ชายจะมีอายุเท่าใดก็ตามก็ขอให้เพิกถอนไม่ได้
การสมรสโดยสำคัญผิดตัวคู่สมรสตาม ม. 1505 คือการเข้าใจผิดในตัวบุคคลอันเป็นผลให้มิได้ทำการสมรสกับบุคคลที่ตนประสงค์ แต่หากเป็นการสำคัญผิดในฐานะของบุคคลแล้ว เหตุที่สำคัญผิดในฐานะของบุคคลนี้ไม่ทำให้การสมรสต้องเสื่อมเสียไป
3. การสมรสโดยถูกกลฉ้อฉลตาม ม. 1506 กลฉ้อฉลตามความหมายนี้คือ การลวงให้เขาแสดงเจตนาสมรสแต่หากกลฉ้อฉลนั้นเกิดขึ้นโดยบุคคลภายนอกโดยคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งไม่รู้เห็นด้วยผลคือการสมรสที่ได้กระทำนั้นไม่เป็นโมฆียะ
การขอเพิกถอนการสมรสที่เป็นโมฆียะเพราะถูกกลฉ้อฉลนี้เฉพาะแต่คู่สมรสที่ถูกกลฉ้อฉลเท่านั้นจึงจะมีสิทธิขอให้เพิกถอนตาม ม. 1508
4. การสมรสโดยถูกข่มขู่ตาม ม. 1507
5. การสมรสของผู้เยาว์ที่ไม่ได้รับความยินยอมของบิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้ปกครอง ตาม ม. 1509, 1510
ผลของการเพิกถอนการสมรสที่เป็นโมฆียะ
1. การสมรสที่เป็นโมฆียะย่อมสิ้นสุดลงในวันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้เพิกถอนตาม ม. 1511 การสมรสที่เป็นโมฆียะจะสิ้นสุดลงในวันที่คำพิพากษาถึงที่สุดซึ่งก็คือในวันที่ศาลได้อ่านคำพิพากษา
ในระหว่างการสมรสยังไม่ถูกเพิกถอนคู่สมรสมีความสัมพันธ์กันฉันสามีภริยาทั้งในทางส่วนตัวและทางทรัพย์สินก่อให้เกิดสินส่วนตัวและสินสมรสขึ้น คู่สมรสฝ่ายหนึ่งมีสิทธิรับมรดกของคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งได้ถ้าคู่สมรสฝ่ายหลังนี้ตายก่อนศาลพิพากษาให้เพิกถอนการสมรส
2. ต้องมีการแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาและกำหนดการปกครองบุตรเช่นเดียวกับการหย่าโดยคำพิพากษาตาม ม. 1512
3. มีการชดใช้ค่าเสียหายและค่าเลี้ยงชีพตาม ม. 1513 การหย่า หลักการเรื่องการหย่ามี 2 กรณี คือ
1. การหย่าโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่ายมีหลักดังนี้
• การหย่าโดยความยินยอมต้องทำเป็นหนังสือและมีพยานอย่างน้อย 2 คนตาม ม. 1514 ( การที่พยานอย่างน้อยสองคนจะต้องลงลายมือชื่อในหนังสือหย่า แต่กฎหมายไม่ได้กล่าวถึงคู่หย่าเองว่าจะต้องลงลายมือชื่อหรือไม่ กรณีนี้ต้องเป็นไปตาม ม. 9 ที่คู่หย่านั้นจะต้องลงลายมือชื่อในหนังสือหย่า มิฉะนั้นจะเป็นหนังสือหย่าไม่ได้
การหย่าโดยความยินยอมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนการหย่าตาม ม. 1515
2. การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล โดยอาศัยเหตุฟ้องหย่าตาม ม. 1516
12
ฎ.1412 / 2543 ให้หลักถึงเหตุฟ้องหย่าไว้ว่าเหตุฟ้องหย่าตาม ม. 1516 แยกได้เป็น 2 กรณี คือ
• เหตุฟ้องหย่าที่มิได้เกิดจากความยินยอมพร้อมใจกันของคู่กรณีทั้งสองฝ่ายจึงต้องกล่าวอ้างว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งกระทำการเข้าเงื่อนไขอย่างใดอย่างหนึ่งตาม ม. 1516
เหตุฟ้องหย่าที่เกิดจากความสมัครใจของคู่กรณีทั้งสองฝ่ายตาม ม. 1516 (4/2 )
ข้อสังเกต 1. เหตุฟ้องหย่าอันเนื่องจากกรณีที่หนึ่งนั้นโจทก์ต้องพิสูจน์ให้ศาลเชื่อว่าจำเลยเป็นฝ่ายประพฤติตนไม่สมควร หรือการกระทำอันเข้าเงื่อนไขที่ ม. 1516 ได้ระบุไว้นอกจากอนุมาตรา ( 4/2 )
2. ส่วนเหตุฟ้องหย่าอันเกี่ยวจากกรณีที่สองก็ต้องเกิดจากความสมัครใจโดยแท้จริงของคู่กรณีทั้งสองฝ่าย มิใช่สมัครใจเพียงฝ่ายเดียว ดังนั้นหากพฤติการณ์แห่งคดีมิได้เป็นไปทั้งสองกรณีนี้ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องหย่าจำเลย แม้ว่าจะมิได้อยู่ร่วมกันหรือไม่มีเยื่อใยต่อกัน และไม่มีความหวังที่จะคืนดีกันอีกก็ตาม อายุความฟ้องหย่าพิจารณาได้ดังนี้
1. ในการฟ้องหย่าหรือการฟ้องเรียกค่าทดแทนจากชายชู้หรือหญิงอื่นที่มีความสัมพันธ์ทางชู้สาวกับสามีตาม ม. 1529 กำหนดอายุความไว้เพียง 1 ปี นับแต่วันที่คู่สมรสฝ่ายที่มีสิทธิฟ้องหย่าได้รู้หรือควรรู้ความจริง
2. ในการฟ้องหย่าในกรณีที่มีลักษณะต่อเนื่องกันไปหรือเป็นการถาวรตาม ม. 1516 (5) ไม่มีอายุความตราบใดที่เหตุนั้นๆยังมีอยู่ก็ฟ้องหย่าได้แต่ถ้าเหตุเหล่านี้สิ้นสุดลงแล้วจะยกขึ้นอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าไม่ได้
3. ในกรณีฟ้องหย่าเพราะผิดทัณฑ์บนที่ทำไว้เป็นหนังสือในเรื่องความประพฤติตาม ม. 1518 (8) ไม่มีลักษณะเป็นการต่อเนื่องแต่กฎหมายมิได้กำหนดอายุความไว้ จึงต้องใช้อายุความ 10 ปีตาม ม. 193 / 30
ผลของการหย่า การแบ่งทรัพย์สินของสามีภริยา เมื่อหย่ากันแล้วให้แบ่งทรัพย์สินโดยให้ชายและหญิงมีส่วนเท่าๆกันตาม ม. 1533 และในกรณีที่มีหนี้ทั้งต้องรับผิดร่วมกันก็ให้แบ่งแยกความรับผิดนั้นออกเป็นส่วนเท่าๆกันตาม ม. 1535
บิดามารดากับบุตร
การเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย หลัก บุตรที่เกิดจากหญิงย่อมเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของมารดาเสมอ
ข้อยกเว้น
1. เด็กที่เกิดระหว่างสมรสตาม ม. 1536 ให้สันนิษฐานว่าเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามี ข้อสันนิษฐานใช้บังคับกับกรณีเด็กเกิดแก่หญิงหม้ายภายใน 310 วัน หลังจากชายผู้เป็นสามีตาย หย่าหรือศาลพิพากษาให้เพิกถอนการสมรสกับหญิงด้วย
2. เด็กที่เกิดจากการสมรสเป็นโมฆะ กรณีการสมรสซ้อน
• หญิงทำการสมรสซ้อนตาม ม. 1452 ผลคือการสมรสครั้งที่สองเป็นโมฆะ หญิงคลอดบุตรออกมากฎหมายให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายซึ่งเป็นสามีคนที่สองตาม ม. 1538 (ในกรณีสามีคนที่สองอาจพิสูจน์โดยการฟ้องคดีไม่รับเด็กเป็นบุตรได้ตาม ม. 1539 ผล เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแสดงว่าเด็กไม่ใช่บุตรชอบด้วยกฎหมายของสามีคนที่สองแล้ว กฎหมายให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของสามีคนที่หนึ่งตาม ม. 1538 ว. 2 ตอนท้าย )
13
ชายสมรสซ้อน เป็นกรณีชายจดทะเบียนสมรสกับภริยาสองคนหรือกว่านั้นขึ้นไป ผลคือการสมรสครั้งที่สองเป็นโมฆะ บุตรที่เกิดจากภริยาคนที่สองและภริยาคนต่อๆไปก็ต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของสามีตาม ม. 1538 ว. แรก
3. กรณีเด็กเกิดจากการสมรสที่เป็นโมฆียะตาม ม. 1448 , 1505 , 1506 , 1507 ,1509 บุตรเกิดระหว่างสมรสซึ่งศาลพิพากษาให้เพิกถอนภายหลังให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายตาม ม. 1560
4. กรณีเด็กเกิดจากหญิงหม้าย ซึ่งทำการสมรสใหม่ภายในเวลาไม่เกิน 310 วันนับแต่วันขาดจากการสมรสเดิมตาม ม. 1537 ซึ่งเป็นการฝ่าฝืนตาม ม. 1453 กฎหมายให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเด็กที่เกิดแต่หญิงนั้น ให้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายสามีคนใหม่ แต่ห้ามมิให้นำข้อสันนิษฐานตาม ม. 1536 ว่าเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของสามีเดิมมาใช้บังคับ ทั้งนี้ เว้นแต่มีคำพิพากษาของศาลแสดงว่าเด็กมิใช่บุตรของชายผู้เป็นสามีคนใหม่
5. กรณีเด็กที่มิได้เกิดแต่บิดาที่จดทะเบียนสมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย
• เด็กเกิดจากหญิงที่มิได้สมรสกับชาย ให้ถือว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของหญิงนั้นตาม ม. 1546
• บิดามารดาสมรสกันภายหลัง หรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรตาม ม. 1547
ศาลพิพากษาว่าเป็นบุตรซึ่งจะมีผลเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายนับแต่วันมีคำพิพากษาถึงที่สุดตาม ม. 1557 (3) ( เด็กจะมีฐานะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายตั้งแต่วันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดโดยไม่ย้อนหลังไปถึงวันที่เด็กเกิดแต่อย่างใด )
ข้อสังเกต กรณีตาม ม. 1558 ว. 1 การฟ้องคดีขอให้รับเด็กเป็นบุตรของผู้ตายที่ได้ฟ้องภายในกำหนดอายุความมรดก หากว่าศาลได้พิพากษาว่าเด็กเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย เด็กนั้นมีสิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม
• กรณีบุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้ว บุตรบุญธรรมให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายตาม ม. 1627
การรับบุตรบุญธรรม หลักเกณฑ์ในการรับบุตรบุญธรรมตาม ม. 1598 / 19
1. ผู้ที่จะรับบุตรบุญธรรมนั้นต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปี
2. ผู้รับบุตรบุญธรรมต้องมีอายุแก่กว่าผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 15 ปี
3. ในการรับบุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะเป็นบุตรบุญธรรม จะทำได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมจากบิดาและมารดาของผู้เยาว์ก่อน ในกรณีที่ผู้เยาว์นั้นถูกทอดทิ้งและอยู่ในความดูแลของสถานสงเคราะห์เด็กให้ขอความยินยอมจากผู้มีอำนาจในสถานสงเคราะห์เด็กนั้นแทน
4. ในกรณีที่ผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้ที่จะเป็นบุตรบุญธรรมที่มีคู่สมรสแล้ว ในการรับหรือเป็นบุตรบุญธรรมต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสก่อน
5. ผู้เยาว์เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลหนึ่งอยู่ จะเป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นอีกในขณะเดียวกันไม่ได้ เว้นแต่จะเป็นบุตรบุญธรรมของคู่สมรสของผู้รับบุตรบุญธรรม
6. การรับบุตรบุญธรรมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนตามกฎหมาย
สิทธิและหน้าที่ของผู้ที่เป็นบุตรบุญธรรม
1. มีฐานะอย่างเดียวกับบุตรชอบด้วยกฎหมายของผู้รับบุตรบุญธรรมตาม ม. 1598 / 28
14
2. มีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูผู้รับบุตรบุญธรรม ทำนองเดียวกับบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายตาม ม. 1563
สิทธิและหน้าที่ของผู้รับบุตรบุญธรรม
1. มีสิทธิใช้อำนาจปกครองบุตรบุญธรรม
2. ผู้รับบุตรบุญธรรมไม่มีสิทธิรับมรดกของบุตรบุญธรรมในฐานะทายาทโดยธรรม อย่างไรก็ตาม ถ้าบุตรบุญธรรมตายก่อนโดยไม่มีคู่สมรสหรือผู้สืบสันดาน ผู้รับบุตรบุญธรรมมีสิทธิเรียกร้องทรัพย์สินที่ตนได้ให้แก่บุตรบุญธรรมคืนจากกองมรดก เพียงเท่าที่ยังคงเหลืออยู่หรือภายหลังจากชำระหนี้กองมรดกแล้วตาม ม. 1598 / 29 , 1598 / 30
3. ผู้รับบุตรบุญธรรมมีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรบุญธรรม
การเลิกรับบุตรบุญธรรม
1. โดยความตกลงตาม ม. 1598 / 31 แต่จะมีผลสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนตามกฎหมาย
2. การเลิกเมื่อมีการสมรสฝ่าฝืนตาม ม. 1598 / 32
3. การเลิกรับโดยคำสั่งศาลตาม ม. 1598 / 33 และมีผลตั้งแต่เวลาที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด แต่จะยกขึ้นอ้างบุคคลภายนอกได้ต่อเมื่อจดทะเบียนแล้ว
4. อายุความคดีฟ้องขอเลิกการรับบุตรบุญธรรม ต้องฟ้องภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันที่ผู้ขอเลิกรับบุตรบุญธรรมรู้หรือควรได้รู้ หรือภายในกำหนด 10 ปี นับแต่เหตุนั้นเกิดขึ้น
…………………………………………………………..
หลวงวิจิตรวาทการ......กล่าวว่า.......
.....สิ่งสำคัญที่สุดในจริยวัตรของมนุษย์ คือต้องพยายามที่จะไม่ให้เวลาล่วงไปโดยไม่มีประโยชน์
เราต้องตีราคาคุณค่าของเวลาให้สูงมาก การเสียเวลาเท่ากันกับเสียทรัพย์ เสียโอกาส
เสียหนทางแห่งความก้าวหน้า และเป็นการสูญเสียที่เราไม่สามารถจะโทษผู้อื่นได้
นอกจากตัวของเราเอง.......
ลิขสิทธิ์ของคณะกรรมการนักศึกษาสมัยที่ 58
สรุปวิชากฎหมายครอบครัว
ขอบเขตของเนื้อหา
1.การหมั้น
2.การสมรส
3.ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา
4.ทรัพย์สินและหนี้สินระหว่างสามีภริยา
5.การสมรสที่เป็นโมฆะ
6.บิดามารดากับบุตร
7.สิทธิและหน้าที่ระหว่างบิดามารดากับบุตร
8.บุตรบุญธรรม
9.ค่าอุปการะเลี้ยงดู
การหมั้น
เงือนไขของการหมั้น
1.ชายและหญิงคู่หมั้นต้องมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ (ม.1435) ถ้าการหมั้นกระทำโดยฝ่าฝืนมาตรา 1435 ผลคือ การหมั้นตกเป็นโมฆะ (ม.1435 ว.2)
• การหมั้นที่ทำโดยฝ่าฝืนมาตรา 1435 แม้จะได้รับความยินยอมจากบิดามารดาตามมาตรา 1436 หรือภายหลังจากการหมั้นแล้ว ชายและหญิงจะมีอายุครบ 17 ปี บริบูรณ์แล้วก็ตาม ผลก็ยังตกเป็นโมฆะ จะให้สัตยาบันก็ไม่ได้ เพราะขัดมาตรา 172 ซึ่งบัญญัติว่า โมฆะกรรมนั้นไม่อาจให้สัตยาบันแก่กันได้
• ชายหรือหญิงที่มีอายุต่ำกว่า 17 ปีบริบูรณ์จะขออนุญาตศาลทำการหมั้นไม่ได้ เพราะไม่มีกฎหมายให้อำนาจไว้ ผิดกับการสมรส ซึ่งหากมีเหตุสมควร ตามมาตรา 1448 ให้อำนาจศาลที่จะอนุญาตให้ชายหรือหญิงที่มีอายุต่ำกว่า 17 ปีบริบูรณ์ทำการสมรสได้
คำถาม ถ้าศาลอนุญาตให้ชายและหญิงที่มีอายุต่ำกว่า 17 ปีบริบูรณ์ทำการสมรสกันแล้ว ต่อมาชายและหญิงขาดจากการสมรสกัน และประสงค์จะทำการหมั้นใหม่ในขณะที่ตนมีอายุยังไม่ครบ 17 ปีบริบริบูรณ์ จะทำได้ไหม ? คำตอบ คือ ไม่สามารถทำได้ เพราะขัดต่อมาตรา 1435
• การหมั้นที่เป็นโมฆะ หากมีการให้ของหมั้นหรือสินสอดแก่ฝ่ายหญิง ก็ถือว่า เป็นการกระทำอันปราศจากมูลหนี้อันจะอ้างกฎหมายได้ ฝ่ายชายจึงมีสิทธิเรียกร้องเอาของหมั้นและสินสอดคืนได้ตามหลักกฎหมายว่าด้วยลาภมิควรได้ ตามมาตรา 412 หรือมาตรา 413
2. ผู้เยาว์ทำการหมั้นจะต้องได้รับความยินยอมของบิดามารดาหรือผู้ปกครองด้วย (มาตรา 1436) ถ้าการหมั้นที่ผู้เยาว์ทำโดยปราศจากความยินยอมดังกล่าว การหมั้นนั้นตกเป็นโมฆียะ
• สำหรับกรณีที่บิดามารแยกกันอยู่โดยที่มิได้หย่าขาดจากกัน บิดาและมารดายังเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์อยู่ ฉะนั้น หากผู้เยาว์จะทำการหมั้น ก็ต้องได้รับความยินยอมจากบิดาและมารดาทั้งสองคน
• ผู้เยาว์ที่บิดามารดาถึงแก่ความตายไปแล้วทั้งสองคน หากจะทำการหมั้นจะต้องมีการตั้งผู้ปกครองเสียก่อน เมื่อมีผู้ปกครองแล้วผู้เยาว์จึงมาขอความยินยอมจากผู้ปกครองให้ทำการหมั้น ผู้เยาว์เช่นว่านี้จะมาขออนุญาตต่อศาลให้ตนทำการหมั้นไม่ได้ เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติให้อำนาจไว้
• ในกรณีที่บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือผู้ปกครองผู้ซึ่งมีอำนาจให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ให้ทำการหมั้นไม่ไห้ความยินยอมโดยปราศจากเหตุผล ผู้เยาว์อาจใช้ทางแก้ในเรื่องของการขอถอนอำนาจปกครอง ตามมาตรา 1582 หรือมาตรา 1598/8 แล้วแต่กรณี
• การให้ความยินยอมในการหมั้น กฎหมายไม่ได้กำหนดแบบไว้ ฉะนั้น บิดามารดา ฯ อาจให้ความยินยอมโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง คือ ด้วยวาจา โดยลายลักษณ์อักษร หรือโดยกริยาท่าทางอันเป็นปริยาย ว่าให้ความยินยอมก็ได้
แบบของการหมั้น
การหมั้นจะสมบูรณ์เมื่อฝ่ายชายได้ส่งหมอบหรือโอนทรัพย์สินอันเป็นของหมั้นให้แก่หญิง เพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงนั้น (มาตรา 1437) สัญญาหมั้นเป็นสัญญาพิเศษผิดกับสัญญาธรรมดา ฉะนั้น หากมีการหมั้นแต่ฝ่ายชายไม่มีของหมั้นมามอบให้หญิงแล้ว แม้จะมีการผิดสัญญาหมั้นก็จะฟ้องเรียกค่าทดแทนฐานผิดสัญญาหมั้นไม่ได้
การหมั้นจะต้องอยู่ในบังคับตามหลักทั่วไปในเรื่องของการแสดงเจตนาในการทำนิติกรรมด้วย เช่น การทำสัญญาหมั้นเพราะถูกข่มขู่ สัญญาหมั้นดังกล่าวเป็นโมฆียะตามมาตรา 164 หรือการหมั้นที่มีวัตถุประสงค์อันขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน สัญญาหมั้นนั้นเป็นโมฆะตามมาตรา 150 ด้วย เช่น พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันมาทำการหมั้นกัน
นอกจากนี้สัญญาหมั้นจะใช้บังคับได้ก็แต่เฉพาะ กรณีที่ชายไปทำการหมั้นหญิงเท่านั้น หากมีหญิงไปทำการหมั้นชาย หรือหญิงกับหญิงหมั้นกัน หรือชายกับชายหมั้นกัน สัญญาหมั้นเช่นว่านี้เป็นโมฆะตามมาตรา 150 เช่นกัน
ของหมั้น
- ของหมั้นนั้น ฝ่ายชายจะต้องได้ส่งมอบหรือโอนให้หญิงไว้เป็นกรรมสิทธิ์ เพียงแต่สัญญาว่าจะส่งทรัพย์ให้เป็นของหมั้น ไม่ถือว่าเป็นการให้ทรัพย์เป็นของหมั้น หรือการที่ฝ่ายชายมอบของหมั้นส่วนหนึ่งให้แก่หญิง อีกส่วนหนึ่งจะนำมามอบให้ในวันหน้านั้น คงเป็นของหมั้นเฉพาะทรัพย์ส่วนที่มอบให้ ส่วนที่ยังไม่ได้มอบไม่เป็นของหมั้น ฉะนั้นเมื่อชายตายของหมั้นที่มอบให้หญิงไว้แล้ว ตกเป็นของหญิง แต่หญิงจะฟ้องเรียกส่วนที่ยังไม่ได้นำมามอบให้ไม่ได้
- หญิงคู่หมั้นมีกรรมสิทธิ์ในของหมั้นในอันที่จะใช้สอย ได้ดอกผลหรือจำหน่ายจ่ายโอนได้ตามใจชอบ แต่จะต้องรับผิดในการคืนของหมั้นให้ฝ่ายชายหากตนเองผิดสัญญาหมั้นไม่ยอมสมรสกับชาย หรือในกรณีที่มีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิงคู่หมั้นทำให้ชายไม่สมควรสมรสกับหญิง เช่น หญิงไปเสียเนื้อเสียตัวให้ชายอื่น เช่นนี้ ชายคู่หมั้นมีสิทธิบอกเลิกสัญญาหมั้นได้และหญิงก็ต้องคืนของหมั้นให้แก่ชายตามมาตรา 1442
- แต่หากเหตุสำคัญนั้นเกิดแก่ชายคู่หมั้น เช่น ชายคู่หมั้นเกิดวิกลจริตและรักษาไม่หายหญิงก็มีสิทธิบอกเลิกสัญญาหมั้นได้โดยไม่ต้องคืนของหมั้นแก่ชายตามมาตรา 1443
- นอกจากนี้การให้ของหมั้นนั้นต้องเป็นการให้โดยมีเจตนาจะสมรสกันตามกฎหมาย ฉะนั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏชัดว่า ชายหญิงเพียงแต่ประกอบพิธีสมรส หาได้มีเจตนาที่จะไปจดทะเบียนสมรสเพื่อให้มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายไม่ การประกอบพิธีสมรสดังกล่าว จึงไม่ถือว่าเป็นการสมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย ด้วยเหตุดังกล่าว เงินและแหวนเพชรกับสร้อยคอทองคำที่ฝ่ายชายอ้างว่าได้มอบให้แก่ฝ่ายหญิง จึงหาได้ให้ในฐานะเป็นสินสอดและของหมั้นตามความหมายมาตรา1437 ไม่ ฝ่ายชายจึงไม่มีสิทธิเรียกคืน (ฎ.3557/2524)
สรุป ลักษณะสำคัญของของหมั้นจะต้องเข้าหลักเกณฑ์ 4 ประการ คือ
1. ต้องเป็นทรัพย์สิน (สิทธิเรียกร้อง ถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่นำมาเป็นของหมั้นได้)
2. ต้องเป็นของที่ฝ่ายชายให้ไว้แก่หญิง
3. ต้องให้ไว้ในเวลาทำสัญญาและหญิงต้องได้รับไว้แล้ว
4. ต้องเป็นการให้ไว้เพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงนั้นและต้องให้ไว้ก่อนสมรส ถ้าให้เมื่อหลังสมรสแล้วทรัพย์นั้นไม่ใช่ของหมั้น
การรับผิดตามสัญญาหมั้น
เมื่อมีการหมั้นแล้ว ถ้าฝ่ายใดผิดสัญญาหมั้น อีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเรียกให้รับผิดใช้ค่าทดแทน ในกรณีที่ฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้นให้คืนของหมั้นให้แก่ฝ่ายชายด้วย (มาตรา 1439)
สินสอด
เป็นทรัพย์สินที่ฝ่ายชายให้แก่บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือผู้ปกครองฝ่ายหญิง แล้วแต่กรณี เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส (มาตรา 1437 ว.3)
ลักษณะของสินสอดมีอยู่ 3 ประการ คือ
1.ต้องเป็นทรัพย์สิน การตกลงจะให้สินสอดนั้นจะต้องตกลงให้กันก่อนสมรส แต่ทรัพย์สินที่เป็นสินสอดซึ่งตกลงจะให้นั้นจะมอบให้ฝ่ายหญิงก่อนสมรสหรือหลังสมรสก็ได้ ไม่จำเป็นต้องมอบให้ขณะทำสัญญาว่าจะให้ ทั้งไม่จำเป็นต้องมอบสินสอดให้ขณะที่ทำการหมั้น ซึ่งต่างกับของหมั้นอันจะต้องให้กันในเวลาหมั้น
2.ต้องเป็นของฝ่ายชายให้แก่บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้ปกครองของหญิง บุคคลอื่นนอกจากนี้ไม่มีสิทธิเรียกหรือรับสินสอด เช่น หญิงบรรลุนิติภาวะแล้วและไม่มีบิดามารดาหรือผู้ปกครองรับหมั้นและตกลงจะสมรสกับชายด้วยตัวเอง แล้วเรียกเงิน 200,000 บาทเป็นสินสอด แม้ชายจะมอบเงินให้ตามคำเรียกร้องก็ตาม เงินจำนวนดังกล่าวก็ไม่ใช่สินสอด แต่เป็นการให้โดยเสน่หา
3. ให้เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส ทรัพย์สินที่เป็นสินสอด เมื่อได้มอบไปแล้วย่อมตกเป็นกรรมสิทธิเด็ดขาดแก่บิดามารดาหรือผู้ปกครองหญิงโดยทันทีโดยไม่ต้องรอให้มีการสมรสกันก่อน แต่ทั้งนี้ต้องเป็นการให้โดยมีเจตนาที่ชายและหญิงจะจดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย ฉะนั้น การที่ชายมอบเงินให้แก่มารดาหญิงเพื่อขอขมาในการที่หญิงตามไปอยู่กินกับชาย โดยชายหญิงไม่มีเจตนาสมรสกันตามกฎหมายนั้น ไม่ใช้สินสอดหรือของหมั้น เมื่อต่อมาหญิงไม่ยอมอยู่กินกับชาย ชายจึงเรียกเงินคืนไม่ได้ (ฎ.125/2518)
สินสอดแม้จะเป็นการให้เพื่อเป็นของขวัญในการตอบแทนที่หญิงยอมสมรสและกรรมสิทธิ์ได้ตกไปยังผู้รับตั้งแต่เวลาส่งมอบแล้วก็ตาม แต่ฝ่ายชายก็ยังมีสิทธิเรียกสินสอดคืนได้ใน 2 กรณี คือ
(1) ถ้าไม่มีการสมรสโดยมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิง ทำให้ชายไม่สมควรหรือไม่อาจสมรสกับหญิงนั้น “เหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิง” หมายถึง เหตุที่จะกระทบกระเทือนถึงการสมรสที่จะมีต่อไปในระหว่างชายและหญิงคู่หมั้น อันจะก่อความไม่สงบสุขในชีวิตสมรสที่จะมีต่อไปในภายภาคหน้า ซึ่งเป็นเหตุเดียวกับเหตุที่ทำให้ชายบอกเลิกสัญญาหมั้นตามมาตรา 1442 นั่นเอง เช่น หญิงคู่หมั้นไปร่วมประเวณีกับชายอื่น หรือหญิงคู่หมั้นขับรถยนต์โดยประมาทชนคนตาย ศาลพิพากษาให้จำคุก 4 ปี ทำให้ชายไม่อาจสมรสกับหญิงได้ เช่นนี้ฝ่ายชายมีสิทธิเรียกสินสอดคืนโดยการบอกเลิกสัญญาหมั้นได้
(2) ถ้าไม่มีการสมรสโดยมีพฤติการณ์ซึ่งฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบทำให้ชายไม่สมควรหรือไม่อาจสมรสกับหญิงนั้น “พฤติการณ์ซึ่งฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบ” หมายถึง พฤติการณ์ที่ฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายผิด ทำให้การสมรสนั้นไม่อาจมีขึ้น หรือกรณีที่ไม่มีการสมรส เนื่องมาจากความผิดของฝ่ายหญิง ซึ่งคำว่า “ฝ่ายหญิง” มีความหมายกว้าง รวมทั้งบิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม ผู้ปกครอง หรือบุคคลผู้กระทำการในฐานะเช่นบิดามารดาของหญิงคู่หมั้นด้วย เช่น หญิงคู่หมั้นทิ้งชายไปอยู่ต่างประเทศแล้วไม่ติดต่อกับมาเลย หรือหญิงประกอบพิธีแต่งงานอยู่กินด้วยกันแล้วไม่ยอมจดทะเบียนสมรสด้วยกับชาย เป็นความผิดของฝ่ายหญิง หญิงต้องคืนของหมั้นสินสอดให้ชาย แต่หากชายหญิงสมรสกันโดยตั้งใจไม่จดทะเบียนสมรสแล้วหรือเป็นความผิดของชายที่ไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับหญิงหรือเพราะทั้งชายและหญิงละเลยไม่นำพาต่อการจดทะเบียนสมรส ดังนี้ ชายจะฟ้องเรียกค่าสินสอดคืนไม่ได้
สำหรับกรณีที่ไม่มีการสมรสอันเนื้องมาจากการที่ชายหรือหญิงคู่หมั้นถึงแก่ความตายก่อนจดทะเบียนสมรสกันนั้นมีบทบัญญัติมาตรา 1441 ไว้ชัดเจนว่า กรณีฝ่ายชายไม่มีสิทธิเรียกสินสอดคืน
วิธีการคืนของหมั้นหรือสินสอด
1. ถ้าของหมั้นหรือสินสอดนั้นเป็นเงินตรา ฝ่ายหญิงมีหน้าที่ต้องคืนเงินเพียงส่วนที่มีอยู่ในขณะเรียกคืน เพราะโดยทั่วไปแล้วฝ่ายหญิงมักจะรับเงินที่เป็นของหมั้นหรือสินสอดนั้นไว้โดยสุจริตเสมอ อย่างไรก็ดี ถ้าฝ่ายหญิงนำเงินของหมั้นหรือสินสอดไปซื้อทรัพย์สินอื่นมา ทรัพย์สินอื่นที่ได้มานี้ต้องคืนให้ฝ่ายชายไปด้วย เพราะเป็นการช่วงทรัพย์ตามมาตรา 226 หรือในกรณีที่หญิงได้นำเงินตรานี้ไปลงทุนทำประโยชน์หรือได้ดอกเบี้ยเพิ่มพูนขึ้นมาก็ไม่ต้องคืนด้วย เพราะดอกเบี้ยหรือผลประโยชน์ที่ได้มานี้ย่อมเป็นของฝ่ายหญิงนั้นเอง
2. ถ้าของหมั้นหรือสินสอดนั้นเป็นทรัพย์สินอื่นที่มิใช่เงินตรา ฝ่ายหญิงมีหน้าที่ต้องคืนทรัพย์สินนั้นในสภาพที่เป็นอยู่ในเวลาที่เรียกคืน ฝ่ายหญิงไม่ต้องรับผิดชอบในการที่ทรัพย์นั้นสูญหายหรือบุบสลายนั้นจะเนื่องมาจากความผิดของตนก็ตาม แต่ถ้าได้อะไรมาเป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อการสูญหายหรือบุบบสลายเช่นนั้นก็ต้องคืนให้ไปด้วย สำหรับในกรณีที่ทรัพย์สินนั้นมีราคาเพิ่มขึ้น เพราะการที่ฝ่ายหญิงได้ออกเงินค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงซ่อมแซมทรัพย์สิน ฝ่ายหญิงก็มีสิทธิได้รับชดใช้ค่าใช้จ่ายนั้นจากฝ่ายชายด้วย แต่ถ้าหากเป็นค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาหรือซ่อมแซมทรัพย์สินตามปกติธรรมดาแล้วจะเรียกให้ชดใช้ไม่ได้
การผิดสัญญาหมั้นและค่าทดแทน
1.การหมั้นไม่เป็นเหตุฟ้องร้องบังคับให้สมรสได้ (มาตรา 1438) ถ้ามีข้อตกลงกันไว้ว่าจะให้เบี้ยปรับในเมื่อผิดสัญญาหมั้น ข้อตกลงนั้นเป็นโมฆะ
2.เมื่อมีการผิดสัญญาหมั้น จะต้องมีความรับผิดชดใช้ค่าทดแทนแก่กัน การเรียกค่าทดแทนเนื่องจากการผิดสัญญาหรือข้อตกลงเกี่ยวกับการสมรสนั้น กฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษตามมาตรา 1439 ให้เรียกได้เฉพาะกรณีที่มีการหมั้นเท่านั้น ฉะนั้น หากชายและหญิงตกลงกันว่าจะทำการสมรสหรือจดทะเบียนสมรสกันโดยไม่มีการหมั้นแล้ว แม้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง อีกฝ่ายหนึ่งเรียกค่าทดแทนไม่ได้
ค่าทดแทนจากการผิดสัญญาหมั้นมีเฉพาะตามที่กฎหมายมาตรา 1440 กำหนดไว้ เพียง 3 กรณีเท่านั้น คือ
(1) ค่าทดแทนความเสียหายต่อกาย หรือชื่อเสียงแห่งชายหรือหญิงนั้น เช่น หญิงคู่หมั้นไม่ยอมสมรสกับชายคู่หมั้น ชายคู่หมั้นอาจได้รับความอับอายขายหน้าต่อเพื่อนฝูง ซึ่งหญิงคู่หมั้นจะต้องใช้ค่าทดแทนความเสียหายต่อชื่อเสียนี้ให้แก่ชาย แต่สำหรับความเสียหายทางจิตใจที่คู่หมั้นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้รับเนื่องจากการผิดสัญญาหมั้นนั้น ไม่ใช่ความเสียหายต่อกายหรือชื่อเสียงตามความหมายในมาตรา 1440 (1) จึงเรียกค่าทดแทนกันไม่ได้
(2) ค่าทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่คู่หมั้น บิดามารดาหรือบุคคลผู้กระทำการในฐานะเช่นบิดามารดาได้ใช้จ่าย หรือต้องตกเป็นลูกหนี้เนื่องในการเตรียมการสมรสโดยสุจริตและตามสมควร หมายถึง ค่าใช้จ่ายอันจำเป็นที่ชายหญิงต้องกระทำเพื่อเตรียมการที่ชายหญิงจะอยู่กินด้วยกันเป็นสามีภริยากันโดยตรง เช่น ค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงซ่อมแซมบ้านที่จะเป็นที่อยู่อาศัย ค่าใช้จ่ายในการเดินทางจากจังหวัดที่ตนอยู่มาจังหวัดที่จำทำการสมรส หรือชายหญิงหมั้นกันกำหนดวันสมรสแน่นอนแล้ว ฝ่ายหญิงจึงได้ใช้จ่ายในการซื้อที่นอนหมอนมุ้งหรือเครื่องเรือนสำหรับเรือนหอ แต่ชายผิดสัญญาหมั้นไม่มาทำการสมรส ฝ่ายหญิงเรียกค่าทดแทนได้ เป็นต้น ค่าใช้จ่ายในข้อนี้กฎหมายจำกัดเฉพาะค่าใช้จ่ายในการเตรียมการสมรสโดยสุจริตและตามสมควร ไม่ได้ขยายไปถึงค่าใช้จ่ายในการหมั้นด้วย ฉะนั้นค่าหมากพลูและขนมที่บรรจุในขันหมากหมั้น ค่าพาหนะและค่าเลี้ยงแขกในวันหมั้นเหล่านี้ ไม่ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายในการเตรียมการสมรส
(3) ทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่คู่หมั้นได้จัดการทรัพย์สินหรือการอื่นอันเกี่ยวแก่อาชีพ หรือทางทำมาหาได้ของตนไปโดยสมควรด้วยการคาดหมายว่าจะได้มีการสมรส เช่น หญิงเลิกทำการค้าขายหรือขายที่ดินทรัพย์สินของตนในกรุงเทพโดยขาดทุน เพื่อเตรียมจะสมรสกับชายที่อยู่ต่างจังหวัด หรือหญิงประกอบอาชีพเป็นทันตแพทย์ได้เลิกทำอาชีพนี้เพื่อไปทำการสมรส หรือชายสละสิทธิได้รับเรียกให้เข้ารับราชการหรือลาออกจากราชการเพื่อเตรียมจะสมรสกับหญิงที่อยู่ต่างประเทศเหล่านี้ หญิงหรือชายคู่หมั้นที่ได้รับความเสียหายดังกล่าวก็ชอบที่จะเรียกค่าทดแทนความเสียหายเช่นว่านี้ได้
ถ้าชายผิดสัญญาหมั้น หญิงไม่ต้องคืนของหมั้น แต่หากหญิงผิดสัญญาหมั้น หญิงต้องคืนของหมั้นให้แก่ชาย (มาตรา 1339 + มาตรา 1440 วรรคท้าย)
การระงับสิ้นไปแห่งสัญญาหมั้น และค่าทดแทน
การหมั้นระหว่างชายและหญิงอาจสิ้นสุดลงด้วยเหตุ 3 ประการ คือ
(1) คู่สัญญาหมั้นทั้งสองฝ่ายตกลงยินยอมเลิกสัญญา จะตกลงด้วยวาจาก็ได้ เมื่อเลิกสัญญาหมั้นกันแล้ว ฝ่ายหญิงต้องคืนของหมั้นและสินสอดให้แกฝ่ายชาย และคู่สัญญาจะเรียกค่าทดแทนอะไรจากกันไม่ได้
(2) ชายคู่หมั้นหรือหญิงคู่หมั้นถึงแก่ความตาย ตามมาตรา 1441 กรณีการตายนี้มิใช่เป็นการผิดสัญญาหมั้น คู่หมั้นอีกฝ่ายหนึ่งจะเรียกเอาค่าทดแทนจากกันไม่ได้ แม้ความตายนั้นจะเกิดจากความผิดของอีกฝ่ายหนึ่ง เช่น หญิงเบื่อชายคู่หมั้น จึงฆ่าตัวตายเพื่อจะไม่ต้องสมรสกับชายคู่หมั้น หรือหญิงคู่หมั้นหรือบิดามารดาของหญิงคู่หมั้นจงใจฆ่าชายคู่หมั้นเพื่อที่จะไม่ต้องให้มีการสมรสเกิดขึ้นก็ดี ในสองกรณีเช่นว่านี้ ฝ่ายหญิงไม่ต้องคืนของหมั้นและสินสอดให้แก่ฝ่ายชายเช่นเดียวกัน
(3) การเลิกสัญญาหมั้นโดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งบอกเลิกสัญญาหมั้นเนื่องจากมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิงคู่หมั้น หรือชายคู่หมั้น
(3.1)ชายบอกเลิกสัญญาหมั้นโดยมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิงคู่หมั้น ตามมาตรา 1442 ให้สิทธิชายที่จะบอกเลิกสัญญาหมั้นได้และหญิงคู่หมั้นก็จะต้องคืนของหมั้นและสินสอดให้แก่ชายด้วย เช่น หญิงคู่หมั้นเกิดวิกลจริต ยินยอมให้ชายอื่นร่วมประเวณีในระหว่างการหมั้น หน้าถูกน้ำร้อนลวกจนเสียโฉม ได้รับอันตรายสาหัสจนต้องถูกตัดแขนทั้งสองข้าง หรือเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรง เป็นต้น แต่การที่หญิงไม่ยอมให้ชายคู่หมั้นร่วมประเวณีด้วย ชายจะถือเป็นเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิงคู่หมั้นไม่ได้ เพราะหญิงยังไม่มีหน้าที่ที่จะต้องอยู่กินฉันสามีกับชาย
(3.2) หญิงบอกเลิกสัญญาหมั้นโดยมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่ชายคู่หมั้น ตามมาตรา 1443 ให้สิทธิแก่หญิงคู่หมั้นที่จะบอกเลิกสัญญาหมั้นได้โดยมิต้องคืนของหมั้นและสินสอดแก่ชาย เช่น ชายไร้สมรรถภาพทางเพศ เป็นคนวิกลจริต เป็นคนพิการ เป็นนักโทษและกำลังรับโทษจำคุกอยู่ ฯลฯ แต่สำหรับกรณีที่ชายไปร่วมประเวณีกับหญิงอื่น ตามธรรมเนียมประเพณีของไทยไม่ถือว่าเป็นเรื่องชั่วช้าน่าละอาย จึงไม่ถือว่าเป็นเหตุที่หญิงจะไม่ยอมทำการสมรส แต่ถ้าชายไปเป็นชู้กับภริยาคนอื่นหรือไปข่มขืนกระทำชำเราหญิงอื่น ถือกันว่าเป็นสิ่งที่น่าละอาย หญิงคู่หมั้นมีสิทธิไม่ยอมสมรสด้วยได้ อย่างไรก็ดีแม้เหตุสำคัญอันเกิดแก่ชายคู่หมั้นเกิดขึ้นเพราะความผิดของหญิงคู่หมั้นเอง เช่น หญิงคู่หมั้นขับรถยนต์ไปกับชายคู่หมั้น แต่ขับรถด้วยความประมาทอย่างร้ายแรง รถยนต์คว่ำชายคู่หมั้นตาบอดทั้งสองข้าง หญิงคู่หมั้นก็ยังมีสิทธิบอกเลิกสัญญาหมั้นกับชายคู่หมั้นที่พิการได้
ค่าทดแทนในการเลิกสัญญาหมั้น
1. ค่าทดแทนที่คู่หมั้นเรียกจากกันในกรณีบอกเลิกสัญญาหมั้น เพราะการกระทำชั่วอย่างร้ายแรงของคู่หมั้น ตามมาตรา 1444 การกระทำชั่วอย่างร้ายแรงนั้น จะต้องเกิดขึ้นภายหลังการหมั้นแล้ว
2. ค่าทดแทนจากชายอื่นที่ล่วงเกินหญิงคู่หมั้นทางประเวณี ตามมาตรา 1445 และมาตรา 1446 แบ่งออกเป็น
2.1 การที่ชายอื่นร่วมประเวณีกับหญิงคู่หมั้น โดยหญิงคู่หมั้นยินยอมมี หลัก คือ (ม.1445)
(1) ชายอื่นร่วมประเวณีกับหญิงคู่หมั้น
(2) ชายอื่นนั้นรู้หรือควรรู้ว่าหญิงได้หมั้นกับชายคู่
หมั้นแล้วและรู้ด้วยว่าชายคู่หมั้นเป็นใคร
(3) ชายคู่หมั้นได้บอกเลิกสัญญาหมั้นแล้ว
2.2 การที่ชายอื่นข่มขืนหรือพยายามข่มขืนกระทำชำเราหญิงคู่หมั้น มีหลัก คือ (ม.1446)
(1) ชายอื่นจะต้องรู้ว่าหญิงมีคู่หมั้นแล้ว แต่ไม่จำเป็น
ต้องรู้ว่าชายคู่หมั้นเป็นใคร
(2) ชายคู่หมั้นไม่จำเป็นต้องบอกเลิกสัญญาหมั้นก่อน
ข้อสังเกต หญิงคู่หมั้นไม่มีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่นที่มาล่วงเกินชายคู่หมั้นทางประเวณี จะนำมาตรา 1445 และมาตรา 1446 มาอนุโลมใช้บังคับไม่ได้
การสมรส
1. คู่สมรสฝ่ายหนึ่งจะต้องเป็นชายและอีกฝ่ายหนึ่งจะต้องเป็นหญิง (ม.1448)
2. การสมรสจะต้องเป็นการกระทำโดยสมัครใจของชายและหญิง หากชายและหญิงไม่สมัครใจในการสมรส การสมรสนั้นเป็นโมฆะ
3. การอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาจะต้องเป็นระยะเวลาชั่วชีวิต การที่ชายและหญิงทำการสมรสกันโดยมีข้อตกลงว่าเมื่อครบกำหนดระยะเวลาใดเวลาหนึ่งแล้วให้การสมรสสิ้นสุดลง ข้อตกลงเช่นนี้ขัดต่อความสงบฯ ตกเป็นโมฆะ ตามมาตรา 150 (แต่การสมรสยังสมบูรณ์)
4. การสมรสจะต้องมีคู่สมรสเพียงคนเดียว
เงือนไขแห่งการสมรส
1. ชายและหญิงต้องมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์แล้วทั้งสองคน (มาตรา 1448)
หากชายหญิงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายฝ่าฝืนเงื่อนไขไปทำการสมรสโดยที่อายุไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ การสมรสนั้นเป็นโมฆียะตามมาตรา 1503 ผู้มีส่วนได้เสีย คือ บิดามารดาและตัวชายหญิงนั้นเองมีสิทธินำคดีขึ้นสู่ศาลขอให้พิพากษาเพิกถอนการสมรสนั้นได้ ตามมาตรา 1504 หากมิได้เพิกถอนการสมรส จนชายหญิงมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ หรือหญิงเกิดมีครรภ์ขึ้นมาก่อนหญิงอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ กฎหมายถือว่าการสมรสที่เป็นโมฆียะนั้นสมบูรณ์มาตั้งแต่เวลาสมรส จะขอให้ศาลเพิกถอนอีกไม่ได้
2. ชายหรือหญิงต้องไม่เป็นคนวิกลจริต หรือเป็นบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ ตามมาตรา 1449 ถ้าฝ่าฝืนการสมรสตกเป็นโมฆะ ตามมาตรา 1495
3. ชายและหญิงมิได้เป็นญาติสืบสายโลหิตต่อกันหรือเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาหรือร่วมแต่บิดา หรือมารดา ตามมาตรา 1450 ถ้าฝ่าฝืนการสมรสตกเป็นโมฆะ ตามมาตรา1495
4. ผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมจะสมรสกันไม่ได้ ตามมาตรา1451แต่กฎหมายมิได้บัญญัติให้การสมรสที่ฝ่าฝืนเงื่อนไขข้อนี้เป็นโมฆะหรือโมฆียะ เนื่องจากผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมไม่มีความสัมพันธ์ในทางสายโลหิตกันเลย และมีมาตรา 1598/32 บัญญัติว่า การรับบุตรบุญธรรมย่อมเป็นอันยกเลิกเมื่อมีการสมรสฝ่าฝืนมาตรา 1451 จึงทำให้การสมรสที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าวมีผลสมบูรณ์ทุกประการ
5. ชายหรือหญิงมิได้เป็นคู่สมรสของบุคคลอื่นอยู่ ตามมาตรา 1452 การสมรสที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าวเป็นโมฆะ ตามมาตรา 1495 ผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิกล่าวอ้างว่าการสมรสซ้อนนั้นเป็นโมฆะ หรือจะนำคดีมาสู่ศาลเพื่อขอให้มีคำพิพากษาแสดงว่าการสมรสซ้อนนั้นเป็นโมฆะก็ได้ เมื่อมีการกล่าวอ้างหรือเมื่อศาลมีคำพิพากษาแล้วการสมรสซ้อนครั้งหลังนี้ย่อมเสียเปล่ามาตั้งแต่แรกเริ่ม แต่ถ้ายังไม่มีการกล่าวอ้างหรือคำพิพากษาดังกล่าว ก็ต้องถือว่าชายหญิงในการสมรสครั้งหลังนั้นยงคงเป็นสามีภริยากันตามกฎหมาย การสมรสซ้อนนี้แม้ชายหรือหญิงคู่สมรสจะกระทำการสมรสโดยสุจริตไม่ทราบว่ามีการสมรสเดิมอยู่แล้วก็ตาม ก็ไม่มีผลทำให้สมบูรณ์ขึ้นมาได้ ยังคงเป็นโมฆะอยู่นั้นเอง แต่คู่สมรสผู้ทำการโดยสุจริตไม่เสื่อมสิทธิที่ได้มาเพราะการสมรสนั้นก่อนที่ตนจะรู้เหตุที่ทำให้การสมรสเป็นโมฆะ
ในกรณีที่ชายหรือหญิงมีคู่สมรสอยู่แล้วแต่การสมรสนั้นเป็นโมฆะหรือเป็นโมฆียะ ชายหรือหญิงเช่นว่านี้ไม่อาจสมรสใหม่ได้จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาแสดงว่าการสมรสเป็นโมฆะหรือศาลพิพากษาให้เพิกถอนการสมรสที่เป็นโมฆะเสียก่อน ทั้งนี้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1496 และมาตรา 1497 ส่วนการสมรสที่เป็นโมฆียะเป็นการสมสรที่สมบูรณ์จนกว่าจะถูกศาลพิพากษาให้เพิกถอนตามมาตรา 1502 ก่อนศาลพิพากษาให้เพิกถอนการสมรส ถือว่าเป็นสามีภริยากันตามกฎหมาย
ตัวอย่าง นายเขียวข่มขู่นางขาวให้สมรสกับตน การสมรสนี้เป็นโมฆียะ แต่นางขาวก็ไม่มีสิทธิทำการสมรสใหม่ จนกว่าจะขอให้ศาลเพิกถอนการสมรสระหว่างตนกับนายเขียวเสียก่อน หากขืนสมรสใหม่ การสมรสใหม่นี้เป็นการสมรสซ้อนอันเป็นโมฆะ
6. ชายหญิงยินยอมเป็นสามีภริยากัน ตามมาตรา 1458 สำหรับการที่ชายหลอกลวงหญิงมาจดทะเบียนสมรสเป็นภริยาโดยรับรองว่าจะเลี้ยงดูให้สุขสบาย แต่ภายหลังกลับทิ้งขวาง เช่นนี้ จะถือว่าหญิงมิได้ยินยอมไม่ได้ การสมรสดังกล่าวสมบูรณ์ทุกประการ อย่างไรก็ดีการที่ชายหญิงทำการสมรสกันโดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายสำคัญผิด หรือชายให้หญิงเสพย์ยาเสพติดจนเมามายไม่ได้สติแล้วพาไปจดทะเบียนสมรส เช่นนี้ ถือไม่ได้ว่ามีการยินยอมเป็นสามีภริยากัน การสมรสดังกล่าวจึงเป็นโมฆะ
อย่างไรก็ตาม การที่ชายหญิงทำสัญญาประนีประนอมยอมความว่าจะไปจดทะเบียนสมรสกันที่อำเภอนั้นไม่เป็นการผิดกฎหมายและไม่เป็นโมฆะ เพราะคู่กรณีอาจไปจดทะเบียนสมรสได้ตามที่ยอมความกัน
7. หญิงหม้ายจะสมรสใหม่ได้ต่อเมื่อขาดจากการสมรสเดิมแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน แต่มีข้อยกเว้นตามมาตรา 1453
8. ผู้เยาว์จะทำการสมรสได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของบิดามารดาหรือผู้ปกครองตามมาตรา 1454 เมื่อให้ความยินยอมมาถูกต้องตามแบบวิธีการตามมาตรา 1455 แล้วจะถอนความยินยอมนั้นไม่ได้ เพราะเมื่อให้ความยินยอมถูกต้องตามกฎหมายแล้วนายทะเบียนย่อมต้องจดทะเบียนสมรสให้ นอกจากนี้แม้จะยังมิได้มีการจดทะเบียนสมรสก็ตาม บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้ปกครองที่ให้ความยินยอมให้ผู้เยาว์ทำการสมรสแล้วจะเปลี่ยนใจไม่ยอมให้ผู้เยาว์ทำการสมรสโดยจะถอนความยินยอมนั้นไม่ได้ เพราะมาตรา 1455 วรรคท้าย บัญญัติห้ามไว้เด็ดขาดไม่ยอมให้มีการถอนความยินยอมนี้
ในกรณีที่บิดามารดาทำหนังสือแสดงความยินยอมไว้แล้ว แต่บิดาถึงแก่ความตายไปก่อนที่ผู้เยาว์จะไปจดทะเบียนสมรส คงเหลือมารดาเพียงผู้เดียว เช่นนี้ ผู้เยาว์ก็ยังสามารถไปจดทะเบียนสมรสโดยใช้หนังสือแสดงความยินยอมเช่นว่านั้นได้ เพราะมาดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์เพียงในขณะจดทะเบียน
แต่ถ้าบิดาและมารดาถึงแก่ความตายทั้งสองคน หนังสือแสดงความยินยอมดังกล่าวย่อมสิ้นผล ผู้เยาว์ต้องมาขอความยินยอมใหม่จากผู้ปกครองหรือขออนุญาตศาลให้ทำการสมรส ตามมาตรา 1456
หากผู้เยาว์ฝ่าฝืนเงื่อนไขเกี่ยวกับเรื่องความยินยอมของผู้ใช้อำนาจปกครองไปทำการสมรสโดยมิได้รับความยินยอมดังกล่าว การสมรสนั้นเป็นโมฆียะตามมาตรา 1509 แต่เฉพาะบิดาและมารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือผู้ปกครองซึ่งเป็นผู้มีสิทธิให้ความยินยอมเท่านั้นจึงจะมีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนการสมรสที่เป็นโมฆียะนี้ได้ ตัวชายหรือหญิงคู่สมรสเองไม่มีสิทธิฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนการสมรส เพราะตนเองมีคุณสมบัติที่จะทำการสมรสได้อยู่แล้ว
ระวัง สิทธิขอเพิกถอนการสมรสเป็นอันระงับสิ้นไปเมื่อชายหญิงคู่สมรสนั้นมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ หรือเมื่อหญิงมีครรภ์แล้ว และการฟ้องขอเพิกถอนการสมรสในกรณีที่ผู้เยาว์ทำการสมรสโดยไม่ได้รับความยินยอมนี้มีอายุความ 1 ปี นับแต่วันทราบการสมรส ตามมาตร 1510
แบบแห่งการสมรส
การสมรสจะมีได้เฉพาะเมื่อได้จดทะเบียนสมรสแล้วเท่านั้น ตามมาตรา 1457
ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา
1. การอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา อย่างไรก็ดีการที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งไม่ยอมอยู่กินด้วยกันกับอีกฝ่ายหนึ่งนั้นไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายบัญญัติไว้โดยตรงว่าจะฟ้องร้องบังคับกันได้หรือไม่ แต่น่าจะฟ้องร้องไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องเฉพาะภายในครอบครัว เช่น ภริยาไม่ยอมอยู่กินด้วยกันกับสามีโดยแยกไปอยู่กับญาติ สามีจะให้สมัครพรรคพวกไปบังคับนำตัวภริยากลับมาอยู่บ้านกับตน โดยอ้างว่าเพื่อบังคับตามสิทธิในการอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาไม่ได้ แต่ในกรณีดังกล่าวอาจมีผลกระทบต่างๆ เช่น
ประการที่ 1 หากสามีข่มขืนกระทำชำเราภริยา ภริยาจะฟ้องคดีความผิดฐานข่มขืนไม่ได้
ประการที่ 2 การที่ภริยาปฏิเสธไม่ยอมให้สามีร่วมประเวณีด้วยอาจเป็นการกระทำอันเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง ซึ่งเป็นเหตุให้สามีฟ้องหย่าได้ตามมาตรา 1516 (6) และ
ประการที่ 3 ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ยอมอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา โดยจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปี ก็เป็นเหตุหย่าตามมาตรา 1516 (4)
2. การช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกัน หากสามีภริยาไม่ช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามสาควร อีกฝ่ายหนึ่งย่อมฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูได้ตามมาตรา 1598/38 หรือหากประสงค์จะหย่าขาดจากกันก็อาจฟ้องหย่าได้ตามมาตรา 1516 (6) สิทธิที่จะได้ค่าอุปการะเลี้ยงดูนี้จะสละหรือโอนมิได้ และไม่อยู่ในข่ายแห่งการบังคับคดี ตามมาตรา 1598/41
3. การแยกกันอยู่ต่างหากชั่วคราว
3.1 สามีภริยาอาจทำข้อตกลงระหว่างกันเพื่อแยกกันอยู่ต่างหากเป็นการชั่วคราวได้ ข้อตกลงเช่นว่านี้ใช้บังคับได้ เมื่อสามีภริยาทำข้อตกลงแยกกันอยู่ต่างหากจากกันแล้วสามีภริยาต่างฝ่ายต่างหมดหน้าที่ที่จะต้องอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาต่อไป แต่สถานะความเป็นสามีภริยายังคงมีอยู่ยังไม่ถือว่าการสมรสสิ้นสุดลง สามีหรือภริยาแต่ละฝ่ายจึงจะทำการสมรสใหม่ไม่ได้ ผลของข้อตกลงนี้มีเพียงทำให้การแยกกันอยู่นี้แม้จะเป็นเวลาเกิน 1 ปี ก็ไม่ถือว่าเป็นการจงใจละทิ้งร้าง คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจึงจะมาอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าตามมาตรา 1516 (4) ไม่ได้ แต่ถ้าหากการตกลงแยกกันอยู่นี้ เป้นเพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขและสามีภริยาได้แยกกันอยู่แล้วเป็นเวลาเกิน 3 ปี สามีหรือภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิฟ้องหย่าได้ตามมาตรา 1516 (4/2)
3.2 ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้แยกกันอยู่ต่างหากเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา 1462
(1) การอยู่ร่วมกันจะเป็นอันตรายแก่กายอย่างมากของสามีหรือภริยา เช่น สามีเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรง เป็นต้น
(2) การอยู่ร่วมกันจะเป็นอันตรายแก่จิตใจอย่างมากของสามีหรือภริยา เช่น สามีชอบพาพาร์ทเนอร์มานอนบ้านเป็นประจำ เป็นการทำลายจิตใจของภริยาอย่างมาก เป็นต้น
(3) การอยู่ร่วมกันจะเป็นการทำลายความผาสุขอย่างมากของสามีหรือภริยา เช่น สามีเป็นคนวิกลจริตมีอาการดุร้ายเป็นที่หวาดกลัวแก่ภริยา แต่เนื่องจากยังไม่ครบกำหนด 3 ปี จึงฟ้องหย่าไม่ได้ ภริยาก็อาจมาร้องขอต่อศาลให้สั่งอนุญาตให้ตนอยู่ต่างหากจากสามีเป็นการชั่วคราวได้
3.3 การสิ้นสุดของการแยกกันอยู่
(1) สามีภริยาตกลงกันยกเลิกการแยกกันอยู่
(2) สามีภริยาหย่าขาดจากกัน
(3) สามีภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถึงแก่ความตาย
ทรัพย์สินและหนี้สินระหว่างสามีภริยา
สัญญาก่อนสมรสในเรื่องทรัพย์สิน
1. การทำสัญญาก่อนสมรสในเรื่องทรัพย์สิน คู่สมรสอาจจะกระทำได้โดยการจดแจ้งสัญญาก่อนสมรสนั้นไว้ในทะเบียนสมรสพร้อมกับจดทะเบียนสมรส หรือจะทำเป็นหนังสือลงลานมือชื่อคู่สมรสและพยานอย่างน้อยสองคนแนบไว้ท้ายทะเบียนสมรสพร้อมทั้งจดไว้ในทะเบียนสมรสว่าได้มีสัญญานั้นแนบไว้ก็ได้ ถ้าไม่ทำตามแบบที่กำหนดนี้สัญญานั้นเป็นโมฆะตามมาตรา 1466
การเปลี่ยนแปลงข้อสัญญาในสัญญาก่อนสมรส เมื่อสมรสแล้วจะเปลี่ยนแปลงเพิกถอนสัญญาก่อนสมรสนั้นไม่ได้ นอกจากจะได้รับอนุญาตจากศาล
2. สัญญาระหว่างสมรสในเรื่องทรัพย์สิน กฎหมายมิได้กำหนดแบบไว้เป็นพิเศษ ไม่เหมือนกับสัญญาก่อนสมรสที่จะต้องมีการจดแจ้งไว้ในทะเบียนสมรสด้วย ทั้งนี้เพราะสัญญาระหว่างสมรสอาจเป็นเอกเทศสัญญาซึ่งไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วยก็ได้ แต่อย่างไรก็ดีมาตรา 1437/1 ห้ามมิให้ทำสัญญาระหว่างสมรสในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดการสินสมรสที่สำคัญที่สามีและภริยาจะต้องจัดการร่วมกัน เช่น สามีและภริยาจะทำสัญญาระหว่างสมรสให้ภริยามีอำนาจจำนองที่ดินสินสมรสแต่ผู้เดียว อันเป็นการผิดแผกแตกต่างจากมาตรา 1476 ที่กำหนดไว้ให้สามีและภริยาจะต้องจัดการร่วมกันนั้นไม่ได้ สัญญาระหว่างสมรสดังกล่าวใช้บังคับไม่ได้
ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา
1. สินส่วนตัว ตามมาตรา 1471 ได้แก่ทรัพย์สิน
1.1 ทรัพย์สินที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส ทรัพย์สินเช่นว่านี้จะต้องตกเป็นกรรมสิทธิ์โดยกรรมสิทธิ์ของคู่สมรสฝ่ายนั้นแล้ว แต่ถ้าทรัพย์สินนั้นยังไม่ตกเป็นกรรมสิทธิ์เด็ดขาดของคู่สมรสฝ่ายใด แม้จะอยู่ในเงื่อนไขที่จะต้องได้กรรมสิทธิ์มาในภายหลัง ก็ไม่ถือว่าเป็นทรัพย์สินที่มีอยู่ก่อนสมรส เช่น ชายทำสัญญาจะซื้อที่ดินวางมัดจำไว้ เมื่อสมรสแล้วจึงรับโอนทะเบียนมา กรณีเช่นนี้จะถือว่าที่ดินเป็นทรัพย์สินที่ชายมีอยู่แล้วก่อนสมรสไม่ได้ (ฏ.480/2498)
1.2 ทรัพย์สินที่เป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัว เครื่องแต่งกาย หรือเครื่องประดับกายตามควรแก่ฐานะ หรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
1.3 ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดกหรือการให้โดยเสน่หา ทรัพย์สินเหล่านี้ถือว่าเป็นสินส่วนตัวของสามีหรือภริยาผู้ที่ได้รับมาทั้งสิ้น ไม่ถือว่าเป็นสินสมรส ทั้งๆ ที่ได้มาระหว่างสมรส
1.4 ในกรณีที่สามีหรือภริยาได้รับรางวัลจากการกระทำสิ่งใดหรือจากการประกวดชิงรางวัล รางวัลที่ได้รับมานั้นเป็นสินส่วนตัว
1.5 ทรัพย์ที่เป็นของหมั้น เป็นสินส่วนตัวของภริยา
1.6 ของแทนสินส่วนตัว ทรัพย์สินที่เป็นสินส่วนตัวนั้นถ้าได้มีการแลกเปลี่ยนเป็นทรัพย์สินอื่นก็ดี ซื้อทรัพย์สินอื่นมาด้วยเงินสินส่วนตัวก็ดี หรือขายสินส่วนตัวได้เงินมาก็ดี ทรัพย์สินอื่นหรือเงินที่ได้มานั้นยงคงเป็นสินส่วนตัวอยู่ตามเดิม เพราะเป็นไปตามหลักในเรื่องช่วงทรัพย์ ตามมาตรา 226 วรรคสอง หรือสินส่วนตัวที่ถูกทำลายไปทั้งหมดหรือแต่บางส่วน แต่ได้ทรัพย์สินหรือเงินมาทดแทน ทรัพย์สินอื่นหรือเงินที่ได้มานั้นเป็นสินส่วนตัวเช่นเดียวกัน
1.7 การจัดการสินส่วนตัวของคู่สมรสฝ่ายใดให้ฝ่ายนั้นเป็นผู้จัดการ ตามมาตรา 1473
2. สินสมรส ตามมาตรา 1474 มีอยู่ 3 ชนิดคือ
2.1 ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส โดยไม่ต้องคำนึงว่าฝ่ายใดมีส่วนร่วมในการทำมาหาได้นั้นหรือไม่ นอกจากนี้การที่สามีภริยาแยกกันอยู่หรือทิ้งร้างกันโดยไม่ได้หย่าขาดจากกันโดยเด็ดขาด ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ในระหว่างนั้นก็ถือว่าเป็นสินสมรสด้วย
• เงินบำเหน็จ บำนาญ เบี้ยหวัด ค่าชอเชยในการออกจากงานหรือการเลิกจ้างหรือผลประโยชน์ตอบแทนในการเกษียณอายุจากการทำงาน ที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรส มิใช้เป็นการได้มาโดยการให้โดยเสน่หา แต่เป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานที่ผ่านมาของข้าราชการหรือลูกจ้าง เงินเหง่านี้จึงเป็นสินสมรส
• สำหรับทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสโดยคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเข้าถือเอา หรือโดยการครอบครองปรปักษ์ตามมาตรา 1382 ก็ถือว่าเป็นสินสมรส หรือแม้กระทั่งทรัพย์สินที่ได้มาโดยการกระทำความผิดทางอาญาก็ถือว่าว่าเป็นสินสมรสเช่นเดียวกัน
• ถ้าสินสมรสนั้นเป็นทรัพย์ที่เป็นประธานแล้วต่อมามีทรัพย์อื่นประกอบเป็นส่วนควบ ส่วนควบนั้นก็ย่อมกลายเป็นสินสมรสไปด้วย
• สำหรับดอกผลของสินสมรสก็ย่อมเป็นสินสมรสเช่นเดียวกัน
2.2 ทรัพย์สินที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือการให้เป็นหนังสือ ทรัพย์สินเช่นว่านี้เป็นสินส่วนตัวของฝ่ายนั้นตามมาตรา 1471 (3) แต่หากเจ้ามรดกหรือผู้ให้ระบุไว้ในพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ ระบุว่าให้เป็นสินสมรสจึงจะเป็นสินสมรส
2.3 ทรัพย์สินที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว กฎหมายในเรื่องครอบครัวได้บัญญัติไว้เป็นพิเศษว่า ดอกผลของสินส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็นดอกผลธรรมดาหรือดอกผลนิตินัยให้เป็นสินสมรส ทั้งนี้ เพราะถือว่าดอกผลเหล่านี้ได้มาระหว่างสมรส เช่น ก่อนสมรสสามีมีเงินฝากประจำอยู่ในธนาคาร 100,000 บาท หลังจากสมรสแล้วธนาคารคิดดอกเบี้ยให้ 8,000 บาท เงิน 8,000 บาทนี้เป็นสินสมรส
การจัดการสินสมรส
(1) หลัก สามีหรือภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอำนาจจัดการสินสมรสได้โดยลำพัง เว้นแต่การจัดการที่สำคัญจึงจะต้องจัดการร่วมกัน ตามมาตรา 1476
(2) สามีภริยาเพียงคนเดียวมีอำนาจฟ้องหรือต่อสู้คดีเกี่ยวกับสินสมรส ตามมาตรา 1477
(3) ถ้าสามีหรือภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ไห้ความยินยอมในการจัดการสินสมรสที่สำคัญ อีกฝ่ายหนึ่งอาจขอให้ศาลสั่งอนุญาตแทนความยินยอมได้ ตามมาตรา 1478
(4) ถ้าสามีหรือภริยาจัดการสินสมรสที่สำคัญไปโดยลำพัง คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งที่มิได้ยินยอมอาจขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมนั้นได้ ตามมาตรา 1480 แต่การเพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวอาจจะเป็นที่เสียหายแก่บุคคลภายนอกได้ ดังนั้นมาตรา 1480 จึงได้บัญญัติคุ้มครองบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน ซึ่งการเพิกถอนนิติกรรมนั้นจะไปกระทบกระเทือนสิทธิของบุคคลภายนอกดังกล่าวนั้นไม่ได้
มาตรา 1480 วรรคท้าย กำหนดให้คู่สมรสฝ่ายที่ไม่ได้ให้ความยินยอมในการทำนิติกรรมนั้นจะต้องฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมนั้นเสียภายในกำหนด 1 ปีนับแต่วันที่รู้ว่าได้มีการทำนิติกรรมหรืออย่างช้าภายใน 10 ปี นับแต่วันที่ได้ทำนิติกรรม
(5) สามีหรือภริยาไม่มีอำนาจทำพินัยกรรมยกสินสมรสที่เกินกว่าส่วนของตนให้แก่บุคคลใดได้ ตามมาตรา 1481
(6) สามีหรือภริยาโดยลำพังมีอำนาจจัดการบ้านเรือนหรือจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัวได้เสมอ ตามมาตรา 1482
(7) สามีหรือภริยาอาจขอให้ศาลสั่งห้ามคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งมิให้จัดการสินสมรสอันจะก่อให้เกิดความเสียหายถึงขนาดได้ ตามมาตรา 1483
(8) ถ้ามีเหตุจำเป็น สามีหรือภริยาอาจขอให้ศาลสั่งอนุญาตให้ตนเป็นผู้จัดการสินสมรสแต่ผู้เดียวหรือขอให้แยกสินสมรสได้ ตามมาตรา 1484
ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาที่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ต้องถือว่าต่างมีสิทธิเป็นเจ้าของคนละครึ่ง (ฎ.516/2508)
ความรับผิดในหนี้สินของสามีภริยา
1.หนี้ที่มีมาก่อนสมรส คงเป็นหนี้ที่ฝ่ายนั้นจะต้องรับผิดเป็นส่วนตัวแต่เพียงผู้เดียว แม้จะเป็นหนี้ที่สามีภริยาเป็นหนี้ระหว่างกันเองมาก่อนสมรสก็ตาม ก็ยังคงเป็นลูกหนี้กันอยู่ดังที่กล่าวมาแล้ว
2. หนี้ที่ก่อขึ้นในระหว่างสมรส หนี้ที่ก่อขึ้นในระหว่างสมรสอาจจะเป็นหนี้ส่วนตัวของสามีหรือภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือเป็นหนี้ร่วมที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันก็ได้แล้วแต่กรณี ซึ่งโดยหลักแล้วคู่สมรสฝ่ายใดเป็นผู้ก่อให้เกิดหนี้ หนี้ที่เกิดขึ้นก็เป็นหนี้ของฝ่ายนั้น เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นว่าเป็นหนี้ร่วมตามมาตรา 1490 เช่น สามีกู้เงินเพื่อไปเที่ยวต่างประเทศ ก็เป็นหนี้ส่วนตัวของสามีแต่ถ้ากู้เงินมาเพื่อให้การศึกษาแก่บุตร จึงเป็นหนี้ร่วมที่สามีและภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกัน เป็นต้น
หนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา
ตามมาตรา 1490 หนี้ร่วมระหว่างสามีภริยาจะต้องรับผิดชอบร่วมกัน มีอยู่ 4 ชนิด
1. หนี้เกี่ยวแก่การจัดการบ้านเรือนและจัดหาสิ่งที่จำเป็นสำหรับครอบครัว การอุปการะเลี้ยงดู ตลอกถึงการรักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัวและการศึกษาของบุตรตามสมควรแก่อัตภาพ
2. หนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรส เช่น หนี้เกี่ยวกับการซ่อมแซมบ้านเรือนที่เป็นสินสมรส เป็นต้น
3. หนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานซึ่งสามีภริยาทำด้วยกัน
4. หนี้ที่สามีหรือภริยาก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียว แต่อีกฝ่ายหนึ่งได้ให้สัตยาบัน คู่สมรสจะให้สัตยาบันด้วยวาจาก็ได้
การเอาทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาไปชำระหนี้
1. หนี้ส่วนตัวของสามีหรือภริยา ให้ชำระหนี้นั้นด้วยสินส่วนตัวของฝ่ายนั้นก่อน เมื่อไม่พอจึงให้ชำระด้วยสินสมรสที่เป็นส่วนของฝ่ายนั้น ตามมาตรา 1488
2. หนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา ให้ชำระหนี้นั้นจากสินสมรสและสินส่วนตัวของทั้งสองฝ่าย ตามมาตรา 1489
การสมรสที่เป็นโมฆะ
เหตุที่ทำให้การสมรสเป็นโมฆะ
1. การสมรสที่ชายหรือหญิงเป็นบุคคลวิกลจริตหรือเป็นบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามรถ (ม.1449+ม.1495)
2.การสมรสที่ชายหรือหญิงเป็นญาติสืบสายโลหิตโดยตรงต่อกันหรือเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาหรือร่วมแต่บิดาหรือมารดา (ม.1450+ม.1495)
3. การสมรสซ้อน (ม.1452+ม.1495)
4. การสมรสที่ชายหญิงไม่ยอมเป็นสามีภริยากัน (ม.1458+ม.1495)
คำพิพากษาของศาลเท่านั้นที่จะแสดงว่าการสมรสที่ฝ่าฝืนมาตรา 1449 มาตรา 1450 และมาตรา1458 เป็นโมฆะ (ตามมาตรา 1496)
ผลของการสมรสที่เป็นโมฆะ
1. การสมรสที่เป็นโมฆะไม่ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา ตามมาตรา 1498
2. การสมรสที่เป็นโมฆะ ไม่ทำให้คู่สมรสที่สุจริตเสื่อมสิทธิที่ได้มาเพราะการสมรสและยังมีสิทธิเรียกค่าเลี้ยงชีพและค่าทดแทนอีกด้วย ตามมาตรา 1499
3.การสมรสที่เป็นโมฆะไม่กระทบถึงสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริต ตามมาตรา 1500
4. การสมรสที่เป็นโมฆะไม่มีผลกระทบกระเทือนถึงการเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา 1536 มาตรา 1538 และมาตรา 1499/1
การสิ้นสุดแห่งการสมรส
1. การสมรสสิ้นสุดลงด้วยความตาย ความตายในที่นี้ หมายความถึง ความตายตามธรรมชาติ ไม่ได้หมายความถึงความตายโดยผลของกฎหมาย หรือการสาบสูญซึ่งเป็นเพียงเหตุหย่าตามมาตรา 1516 (5)
2.การสมรสที่เป็นโมฆียะสิ้นสุดลงเมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอน
เหตุที่ทำให้หารสมรสเป็นโมฆียะ
1.การสมรสที่ชายและหญิงอายุยังไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ (ม.1448+ม.1504)
2.การสมรสโดยสำคัญผิดตัวคู่สมรส (ม.1505)
3.การสมรสโดยถูกกลฉ้อฉล (ม.1506)
4.การสมรสโดยถูกข่มขู่ (ม.1507)
5.การสมรสของผู้เยาว์ที่มิได้รับความยินยอมของบิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้ปกครอง (ม.1509+1510)
ผลของการเพิกถอนการสมรสที่เป็นโมฆียะ
1.การสมรสที่เป็นโมฆียะย่อมสิ้นสุดลงในวันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้เพิกถอน (ม. 1511)
2.ต้องมีการแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา และกำหนดการปกครองบุตรเช่นเดียวกับการหย่าโดยคำพิพากษา (ม.1512)
3.มีการชดใช้ค่าเสียและค่าเลี้ยงชีพ (ม.1513)
การหย่า
1.การหย่าโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย มีหลักดังนี้
1.1 ต้องทำเป็นหนังสือและมีพยานลงลายมือชื่ออย่างน้อย 2 คน และ (ม.1514)
1.2 การหย่าโดยความยินยอมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนการหย่า(ม.1515)
2.การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล โดยอาศัยเหตุฟ้องหย่าตามมาตรา 1516
1.การหมั้น
2.การสมรส
3.ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา
4.ทรัพย์สินและหนี้สินระหว่างสามีภริยา
5.การสมรสที่เป็นโมฆะ
6.บิดามารดากับบุตร
7.สิทธิและหน้าที่ระหว่างบิดามารดากับบุตร
8.บุตรบุญธรรม
9.ค่าอุปการะเลี้ยงดู
การหมั้น
เงือนไขของการหมั้น
1.ชายและหญิงคู่หมั้นต้องมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์ (ม.1435) ถ้าการหมั้นกระทำโดยฝ่าฝืนมาตรา 1435 ผลคือ การหมั้นตกเป็นโมฆะ (ม.1435 ว.2)
• การหมั้นที่ทำโดยฝ่าฝืนมาตรา 1435 แม้จะได้รับความยินยอมจากบิดามารดาตามมาตรา 1436 หรือภายหลังจากการหมั้นแล้ว ชายและหญิงจะมีอายุครบ 17 ปี บริบูรณ์แล้วก็ตาม ผลก็ยังตกเป็นโมฆะ จะให้สัตยาบันก็ไม่ได้ เพราะขัดมาตรา 172 ซึ่งบัญญัติว่า โมฆะกรรมนั้นไม่อาจให้สัตยาบันแก่กันได้
• ชายหรือหญิงที่มีอายุต่ำกว่า 17 ปีบริบูรณ์จะขออนุญาตศาลทำการหมั้นไม่ได้ เพราะไม่มีกฎหมายให้อำนาจไว้ ผิดกับการสมรส ซึ่งหากมีเหตุสมควร ตามมาตรา 1448 ให้อำนาจศาลที่จะอนุญาตให้ชายหรือหญิงที่มีอายุต่ำกว่า 17 ปีบริบูรณ์ทำการสมรสได้
คำถาม ถ้าศาลอนุญาตให้ชายและหญิงที่มีอายุต่ำกว่า 17 ปีบริบูรณ์ทำการสมรสกันแล้ว ต่อมาชายและหญิงขาดจากการสมรสกัน และประสงค์จะทำการหมั้นใหม่ในขณะที่ตนมีอายุยังไม่ครบ 17 ปีบริบริบูรณ์ จะทำได้ไหม ? คำตอบ คือ ไม่สามารถทำได้ เพราะขัดต่อมาตรา 1435
• การหมั้นที่เป็นโมฆะ หากมีการให้ของหมั้นหรือสินสอดแก่ฝ่ายหญิง ก็ถือว่า เป็นการกระทำอันปราศจากมูลหนี้อันจะอ้างกฎหมายได้ ฝ่ายชายจึงมีสิทธิเรียกร้องเอาของหมั้นและสินสอดคืนได้ตามหลักกฎหมายว่าด้วยลาภมิควรได้ ตามมาตรา 412 หรือมาตรา 413
2. ผู้เยาว์ทำการหมั้นจะต้องได้รับความยินยอมของบิดามารดาหรือผู้ปกครองด้วย (มาตรา 1436) ถ้าการหมั้นที่ผู้เยาว์ทำโดยปราศจากความยินยอมดังกล่าว การหมั้นนั้นตกเป็นโมฆียะ
• สำหรับกรณีที่บิดามารแยกกันอยู่โดยที่มิได้หย่าขาดจากกัน บิดาและมารดายังเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์อยู่ ฉะนั้น หากผู้เยาว์จะทำการหมั้น ก็ต้องได้รับความยินยอมจากบิดาและมารดาทั้งสองคน
• ผู้เยาว์ที่บิดามารดาถึงแก่ความตายไปแล้วทั้งสองคน หากจะทำการหมั้นจะต้องมีการตั้งผู้ปกครองเสียก่อน เมื่อมีผู้ปกครองแล้วผู้เยาว์จึงมาขอความยินยอมจากผู้ปกครองให้ทำการหมั้น ผู้เยาว์เช่นว่านี้จะมาขออนุญาตต่อศาลให้ตนทำการหมั้นไม่ได้ เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติให้อำนาจไว้
• ในกรณีที่บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือผู้ปกครองผู้ซึ่งมีอำนาจให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ให้ทำการหมั้นไม่ไห้ความยินยอมโดยปราศจากเหตุผล ผู้เยาว์อาจใช้ทางแก้ในเรื่องของการขอถอนอำนาจปกครอง ตามมาตรา 1582 หรือมาตรา 1598/8 แล้วแต่กรณี
• การให้ความยินยอมในการหมั้น กฎหมายไม่ได้กำหนดแบบไว้ ฉะนั้น บิดามารดา ฯ อาจให้ความยินยอมโดยวิธีใดวิธีหนึ่ง คือ ด้วยวาจา โดยลายลักษณ์อักษร หรือโดยกริยาท่าทางอันเป็นปริยาย ว่าให้ความยินยอมก็ได้
แบบของการหมั้น
การหมั้นจะสมบูรณ์เมื่อฝ่ายชายได้ส่งหมอบหรือโอนทรัพย์สินอันเป็นของหมั้นให้แก่หญิง เพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงนั้น (มาตรา 1437) สัญญาหมั้นเป็นสัญญาพิเศษผิดกับสัญญาธรรมดา ฉะนั้น หากมีการหมั้นแต่ฝ่ายชายไม่มีของหมั้นมามอบให้หญิงแล้ว แม้จะมีการผิดสัญญาหมั้นก็จะฟ้องเรียกค่าทดแทนฐานผิดสัญญาหมั้นไม่ได้
การหมั้นจะต้องอยู่ในบังคับตามหลักทั่วไปในเรื่องของการแสดงเจตนาในการทำนิติกรรมด้วย เช่น การทำสัญญาหมั้นเพราะถูกข่มขู่ สัญญาหมั้นดังกล่าวเป็นโมฆียะตามมาตรา 164 หรือการหมั้นที่มีวัตถุประสงค์อันขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน สัญญาหมั้นนั้นเป็นโมฆะตามมาตรา 150 ด้วย เช่น พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันมาทำการหมั้นกัน
นอกจากนี้สัญญาหมั้นจะใช้บังคับได้ก็แต่เฉพาะ กรณีที่ชายไปทำการหมั้นหญิงเท่านั้น หากมีหญิงไปทำการหมั้นชาย หรือหญิงกับหญิงหมั้นกัน หรือชายกับชายหมั้นกัน สัญญาหมั้นเช่นว่านี้เป็นโมฆะตามมาตรา 150 เช่นกัน
ของหมั้น
- ของหมั้นนั้น ฝ่ายชายจะต้องได้ส่งมอบหรือโอนให้หญิงไว้เป็นกรรมสิทธิ์ เพียงแต่สัญญาว่าจะส่งทรัพย์ให้เป็นของหมั้น ไม่ถือว่าเป็นการให้ทรัพย์เป็นของหมั้น หรือการที่ฝ่ายชายมอบของหมั้นส่วนหนึ่งให้แก่หญิง อีกส่วนหนึ่งจะนำมามอบให้ในวันหน้านั้น คงเป็นของหมั้นเฉพาะทรัพย์ส่วนที่มอบให้ ส่วนที่ยังไม่ได้มอบไม่เป็นของหมั้น ฉะนั้นเมื่อชายตายของหมั้นที่มอบให้หญิงไว้แล้ว ตกเป็นของหญิง แต่หญิงจะฟ้องเรียกส่วนที่ยังไม่ได้นำมามอบให้ไม่ได้
- หญิงคู่หมั้นมีกรรมสิทธิ์ในของหมั้นในอันที่จะใช้สอย ได้ดอกผลหรือจำหน่ายจ่ายโอนได้ตามใจชอบ แต่จะต้องรับผิดในการคืนของหมั้นให้ฝ่ายชายหากตนเองผิดสัญญาหมั้นไม่ยอมสมรสกับชาย หรือในกรณีที่มีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิงคู่หมั้นทำให้ชายไม่สมควรสมรสกับหญิง เช่น หญิงไปเสียเนื้อเสียตัวให้ชายอื่น เช่นนี้ ชายคู่หมั้นมีสิทธิบอกเลิกสัญญาหมั้นได้และหญิงก็ต้องคืนของหมั้นให้แก่ชายตามมาตรา 1442
- แต่หากเหตุสำคัญนั้นเกิดแก่ชายคู่หมั้น เช่น ชายคู่หมั้นเกิดวิกลจริตและรักษาไม่หายหญิงก็มีสิทธิบอกเลิกสัญญาหมั้นได้โดยไม่ต้องคืนของหมั้นแก่ชายตามมาตรา 1443
- นอกจากนี้การให้ของหมั้นนั้นต้องเป็นการให้โดยมีเจตนาจะสมรสกันตามกฎหมาย ฉะนั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏชัดว่า ชายหญิงเพียงแต่ประกอบพิธีสมรส หาได้มีเจตนาที่จะไปจดทะเบียนสมรสเพื่อให้มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมายไม่ การประกอบพิธีสมรสดังกล่าว จึงไม่ถือว่าเป็นการสมรสโดยชอบด้วยกฎหมาย ด้วยเหตุดังกล่าว เงินและแหวนเพชรกับสร้อยคอทองคำที่ฝ่ายชายอ้างว่าได้มอบให้แก่ฝ่ายหญิง จึงหาได้ให้ในฐานะเป็นสินสอดและของหมั้นตามความหมายมาตรา1437 ไม่ ฝ่ายชายจึงไม่มีสิทธิเรียกคืน (ฎ.3557/2524)
สรุป ลักษณะสำคัญของของหมั้นจะต้องเข้าหลักเกณฑ์ 4 ประการ คือ
1. ต้องเป็นทรัพย์สิน (สิทธิเรียกร้อง ถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่นำมาเป็นของหมั้นได้)
2. ต้องเป็นของที่ฝ่ายชายให้ไว้แก่หญิง
3. ต้องให้ไว้ในเวลาทำสัญญาและหญิงต้องได้รับไว้แล้ว
4. ต้องเป็นการให้ไว้เพื่อเป็นหลักฐานว่าจะสมรสกับหญิงนั้นและต้องให้ไว้ก่อนสมรส ถ้าให้เมื่อหลังสมรสแล้วทรัพย์นั้นไม่ใช่ของหมั้น
การรับผิดตามสัญญาหมั้น
เมื่อมีการหมั้นแล้ว ถ้าฝ่ายใดผิดสัญญาหมั้น อีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิเรียกให้รับผิดใช้ค่าทดแทน ในกรณีที่ฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายผิดสัญญาหมั้นให้คืนของหมั้นให้แก่ฝ่ายชายด้วย (มาตรา 1439)
สินสอด
เป็นทรัพย์สินที่ฝ่ายชายให้แก่บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือผู้ปกครองฝ่ายหญิง แล้วแต่กรณี เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส (มาตรา 1437 ว.3)
ลักษณะของสินสอดมีอยู่ 3 ประการ คือ
1.ต้องเป็นทรัพย์สิน การตกลงจะให้สินสอดนั้นจะต้องตกลงให้กันก่อนสมรส แต่ทรัพย์สินที่เป็นสินสอดซึ่งตกลงจะให้นั้นจะมอบให้ฝ่ายหญิงก่อนสมรสหรือหลังสมรสก็ได้ ไม่จำเป็นต้องมอบให้ขณะทำสัญญาว่าจะให้ ทั้งไม่จำเป็นต้องมอบสินสอดให้ขณะที่ทำการหมั้น ซึ่งต่างกับของหมั้นอันจะต้องให้กันในเวลาหมั้น
2.ต้องเป็นของฝ่ายชายให้แก่บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้ปกครองของหญิง บุคคลอื่นนอกจากนี้ไม่มีสิทธิเรียกหรือรับสินสอด เช่น หญิงบรรลุนิติภาวะแล้วและไม่มีบิดามารดาหรือผู้ปกครองรับหมั้นและตกลงจะสมรสกับชายด้วยตัวเอง แล้วเรียกเงิน 200,000 บาทเป็นสินสอด แม้ชายจะมอบเงินให้ตามคำเรียกร้องก็ตาม เงินจำนวนดังกล่าวก็ไม่ใช่สินสอด แต่เป็นการให้โดยเสน่หา
3. ให้เพื่อตอบแทนการที่หญิงยอมสมรส ทรัพย์สินที่เป็นสินสอด เมื่อได้มอบไปแล้วย่อมตกเป็นกรรมสิทธิเด็ดขาดแก่บิดามารดาหรือผู้ปกครองหญิงโดยทันทีโดยไม่ต้องรอให้มีการสมรสกันก่อน แต่ทั้งนี้ต้องเป็นการให้โดยมีเจตนาที่ชายและหญิงจะจดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย ฉะนั้น การที่ชายมอบเงินให้แก่มารดาหญิงเพื่อขอขมาในการที่หญิงตามไปอยู่กินกับชาย โดยชายหญิงไม่มีเจตนาสมรสกันตามกฎหมายนั้น ไม่ใช้สินสอดหรือของหมั้น เมื่อต่อมาหญิงไม่ยอมอยู่กินกับชาย ชายจึงเรียกเงินคืนไม่ได้ (ฎ.125/2518)
สินสอดแม้จะเป็นการให้เพื่อเป็นของขวัญในการตอบแทนที่หญิงยอมสมรสและกรรมสิทธิ์ได้ตกไปยังผู้รับตั้งแต่เวลาส่งมอบแล้วก็ตาม แต่ฝ่ายชายก็ยังมีสิทธิเรียกสินสอดคืนได้ใน 2 กรณี คือ
(1) ถ้าไม่มีการสมรสโดยมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิง ทำให้ชายไม่สมควรหรือไม่อาจสมรสกับหญิงนั้น “เหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิง” หมายถึง เหตุที่จะกระทบกระเทือนถึงการสมรสที่จะมีต่อไปในระหว่างชายและหญิงคู่หมั้น อันจะก่อความไม่สงบสุขในชีวิตสมรสที่จะมีต่อไปในภายภาคหน้า ซึ่งเป็นเหตุเดียวกับเหตุที่ทำให้ชายบอกเลิกสัญญาหมั้นตามมาตรา 1442 นั่นเอง เช่น หญิงคู่หมั้นไปร่วมประเวณีกับชายอื่น หรือหญิงคู่หมั้นขับรถยนต์โดยประมาทชนคนตาย ศาลพิพากษาให้จำคุก 4 ปี ทำให้ชายไม่อาจสมรสกับหญิงได้ เช่นนี้ฝ่ายชายมีสิทธิเรียกสินสอดคืนโดยการบอกเลิกสัญญาหมั้นได้
(2) ถ้าไม่มีการสมรสโดยมีพฤติการณ์ซึ่งฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบทำให้ชายไม่สมควรหรือไม่อาจสมรสกับหญิงนั้น “พฤติการณ์ซึ่งฝ่ายหญิงต้องรับผิดชอบ” หมายถึง พฤติการณ์ที่ฝ่ายหญิงเป็นฝ่ายผิด ทำให้การสมรสนั้นไม่อาจมีขึ้น หรือกรณีที่ไม่มีการสมรส เนื่องมาจากความผิดของฝ่ายหญิง ซึ่งคำว่า “ฝ่ายหญิง” มีความหมายกว้าง รวมทั้งบิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม ผู้ปกครอง หรือบุคคลผู้กระทำการในฐานะเช่นบิดามารดาของหญิงคู่หมั้นด้วย เช่น หญิงคู่หมั้นทิ้งชายไปอยู่ต่างประเทศแล้วไม่ติดต่อกับมาเลย หรือหญิงประกอบพิธีแต่งงานอยู่กินด้วยกันแล้วไม่ยอมจดทะเบียนสมรสด้วยกับชาย เป็นความผิดของฝ่ายหญิง หญิงต้องคืนของหมั้นสินสอดให้ชาย แต่หากชายหญิงสมรสกันโดยตั้งใจไม่จดทะเบียนสมรสแล้วหรือเป็นความผิดของชายที่ไม่ยอมจดทะเบียนสมรสกับหญิงหรือเพราะทั้งชายและหญิงละเลยไม่นำพาต่อการจดทะเบียนสมรส ดังนี้ ชายจะฟ้องเรียกค่าสินสอดคืนไม่ได้
สำหรับกรณีที่ไม่มีการสมรสอันเนื้องมาจากการที่ชายหรือหญิงคู่หมั้นถึงแก่ความตายก่อนจดทะเบียนสมรสกันนั้นมีบทบัญญัติมาตรา 1441 ไว้ชัดเจนว่า กรณีฝ่ายชายไม่มีสิทธิเรียกสินสอดคืน
วิธีการคืนของหมั้นหรือสินสอด
1. ถ้าของหมั้นหรือสินสอดนั้นเป็นเงินตรา ฝ่ายหญิงมีหน้าที่ต้องคืนเงินเพียงส่วนที่มีอยู่ในขณะเรียกคืน เพราะโดยทั่วไปแล้วฝ่ายหญิงมักจะรับเงินที่เป็นของหมั้นหรือสินสอดนั้นไว้โดยสุจริตเสมอ อย่างไรก็ดี ถ้าฝ่ายหญิงนำเงินของหมั้นหรือสินสอดไปซื้อทรัพย์สินอื่นมา ทรัพย์สินอื่นที่ได้มานี้ต้องคืนให้ฝ่ายชายไปด้วย เพราะเป็นการช่วงทรัพย์ตามมาตรา 226 หรือในกรณีที่หญิงได้นำเงินตรานี้ไปลงทุนทำประโยชน์หรือได้ดอกเบี้ยเพิ่มพูนขึ้นมาก็ไม่ต้องคืนด้วย เพราะดอกเบี้ยหรือผลประโยชน์ที่ได้มานี้ย่อมเป็นของฝ่ายหญิงนั้นเอง
2. ถ้าของหมั้นหรือสินสอดนั้นเป็นทรัพย์สินอื่นที่มิใช่เงินตรา ฝ่ายหญิงมีหน้าที่ต้องคืนทรัพย์สินนั้นในสภาพที่เป็นอยู่ในเวลาที่เรียกคืน ฝ่ายหญิงไม่ต้องรับผิดชอบในการที่ทรัพย์นั้นสูญหายหรือบุบสลายนั้นจะเนื่องมาจากความผิดของตนก็ตาม แต่ถ้าได้อะไรมาเป็นค่าสินไหมทดแทนเพื่อการสูญหายหรือบุบบสลายเช่นนั้นก็ต้องคืนให้ไปด้วย สำหรับในกรณีที่ทรัพย์สินนั้นมีราคาเพิ่มขึ้น เพราะการที่ฝ่ายหญิงได้ออกเงินค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงซ่อมแซมทรัพย์สิน ฝ่ายหญิงก็มีสิทธิได้รับชดใช้ค่าใช้จ่ายนั้นจากฝ่ายชายด้วย แต่ถ้าหากเป็นค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาหรือซ่อมแซมทรัพย์สินตามปกติธรรมดาแล้วจะเรียกให้ชดใช้ไม่ได้
การผิดสัญญาหมั้นและค่าทดแทน
1.การหมั้นไม่เป็นเหตุฟ้องร้องบังคับให้สมรสได้ (มาตรา 1438) ถ้ามีข้อตกลงกันไว้ว่าจะให้เบี้ยปรับในเมื่อผิดสัญญาหมั้น ข้อตกลงนั้นเป็นโมฆะ
2.เมื่อมีการผิดสัญญาหมั้น จะต้องมีความรับผิดชดใช้ค่าทดแทนแก่กัน การเรียกค่าทดแทนเนื่องจากการผิดสัญญาหรือข้อตกลงเกี่ยวกับการสมรสนั้น กฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษตามมาตรา 1439 ให้เรียกได้เฉพาะกรณีที่มีการหมั้นเท่านั้น ฉะนั้น หากชายและหญิงตกลงกันว่าจะทำการสมรสหรือจดทะเบียนสมรสกันโดยไม่มีการหมั้นแล้ว แม้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ปฏิบัติตามข้อตกลง อีกฝ่ายหนึ่งเรียกค่าทดแทนไม่ได้
ค่าทดแทนจากการผิดสัญญาหมั้นมีเฉพาะตามที่กฎหมายมาตรา 1440 กำหนดไว้ เพียง 3 กรณีเท่านั้น คือ
(1) ค่าทดแทนความเสียหายต่อกาย หรือชื่อเสียงแห่งชายหรือหญิงนั้น เช่น หญิงคู่หมั้นไม่ยอมสมรสกับชายคู่หมั้น ชายคู่หมั้นอาจได้รับความอับอายขายหน้าต่อเพื่อนฝูง ซึ่งหญิงคู่หมั้นจะต้องใช้ค่าทดแทนความเสียหายต่อชื่อเสียนี้ให้แก่ชาย แต่สำหรับความเสียหายทางจิตใจที่คู่หมั้นฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้รับเนื่องจากการผิดสัญญาหมั้นนั้น ไม่ใช่ความเสียหายต่อกายหรือชื่อเสียงตามความหมายในมาตรา 1440 (1) จึงเรียกค่าทดแทนกันไม่ได้
(2) ค่าทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่คู่หมั้น บิดามารดาหรือบุคคลผู้กระทำการในฐานะเช่นบิดามารดาได้ใช้จ่าย หรือต้องตกเป็นลูกหนี้เนื่องในการเตรียมการสมรสโดยสุจริตและตามสมควร หมายถึง ค่าใช้จ่ายอันจำเป็นที่ชายหญิงต้องกระทำเพื่อเตรียมการที่ชายหญิงจะอยู่กินด้วยกันเป็นสามีภริยากันโดยตรง เช่น ค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงซ่อมแซมบ้านที่จะเป็นที่อยู่อาศัย ค่าใช้จ่ายในการเดินทางจากจังหวัดที่ตนอยู่มาจังหวัดที่จำทำการสมรส หรือชายหญิงหมั้นกันกำหนดวันสมรสแน่นอนแล้ว ฝ่ายหญิงจึงได้ใช้จ่ายในการซื้อที่นอนหมอนมุ้งหรือเครื่องเรือนสำหรับเรือนหอ แต่ชายผิดสัญญาหมั้นไม่มาทำการสมรส ฝ่ายหญิงเรียกค่าทดแทนได้ เป็นต้น ค่าใช้จ่ายในข้อนี้กฎหมายจำกัดเฉพาะค่าใช้จ่ายในการเตรียมการสมรสโดยสุจริตและตามสมควร ไม่ได้ขยายไปถึงค่าใช้จ่ายในการหมั้นด้วย ฉะนั้นค่าหมากพลูและขนมที่บรรจุในขันหมากหมั้น ค่าพาหนะและค่าเลี้ยงแขกในวันหมั้นเหล่านี้ ไม่ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายในการเตรียมการสมรส
(3) ทดแทนความเสียหายเนื่องจากการที่คู่หมั้นได้จัดการทรัพย์สินหรือการอื่นอันเกี่ยวแก่อาชีพ หรือทางทำมาหาได้ของตนไปโดยสมควรด้วยการคาดหมายว่าจะได้มีการสมรส เช่น หญิงเลิกทำการค้าขายหรือขายที่ดินทรัพย์สินของตนในกรุงเทพโดยขาดทุน เพื่อเตรียมจะสมรสกับชายที่อยู่ต่างจังหวัด หรือหญิงประกอบอาชีพเป็นทันตแพทย์ได้เลิกทำอาชีพนี้เพื่อไปทำการสมรส หรือชายสละสิทธิได้รับเรียกให้เข้ารับราชการหรือลาออกจากราชการเพื่อเตรียมจะสมรสกับหญิงที่อยู่ต่างประเทศเหล่านี้ หญิงหรือชายคู่หมั้นที่ได้รับความเสียหายดังกล่าวก็ชอบที่จะเรียกค่าทดแทนความเสียหายเช่นว่านี้ได้
ถ้าชายผิดสัญญาหมั้น หญิงไม่ต้องคืนของหมั้น แต่หากหญิงผิดสัญญาหมั้น หญิงต้องคืนของหมั้นให้แก่ชาย (มาตรา 1339 + มาตรา 1440 วรรคท้าย)
การระงับสิ้นไปแห่งสัญญาหมั้น และค่าทดแทน
การหมั้นระหว่างชายและหญิงอาจสิ้นสุดลงด้วยเหตุ 3 ประการ คือ
(1) คู่สัญญาหมั้นทั้งสองฝ่ายตกลงยินยอมเลิกสัญญา จะตกลงด้วยวาจาก็ได้ เมื่อเลิกสัญญาหมั้นกันแล้ว ฝ่ายหญิงต้องคืนของหมั้นและสินสอดให้แกฝ่ายชาย และคู่สัญญาจะเรียกค่าทดแทนอะไรจากกันไม่ได้
(2) ชายคู่หมั้นหรือหญิงคู่หมั้นถึงแก่ความตาย ตามมาตรา 1441 กรณีการตายนี้มิใช่เป็นการผิดสัญญาหมั้น คู่หมั้นอีกฝ่ายหนึ่งจะเรียกเอาค่าทดแทนจากกันไม่ได้ แม้ความตายนั้นจะเกิดจากความผิดของอีกฝ่ายหนึ่ง เช่น หญิงเบื่อชายคู่หมั้น จึงฆ่าตัวตายเพื่อจะไม่ต้องสมรสกับชายคู่หมั้น หรือหญิงคู่หมั้นหรือบิดามารดาของหญิงคู่หมั้นจงใจฆ่าชายคู่หมั้นเพื่อที่จะไม่ต้องให้มีการสมรสเกิดขึ้นก็ดี ในสองกรณีเช่นว่านี้ ฝ่ายหญิงไม่ต้องคืนของหมั้นและสินสอดให้แก่ฝ่ายชายเช่นเดียวกัน
(3) การเลิกสัญญาหมั้นโดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งบอกเลิกสัญญาหมั้นเนื่องจากมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิงคู่หมั้น หรือชายคู่หมั้น
(3.1)ชายบอกเลิกสัญญาหมั้นโดยมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิงคู่หมั้น ตามมาตรา 1442 ให้สิทธิชายที่จะบอกเลิกสัญญาหมั้นได้และหญิงคู่หมั้นก็จะต้องคืนของหมั้นและสินสอดให้แก่ชายด้วย เช่น หญิงคู่หมั้นเกิดวิกลจริต ยินยอมให้ชายอื่นร่วมประเวณีในระหว่างการหมั้น หน้าถูกน้ำร้อนลวกจนเสียโฉม ได้รับอันตรายสาหัสจนต้องถูกตัดแขนทั้งสองข้าง หรือเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรง เป็นต้น แต่การที่หญิงไม่ยอมให้ชายคู่หมั้นร่วมประเวณีด้วย ชายจะถือเป็นเหตุสำคัญอันเกิดแก่หญิงคู่หมั้นไม่ได้ เพราะหญิงยังไม่มีหน้าที่ที่จะต้องอยู่กินฉันสามีกับชาย
(3.2) หญิงบอกเลิกสัญญาหมั้นโดยมีเหตุสำคัญอันเกิดแก่ชายคู่หมั้น ตามมาตรา 1443 ให้สิทธิแก่หญิงคู่หมั้นที่จะบอกเลิกสัญญาหมั้นได้โดยมิต้องคืนของหมั้นและสินสอดแก่ชาย เช่น ชายไร้สมรรถภาพทางเพศ เป็นคนวิกลจริต เป็นคนพิการ เป็นนักโทษและกำลังรับโทษจำคุกอยู่ ฯลฯ แต่สำหรับกรณีที่ชายไปร่วมประเวณีกับหญิงอื่น ตามธรรมเนียมประเพณีของไทยไม่ถือว่าเป็นเรื่องชั่วช้าน่าละอาย จึงไม่ถือว่าเป็นเหตุที่หญิงจะไม่ยอมทำการสมรส แต่ถ้าชายไปเป็นชู้กับภริยาคนอื่นหรือไปข่มขืนกระทำชำเราหญิงอื่น ถือกันว่าเป็นสิ่งที่น่าละอาย หญิงคู่หมั้นมีสิทธิไม่ยอมสมรสด้วยได้ อย่างไรก็ดีแม้เหตุสำคัญอันเกิดแก่ชายคู่หมั้นเกิดขึ้นเพราะความผิดของหญิงคู่หมั้นเอง เช่น หญิงคู่หมั้นขับรถยนต์ไปกับชายคู่หมั้น แต่ขับรถด้วยความประมาทอย่างร้ายแรง รถยนต์คว่ำชายคู่หมั้นตาบอดทั้งสองข้าง หญิงคู่หมั้นก็ยังมีสิทธิบอกเลิกสัญญาหมั้นกับชายคู่หมั้นที่พิการได้
ค่าทดแทนในการเลิกสัญญาหมั้น
1. ค่าทดแทนที่คู่หมั้นเรียกจากกันในกรณีบอกเลิกสัญญาหมั้น เพราะการกระทำชั่วอย่างร้ายแรงของคู่หมั้น ตามมาตรา 1444 การกระทำชั่วอย่างร้ายแรงนั้น จะต้องเกิดขึ้นภายหลังการหมั้นแล้ว
2. ค่าทดแทนจากชายอื่นที่ล่วงเกินหญิงคู่หมั้นทางประเวณี ตามมาตรา 1445 และมาตรา 1446 แบ่งออกเป็น
2.1 การที่ชายอื่นร่วมประเวณีกับหญิงคู่หมั้น โดยหญิงคู่หมั้นยินยอมมี หลัก คือ (ม.1445)
(1) ชายอื่นร่วมประเวณีกับหญิงคู่หมั้น
(2) ชายอื่นนั้นรู้หรือควรรู้ว่าหญิงได้หมั้นกับชายคู่
หมั้นแล้วและรู้ด้วยว่าชายคู่หมั้นเป็นใคร
(3) ชายคู่หมั้นได้บอกเลิกสัญญาหมั้นแล้ว
2.2 การที่ชายอื่นข่มขืนหรือพยายามข่มขืนกระทำชำเราหญิงคู่หมั้น มีหลัก คือ (ม.1446)
(1) ชายอื่นจะต้องรู้ว่าหญิงมีคู่หมั้นแล้ว แต่ไม่จำเป็น
ต้องรู้ว่าชายคู่หมั้นเป็นใคร
(2) ชายคู่หมั้นไม่จำเป็นต้องบอกเลิกสัญญาหมั้นก่อน
ข้อสังเกต หญิงคู่หมั้นไม่มีสิทธิเรียกค่าทดแทนจากหญิงอื่นที่มาล่วงเกินชายคู่หมั้นทางประเวณี จะนำมาตรา 1445 และมาตรา 1446 มาอนุโลมใช้บังคับไม่ได้
การสมรส
1. คู่สมรสฝ่ายหนึ่งจะต้องเป็นชายและอีกฝ่ายหนึ่งจะต้องเป็นหญิง (ม.1448)
2. การสมรสจะต้องเป็นการกระทำโดยสมัครใจของชายและหญิง หากชายและหญิงไม่สมัครใจในการสมรส การสมรสนั้นเป็นโมฆะ
3. การอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาจะต้องเป็นระยะเวลาชั่วชีวิต การที่ชายและหญิงทำการสมรสกันโดยมีข้อตกลงว่าเมื่อครบกำหนดระยะเวลาใดเวลาหนึ่งแล้วให้การสมรสสิ้นสุดลง ข้อตกลงเช่นนี้ขัดต่อความสงบฯ ตกเป็นโมฆะ ตามมาตรา 150 (แต่การสมรสยังสมบูรณ์)
4. การสมรสจะต้องมีคู่สมรสเพียงคนเดียว
เงือนไขแห่งการสมรส
1. ชายและหญิงต้องมีอายุ 17 ปีบริบูรณ์แล้วทั้งสองคน (มาตรา 1448)
หากชายหญิงฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายฝ่าฝืนเงื่อนไขไปทำการสมรสโดยที่อายุไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ การสมรสนั้นเป็นโมฆียะตามมาตรา 1503 ผู้มีส่วนได้เสีย คือ บิดามารดาและตัวชายหญิงนั้นเองมีสิทธินำคดีขึ้นสู่ศาลขอให้พิพากษาเพิกถอนการสมรสนั้นได้ ตามมาตรา 1504 หากมิได้เพิกถอนการสมรส จนชายหญิงมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ หรือหญิงเกิดมีครรภ์ขึ้นมาก่อนหญิงอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ กฎหมายถือว่าการสมรสที่เป็นโมฆียะนั้นสมบูรณ์มาตั้งแต่เวลาสมรส จะขอให้ศาลเพิกถอนอีกไม่ได้
2. ชายหรือหญิงต้องไม่เป็นคนวิกลจริต หรือเป็นบุคคลซึ่งศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ ตามมาตรา 1449 ถ้าฝ่าฝืนการสมรสตกเป็นโมฆะ ตามมาตรา 1495
3. ชายและหญิงมิได้เป็นญาติสืบสายโลหิตต่อกันหรือเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาหรือร่วมแต่บิดา หรือมารดา ตามมาตรา 1450 ถ้าฝ่าฝืนการสมรสตกเป็นโมฆะ ตามมาตรา1495
4. ผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมจะสมรสกันไม่ได้ ตามมาตรา1451แต่กฎหมายมิได้บัญญัติให้การสมรสที่ฝ่าฝืนเงื่อนไขข้อนี้เป็นโมฆะหรือโมฆียะ เนื่องจากผู้รับบุตรบุญธรรมและบุตรบุญธรรมไม่มีความสัมพันธ์ในทางสายโลหิตกันเลย และมีมาตรา 1598/32 บัญญัติว่า การรับบุตรบุญธรรมย่อมเป็นอันยกเลิกเมื่อมีการสมรสฝ่าฝืนมาตรา 1451 จึงทำให้การสมรสที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าวมีผลสมบูรณ์ทุกประการ
5. ชายหรือหญิงมิได้เป็นคู่สมรสของบุคคลอื่นอยู่ ตามมาตรา 1452 การสมรสที่ฝ่าฝืนบทบัญญัติดังกล่าวเป็นโมฆะ ตามมาตรา 1495 ผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิกล่าวอ้างว่าการสมรสซ้อนนั้นเป็นโมฆะ หรือจะนำคดีมาสู่ศาลเพื่อขอให้มีคำพิพากษาแสดงว่าการสมรสซ้อนนั้นเป็นโมฆะก็ได้ เมื่อมีการกล่าวอ้างหรือเมื่อศาลมีคำพิพากษาแล้วการสมรสซ้อนครั้งหลังนี้ย่อมเสียเปล่ามาตั้งแต่แรกเริ่ม แต่ถ้ายังไม่มีการกล่าวอ้างหรือคำพิพากษาดังกล่าว ก็ต้องถือว่าชายหญิงในการสมรสครั้งหลังนั้นยงคงเป็นสามีภริยากันตามกฎหมาย การสมรสซ้อนนี้แม้ชายหรือหญิงคู่สมรสจะกระทำการสมรสโดยสุจริตไม่ทราบว่ามีการสมรสเดิมอยู่แล้วก็ตาม ก็ไม่มีผลทำให้สมบูรณ์ขึ้นมาได้ ยังคงเป็นโมฆะอยู่นั้นเอง แต่คู่สมรสผู้ทำการโดยสุจริตไม่เสื่อมสิทธิที่ได้มาเพราะการสมรสนั้นก่อนที่ตนจะรู้เหตุที่ทำให้การสมรสเป็นโมฆะ
ในกรณีที่ชายหรือหญิงมีคู่สมรสอยู่แล้วแต่การสมรสนั้นเป็นโมฆะหรือเป็นโมฆียะ ชายหรือหญิงเช่นว่านี้ไม่อาจสมรสใหม่ได้จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาแสดงว่าการสมรสเป็นโมฆะหรือศาลพิพากษาให้เพิกถอนการสมรสที่เป็นโมฆะเสียก่อน ทั้งนี้ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 1496 และมาตรา 1497 ส่วนการสมรสที่เป็นโมฆียะเป็นการสมสรที่สมบูรณ์จนกว่าจะถูกศาลพิพากษาให้เพิกถอนตามมาตรา 1502 ก่อนศาลพิพากษาให้เพิกถอนการสมรส ถือว่าเป็นสามีภริยากันตามกฎหมาย
ตัวอย่าง นายเขียวข่มขู่นางขาวให้สมรสกับตน การสมรสนี้เป็นโมฆียะ แต่นางขาวก็ไม่มีสิทธิทำการสมรสใหม่ จนกว่าจะขอให้ศาลเพิกถอนการสมรสระหว่างตนกับนายเขียวเสียก่อน หากขืนสมรสใหม่ การสมรสใหม่นี้เป็นการสมรสซ้อนอันเป็นโมฆะ
6. ชายหญิงยินยอมเป็นสามีภริยากัน ตามมาตรา 1458 สำหรับการที่ชายหลอกลวงหญิงมาจดทะเบียนสมรสเป็นภริยาโดยรับรองว่าจะเลี้ยงดูให้สุขสบาย แต่ภายหลังกลับทิ้งขวาง เช่นนี้ จะถือว่าหญิงมิได้ยินยอมไม่ได้ การสมรสดังกล่าวสมบูรณ์ทุกประการ อย่างไรก็ดีการที่ชายหญิงทำการสมรสกันโดยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งหรือทั้งสองฝ่ายสำคัญผิด หรือชายให้หญิงเสพย์ยาเสพติดจนเมามายไม่ได้สติแล้วพาไปจดทะเบียนสมรส เช่นนี้ ถือไม่ได้ว่ามีการยินยอมเป็นสามีภริยากัน การสมรสดังกล่าวจึงเป็นโมฆะ
อย่างไรก็ตาม การที่ชายหญิงทำสัญญาประนีประนอมยอมความว่าจะไปจดทะเบียนสมรสกันที่อำเภอนั้นไม่เป็นการผิดกฎหมายและไม่เป็นโมฆะ เพราะคู่กรณีอาจไปจดทะเบียนสมรสได้ตามที่ยอมความกัน
7. หญิงหม้ายจะสมรสใหม่ได้ต่อเมื่อขาดจากการสมรสเดิมแล้วไม่น้อยกว่า 310 วัน แต่มีข้อยกเว้นตามมาตรา 1453
8. ผู้เยาว์จะทำการสมรสได้ต่อเมื่อได้รับความยินยอมของบิดามารดาหรือผู้ปกครองตามมาตรา 1454 เมื่อให้ความยินยอมมาถูกต้องตามแบบวิธีการตามมาตรา 1455 แล้วจะถอนความยินยอมนั้นไม่ได้ เพราะเมื่อให้ความยินยอมถูกต้องตามกฎหมายแล้วนายทะเบียนย่อมต้องจดทะเบียนสมรสให้ นอกจากนี้แม้จะยังมิได้มีการจดทะเบียนสมรสก็ตาม บิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้ปกครองที่ให้ความยินยอมให้ผู้เยาว์ทำการสมรสแล้วจะเปลี่ยนใจไม่ยอมให้ผู้เยาว์ทำการสมรสโดยจะถอนความยินยอมนั้นไม่ได้ เพราะมาตรา 1455 วรรคท้าย บัญญัติห้ามไว้เด็ดขาดไม่ยอมให้มีการถอนความยินยอมนี้
ในกรณีที่บิดามารดาทำหนังสือแสดงความยินยอมไว้แล้ว แต่บิดาถึงแก่ความตายไปก่อนที่ผู้เยาว์จะไปจดทะเบียนสมรส คงเหลือมารดาเพียงผู้เดียว เช่นนี้ ผู้เยาว์ก็ยังสามารถไปจดทะเบียนสมรสโดยใช้หนังสือแสดงความยินยอมเช่นว่านั้นได้ เพราะมาดาเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรผู้เยาว์เพียงในขณะจดทะเบียน
แต่ถ้าบิดาและมารดาถึงแก่ความตายทั้งสองคน หนังสือแสดงความยินยอมดังกล่าวย่อมสิ้นผล ผู้เยาว์ต้องมาขอความยินยอมใหม่จากผู้ปกครองหรือขออนุญาตศาลให้ทำการสมรส ตามมาตรา 1456
หากผู้เยาว์ฝ่าฝืนเงื่อนไขเกี่ยวกับเรื่องความยินยอมของผู้ใช้อำนาจปกครองไปทำการสมรสโดยมิได้รับความยินยอมดังกล่าว การสมรสนั้นเป็นโมฆียะตามมาตรา 1509 แต่เฉพาะบิดาและมารดา ผู้รับบุตรบุญธรรม หรือผู้ปกครองซึ่งเป็นผู้มีสิทธิให้ความยินยอมเท่านั้นจึงจะมีสิทธิขอให้ศาลเพิกถอนการสมรสที่เป็นโมฆียะนี้ได้ ตัวชายหรือหญิงคู่สมรสเองไม่มีสิทธิฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนการสมรส เพราะตนเองมีคุณสมบัติที่จะทำการสมรสได้อยู่แล้ว
ระวัง สิทธิขอเพิกถอนการสมรสเป็นอันระงับสิ้นไปเมื่อชายหญิงคู่สมรสนั้นมีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ หรือเมื่อหญิงมีครรภ์แล้ว และการฟ้องขอเพิกถอนการสมรสในกรณีที่ผู้เยาว์ทำการสมรสโดยไม่ได้รับความยินยอมนี้มีอายุความ 1 ปี นับแต่วันทราบการสมรส ตามมาตร 1510
แบบแห่งการสมรส
การสมรสจะมีได้เฉพาะเมื่อได้จดทะเบียนสมรสแล้วเท่านั้น ตามมาตรา 1457
ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยา
1. การอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา อย่างไรก็ดีการที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งไม่ยอมอยู่กินด้วยกันกับอีกฝ่ายหนึ่งนั้นไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายบัญญัติไว้โดยตรงว่าจะฟ้องร้องบังคับกันได้หรือไม่ แต่น่าจะฟ้องร้องไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องเฉพาะภายในครอบครัว เช่น ภริยาไม่ยอมอยู่กินด้วยกันกับสามีโดยแยกไปอยู่กับญาติ สามีจะให้สมัครพรรคพวกไปบังคับนำตัวภริยากลับมาอยู่บ้านกับตน โดยอ้างว่าเพื่อบังคับตามสิทธิในการอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาไม่ได้ แต่ในกรณีดังกล่าวอาจมีผลกระทบต่างๆ เช่น
ประการที่ 1 หากสามีข่มขืนกระทำชำเราภริยา ภริยาจะฟ้องคดีความผิดฐานข่มขืนไม่ได้
ประการที่ 2 การที่ภริยาปฏิเสธไม่ยอมให้สามีร่วมประเวณีด้วยอาจเป็นการกระทำอันเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง ซึ่งเป็นเหตุให้สามีฟ้องหย่าได้ตามมาตรา 1516 (6) และ
ประการที่ 3 ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ยอมอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา โดยจงใจละทิ้งร้างอีกฝ่ายหนึ่งไปเกินหนึ่งปี ก็เป็นเหตุหย่าตามมาตรา 1516 (4)
2. การช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกัน หากสามีภริยาไม่ช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามสาควร อีกฝ่ายหนึ่งย่อมฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูได้ตามมาตรา 1598/38 หรือหากประสงค์จะหย่าขาดจากกันก็อาจฟ้องหย่าได้ตามมาตรา 1516 (6) สิทธิที่จะได้ค่าอุปการะเลี้ยงดูนี้จะสละหรือโอนมิได้ และไม่อยู่ในข่ายแห่งการบังคับคดี ตามมาตรา 1598/41
3. การแยกกันอยู่ต่างหากชั่วคราว
3.1 สามีภริยาอาจทำข้อตกลงระหว่างกันเพื่อแยกกันอยู่ต่างหากเป็นการชั่วคราวได้ ข้อตกลงเช่นว่านี้ใช้บังคับได้ เมื่อสามีภริยาทำข้อตกลงแยกกันอยู่ต่างหากจากกันแล้วสามีภริยาต่างฝ่ายต่างหมดหน้าที่ที่จะต้องอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยาต่อไป แต่สถานะความเป็นสามีภริยายังคงมีอยู่ยังไม่ถือว่าการสมรสสิ้นสุดลง สามีหรือภริยาแต่ละฝ่ายจึงจะทำการสมรสใหม่ไม่ได้ ผลของข้อตกลงนี้มีเพียงทำให้การแยกกันอยู่นี้แม้จะเป็นเวลาเกิน 1 ปี ก็ไม่ถือว่าเป็นการจงใจละทิ้งร้าง คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจึงจะมาอ้างเป็นเหตุฟ้องหย่าตามมาตรา 1516 (4) ไม่ได้ แต่ถ้าหากการตกลงแยกกันอยู่นี้ เป้นเพราะเหตุที่ไม่อาจอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาได้โดยปกติสุขและสามีภริยาได้แยกกันอยู่แล้วเป็นเวลาเกิน 3 ปี สามีหรือภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสิทธิฟ้องหย่าได้ตามมาตรา 1516 (4/2)
3.2 ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้แยกกันอยู่ต่างหากเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา 1462
(1) การอยู่ร่วมกันจะเป็นอันตรายแก่กายอย่างมากของสามีหรือภริยา เช่น สามีเป็นโรคติดต่ออย่างร้ายแรง เป็นต้น
(2) การอยู่ร่วมกันจะเป็นอันตรายแก่จิตใจอย่างมากของสามีหรือภริยา เช่น สามีชอบพาพาร์ทเนอร์มานอนบ้านเป็นประจำ เป็นการทำลายจิตใจของภริยาอย่างมาก เป็นต้น
(3) การอยู่ร่วมกันจะเป็นการทำลายความผาสุขอย่างมากของสามีหรือภริยา เช่น สามีเป็นคนวิกลจริตมีอาการดุร้ายเป็นที่หวาดกลัวแก่ภริยา แต่เนื่องจากยังไม่ครบกำหนด 3 ปี จึงฟ้องหย่าไม่ได้ ภริยาก็อาจมาร้องขอต่อศาลให้สั่งอนุญาตให้ตนอยู่ต่างหากจากสามีเป็นการชั่วคราวได้
3.3 การสิ้นสุดของการแยกกันอยู่
(1) สามีภริยาตกลงกันยกเลิกการแยกกันอยู่
(2) สามีภริยาหย่าขาดจากกัน
(3) สามีภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งถึงแก่ความตาย
ทรัพย์สินและหนี้สินระหว่างสามีภริยา
สัญญาก่อนสมรสในเรื่องทรัพย์สิน
1. การทำสัญญาก่อนสมรสในเรื่องทรัพย์สิน คู่สมรสอาจจะกระทำได้โดยการจดแจ้งสัญญาก่อนสมรสนั้นไว้ในทะเบียนสมรสพร้อมกับจดทะเบียนสมรส หรือจะทำเป็นหนังสือลงลานมือชื่อคู่สมรสและพยานอย่างน้อยสองคนแนบไว้ท้ายทะเบียนสมรสพร้อมทั้งจดไว้ในทะเบียนสมรสว่าได้มีสัญญานั้นแนบไว้ก็ได้ ถ้าไม่ทำตามแบบที่กำหนดนี้สัญญานั้นเป็นโมฆะตามมาตรา 1466
การเปลี่ยนแปลงข้อสัญญาในสัญญาก่อนสมรส เมื่อสมรสแล้วจะเปลี่ยนแปลงเพิกถอนสัญญาก่อนสมรสนั้นไม่ได้ นอกจากจะได้รับอนุญาตจากศาล
2. สัญญาระหว่างสมรสในเรื่องทรัพย์สิน กฎหมายมิได้กำหนดแบบไว้เป็นพิเศษ ไม่เหมือนกับสัญญาก่อนสมรสที่จะต้องมีการจดแจ้งไว้ในทะเบียนสมรสด้วย ทั้งนี้เพราะสัญญาระหว่างสมรสอาจเป็นเอกเทศสัญญาซึ่งไม่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ด้วยก็ได้ แต่อย่างไรก็ดีมาตรา 1437/1 ห้ามมิให้ทำสัญญาระหว่างสมรสในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดการสินสมรสที่สำคัญที่สามีและภริยาจะต้องจัดการร่วมกัน เช่น สามีและภริยาจะทำสัญญาระหว่างสมรสให้ภริยามีอำนาจจำนองที่ดินสินสมรสแต่ผู้เดียว อันเป็นการผิดแผกแตกต่างจากมาตรา 1476 ที่กำหนดไว้ให้สามีและภริยาจะต้องจัดการร่วมกันนั้นไม่ได้ สัญญาระหว่างสมรสดังกล่าวใช้บังคับไม่ได้
ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา
1. สินส่วนตัว ตามมาตรา 1471 ได้แก่ทรัพย์สิน
1.1 ทรัพย์สินที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอยู่ก่อนสมรส ทรัพย์สินเช่นว่านี้จะต้องตกเป็นกรรมสิทธิ์โดยกรรมสิทธิ์ของคู่สมรสฝ่ายนั้นแล้ว แต่ถ้าทรัพย์สินนั้นยังไม่ตกเป็นกรรมสิทธิ์เด็ดขาดของคู่สมรสฝ่ายใด แม้จะอยู่ในเงื่อนไขที่จะต้องได้กรรมสิทธิ์มาในภายหลัง ก็ไม่ถือว่าเป็นทรัพย์สินที่มีอยู่ก่อนสมรส เช่น ชายทำสัญญาจะซื้อที่ดินวางมัดจำไว้ เมื่อสมรสแล้วจึงรับโอนทะเบียนมา กรณีเช่นนี้จะถือว่าที่ดินเป็นทรัพย์สินที่ชายมีอยู่แล้วก่อนสมรสไม่ได้ (ฏ.480/2498)
1.2 ทรัพย์สินที่เป็นเครื่องใช้สอยส่วนตัว เครื่องแต่งกาย หรือเครื่องประดับกายตามควรแก่ฐานะ หรือเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพหรือวิชาชีพของคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง
1.3 ทรัพย์สินที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยการรับมรดกหรือการให้โดยเสน่หา ทรัพย์สินเหล่านี้ถือว่าเป็นสินส่วนตัวของสามีหรือภริยาผู้ที่ได้รับมาทั้งสิ้น ไม่ถือว่าเป็นสินสมรส ทั้งๆ ที่ได้มาระหว่างสมรส
1.4 ในกรณีที่สามีหรือภริยาได้รับรางวัลจากการกระทำสิ่งใดหรือจากการประกวดชิงรางวัล รางวัลที่ได้รับมานั้นเป็นสินส่วนตัว
1.5 ทรัพย์ที่เป็นของหมั้น เป็นสินส่วนตัวของภริยา
1.6 ของแทนสินส่วนตัว ทรัพย์สินที่เป็นสินส่วนตัวนั้นถ้าได้มีการแลกเปลี่ยนเป็นทรัพย์สินอื่นก็ดี ซื้อทรัพย์สินอื่นมาด้วยเงินสินส่วนตัวก็ดี หรือขายสินส่วนตัวได้เงินมาก็ดี ทรัพย์สินอื่นหรือเงินที่ได้มานั้นยงคงเป็นสินส่วนตัวอยู่ตามเดิม เพราะเป็นไปตามหลักในเรื่องช่วงทรัพย์ ตามมาตรา 226 วรรคสอง หรือสินส่วนตัวที่ถูกทำลายไปทั้งหมดหรือแต่บางส่วน แต่ได้ทรัพย์สินหรือเงินมาทดแทน ทรัพย์สินอื่นหรือเงินที่ได้มานั้นเป็นสินส่วนตัวเช่นเดียวกัน
1.7 การจัดการสินส่วนตัวของคู่สมรสฝ่ายใดให้ฝ่ายนั้นเป็นผู้จัดการ ตามมาตรา 1473
2. สินสมรส ตามมาตรา 1474 มีอยู่ 3 ชนิดคือ
2.1 ทรัพย์สินที่คู่สมรสได้มาระหว่างสมรส โดยไม่ต้องคำนึงว่าฝ่ายใดมีส่วนร่วมในการทำมาหาได้นั้นหรือไม่ นอกจากนี้การที่สามีภริยาแยกกันอยู่หรือทิ้งร้างกันโดยไม่ได้หย่าขาดจากกันโดยเด็ดขาด ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ในระหว่างนั้นก็ถือว่าเป็นสินสมรสด้วย
• เงินบำเหน็จ บำนาญ เบี้ยหวัด ค่าชอเชยในการออกจากงานหรือการเลิกจ้างหรือผลประโยชน์ตอบแทนในการเกษียณอายุจากการทำงาน ที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรส มิใช้เป็นการได้มาโดยการให้โดยเสน่หา แต่เป็นการจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานที่ผ่านมาของข้าราชการหรือลูกจ้าง เงินเหง่านี้จึงเป็นสินสมรส
• สำหรับทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสมรสโดยคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเข้าถือเอา หรือโดยการครอบครองปรปักษ์ตามมาตรา 1382 ก็ถือว่าเป็นสินสมรส หรือแม้กระทั่งทรัพย์สินที่ได้มาโดยการกระทำความผิดทางอาญาก็ถือว่าว่าเป็นสินสมรสเช่นเดียวกัน
• ถ้าสินสมรสนั้นเป็นทรัพย์ที่เป็นประธานแล้วต่อมามีทรัพย์อื่นประกอบเป็นส่วนควบ ส่วนควบนั้นก็ย่อมกลายเป็นสินสมรสไปด้วย
• สำหรับดอกผลของสินสมรสก็ย่อมเป็นสินสมรสเช่นเดียวกัน
2.2 ทรัพย์สินที่คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้มาระหว่างสมรสโดยพินัยกรรมหรือการให้เป็นหนังสือ ทรัพย์สินเช่นว่านี้เป็นสินส่วนตัวของฝ่ายนั้นตามมาตรา 1471 (3) แต่หากเจ้ามรดกหรือผู้ให้ระบุไว้ในพินัยกรรมหรือหนังสือยกให้ ระบุว่าให้เป็นสินสมรสจึงจะเป็นสินสมรส
2.3 ทรัพย์สินที่เป็นดอกผลของสินส่วนตัว กฎหมายในเรื่องครอบครัวได้บัญญัติไว้เป็นพิเศษว่า ดอกผลของสินส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็นดอกผลธรรมดาหรือดอกผลนิตินัยให้เป็นสินสมรส ทั้งนี้ เพราะถือว่าดอกผลเหล่านี้ได้มาระหว่างสมรส เช่น ก่อนสมรสสามีมีเงินฝากประจำอยู่ในธนาคาร 100,000 บาท หลังจากสมรสแล้วธนาคารคิดดอกเบี้ยให้ 8,000 บาท เงิน 8,000 บาทนี้เป็นสินสมรส
การจัดการสินสมรส
(1) หลัก สามีหรือภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีอำนาจจัดการสินสมรสได้โดยลำพัง เว้นแต่การจัดการที่สำคัญจึงจะต้องจัดการร่วมกัน ตามมาตรา 1476
(2) สามีภริยาเพียงคนเดียวมีอำนาจฟ้องหรือต่อสู้คดีเกี่ยวกับสินสมรส ตามมาตรา 1477
(3) ถ้าสามีหรือภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ไห้ความยินยอมในการจัดการสินสมรสที่สำคัญ อีกฝ่ายหนึ่งอาจขอให้ศาลสั่งอนุญาตแทนความยินยอมได้ ตามมาตรา 1478
(4) ถ้าสามีหรือภริยาจัดการสินสมรสที่สำคัญไปโดยลำพัง คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งที่มิได้ยินยอมอาจขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมนั้นได้ ตามมาตรา 1480 แต่การเพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวอาจจะเป็นที่เสียหายแก่บุคคลภายนอกได้ ดังนั้นมาตรา 1480 จึงได้บัญญัติคุ้มครองบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริตและเสียค่าตอบแทน ซึ่งการเพิกถอนนิติกรรมนั้นจะไปกระทบกระเทือนสิทธิของบุคคลภายนอกดังกล่าวนั้นไม่ได้
มาตรา 1480 วรรคท้าย กำหนดให้คู่สมรสฝ่ายที่ไม่ได้ให้ความยินยอมในการทำนิติกรรมนั้นจะต้องฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมนั้นเสียภายในกำหนด 1 ปีนับแต่วันที่รู้ว่าได้มีการทำนิติกรรมหรืออย่างช้าภายใน 10 ปี นับแต่วันที่ได้ทำนิติกรรม
(5) สามีหรือภริยาไม่มีอำนาจทำพินัยกรรมยกสินสมรสที่เกินกว่าส่วนของตนให้แก่บุคคลใดได้ ตามมาตรา 1481
(6) สามีหรือภริยาโดยลำพังมีอำนาจจัดการบ้านเรือนหรือจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัวได้เสมอ ตามมาตรา 1482
(7) สามีหรือภริยาอาจขอให้ศาลสั่งห้ามคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งมิให้จัดการสินสมรสอันจะก่อให้เกิดความเสียหายถึงขนาดได้ ตามมาตรา 1483
(8) ถ้ามีเหตุจำเป็น สามีหรือภริยาอาจขอให้ศาลสั่งอนุญาตให้ตนเป็นผู้จัดการสินสมรสแต่ผู้เดียวหรือขอให้แยกสินสมรสได้ ตามมาตรา 1484
ทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาที่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ต้องถือว่าต่างมีสิทธิเป็นเจ้าของคนละครึ่ง (ฎ.516/2508)
ความรับผิดในหนี้สินของสามีภริยา
1.หนี้ที่มีมาก่อนสมรส คงเป็นหนี้ที่ฝ่ายนั้นจะต้องรับผิดเป็นส่วนตัวแต่เพียงผู้เดียว แม้จะเป็นหนี้ที่สามีภริยาเป็นหนี้ระหว่างกันเองมาก่อนสมรสก็ตาม ก็ยังคงเป็นลูกหนี้กันอยู่ดังที่กล่าวมาแล้ว
2. หนี้ที่ก่อขึ้นในระหว่างสมรส หนี้ที่ก่อขึ้นในระหว่างสมรสอาจจะเป็นหนี้ส่วนตัวของสามีหรือภริยาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือเป็นหนี้ร่วมที่สามีภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกันก็ได้แล้วแต่กรณี ซึ่งโดยหลักแล้วคู่สมรสฝ่ายใดเป็นผู้ก่อให้เกิดหนี้ หนี้ที่เกิดขึ้นก็เป็นหนี้ของฝ่ายนั้น เว้นแต่จะเข้าข้อยกเว้นว่าเป็นหนี้ร่วมตามมาตรา 1490 เช่น สามีกู้เงินเพื่อไปเที่ยวต่างประเทศ ก็เป็นหนี้ส่วนตัวของสามีแต่ถ้ากู้เงินมาเพื่อให้การศึกษาแก่บุตร จึงเป็นหนี้ร่วมที่สามีและภริยาเป็นลูกหนี้ร่วมกัน เป็นต้น
หนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา
ตามมาตรา 1490 หนี้ร่วมระหว่างสามีภริยาจะต้องรับผิดชอบร่วมกัน มีอยู่ 4 ชนิด
1. หนี้เกี่ยวแก่การจัดการบ้านเรือนและจัดหาสิ่งที่จำเป็นสำหรับครอบครัว การอุปการะเลี้ยงดู ตลอกถึงการรักษาพยาบาลบุคคลในครอบครัวและการศึกษาของบุตรตามสมควรแก่อัตภาพ
2. หนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินสมรส เช่น หนี้เกี่ยวกับการซ่อมแซมบ้านเรือนที่เป็นสินสมรส เป็นต้น
3. หนี้ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการงานซึ่งสามีภริยาทำด้วยกัน
4. หนี้ที่สามีหรือภริยาก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียว แต่อีกฝ่ายหนึ่งได้ให้สัตยาบัน คู่สมรสจะให้สัตยาบันด้วยวาจาก็ได้
การเอาทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาไปชำระหนี้
1. หนี้ส่วนตัวของสามีหรือภริยา ให้ชำระหนี้นั้นด้วยสินส่วนตัวของฝ่ายนั้นก่อน เมื่อไม่พอจึงให้ชำระด้วยสินสมรสที่เป็นส่วนของฝ่ายนั้น ตามมาตรา 1488
2. หนี้ร่วมระหว่างสามีภริยา ให้ชำระหนี้นั้นจากสินสมรสและสินส่วนตัวของทั้งสองฝ่าย ตามมาตรา 1489
การสมรสที่เป็นโมฆะ
เหตุที่ทำให้การสมรสเป็นโมฆะ
1. การสมรสที่ชายหรือหญิงเป็นบุคคลวิกลจริตหรือเป็นบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามรถ (ม.1449+ม.1495)
2.การสมรสที่ชายหรือหญิงเป็นญาติสืบสายโลหิตโดยตรงต่อกันหรือเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาหรือร่วมแต่บิดาหรือมารดา (ม.1450+ม.1495)
3. การสมรสซ้อน (ม.1452+ม.1495)
4. การสมรสที่ชายหญิงไม่ยอมเป็นสามีภริยากัน (ม.1458+ม.1495)
คำพิพากษาของศาลเท่านั้นที่จะแสดงว่าการสมรสที่ฝ่าฝืนมาตรา 1449 มาตรา 1450 และมาตรา1458 เป็นโมฆะ (ตามมาตรา 1496)
ผลของการสมรสที่เป็นโมฆะ
1. การสมรสที่เป็นโมฆะไม่ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา ตามมาตรา 1498
2. การสมรสที่เป็นโมฆะ ไม่ทำให้คู่สมรสที่สุจริตเสื่อมสิทธิที่ได้มาเพราะการสมรสและยังมีสิทธิเรียกค่าเลี้ยงชีพและค่าทดแทนอีกด้วย ตามมาตรา 1499
3.การสมรสที่เป็นโมฆะไม่กระทบถึงสิทธิของบุคคลภายนอกผู้ทำการโดยสุจริต ตามมาตรา 1500
4. การสมรสที่เป็นโมฆะไม่มีผลกระทบกระเทือนถึงการเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา 1536 มาตรา 1538 และมาตรา 1499/1
การสิ้นสุดแห่งการสมรส
1. การสมรสสิ้นสุดลงด้วยความตาย ความตายในที่นี้ หมายความถึง ความตายตามธรรมชาติ ไม่ได้หมายความถึงความตายโดยผลของกฎหมาย หรือการสาบสูญซึ่งเป็นเพียงเหตุหย่าตามมาตรา 1516 (5)
2.การสมรสที่เป็นโมฆียะสิ้นสุดลงเมื่อศาลพิพากษาให้เพิกถอน
เหตุที่ทำให้หารสมรสเป็นโมฆียะ
1.การสมรสที่ชายและหญิงอายุยังไม่ครบ 17 ปีบริบูรณ์ (ม.1448+ม.1504)
2.การสมรสโดยสำคัญผิดตัวคู่สมรส (ม.1505)
3.การสมรสโดยถูกกลฉ้อฉล (ม.1506)
4.การสมรสโดยถูกข่มขู่ (ม.1507)
5.การสมรสของผู้เยาว์ที่มิได้รับความยินยอมของบิดามารดา ผู้รับบุตรบุญธรรมหรือผู้ปกครอง (ม.1509+1510)
ผลของการเพิกถอนการสมรสที่เป็นโมฆียะ
1.การสมรสที่เป็นโมฆียะย่อมสิ้นสุดลงในวันที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้เพิกถอน (ม. 1511)
2.ต้องมีการแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา และกำหนดการปกครองบุตรเช่นเดียวกับการหย่าโดยคำพิพากษา (ม.1512)
3.มีการชดใช้ค่าเสียและค่าเลี้ยงชีพ (ม.1513)
การหย่า
1.การหย่าโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย มีหลักดังนี้
1.1 ต้องทำเป็นหนังสือและมีพยานลงลายมือชื่ออย่างน้อย 2 คน และ (ม.1514)
1.2 การหย่าโดยความยินยอมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้จดทะเบียนการหย่า(ม.1515)
2.การหย่าโดยคำพิพากษาของศาล โดยอาศัยเหตุฟ้องหย่าตามมาตรา 1516
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)