วันเสาร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2553

แนวคิดอันเป็นพื้นฐานของสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง..

ในการเตรียมความพร้อมที่จะสังเกตุ และสังเคราะห์ต่อไปในอนาคต จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องทำความเข้าใจแนวคิดหลักอันเป็นพื้นฐานของสิ่งต่างๆ มิเช่นนั้นแล้วเราก็ไม่สามารถเข้าใจ และอธิบายสิ่งต่างๆ ให้ตัวเราเอง รวมถึงผู้อื่นเข้าใจได้เมื่อต้องการรู้ขึ้นมา หรือพยายามหาเหตุผลทั้งหลายมาอธิบาย หรือกระทั่งในกรณีที่แย่สุด คือ เราไม่สนใจเลยก็เป็นได้ (ต้นทุนบริโภคสะสมน้อย ทำให้พฤติกรรมบิดเบือนได้ - เงื่อนไขจำเป็น)
นานมาแล้วได้มีการแบ่งแนวคิดอันเป็นพื้นฐานของสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองออกเป็นสองแนวคิดหลัก ดังนี้

1. แนวคิดหน่วยสิ่งมีชีวิต (Organic view) คือ แนวคิดที่มีพื้นฐานที่ว่า สิ่งต่างๆ ต้องมีองค์ประกอบ หน่วย ส่วนต่างๆย่อยออกไป และมีความสำคัญตามลำดับจากมากไปน้อย โดยมีองค์ประกอบหลักอยู่หนึ่งอย่างทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของสิ่งนั้น กำหนดเป้าหมาย ชี้นำสังคม เหนือการตัดสินใจบุคคล (มีความสำคัญท่ีสุด) ยกตัวอย่างเช่น
สังคม - สังคมเสมือนร่างกายที่ประกอบด้วยอวัยวะต่างๆ ประชาชนเป็นส่วนประกอบของอวัยวะทั้งหลาย โดยมีรัฐบาลเปรียบเสมือนหัวใจ
ประเทศ - ประเทศคืออวัยวะทั้งหมด เหมือนที่ร่างกายคืออวัยวะทั้งหมด ไม่เหมือนกับเครื่องจักรที่แยกส่วนประกอบออกจากกันได้ แล้วประกอบกลับได้ (เหมา เจ๋อ ตุง)
สาธารณรัฐ - กิจกรรมของประชาชนเป็นสิ่งพึงประสงค์ก็ต่อเมื่อกิจกรรมนั้นนำไปสู่สังคมที่ยุติธรรม โดยมีเป้าหมาย คือ สร้างยุคทอง ประชาชนสามารถประกอบกิจกรรมต่างๆ บนพื้นฐานของเหตุผล (เพลโต)
สาธารณรัฐสังคมนิยม - สาธารณรัฐสังคมนิยมไม่ได้หมายถึงปัจเจกบุุคคลที่แยกตัวออกจากชุมชน สังคม ซึ่งถูกป้องกันจากการรบกวน แทรกแซงจากรัฐบาล กิจกรรมทุกอย่างในชีวิตประจำวันจะมีคุณค่าและความหมายก็ต่อเมื่อรับใช้้ทั้งสาธารณรัฐ โดยมีเป้าหมาย คือ การสร้างความบริสุทธิ์ของเชื้อชาติ ประเทศต้องมีเป้าหมาย เป้าหมายนั้นต้องขึ้นอยู่กับการรักษา และพัฒนาการขั้นสูงสุดทั้งทางกายภาพ และจิตใจที่เหมือนกันหนึ่งเดียวของสัตว์ (ลัทธินาซี)
สามารถสรุปให้เข้าใจง่ายในมุมมองของสังคมได้ว่าคุณค่าของปัจเจกชนขึ้นอยู่กับการตระหนักถึงเป้าหมายของสังคม ซึ่งถูกกำหนดจากส่วนกลาง (รัฐบาล กษัตริย์ กลุ่มผู้ปกครอง)

2. แนวคิดหน่วยเครื่องจักร (Mechanic view) คือ แนวคิดที่มีพื้นฐานที่ว่า สิ่งต่างๆ นั้นมีองค์ประกอบ หรือส่วนต่างๆมีความสำคัญเท่าเทียมกัน เป็นศูนย์กลางการตัดสินใจ ซึ่งทำหน้าที่ของมันเอง และแยกจากกันอย่างเสรี เมื่อทุกส่วนทำตามหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบแล้วแล้ว สิ่งนั้น (ภาพรวม) ก็จะให้ผลลัพธ์รวมตามเป้าหมายหลัก โดยรัฐไม่ใช่ส่วนหนึ่ง หรือองค์ประกอบของสิ่งนั้น แต่เป็นสัญญาประชาคมที่ถูกสร้างขึ้นมาจากปัจเจกบุคคลเพื่อทำหน้าที่ตอบสนองเป้าหมาย หรือความต้องการของปัจเจกบุคคลทั้งหมด โดยปกติแล้วรัฐได้รับการยอมรับในประเด็นของการเป็นสิ่งที่ดีต่อปัจเจกบุคคล สิ่งยกตัวอย่างเช่น
ประชาธิปไตย - รัฐ เป็นเพียงแค่การไว้วางใจ และพนักงาน เจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นผู้ควบคุม และมีอำนาจในการจัดการสิทธิ์ต่างๆ อย่างน่าเชื่อถือภายใต้ขอบเขต และข้อกำหนดต่างๆตามวัตถุประสงค์นั้นๆ โดยทั้งรัฐ และเจ้าหน้าที่ของรัฐถูกสร้างขึ้นมาเพื่อผลประโยชน์แห่งมหาชน (เฮนรี เคลย์)
เหตุของการมีอยู่ของรัฐ - ไม่ใช่ศูนย์กลาง แต่ได้รับการไว้ใจให้มีอยู่เพื่อดูแล รับผิดชอบความต้องการของปัจเจกบุุคคล
รัฐ - ชีวิตของมนุษย์ต้องเผชิญกับความโดดเดี่ยว ความยากจน สิ่งไม่พึงประสงค์ บุคคล หรือสัตว์ที่ใช้ความรุนแรง ไม่มีเหตุผล รวมถึงการขาดแคลนสิ่งต่างๆ (โทมัส ฮ็อปป์)
รัฐ - รัฐต้องทำหน้าที่ป้องกันสังคมจากการใช้ความรุนแรง และการบุกรุกของสังคนอิสระอื่นๆ และต้องป้องกันตราบเท่านานให้สมาชิกของสังคมได้รับความเป็นธรรม และพ้นจากการกดขี่ข่มเหงของสมาชิกจากสังคมอื่น มากกว่านั้นรัฐต้องมีความรับผิดชอบในการสร้าง และรักษาระดับจำนวนงาน และสถาบันสาธารณะ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ไม่เคยได้รับความสนใจ รับผิดชอบจากปัจเจกบุคคล (อดัม สมิท)
รัฐ - การแทรกแซงของรัฐเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อมหาชน เช่น การสร้างความปลอดภัยในสถานที่ประกอบการ ทำงาน กฎหมายห้ามการแบ่งแยกเชื้อชาติ เพศ หรือแม้กระทั้งสวัสดิการเบื้องต้นสำหรับผู้ขาดโอกาส อาทิ คนจน คนพิการ คนพลัดถิ่น เป็นต้น (ลัทธิสังคมประชาธิปไตย)
ผู้ขัดแย้งการมีอยู่ของรัฐ
รัฐ - มนุษย์ไม่สามารถไว้วางใจ เชื่อใจในการปกครองตัวเองได้ และมนุษย์จะสามารถได้รับการไว้วางใจ เชื่อใจในการปกครองคนอื่นได้หรือ หรือเราค้นพบเทพผู้เป็นกษัตริย์ปกครองมนุษย์แล้ว จงให้ประวัติศาสตร์ตอบคำถาม (โทมัส เจฟเฟอร์สัน)
สามารถสรุปให้เข้าใจง่ายในมุมมองของสังคมได้ว่า รัฐ เป็นสัญญาประชาคมที่ถูกเลือกเพื่อเติมเต็มเป้าหมายปัจเจกบุคคลที่ขาด
จากแนวคิดหลักทั้งสองที่กล่าวมาแล้ว ถ้าพิจารณาแล้วพบว่า แนวคิดทั้งสองไม่ได้พัฒนาในช่วงเวลาเดียวกัน คือ แนวคิดหน่วยสิ่งมีชีวิตนั้นได้ถูกพัฒนาขึ้นมาก่อนเป็นอย่างแรก โดยมนุษย์ทั้งโลกนั้นได้เริ่มต้น และเรียนรู้จากแนวคิดแรก หลักจากนั้นคนบางกลุ่ม ซึ่งหมายถึงประเทศตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่งอเมริกาซึ่งเป็นผู้เริ่มต้นได้ริเริ่ม และพัฒนาแนวคิดเครื่องจักรขึ้น โดยมีสาเหตุหลักดังนี้
1. การปฏิวัติอุตสาหกรรม จากการค้นพบเครื่องจักรไอน้ำครั้งแรกของประเทศอังกฤษ ทำให้เกิดการผลิตในรูปแบบอุตสาหกรรมขึ้นโดยเริ่มจากอุตสาหกรรมสิ่งทอ ซึ่งเป็นสินค้าออกหลักของอังกฤษในช่วงนั้น การผลิตในรูปแบบอุตสาหกรรมนั้นทำให้เกิดการผลิตต่อขนาด ต้นทุนการผลิตลดลง ราคาสินค้าลดลง มากกว่านั้นยังสร้างโอกาสให้กับประชาชนจำนวนมาก คือสร้างงาน สร้างรายได้ ถึงกับขาดแคลนแรงงาน มีการจ้างเด็กทำงาน การค้าแรงงานเกิดขึ้น (ต้นทุนการเข้าถึงลดลง) รูปแบบเศรษฐกิจเปลี่ยนจากพาณิชย์นิยม (นำทองเข้าประเทศเป็นเป้าหมายสำคัญ) เป็นเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยการผลิต (Supple-side economy) เป็นหลัก จากภาวะเฟื่องฟูของการผลิตอย่างมากโดยไม่มีการจัดการทำให้สินค้าล้นตลาด จึงต้องจัดการส่งออก มีการหาตลาดเพื่อระบายสินค้า รวมทั้งหาวัตถุดิบ เกิดการล่าอาณานิคมขึ้น จากการพัฒนาอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดการเรียนรู้เกิดศาสตร์ใหม่ อาทิ เครื่องจักรกล วิศวกรรมศาสตร์ การบริหารจัดการการผลิต เป็นต้น จากภาวะสินค้าล้นตลาด จึงเกิดการหาตลาด สร้างตลาด เป็นจุดเริ่มต้นของระบบเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยการบริโภค การส่งออก หรือระบบเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยอุปสงค์ (Demand-side economy) ได้สร้างแนวคิดพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่ต้องตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค และพัฒนาเรื่อยมาอย่างต่อเนื่อง จนเป็นระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมที่ทรงพลังต่อโลกทุกวันนี้
2. การค้นพบดินแดนใหม่ จากการพยายามล่าอาณานิคมของประเทศตะวันตกเพื่อระบายสินค้า และนำเข้าทรัพยากรจากดินแดนต่างๆ อุตสาหกรรมการเดินเรือที่เฟื่องฟูอันเนื่องมาจากการปฎิวัติอุตสาหกรรม ทำให้เกิดการค้นพบดินแดนใหม่จำนวนมาก อาทิ ทวีปอเมริกา ออสเตรเลีย ทำให้เกิดประเทศใหม่จำนวนมาก ที่ยังมีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ และไม่มีเจ้าของแน่นอน ไม่มีอุปสรรคต่อการครอบครอง (รัฐ กฎระเบียบ ข้อบังคับ) ทำให้เกิดการอพยพของผู้คนจำนวนมากจากทวีปยุโรปเพื่อโอกาสตั้งตัว โอกาสเริ่มต้นชีวิตใหม่ ที่มีความเป็นไปได้สูงว่าจะดีกว่าที่เดิม คนเหล่านี้ละทิ้งทุกอย่างที่เป็นไว้เบื้องหลัง ทั้งความโดดเดียว ยากจน การกดขี่ข่มเหง การขูดรีดภาษีจากกษัตริย์ เชื้อชาติ ศาสนา และมีความคาดหวังว่ารูปแบบต่างๆจะต้องเปลี่ยนแปลง และสร้างขึ้นในทิศทางที่ดีขึ้น อย่างน้อยก็ไม่เหมือนเดิม ทำให้เกิดการวางโครงสร้างของระบบสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองขึ้นใหม่ เพื่อความฝันใหม่
3. การกีดกัน ลดพื้นที่ และกดขี่ข่มเหงของชนชั้นปกครอง รูปแบบการปกครอง ด้วยการปกครองที่มีกษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ และการใช้อำนาจกดขี้ข่มเหงประชาชน เก็บรายได้จากภาษีในอัตราที่สูง ท่ามกลางภาวะยากจนของประชาชนจำนวนมาก เพื่อการใช้จ่ายที่สุรุ่ยสุร่ายในพระราชวัง ข้าราชบริพาร และขุนนาง ในขณะที่การสร้างคุณูปการแก่ประเทศเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต หรือแม้แต่กระทั่งแก้ไขปัญหาของราษฎรอยู่ในระดับต่ำ ทำให้ลดพื้นที่การมีส่วนร่วมของประชาชนในการปกครองภายใต้ระบอบกษัตริย์ เกิดการต่อต้าน และโค่นล้มระบอบกษัตริย์จำนวนมากในหลายประเทศของยุโรป เกิดการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองไปในหลายรูปแบบ แต่แนวคิดหลักของการปกครองรูปแบบที่เปลี่ยนไป ไม่แตกต่างกันมากนัก คือ แนวคิดเครื่องจักร ประชาชนเท่าเทียมกัน ศูนย์กลางอำนาจอยู่ที่ประชาชนแต่ละบุุคคล ยกเว้นแต่เยอรมันที่มีแนวคิดหน่วยของสิ่งมีชีวิต ได้พัฒนาลัทธินาซีขึ้น รวมถึงอิตาลีซึ่งได้รับอิทธิพลด้วย แต่หลายประเทศในทางเอเชียสามารถธำรงไว้ของการปกครองในระบอบกษัตริย์ โดยมีสาเหตุหลักคือ ต้นทุนการบริโภคสะสมในระดับสูงของระบอบกษัตริย์ คือ การสร้างประโยชน์หลายประการอย่างต่อเนื่องให้แก่ประชาชนในประเทศ หลายชั่วอายุคน เพื่อยกระดับคุณภาพของประชาชน เข้าใจ และไม่กดขี่ข่มเหงประชาชน รวมทั้งการปรับตัวให้เข้ากับบริบทที่เปลี่ยนไปโดยปรับลดต้นทุนการเข้าถึง คือ ทุกคนสามารถเข้าถึงกษัตริย์ อาทิ การที่ประชาชนสามารถมาตีระฆังร้องทุกข์ได้ตั้งแต่สุโขทัย การถวายฏีกาแก่กษัตริย์ การเสด็จออกพื้นที่เยี่ยมเยียนราษฎร การเพิ่มพื้นที่การมีส่วนร่วมของประชาชน เช่น ลูกเสื้อชาวบ้าน เหล่ากาชาด การพระราขทานประชาธิปไตยแก่ประชาชน ด้วยเหตุเหล่านี้จึงไม่มีพฤติกรรมบิดเบือนหรือการปฏิเสธระบอบกษัตริย์ในประเทศเหล่านี้
ด้วยเหตุทั้งสามประการที่กล่าวมานี้ ล้วยแต่เป็นความต้องการของประชาชนที่ต้องเผชิญกับความไม่พึงประสงค์ เพื่อลดต้นทุนการเข้าถึง เพราะทุกคนต้องการโอกาสทางสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองนั่นเอง แต่นั่นไม่ได้หมายความว่ามีโอกาสแล้วทุกอย่างจะไม่บิดเบือน อันเนื่องมาจากพฤติกรรมของมนุษย์เราเอง
หลังจากที่เกิดแนวคิดเครื่องจักรขึ้นมาในประเทศทางตะวันตก และการธำรงไว้ซึ่งแนวคิดหน่วยสิ่งมีชีวิตของประเทศทางตะวันออก ทั้งสองแนวคิดได้พยายามคิดค้นเพิ่มเติม พัฒนา ปรับปรุง เรื่อยมา โดยมีอิทธิพลอย่างมากต่อระบบสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ของประเทศเหล่านั้น โดยทั้งสองฝ่ายพยายามสร้างระบบที่มีประสิทธิภาพโดยมีพื้นฐานมาจากแนวคิดของตัวเอง สามารถแยกอธิบายได้ตามแนวคิดดังนี้
1. การมีประสิทธิภาพของเครือข่ายอันเนื่องมาจากแนวคิดหน่วยสิ่งมีชีวิต
2. การมีประสิทธิภาพของปัจเจกบุคคลอันเนื่องมาจากแนวคิดเครื่องจักร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น