อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ
ในการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (United Nations
Conference on Environment and Development) หรือการประชุมสุดยอดด้านสิ่งแวดล้อม (Earth Summit) เมื่อวันที่ 5-14 มิถุนายน ค.ศ. 1992 ประเทศทั่วโลกได้ให้การรับรองอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ โดยมีทั้งสิ้น 157 ประเทศร่วมลงนามในขณะนั้น
อนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพเป็นความตกลงด้านสิ่งแวดล้อมระหว่าง
ประเทศที่มีเจตนารมณ์ให้รัฐบาลทุกประเทศเคร่งครัดต่อการรักษาวินัยสิ่งแวดล้อม ซึ่งหมายถึงว่า
แม้มีความต้องการอย่างมากที่จะพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ แต่ก็ต้องไม่ละเลยการอนุรักษ์ธรรม
ชาติด้วย
อนุสัญญาฯ วางวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ เพื่ออนุรักษ์ วามหลากหลายทางชีวภาพ เพื่อใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน และเพื่อแบ่งปันผลประโยชน์ที่ได้จากการใช้
ทรัพยากรพันธุกรรมอย่างเท่าเทียมและยุติธรรม
อนุสัญญาฯ ยืนยันชัดเจนว่า ภาคีมีอํานาจอธิปไตยที่จะใช้ทรัพยากรของตน ตามนโยบาย
สิ่งแวดล้อมของแต่ละประเทศ และตามความรับผิดชอบของประเทศ โดยไม่ทําความเสียหายให้แก่
สิ่งแวดล้อมของประเทศอื่น
อนุสัญญาฯ ฉบับนี้ เป็นอนุสัญญานานาชาติฉบับแรกที่ครอบคลุมการอนุรักษ์ทั้งพันธุกรรม
ชนิดพันธุ์ และระบบนิเวศ อนุสัญญาฯ อื่นๆ ที่มีมาก่อนหน้านี้ บ้างให้การคุ้มครองเฉพาะชนิดพันธุ์
และบ้างให้การคุ้มครองเฉพาะระบบนิเวศประเภทใดประเภทหนึ่ง
เนื้อหาของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ มีลักษณะเป็นกรอบนโยบายที่
กว้าง ซึ่งในการดําเนินงานแต่ละประเทศจะต้องจัดทํานโยบาย มาตรการ และแผนการดําเนินงาน
ขึ้นเอง ดังนั้น อนุสัญญาฯ จึงได้เตรียมกลไกการเงิน ซึ่งคือ กองทุนสิ่งแวดล้อมโลกไว้สนับสนุนการ
ดําเนินงานดังกล่าวของประเทศกําลังพัฒนา เพื่อให้สัมฤทธิ์ผลดังวัตถุประสงค์ของอนุสัญญาฯ
อนุสัญญาฯ ได้มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม ค.ศ. 1993 และได้มีการประชุมสมัชชาภาคี
อนุสัญญาฯ (Conference of the Parties) ไปแล้วหกสมัยสามัญ และหนึ่งสมัยวิสามัญ ขณะนี้ (มกราคม ค.ศ. 2002) มีภาคี 182 ประเทศ
หลักการของอนุสัญญาฯ
อนุสัญญาฯ ยืนยันว่าภาคีมีอํานาจอธิปไตยในการใช้ทรัพยากรของตน ตามนโยบายสิ่งแวด
ล้อมของแต่ละประเทศ และตามความรับผิดชอบของประเทศ โดยไม่ทําความเสียหายให้แก่สิ่งแวด
ล้อมของประเทศอื่น
รัฐมี, โดยสอดคล้องกับกฎบัตรสหประชาชาติและหลักกฎหมายระหว่างประเทศ, สิทธิอธิปไตยที่
จะใช้ทรัพยากรของตนตามนโยบายสิ่งแวดล้อมของตนเอง, และตามความรับผิดชอบเพื่อให้หลัก
ประกันว่า กิจกรรมในความรับผิดชอบหรือในความควบคุมไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อม
ของรัฐอื่นหรือของพื้นที่นอกเหนือเขตอํานาจของชาติ
มาตรา 3
วัตถุประสงค์อันเป็นหัวใจของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ แผนปฏิบัติการ
21 และอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คือเพื่อส่งเสริมการ
พัฒนาอย่างยั่งยืน
มาตรา 1 ระบุวัตถุประสงค์ของอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ อันได้แก่ การ
อนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ, การใช้ประโยชน์องค์ประกอบของความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน และการแบ่งปันอย่างยุติธรรมและเท่าเทียมซึ่งผลประโยชน์ที่ได้จากการใช้ทรัพยากร
พันธุกรรม วัตถุประสงค์นี้ได้รับการถ่ายทอดไปสู่ภาระหน้าที่ที่ผูกพันในข้อกําหนดต่อๆ ไป
โครงสร้างการบริหารของอนุสัญญาฯ
อนุสัญญาฯ ได้จัดตั้งองค์ประกอบทางการบริหารของความตกลงสิ่งแวดล้อมสมัยใหม่ไว้เป็น
มาตรฐาน คือมี
• สภาบริหาร ได้แก่ สมัชชาภาคีอนุสัญญาฯ
• สํานักเลขาธิการ
• คณะที่ปรึกษาทางวิทยาศาสตร์ วิชาการ และเทคโนโลยี
• กลไกการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร
• กลไกการเงิน
บทบาทหน้าที่ของหน่วยงานเหล่านี้คือ ทําให้พันธกรณีของอนุสัญญาฯ กลายมาเป็นแนวทาง/
แผนงานที่เอื้ออํานวยและผลักดันให้ภาคีดําเนินการตามอนุสัญญาฯ
• สมัชชาภาคีอนุสัญญาฯ (the Conference of the Parties–COP) เนื่องจากอนุสัญญาฯ เป็นมากกว่ากรอบความตกลงระหว่างประเทศ ข้อกําหนดหลายประการในอนุสัญญาฯ
จึงต้องการการขยายความต่อไป เพื่อให้เกิดความกระจ่างในมาตรฐานที่ใช้เป็นแนวทางแก่ประเทศ
ภาคีและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ การจัดทําพื้นฐานเหล่านี้ขึ้น
อยู่กับข้อมติของสมัชชาภาคีอนุสัญญาฯ ซึ่งเป็นหน่วยงานบริหารของกระบวนการอนุสัญญาฯ บท
บาทหน้าที่หลักของสมัชชาภาคีอนุสัญญาฯ คือทบทวนการดําเนินงานของอนุสัญญาฯ อย่าง
สมํ่าเสมอ และดูแลการพัฒนารวมถึงการจัดตั้งหน่วยงานระดับรองตามที่ต้องการ สมัชชาภาคี
อนุสัญญาฯ ประชุมกันเป็นระยะ และตั้งแต่ ค.ศ. 1994–2002 ได้ประชุมกันไป 6 ครั้งแล้ว ในการ
ประชุมสมัยที่ 5 ใน ค.ศ. 2000 สมัชชาภาคีอนุสัญญาฯ ได้มีมติให้ประชุมกันทุก 2 ปี
โดยนัยนี้สมัชชาภาคจึงได้รับการจัดตั้งขึ้น การประชุมครั้งแรกของสมัชชาภาคีจักต้องถูกเรียกระดม
โดยผู้อํานวยการบริหารโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ ภายในไม่เกินหนึ่งปีหลังจากอนุสัญญาฉบับนี้
มีผลบังคับใช้ต่อจากนั้นการประชุมสามัญของสมัชชาภาคีจักต้องมีขึ้นในช่วงระยะเวลาที่สม่ำเสมอ ซึ่งจะได้
รับการพิจารณาลงมติจากสมัชชาภาคีในการประชุมครั้งแรก
มาตรา 23(1)
คณะที่ปรึกษาทางวิทยาศาสตร์ วิชาการ และเทคโนโลยี (Subsidiary Body on
Scientific, Technical and Technological Advice–SBSTTA) เป็นหน่วยงานสาขาหลักของสมัชชา
ภาคีอนุสัญญาฯ ได้รับมอบหมายให้เสนอการศึกษาวิเคราะห์สถานภาพของความหลากหลายทางชีว
ภาพ, การศึกษาวิเคราะห์ประเภทของมาตรการที่สอดคล้องกับข้อกําหนดของอนุสัญญาฯ และให้คํา
ปรึกษาสําหรับทุกปัญหาของสมัชชาภาคีอนุสัญญาฯ คณะที่ปรึกษาทางวิทยาศาสตร์ฯ ได้ประชุมไป
แล้ว 7 ครั้ง ในปี ค.ศ. 1995–2001 และในอนาคตจะประชุมกัน 2 ครั้ง ก่อนการประชุมสมัชชาภาคี
อนุสัญญาฯ แต่ละครั้ง
ภายใต้อํานาจและโดยสอดคล้องกับแนวทางที่ได้วางไว้โดยสมัชชาภาคีและตามคําร้องขอ คณะที่
ปรึกษานี้จักต้อง
เสนอการศึกษาทางวิทยาศาสตร์และวิชาการเกี่ยวกับสถานภาพความหลากหลายทางชีวภาพ
เตรียมการศึกษาทางวิทยาศาสตร์และวิชาการเกี่ยวกับผลของมาตรการประเภทต่างๆ ที่ดำเนินการโดย
สอดคล้องกับข้อกําหนดของอนุสัญญา
จําแนกระบุเทคโนโลยีซึ่งริเริ่มสร้างสรรค์, เทคโนโลยีมีประสิทธิภาพและเทคโนโลยีสุดยอดและเคล็ดลับ
ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืนและแนะนําเกี่ยวกับ
วิถีทางและรูปแบบการส่งเสริมการพัฒนาและ/หรือการถ่ายทอดเทคโนโลยีดังกล่าว
ให้คําแนะนํ าเกี่ยวกับโปรแกรมทางวิทยาศาสตร์และความร่วมมือระหว่างประเทศในการวิจัยและการ
พัฒนาเกี่ย วกับการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ทรัพยากรชีวภาพอย่างยั่งยืน, และ
ตอบสนองต่อคําถามทางวิทยาศาสตร์, วิชาการ, เทคโนโลยีและวิธีการ ซึ่งสมัชชาภาคี และคณะ
กรรมการของสมัชชาภาคีอาจจะเสนอต่อหน่วย
มาตรา 25(2) (a) (b) (c) (d) (e)
• สํ านักเลขาธิการอนุสัญญาฯ (a Secretariat) บทบาทหน้าที่หลักของสํานักเลขาธิการ
อนุสัญญาฯ เพื่อเตรียมการประชุมและให้บริการต่างๆ แก่ สมัชชาภาคีอนุสัญญาฯ คณะที่ปรึกษา
ทางวิทยาศาสตร์ฯ และหน่วยอื่นๆ ของอนุสัญญาฯ และประสานงานกับองค์กรระหว่างประเทศอื่น
สํานักเลขาธิการอนุสัญญาฯ เป็นหน่วยงานที่โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) จัดหา
ให้และสนับสนุน มีสํานักงานตั้งอยู่ในนครมองทรีอาล ประเทศแคนาดา
โดยนัยนี้สํานักเลขาธิการจึงได้รับการจัดตั้งขึ้น บทบาทหน้าที่ของสํานักเลขาธิการจักต้อง
• เพื่อจัดและให้บริการสําหรับการประชุมของสมัชชาภาคีดังกําหนดในมาตรา 23
• เพื่อปฏิบัติหน้าที่ ตามที่ได้รับมอบหมายจากพิธีสารใดๆ
• เพื่อเตรียมรายงาน เกี่ยวกับการบริหารตามภาระหน้าที่ของตนภายใต้อนุสัญญาฉบับนี้ และเสนอ
รายงานนั้นต่อสมัชชาภาคี
• เพื่อประสานงานกับองค์การระหว่างประเทศอื่นที่เกี่ยวข้องและ, โดยเฉพาะเข้าดําเนินการเกี่ยวกับ
การบริหารและการทําสัญญา ซึ่งอาจจําเป็นในการแบ่งเบาภาระหน้าที่ของตนอย่างมีประสิทธิผล, และ
• เพื่อปฏิบัติหน้าที่อื่นๆ ซึ่งอาจได้รับมอบหมายจากสมัชชาภาคี
มาตรา 24(1) (a) (b) (c) (d) (e)
• กลไกการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร (Clearing House Mechanism– CHM)
อนุสัญญาฯ ได้จัดตั้งกลไกการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเพื่อส่งเสริมและเอื้ออํานวยความร่วมมือทาง
วิชาการและวิทยาศาสตร์ตาม มาตรา 18 ระยะนําร่องของกลไกการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร ได้เริ่มตั้ง
แต่ ค.ศ. 1996–1998 หลังจากได้ประเมินผลการทํางานแล้ว สมัชชาภาคีอนุสัญญาฯ ได้เห็นชอบทั้ง
แผนกลยุทธ์ และโปรแกรมงานของกลไกการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่มีกำหนดถึงปี ค.ศ. 2004
สมัชชาภาคี, ในการประชุมครั้งแรก, จักต้องกําหนดว่าจะจัดตั้งกลไกการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและ
เทคนิคอย่างไร เพื่อส่งเสริมและเอื้ออํานวยแก่ความร่วมมือทางวิชาการและวิทยาศาสตร์
มาตรา 18(3)
• กลไกการเงิน อนุสัญญาฯ ได้จัดตั้งกลไกการเงิน (financial mechanism) สําหรับจัดหา
ทรัพยากรให้แก่ประเทศกําลังพัฒนาเพื่อดําเนินงานตามวัตถุประสงค์ของอนุสัญญาฯ กลไกการเงินนี้
ดําเนินงานโดยกองทุนสิ่งแวดล้อมโลก (GEF) และดําเนินบทบาทหน้าที่ภายใต้อํานาจและคําแนะ
แนวของสมัชชาภาคีอนุสัญญาฯ และมีภาระหน้าที่ต่อสมัชชาภาคีอนุสัญญาฯ
จักต้องมีกลไกสําหรับข้อกําหนดของทรัพยากรการเงินแก่ภาคีประเทศกําลังพัฒนา, ตามความมุ่งหมายของ
อนุสัญญาฉบับนี้ บนพื้นฐานของการให้เปล่าหรือให้แบบผ่อนปรน ซึ่งสิ่งที่จําเป็นดังบรรยายในมาตรานี้ กลไกจักมี
บทบาทหน้าที่ภายใต้ขอบเขตอํานาจและการแนะนําของสมัชชาภาคีและจักมีภาระที่ต้องชี้แจงการดําเนินงานต่อ
สมัชชาภาคี ทั้งนี้ตามความมุ่งหมายของอนุสัญญาฉบับนี้ การดําเนินการของกลไกจักกระทําโดยสถาบัน ดังที่
สมัชชาได้มีมติแต่งตั้งในการประชุมครั้งแรก ตามความมุ่งหมายของอนุสัญญาฉบับนี้ สมัชชาภาคีจักกําหนด
นโยบาย, กลยุทธ์, ลําดับความสําคัญของโปรแกรมและกฎเกณฑ์สําหรับความเหมาะสม ที่เกี่ยวข้องกับการเข้าถึง
และการใช้ประโยชน์ทรัพยากรนั้น ในการบริจาคควรพิจารณาถึงความต้องการในเรื่องความคาดหวังได้, ความพอ
เพียง และการหมุนเวียนทันเวลา ของเงินทุนดังได้อ้างถึงในมาตรา 20 ทั้งนี้ โดยสอดคล้องกับปริมาณทรัพยากรที่
ต้องการ ซึ่งสมัชชาภาคีจะกำหนดเป็นระยะ และความสําคัญของการแบ่งปันรับภาระระหว่างประเทศผู้บริจาค ดัง
ระบุนามในรายการที่อ้างถึงในมาตรา 20, วรรค 2 การบริจาคโดยสมัครใจอาจกระทําได้ โดยภาคีประเทศพัฒนา
แล้ว และโดยประเทศอื่นและแหล่งอื่น กลไกจักดําเนินการภายในระบบการปกครองที่เป็นประชาธิปไตยและโปร่ง
ใส
มาตรา 21(1)
กิจกรรมของกองทุนสิ่งแวดล้อมโลกดําเนินโดยโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP)
โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) และธนาคารโลก (World Bank) ภายใต้ข้อกําหนด
ของอนุสัญญาฯ ประเทศพัฒนาแล้วต้องจัดหาทรัพยากรการเงินใหม่และเพิ่มเติมเพื่อช่วยให้ภาคี
ประเทศกําลังพัฒนาได้สนองตอบต่อค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นอย่างเต็มที่ (full incremental cost) ตามที่ได้
ตกลงไว้ สําหรับการอนุวัตพันธกรณีของอนุสัญญาฯ ตามมาตรา 20 และตามข้อกําหนดที่ให้กองทุน
สิ่งแวดล้อมโลก (GEF) จัดหาทรัพยากรให้ภาคีประเทศต่างๆ ภาคีเหล่านี้อาจให้ทรัพยากรการเงิน
ผ่านช่องทางทวิภาคีและพหุภาคี
ภาคีประเทศที่พัฒนาแล้ว จักจัดหาทรัพยากรการเงิน ทั้งที่ใหม่และเพิ่มเติมเพื่ออํ านวยให้ภาคีประเทศที่
กําลังพัฒนาได้ชําระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นครบเต็มจํ านวนตามที่ได้ตกลงไว้ เพื่อการดําเนินมาตรการให้บรรลุผลสําเร็จ
ตามข้อผูกพันของอนุสัญญาฉบับนี้ และเพื่อให้ได้รับผลประโยชน์จากบทบัญญัติของอนุสัญญา ซึ่งมีค่าใช้จ่ายที่ได้
ตกลงกันระหว่างภาคีประเทศกำลังพัฒนา กับสถาบันตามที่ได้อ้างถึงในมาตรา 21, ทั้งนี้โดยสอดคล้องกับนโยบาย,
กลยุทธ, ลำดับความสําคัญของโปรแกรม, และกฎเกณฑ์ความเหมาะสม และรายการระบุค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ซึ่ง
สมัชชาภาคีได้จัดทําขึ้น …….
มาตรา 20(2)
ภาคีประเทศพัฒนาแล้วอาจให้, และภาคีประเทศกําลังพัฒนาจักใช้ให้เป็นประโยชน์, ทรัพยากรการเงิน ซึ่ง
เกี่ยวข้องกับการดําเนินการตามอนุสัญญาฉบับนี้ โดยผ่านช่องทางแบบทวิภาคี, ภูมิภาคหรือพหุภาคีอื่นๆ ด้วย
มาตรา 20(3)
สมัชชาภาคีอนุสัญญาฯ, หากจำเป็น, สามารถที่จะจัดตั้งคณะทํางานขึ้นทํางานระหว่างสมัย
ประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาฯ และคณะที่ปรึกษาทางวิทยาศาสตร์ฯ เพื่อให้คําแนะนําเสนอต่อ
คณะที่ปรึกษาทางวิทยาศาสตร์ฯ และสมัชชาภาคีอนุสัญญาฯ คณะทํางานที่ประกอบด้วยผู้แทนจาก
ทุกประเทศและองค์กรที่เกี่ยวข้อง ได้แก่
• คณะทํางานเฉพาะกิจว่าด้วยความปลอดภัยทางชีวภาพ (Open ended Ad Hoc
Working Group on Biosafety) ประชุมไปแล้ว 6 ครั้ง ระหว่างปี ค.ศ. 1996–1999
• การประชุมเชิงปฏิบัติการว่าด้วยความรู้ตามขนบประเพณี และความหลากหลายทางชีว
ภาพ (Workshop on Traditional Knowledge and Biological Diversity) ประชุมในปี ค.ศ. 1997
• การประชุมระหว่างสมัยว่าด้วยการปฏิบัติการของอนุสัญญาฯ (Intersectional Meeting
on the Operations of the Convention) ประชุมในปี ค.ศ. 1999
• คณะทํางานเฉพาะกิจว่าด้วยมาตรา 8 (j) และข้อกําหนดที่เกี่ยวข้อง (Ad Hoc Working
Group on Article 8 (j) and Related Provisions) ประชุมในปี ค.ศ. 2000 และจะประชุมอีกครั้งในปี
ค.ศ. 2002
• คณะทํางานเฉพาะกิจว่าด้วยการเข้าถึงและการแบ่งปันผลประโยชน์ (Ad Hoc Open–
ended Working Group on Access and Benefit Sharing) ประชุมในปี ค.ศ. 2001
• การประชุมระหว่างสมัยว่าด้วยแผนกลยุทธ์ (Intersectional Meeting on the Strategic
Plan) ประชุมในปี ค.ศ. 2001
ขอบคุณมากคร๊า
ตอบลบได้ความรู้ไปเยอะเลย
ขอถามหน่อยนะค่ะว่าประเทศไทยมีกฎหมายที่ใช้ในการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพ 3 ฉบับอะไรบ้างค่ะ
ตอบลบ